Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือ perinatal asphyxia ) - Coggle…
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia หรือ perinatal asphyxia )
ความหมาย
ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxia) มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnia) และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด (metabolic acidosis)
กลไกกการเกิด
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก
( abruptio placenta)
(placenta infarction)
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
ช็อค สูญเสียเลือด ซีด
มารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง
สายสะดือถูกกดทับขณะเจ็บครรภ์หรือขณะคลอด
สายสะดือย้อย
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์
มีความสามารในการหายใจไม่สมบูรณ์
ทางเดินหายใจอุดตัน มีน้ำคั่งในปอด
พยาธิสรีรภาพ
ปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือด เท่ากับหรือน้อยกว่า 40 mmHgและมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 80mmHg
เลือดไปเลี้ยงสมอง หัวใจ ต่อมหมวกไตเพิ่มขึ้น และอวัยวะอื่นลดลง
หายใจแบบขาดอากาศ(gasping)ประมาณ 1นาที
หายใจไม่สม่ำเสมอหัวใจเต้นช้าลง
ได้รับการแก้ไข
กลับเป็นปกติ
ไม่ได้รับการแก้ไข
หยุดหายใจครั้งแรก(primary apnea)
ถ้าไม่ช่วยทารกหายใจไม่สม่ำเสมอ 4-5นาที
หยุดหายใจอย่างถาวร(secondary apnea )
1 more item...
อาการและอาการแสดง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ระยะหลงัคลอด
แรกคลอดทันที
APGAR ต่ำกว่า 7 ตัวเขียว ไม่หายใจเอง ตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียก ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง หัวใจเต้นช้า
ระยะต่อมา
การแปลี่ยนแปลงในปอด
ทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดภาวะ RDS
ทารกที่คลอดครบกำหนดจะเกิดภาวะPPHN
หายใจหอบ ตัวเขียว
การเปลี่ยนแปลงในระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด
หัวใจเต้นเร็ว ผิวซีด หายใจแบบ gasping มี metabolic acidosis อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ความดันโลหิตต่ำ
การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาท
ขาดออกซิเจนในระยะเวลาสั้นๆ หรือสามารถกู้ชีพได้สำเร็จอย่างรวดเร็วอาจมี เพียงอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและดูดนมได้ไม่ดี
ถ้าขาดออกซิเจนนานทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้าลง ม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง ไม่มี Doll’s eye movement และมักเสียชีวิต
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
ต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติ
FHS ระยะแรกเร็วมากกว่า 160ครั้ง/นาที ต่อมาช้าลง
การวินิจฉัย
1.ประวัติการคลอด
การตรวจร่างกาย การประเมินคะแนน APGAR
3.อาการและอาการแสดง
4.การตรวจทางหอ้งปฏิบัติการ
ระดับน้ำตาลในเลืดต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ค่า ABG ผิดปกติคือ ต่ำกว่า PaCO2 สูง(> 40 mmHg) PaCO2ต่ำ(<80mmHg) pHและHCO3 ต่ำ(pH <7.1)และมีbase deficit มาก
ค่าของcalciumในเลือดต่ำกว่า8มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ค่าของ potassium ในเลือดสูง
การรักษา
moderate asphyxia
ใหอ้อกซิเจน 100% และช่วยหายใจด้วย mask และ bag เมื่อดีขึ้น จึงใส่ feeding tube เข้ากระเพาะอาหารเพื่อดูดลมออก ถ้าไม่ดีขึ้นหลังช่วยหายใจนาน 30 วินาที ใส่ ET tube และนวดหัวใจ
severe asphyxia
ให้การช่วยเหลือโดยช่วยหายใจทันทีที่คลอดเสร็จ โดยใส่ ET tube และช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% ผ่าน bag ร่วมกับการนวดหัวใจ ถ้าไม่ดีขึ้นจึงรักษาด้วยยา
mild asphyxia
ให้ความอบอุ่น ทำทางเดินหายใจให้โล่ง กระตุ้นการหายใจให้ออกซิเจนผ่านสายออกซิเจนหรือ mask ถ้าอาการดีขึ้นมีคะแนน APGAR ที่ 5นาที > 8คะแนนให้ดูแลต่อเหมือนทารกทั่วไป ถ้าคะแนน APGAR ที่ 5 นาที < 4 คะแนนดูแลเหมือนทารกที่มีภาวะ moderate asphyxia
การพยาบาล
ดูดสิ่งคัดหลั่งให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัว เพื่อลด การใช้ออกซิเจน
บันทึกอัตราการหายใจการเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
สังเกตอาการขาดออกซิเจน
เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอด
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ได้รับอาหารและสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้พักผ่อน
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก