Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ - Coggle Diagram
การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ
1.วงจรการติดเชื้อ
เชื้อก่อโรค
แบคทีเรีย
โปรโตซัว
เชื้อรา
พยาธิ
แหล่งกักเก็บเชื้อโรค
เชื้อโรคแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งเชื้อโรคเฉพาะ
ทางออกของเชื้อ
เชื้อจุลชีพออกจากร่างกายได้หลายทาง เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น
หนทางการแพร่กระจายเชื้อ
วิธีการแพร่กระจายแตกต่างกันซึ่งสามารถแบ่ง
ออกได้เป็น การสัมผัส การหายใจ การแพร่กระจายโดยมีตัวนำ
ทางเข้าของเชื้อ
ความไวในการรับเชื้อของบุคคล
3. การติดเชื้อในโรงพยาบาล
องค์ประกอบของการติดเชื้อในโรงพยาบาล
เชื้อโรค ส่วนใหญ่เป็นเชื้อประจำถิ่น หรือเชื้อที่พบบนร่างกายผู้ป่วยเอง
คน ผู้ที่ติดเชื้อในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย แต่อาจจะเป็นบุคลากรในโรงพยาบาลได้ พบมากในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ
สิ่งแวดล้อม เช่น อาคาร สถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องมือทางการแพทย์หรือการรักษาโดยการสอดใส่เข้าร่างกายผู้ป่วย ผู้ป่วยจึงมีโอกาสติดเชื้อสูงมาก
การแพร่กระจายเชื้อ
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรง คือ การสัมผัสกันโดยตรงระหว่างคนต่อคน เกิดจากการที่มือไปสัมผัสแหล่งโรคแล้วสัมผัสผู้ป่วย
การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัสโดยอ้อม คือ การสัมผัสกับสิ่งของหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อก่อโรค
การแพร่กระจายเชื้อโดยฝอยละออง
การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ
การแพร่กระจายเชื้อโดยการผ่านสื่อนำ เกิดจากการที่มีเชื้อจุลชีพปนเปื้อนอยู่ในเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด อาหาร น้ำ ยา สารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วย
การแพร่กระจายเชื้อโดยสัตว์พาหนะ คนได้รับเชื้อจากการถูกแมลงหรือสัตว์กัด
4. การทำลายเชื้อ และการทำให้ปราศจากเชื้อ
การทำลายเชื้อ (Disinfection)
การล้าง
การต้ม
การใช้สารเคมี
การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
ระดับการทำลายเชื้อ
การทำลายเชื้อระดับสูง สามารถทำลายจุลชีพก่อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นน้ำยาทำลายเชื้อระดับนี้จึงสามารถทำให้อุปกรณ์ปราศจากเชื้อได้ แต่ต้องแช่อุปกรณ์ในน้ำยาเป็นระยะเวลาตามกำหนด
การทำลายเชื้อระดับกลาง ทำให้เชื้อ Mycobacterium tuberculosis เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราอ่อนกำลังลงจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้ น้ำยาทำลายเชื้อในกลุ่มนี้ได้แก่ แอลกอฮอล์ (70-90%Ethanol หรือ Isopropanol)
การทำลายเชื้อระดับต่ำ สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อไวรัส และเชื้อราบางชนิด แต่ไม่สามารถทำลายเชื้อที่มีความคงทน
การทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization)
วิธีการทางกายภาพ
การเผา (Incineration) ใช้ในการทำลายอุปกรณ์ที่จะไม่นำกลับมาใช้อีกต่อไป
การใช้ความร้อนแห้ง (Dry heat ) โดยใช้เตาอบโดยใช้อุณหภูมิสูง 160-180 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน 1-2 ชั่วโมง วิธีนี้เหมาะสำหรับอุปกรณ์ประเภทแก้วและโลหะ
การต้ม (Boiling) การต้มในน้ำเดือด 100 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
การใช้ความร้อนชื้น (Moist heat) การนึ่งไอน้ำภายใต้ความดัน (Autoclave) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด
วิธีการทางเคมี
การใช้แก๊ส
Ethylene oxide gas (EO) เป็นวิธีทำให้ปราศจากเชื้อที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสำหรับวัสดุที่ไม่สามารถทนความร้อนและความชื้นได้
Formaldehyde ที่ความเข้มข้น 37% หรือที่เรียกว่า ฟอร์มาลิน (Formalin) มีฤทธิ์ทำลายเชื้อจุลชีพได้อย่างกว้างขวาง สามารถอบให้ปราศจากเชื้อได้ภายใน 6-12 ชั่วโมง
การใช้ High-level disinfectant ได้แก่ Glutaraldehyde, Hydrogen peroxideและ Peracetic acid
ห่ออุปกรณ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้วจะมีระยะเวลาในการคงสภาพปราศจากเชื้อการผนึกห่ออุปกรณ์ การหยิบจับหรือเคลื่อนย้ายห่ออุปกรณ์ และสภาพแวดล้อมที่วางห่ออุปกรณ์
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
โรคภูมิแพ้หรือโรคเรื้อรัง
เพศ
ความร้อนหรือเย็น
กรรมพันธุ์
ความอ่อนเพลีย
อายุ
ภาวะโภชนาการ
การรักษาทางการแพทย์บางชนิด
ความเครียด
อาชีพ
5. การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
Standard precautions
ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือสบู่ยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง โดยล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วย
สวมเครื่องป้องกันเมื่อคาดว่าจะสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผู้ป่วย
หยิบจับอุปกรณ์ที่มีคมที่ใช้กับผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง ทิ้งอุปกรณ์มีคมที่ใช้แล้วใน
ภาชนะที่เหมาะสม ไม่สวมปลอกเข็มกลับคืน
ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่เปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี
บรรจุผ้าเปื้อนในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น
Transmission-base precautions
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ เป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ซึ่งล่องลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานหรือฝุ่นละอองที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจุลชีพที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน
อนุภาคฝอยละอองน้ำมูกน้ำลายเกิดจากการไอ จาม พูด การดูดเสมหะ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากการสัมผัส เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อที่เกิดจากการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม
6. กระบวนการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
โดยยึดหลักปฏิบัติAseptic technique หรือ เทคนิคปลอดเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องมือ
เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม
การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย
การซักประวัติและตรวจร่างกายเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนและให้การพยาบาล
ใช้หลัก Airborne precautions
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยและญาติ
การประเมินผลการพยาบาล