Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด, Gastroschisis กับ Omphalocele…
-
Gastroschisis กับ Omphalocele แตกต่างกันอย่างไร
• Omphalocele ผนังหน้าท้องพัฒนาไม่สมบูรณ์ มีเยื่อหุ้ม
• Gastroschisis ผนังช่องท้องพัฒนาสมบูรณ์ ไม่มีเยื่อหุ้ม
การดูแลในระยะดันลำไส้กลับในช่องท้องเด็กต้องจัดท่านอนอย่างไร เพราะเหตุใด
นอนตะแคงข้างเพื่อลดโอกาสที่เลือดจะมาเลี้ยงลำไส้ไม่สะดวก
การฟัง bowl sound หลังผ่าตัดปิดหนังหน้าท้องเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
เพื่อประเมินว่าลำไส้มีการอุดตันหรือไม่
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดปิดผนังหน้าท้องเด็ก ต้องระวังภาวะใด มีอาการและอาการแสดงอย่างไร
Abdominal compartment syndrome ท้องอืดอย่างรุนแรง ปัสสาวะออกน้อยลง central venous pressure สูงขึ้น ความดันในช่องอกสูงขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ในระยะก่อนผ่าตัด คือเรื่องใด มีวิธีการป้องกันอย่างไร
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ /หูชั้นกลาง / การอุดกั้นทางเดินหายใจจากการสำลัก
การผ่าตัดปากแหว่ง ควรทำเมื่อใด/ การผ่าตัดเพดานโหว่ควรทำเมื่อใด
การผ่าตัดปากแหว่งอาจทำภายใน 48 ชม. หลังคลอดในรายที่เด็กสมบูรณ์ดีหรือ รอตอนเด็กที่มีอายุอย่างน้อย 8 - 12 สัปดาห์
การผ่าตัดเพดานโหว่คืออายุประมาณ 6-18 เดือน สภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน
หลังผ่าตัดการดูแลเพื่อป้องกันแผลแยกทำอย่างไร
• ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย
• ผูกยึดข้อศอกทั้งสองข้าง (elbow restraint) ไม่ให้งอประมาณ 2-6สัปดาห์ หลังผ่าตัดหรือตามแผนการรักษาของแพทย์ (คลายออกทุก1-2ชั่วโมง ครั้งละ 10-15 นาที)
• สอนผู้ดูแลเกี่ยวกับการผูกยึดข้อศอก ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยล้วงมือเข้าในปาก
• งดใส่สายยางดูดเสมหะเข้าช่องปาก
• ไม่ให้ดูดนม 1 เดือน การให้นมโดยใช้ช้อน หลอดหยด syring ต่อยางเหลืองนิ่ม และป้อนนมอย่างระมัดระวัง
หลังผ่าตัดทารกควรนอนท่าใด
จัดท่านอนหงายหรือตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง ห้ามนอนคว่ำเพื่อป้องกันการเสียดสีกับที่นอน แผลอาจแยกได้
หลังผ่าตัด ทารกจะดูดขวดนมได้เมื่อใด
งดดูดนมขวดประมาณ 1 เดือน
อาการอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าหลอดอาหารตีบคืออะไร
ทารกแรกเกิด น้ำลายไหลมาก อาเจียน ไอ สำลัก เอาอาหารและเมือกเข้าสู่ทางเดินหายใจ อาจพบอากาศในกระเพาะอาหาร
อาการอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าหลอดอาหารมีรูรั่วคืออะไร
อาจพบอากาศในกระเพาะอาหาร
การให้นม TE fistula ทำอย่างไร
• นอนยกศีรษะสูง 45-60 องศาไม่ให้เงยหน้ามากเกินไป
• ดูดเสมหะอย่างนุ่มนวล ใส่สายยางไม่ลึกเกินกว่าที่แพทย์กำหนด ระมัดระวังการทำกายภาพบำบัดทรวงอก
• รายที่แพทย์คาสายยางไม่ว่าจะเป็นชนิดใด พยายามอย่าให้หลุดถ้าหลุดรีบรายงานแพทย์ทราบไม่ใส่กลับเข้าไปใหม่เอง
• ถ้าเริ่มให้น้ำหรือนมทางสายยางต้องให้แบบช้าๆ ให้เสร็จแล้ว แขวนปลาย tube ไว้
การดูแล Gastrostomy ทำอย่างไร
• ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล
• ทำแผลอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
• สังเกตการติดเชื้อ
• ดูแลให้ยา Antibiotic ตามแผนการรักษา
สังเกตการไม่มีรูทวารหนักทารกหลังคลอดได้อย่างไร
ไม่มีการถ่ายขี้เทา ภายใน 24 ชั่วโมง "ขี้เทา" (Meconium) มีลักษณะเหนียวๆ สีเขียวดำ ถ้าเลย 24 ชั่วโมงไปแล้ว ยังไม่ถ่ายอุจจาระให้สงสัยไว้ก่อนว่า เกิดจากการที่ลำไส้อุดตัน ไม่พบรูเปิดทางทวารหนักหรือพบเพียงรอยช่องเปิดของทวารหนักเท่านั้น ไม่มีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้หากมีการอุดตันของลำไส้เป็นเวลานานกากอาหารที่ค้างที่Rectumจะเพิ่มมากขึ้นจนถึงลำไส้ส่วนอื่นๆ ได้ กระสับกระส่าย อืดอัด ไม่สบายเนื้อสบายตัว แน่นท้อง ท้องอืด ปวดเบ่งอุจจาระ ตรวจพบมีกากอาหารค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหาร
การดูแล colostomy ทำอย่างไร
• หลังผ่าตัดสัปดาห์แรก รูเปิดยังไม่หายและการหายของแผลยังไม่ดีพอ ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือล้างแผล เมื่อแผลหายดีแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ซับผิวหนังรอบรูเปิดด้วยสำลีหรือผ้าสะอาดที่อ่อนนิ่ม
• เด็กที่มีถุงรองรับอุจจาระทางทวารเทียม เลือกขนาดของปากถุง ให้ครอบปิดกระชับพอดีกับขนาดทวารเทียม ไม่แน่นเกินไป
• กรณีมีการรั่วซึมต้องเปลี่ยนถุงใหม่ และสังเกตการรั่วซึมของอุจจาระทุก 2 ชั่วโมง
• ทิ้งอุจจาระถ้ามีปริมาณอุจจาระในถุง 1⁄4-1/3 ของถุง
• สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังรอบๆทวารเทียม ถ้ามีการอักเสบ รอยถลอกรายงานแพทย์
• แนะนำอาหารย่อยง่ายมีโปรตีนสูง แคลอรีสูง มีกากใยมาก หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้มีแก๊ส เช่น ถั่ว น้ำอัดลม เป็นต้น
• สังเกตและบันทึกอุจจาระ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย อุจจาระมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ เป็นต้น
• สังเกตภาวะแทรกซ้อนของทวารเทียม เช่น เลือดออก ลำไส้ยื่นออกมา การหดรั้งลำไส้เข้าช่องท้อง ช่องเปิดลำไส้ตีบแคบ ผิวหนังรอบๆทวารหนักเทียมอักเสบ ทวารเทียมขาดเลือดมีสีคล้ำ เน่าตาย (necrosis)
• แนะนำการมาตรวจตามนัด
อายุที่เหมาะสมในการฝึกการขับถ่าย
ฝึกขับถ่ายเมื่ออายุ 18-24 เดือน
หลังผ่าตัดทำรูทวารหนัก ป้องกันการตีบแคบได้อย่างไร
การถ่างขยาย การฝึกอุปนิสัยการขับถ่าย การให้ยาเพื่อปรับสภาพอุจจาระ
วิธีการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อช่วยในการขับถ่ายทำอย่างไร
ฝึกฝนการกลั้นอุจจาระเพื่อให้เด็กใช้กล้ามเนื้อที่มีอยู่อย่างเต็มที่
การรักษา hypospadias โดยการผ่าตัดควรทำเมื่อใด เพราะเหตุใด
ช่วง 6-18 เดือน ไม่เกิน 2 ปี
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมีอะไรบ้าง
• มีรูตรงบริเวณรอยต่อระหว่างรูเปิดท่อปัสสาวะเก่ากับใหม่
• เลือดออก
• เกิดการตีบตันของรูเปิดท่อปัสสาวะ/ท่อปัสสาวะบริเวณแผลเย็บ
• องคชาตยังโค้งงอ
• เกิดการติดเชื้อ
คำแนะนำในการดูแลหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้านทำอย่างไร
• อธิบายให้เด็ก บิดา มารดา เข้าใจถึงความสำคัญในการมาพบแพทย์
• ทำความสะอาดให้เด็กภายหลังการถ่ายอุจจาระ
• อธิบายอาการติดเชื้อ ปัญหาปัสสาวะขุ่นมีตะกอนและกลิ่นเหม็น ควรมาพบแพทย์
• หลังเอาสายสวนปัสสาวะออก ให้สังเกตปริมาณปัสสาวะ ลักษณะการถ่าย
• อธิบายให้เข้าใจถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
• บิดามารดา ผู้ปกครองต้องกระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆทุกวัน
• ห้ามเด็กเล่นทราย ขี่จักรยานหรือนั่งคร่อมของเล่น ว่ายน้ำ
• ดูแลแผลผ่าตัดไม่ให้เปียก
• แนะนำและสาธิตให้มารดา ผู้ปกครองทราบวิธีการดูแลความสะอาดองคชาตที่คาสายสวนปัสสาวะ
-