Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลำไส้กลืนกัน( INTUSSUSCEPTION ) ไส้กลืนกัน, นางสาว สโรชา โพร้งวงค์…
ลำไส้กลืนกัน( INTUSSUSCEPTION )
อาการ
ปวดท้องแบบปวดบิด (colicy pain)-เยื่อบุช่องท้องอักเสบคือท้องอืดถึงหน้าท้องแข็งเกร็งเสียงลำไส้เคลื่อนไหวอดลง
-
-
-
-
-
-
พยาธิสภาพ
เป็นภาวะที่ลำไส้ส่วนต้นเคลื่อนตัวเข้าไปในลำไส้ส่วนปลายตำแหน่งที่พบบ่อยคือลำไส้เล็กส่วนปลายไอเลี่ยม (ileum) เคลื่อนเข้าไปในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายเรียกว่าโอลิโอโคลิค (ileocolic type) ทำให้ช่องลำไสแคบลงจนปิดสนิททางเดินอาหารอุดตันผู้ป่วยเด็กจึงมีอาการปวดท้องแบบปวดบิด (colicky pain) ท้องอีตและอาเจียนการไหลเวียนกลับของเลือดที่ไปเลี้ยงผนังลำไส้ได้ยากขึ้นมีการคั่งของเลือดที่ผนังลำไส้ส่วนที่ถูกกลืนส่งผลให้เซลล์ที่เยื่อบุผนังลำไส้ชั้นในทำงานมากขึ้นเยื่อบุผิวที่ขาดเลือดางส่วนตายและลอกหลุดทำให้มีเลือดสีแดงสดปนมูกและขับออกมากับอุจจาระในที่สุดเมื่อคหน้าท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาจะพก้อนเหมือนไส้กรอก (sausage-like mass) [เด็กที่เป็นโรคนี้มักจะสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
สาเหตุ
- ในเด็กเล็กพบว่าไม่มีสาเหตุน้ำที่ทำให้เกิดสำไส้กลืนกัน
- ในเด็กโตพบว่ามีสาเหตุนำเช่นมีติ่ง (Lymphoma) ที่ผนังลำไส้
การวินิจฉัย
ประเมินอาการและอาการแสดง
อาการอาเจียน เป็นอาการเด่น ตอนแรกอาจเป็นนมหรือสิ่งที่รับประทานเข้าไป ระยะต่อมาจึงมีสีเหลืองหรือเขียวของน้ำดีปน
-
-
-
อาการอื่นๆซึ่งอาจพบได้แต่ไม่ใช่อาการเด่น เช่น อาการชัก อาการซึม บางรายมีอาการของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือระบบทางเดินอาหารนำมาก่อน
อาการปวดท้อง ซึ่งสังเกตได้จากการที่เด็กร้องมากเป็นพักๆ เพราะมี colicky pain ช่วงที่เด็กไม่ปวดอาจดูสบายดี เวลาร้องมักจะเกร็งมือเกร็งเท้า อาจมีอาการหน้าซีด
การตรวจร่างกาย
ระยะแรกที่ยังไม่มีท้องอืด อาจาคลำได้ก้อนในท้อง ซึ่งมีความสำคัญมากในการ วินิจฉัยโรคนี้ ลักษณะก้อนมักเป็นลำยาวคล้ายไส้กรอก ส่วนมากพบที่ด้านขวาบนของช่องท้อง
-
-
-
การตรวจพิเศษ
การเอ็กซเรย์ช่องท้องในระยะแรก ๆ ของโรคอาจไม่พบสิ่งผิดปกติหรืออาจพบเงาของก้อนในช่องท้อง ในระยะต่อมาจะเริ่มเห็นลักษณะของการอุดตันที่ส่วนปลายของลำไส้เล็กชัดเจนขึ้น ควรทำในผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้
การตรวจอัลตราซาวด์ช้เฉพาะในกรณีที่จะไม่ใช้วิธีการทำ Barium enema เพื่อการรักษาเพราะหากจะใช้วิธีนั้น ก็จะได้ประโยชน์ทั้งการวินิจฉัยและรักษาไปพร้อมกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การสวนแป้งแบเรียม (Barium reduction) เป็นการพิสูจน์ทางรังสีที่แน่นอนของโรคลำไส้กลืนกัน เห็นลักษณะลำไส้ที่ถูกกลืนเห็นเป็นเงาโค้ง (cresent sign) และเห็นแบเรียมแทรกอยู่ระหว่างลำไส้ที่ถูกกลืนเห็นลักษณะเหมือนขดลวดที่เรียกว่า coil-spring sign การตรวจด้วย Barium enema เป็นวิธีการในการรักษาโรคนี้ไปด้วย
การรักษา
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
- การสวนด้วยแรงดันอากาศ Pneumatic reduction โดยใช้ลมภายใต้ fluoroscopic หรือ uetrasound control ใช้ความดันไม่เกิน 120 มม.ปรอท
ความดันจากสารแบเรียม หรือลมหรือน้ำจะดันลำไส้ส่วนที่ถูกกลืนให้กลับไปได้ ถ้าทำได้สำเร็จสมบูรณ์ จะพบสารที่ใส่เข้าไปไหลย้อนกลับเข้าไปในลำไส้เล็กส่วน Terminal ileum ได้โดยสะดวก
- การสวนด้วยแป้งแบเรียม Hydrostatic pressure reduction โดยใช้สารแบเรียม (barium) ภายใต้ fluoroscopic control โดยรังสีแพทย์ที่มีประสบการณ์ กระป๋องบรรจุ barium ควรอยู่สูงกว่าตัวคนไข้ไม่เกิน 100 ซ.ม.หรือ 3 ฟุตครึ่ง อาจใช้น้ำแทนแบเรียมโดยใช้ ultrasound control หรือใช้สารทึบรังสีอย่างอื่นแทนได้
การรักษาแบบผ่าตัด
-
2.Surgical resection with end-to-end anastomosis การผ่าตัดลำไส้ส่วนที่กลืนกันออกแล้วเชื่อมต่อปลายลำไส้ส่วนที่เหลือทั้ง 2 เข้าหากัน
การพยาบาล
ช่วยบรรเทาอาหารปวดแน่นท้อง โดยให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ร่วมกับยาแก้ปวด ตามแผนการรักษา
ลดอาการแน่นอึดอัดท้องโดยการดูแลให้มีการดูดของเหลวออกจากลำไส้ โดยทาง nasogastric intestinal suction ตลอดเวลา ประเมินลักษณะและจำนวนของสิ่งที่ดูดออกมา
ประเมินภาวะขาดน้ำและความไม่สมดุลของอิเลคโตรลัยด์ และดูแลทดแทนน้ำและอิเล็คโตรลัยท์ให้พอกับที่ร่างกายต้องการ ตามแผนการรักษา รวมทั้งการให้เลือดและน้ำเลือดด้วย
ประเมินภาวะวิตกกังวลหรือกลัว เกี่ยวกับการเจ็บป่วย ช่วยคลายความวิตกกังวล โดยอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงจากโรคที่เป็นหรือความจำเป็นในการรักษา
เตรียมผู้ป่วยที่ต้องได้รับการทำหัตถการให้พร้อม ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แนะนำการปฏิบัติตัวหลังการทำหัตถการต่าง ๆ
ดูแลให้ผู้ป่วยที่มีการเน่าตายและติดเชื้อที่ลำไส้ ได้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลไม่ได้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (total parenteral nutrition) ในผู้ป่วยขาดสารอาหาร
-
-
-
-
-