Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทละคร เรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง - Coggle Diagram
บทละคร เรื่องอิเหนา
ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
คุณค่าด้านสังคม
-ประเพณี เช่น ตอนท้าวดาหาเสด็จออกรับ
ทูตเมืองกะหมังกุหนิง
-ความเชื่อเรื่องโชคชะตา การเชื่อเรื่องคำทำนาย
ความเป็นมา
เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
มีที่มาจาก
นิทานปันหยี ซึ่งเป็นคำสามัญที่ชาวชวาใช้เรียกวรรณคดีที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่งคือ เรื่องอิหนา ปันหยี กรัต ปาตี วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องเป็นพงศาวดารแต่งขึ้นเพื่อการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบนักปกครอง และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมากชาวชวาถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์ เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นนิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการแสดงละครใน
ความสุนทรียของงานประพันธ์
เค้าโมง/ต้นโมง/โมง(วันเวลา)
นางนวล/ต้นนางนวล/นวล(ผู้หญิง)
นกแก้ว/ต้นแก้ว/แก้วตา(ผู้หญิงที่รัก)
ตระเวนไพร(กรรมเวร)
ตัวละครสำคัญ
อิเหนา
: เป็นโอรสของท้าวกุเรปันกับประไหมสุหรีนิหลาอระตา มีลักษณะเจ้าชู้ แต่มีความเป็นชายชาติทหารอย่างนักรบ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว
ท้าวกุเรปัน
: เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ มีพระอนุชา 3 พระองค์ ได้แก่ เมืองดาหา กาหลัง สิงหัดส่าหรี นิสัยเป็นคนถือยศศักดิ์ รักเกียรติและวงศ์ตระกูล
ท้าวดาหา
: เป็นพระอนุชาขององค์รองของท้าวกุเรปัน เป็นคนรักษาคำพูด มีขัตติยมานะ รอบคอบในการศึก
นางบุษบา :
นางบุษบาเป็นคนที่อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้จะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่ก็ไม่ปฏิเสธเมื่อพ่อแม่ยกนางบุษบาให้จรกา บุษบาเป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง แม้ตนเองจะสูงศักดิ์
ท้าวกะหมังกุหนิง
: เป็นกษัตริย์เมืองกะหมังกุหนิง
มีความรักต่อลูก ใจเด็ด แต่ประมาท
วิหยาสะกำ
: เป็นคนเอาแต่ใจ ยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง ใจเด็ด แต่ด้วยความที่อายุยังน้อย เลยใจร้อน ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ลักษณะคำประพันธ์
บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เท่าที่ได้กล่าวถึงคุณค่าด้านเนื้อหา และการเสนอตัวละครจะเห็นได้ว่าบทร้อยกรองบรรยายความได้แจ่มชัด ลีลากลอนกระชับ ใช้คำน้อยแต่นำมาเรียบเรียงให้ได้ความเด่นชัด ตอนที่แสดงอารมณ์ ความรู้สึกก็แสดงได้อย่างแนบเนียนทำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการตามไปด้วย จะสังเกตได้จากการบรรยายท่วงท่าอารมณ์ของตัวละคร การบรรยายลักษณะของกองทัพ การตั้งค่าย การสู้รบที่มีการเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิต ชีวา
คุณค่าด้านเนื้ิอหา
แนวคิด เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจทุกอย่าง แม้นกระทั่วตัวตายก็ยอม
ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน มีการตั้งค่าย การใช้อาวุธ และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ
ปมขัดแย้ง ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีหลายข้อแย้ง แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง และสมเหตุสมผล
ปมแรก คือ ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา
แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
ปมที่สอง คือ ท้าวดาหาขัดเคืองอิเหนา
ยกบุษบาให้จรกา ทำให้ท้าวกุเรปันและพระญาติทั้งหลายไม่พอพระทัย
ปมที่สาม ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ
แต่ท้าวดาหายกให้จรกาไปแล้ว จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น
ปมที่สี่ อิเหนาจำเป็นต้องไปช่วยดาหา จินตะหราคิดว่าอิเหนาจะไปอภิเษกกับบุษบา จินตะหราขัดแย้งในใจตนเอง หวั่นใจกับสถานภาพของตนเอง