Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับ ผู้ประสบสาธารณะภัย - Coggle Diagram
การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับ
ผู้ประสบสาธารณะภัย
ปฏิกิริยาของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรง
ด้านร่างกาย
หน้ามืด, รู้สึกร้อนสึกหนาว, รู้สึกตีบแน่นในลำคอ, ปวดศีรษะ,อ่อนเพลีย, ความอยากอาหารลดลง ทำให้สุขภาพทรุดโทรมหนัก
ด้านปฏิกิริยา/การแสดงออก
ฝันร้าย, หวาดระแวง, ตกใจง่าย, ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ มักหันเข้าหาสุราของมึนเมาและสารอสพติดมากขึ้น
ด้านอารมณ์
ไม่ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น อารมณ์แกว่งไปมา คาดเดาไม่ได้
ด้านการรับรู้
สับสน, มึนงง, ไม่มีสมาธิ, มีปัญหาด้านความจำ โดยจะเกิดขึ้นและลดลงจนหายไปภายใน1 เดือน ถ้าหากอาการเหล่านี้ยังคงอยู่จำเป็นต้องพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใจ
ปฏิกริยาทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤต
Shock&Denial มึนงงสับสน ไม่สามารถเชื่อมโยงความคิดการรับรู้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ
Anger อาจมีลักษณะเงียบ ตัวเกร็ง กำมือแน่น ขู่อาฆาต ไม่ให้ความร่วมมือ
Bargaining พูดซ้ำๆ บนบาน คาดหวังปฏิหาริย์ แสดงออกในคำพูดทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของการหลอกตัวเอง
Depression เงียบ สีหน้าเศร้าหมอง กินน้อย อาการเศร้ามักปรากฏร่วมกับการรู้สึกผิด และโทษตัวเอง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ประสบภาวะวิกฤต
ด้านจิตใจ กลัวหวาดผวา รู้สึกผิด มองตัวเองไร้ค่า อาจมีความคิดฆ่าตัวตาย
ด้านร่างกาย อ่อนแอ พักผ่อนไม่เพียงพอ มีโอกาสนอนไม่หลับเนื่องจากฝันร้าย ตื่นกลางดึก หลับๆตื่นๆ
ด้านพฤติกรรม ไม่สนใจดูแลตนเองและสิ่งแวดล้อม แยกตัวออกจากสังคม ปฏิเสธการรับรู้เรื่องราว อาจก่ออาชญากรรมหรือลักขโมย
ระดับทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT)
ทีมระดับตำบล ทีมMCATT ประจำพื้นที่ระดับตำบล
ผอ.รพ.สต., รพ.สต., อสม., เจ้าหน้าที่มูลนิธิ, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้า
ทีมระดับอำเภอ ทีมMCATT ประจำพื้นที่ในระดับอำเภอ
จิตแพทย์/แพทย์/พยาบาล/นักจิตวิทยา/เภสัชกร
ทีมระดับจังหวัด ทีมMCATT ประจำพื้นที่ระดับจังหวัด
จิตแพทย์/พยาบาลจิตเวช/นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์/เภสัชกร
ทีมระดับกรมสุขภาพจิต ทีมMCATT
จิตแพทย์/พยาบาลจิตเวช/นักจิตวิทยาคลินิก/นีกจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์/เภสัชกร
การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะ
ระยะเตรียมการ เป็นระยะการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตต่างๆ อย่างทันท่วงที
ระยะวิกฤตฉุกเฉิน (ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ-2 สัปดาห์)
ระยะวิกฤต ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ
ระยะฉุกเฉิน 72ชั่วโมง-2สัปดาห์
เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตทีม MCATT ลงพื้นที่ร่วมกับทีมให้การช่วยเหลือทางกาย
คัดกรองและค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต
สำรวจความต้องการช่วยเหลือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยใช้วิธีให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ สร้างสัมพันธภาพ
กรณีพบความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้จักทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและวางแผนการติดตามต่อเนื่อง
สรุปรายงานสถานการณ์เบื้องต้นพร้อมทะเบียนกลุ่มเสี่ยง
การปฐมพยาบาลทางด้านจิตใจ ด้วยหลักการ EASE
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ Engagement
สังเกตภาษา ท่าทาง และพฤติกรรม
การสร้างสัมพันธภาพ
การสื่อสาร เริ่มคุยเมื่อผู้ประสบเหตุมีความพร้อม
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ Assessment
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
ประเมินสภาพจิตใจ ผู้ปนะสบเหตุอยู่ในภาวะช็อกปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง เสียใจ และต้องประเมินภาวะฆ่าตัวตาย
ประเมินความต้องการทางสังคม
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ Skill
การฝึกกำหนดลมหายใจ
การสัมผัส
ทักษะการ Grounding
การนวดสัมผัส และการนวดกดจุดคลายเครียด
การลดความเจ็บปวดทางใจ คือการฟังอย่างใส่ใจ การสะท้อนความรู้สึก การเงียบฟัง การทวนซ้ำ
การเสริมสร้างทักษะ
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จะเป็น Education 3ต.
ต1. ตรวจสอบความต้องการ โดยไต่ถามถึงข้อมูลและความต้องการการช่วยเหลือที่จำเป็น
ต2. เติมเต็มความรู้ ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด
ต3. ติดตามต่อเนื่อง ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆ