Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy's adaptation theory), นางสาวธิติยา…
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Roy's adaptation theory)
บุคคล (Person)
1) การปรับตัวด้านร่างกาย (Physiological mode) เป็นการปรับตัวเพื่อ รักษาความมั่นคงด้านร่างกาย พฤติกรรมการปรับตัวด้านนี้จะสนองตอบต่อความต้องการพื้นฐานของ บุคคล 5 ด้าน คือ ความต้องการออกซิเจน อาหาร การขับถ่าย กิจกรรมและการพักผ่อน รวมถึงการ ทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย
2) การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ (Self-concept mode) เป็นการปรับตัวเพื่อ นำไปสู่ความมั่นคงทางจิตใจ อัตมโนทัศน์เป็นความเช่ือและความรู้สึกท่ีบุคคลยึดถือเกี่ยวกับตนเองใน ช่วงเวลาหนึ่งเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา ภาวะสุขภาพ การทาหน้าที่ รวมไปถึงความเชื่อ และค่านิยม
3) การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ (Role function mode) บุคคลมีตาแหน่ง และบทบาทในสังคมของตนเอง บุคคลจะต้องปรับตัวหรือกระทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามที่ สังคมคาดหวังได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความมั่นทางสังคม บทบาทของบุคคลมี 3 กลุ่ม
3.1) บทบาทปฐมภูมิ (Primary role) เป็นบทบาทตามอายุ เพศ และ ระดับพัฒนาการ เช่น บทบาทการเป็นวัยรุ่น และบทบาทการเป็นผู้สูงอายุ เป็นต้น
3.2) บทบาททุติยภูมิ (Secondary role) เป็นบทบาทที่เกี่ยวกับงานตาม ระดับพัฒนาการ เช่น บทบาทการเป็นบิดามารดา บทบาทการเป็นสามีภรรยา และบทบาทตามอาชีพ
เช่น บทบาทการเป็นพยาบาล บทบาทการเป็นครู และบทบาทการเป็นนักศึกษา เป็นต้น
3.3) บทบาทตติยภูมิ (Tertiary role) เป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลนั้น
ได้รับ เช่น บทบาทสมาชิกสมาคม และบทบาทผู้ป่วย เป็นต้น
4) การปรับตัวด้านการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent mode)
บุคคลมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องและพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยเป็นท้ังผู้ให้และผู้รับความช่วยเหลือเกื้อกูล บุคคลที่สามารถปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกัน (Interdependence) ได้อย่างเหมาะสมจะต้องมี ความสมดุลระหว่างการพึ่งตนเอง (Independence) การพึ่งพาผู้อื่น (Dependence) และการให้ผู้อื่นได้พึ่งตนเอง ถ้าบุคคลสามารถปรับตัวได้ก็จะสามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นด้วยความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย
สิ่งแวดล้อม (Environment)
1) สิ่งเร้าตรง (Focal stimuli) เป็นสิ่งเร้าที่บุคคลกำลังเผชิญอยู่หรือเป็นสิ่งที่ มีอิทธิพลและกระตุ้นให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการปรับตัวมากที่สุด เช่น การผ่าตัดเต้านม การเจ็บป่วย ที่เป็นอยู่หรือความเจ็บปวด เป็นต้น
2) สิ่งเร้าร่วม (Contextual stimuli) เป็นสิ่งเร้าอื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ใน สถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ และมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของบุคคล เช่น คุณลักษณะทาง พันธุกรรม เพศ อายุ ระยะต่างๆ ของพัฒนาการ สถานภาพสมรส บทบาทในสังคม การสูบบุหรี่ ความเครียดทางร่างกายและอารมณ์ แบบแผนการดาเนินชีวิต และการสนับสนุนทางสังคม เป็นต้น
3) สิ่งเร้าแฝง (Residual stimuli) เป็นปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลต่อการปรับตัว ของบุคคล เป็นสิ่งที่แอบแฝงอยู่ภายในและนอกตัวบุคคล เช่น ค่านิยม ทัศนคติ อุปนิสัย หรือ ประสบการณ์ในอดีต เป็นต้น
สุขภาพ
สุขภาพ (Health)
1) ระดับปกติ (Integrated level) เป็นภาวะที่โครงสร้างและหน้าที่ของ ร่างกายทางานเป็นองค์รวม สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลได้อย่างเหมาะสม
2) ระดับชดเชย (Compensatory level) เป็นภาวะที่กระบวนการชีวิตถูก รบกวนทำให้กลไกการควบคุมและการรับรู้ของระบบบุคคลถูกกระตุ้นให้ทางานเพื่อจัดการกับสิ่งเร้า
3) ระดับบกพร่อง (Compromised level) เป็นภาวะที่กระบวนการปรับตัว ระดับปกติและระดับชดเชยทางานไม่เพียงพอที่จะจัดการกับสิ่งเร้าได้ ก่อให้เกิดปัญหาการปรับตัว ตามมา
การพยาบาล (Nursing)
เป็นการดูแลช่วยเหลือบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยมีเป้าหมายเพ่ือส่งเสริมการปรับตัวของบุคคล ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคล
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
1) การประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วย (Assessment of patient behavior) เป็นการ รวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินระดับความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วยทั้ง 4 ด้าน
2) การประเมินองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของผู้ป่วย (Assessment of influencing factors) เป็นการประเมินเพื่อสืบค้นสาเหตุของพฤติกรรมที่เน้นปัญหาของผู้ป่วยโดยพิจารณาสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว
3) การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis) เป็นขั้นตอนในการ วินิจฉัยปัญหาของผู้ป่วยภายหลังได้ข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จึงนำข้อมูลมากำหนด เป็นข้อวินิจฉัยการพยาบาล โดยจัดตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง
4) การวางแผนการพยาบาล (Nursing plan) เป็นการกำหนดเป้าหมายในการพยาบาล (Goal setting) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยภายหลังดำเนินกิจกรรมการพยาบาลไปแล้ว ในทฤษฎี ของรอย คือ การช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม เป้าหมายควรเป็นเป้าหมายที่เกิดขึ้นได้จริงภายหลังที่ได้ปฏิบัติการพยาบาลเสร็จสิ้นลง
5) การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing intervention) เป็นการกระทำต่อผู้ป่วยโดยเน้นการจัดการกับสิ่งเร้าหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมและสถานการณ์ของผู้ป่วย
6) การประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นตอนของการสรุปและวิเคราะห์ประสิทธิผล ของสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว โดยสังเกตจากพฤติกรรมการปรับตัวของผู้ป่วย และนำข้อมูลที่ได้มา เปรียบเทียบกับข้อมูลก่อนทาการพยาบาลและสรุปผล
นางสาวธิติยา วันทองสุข
รหัสนักศึกษา 61122230114 เลขที่ 105