Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.7 การพยาบาลผู้ป่วยจมน้ำ, น.ส.จิรประภา เจริญเจ้าสกุล 6001211061 เลขที่…
3.7 การพยาบาลผู้ป่วยจมน้ำ
พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นภายหลังการจมน้ำ
น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด(พลาสมา) ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมากก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันทีทำให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia) มีผลทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลง อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจวายได้ หรืออาจเกิด hemolysis ได้อีกด้วย
น้ำทะเลที่สำลักอยู่ในปอด จะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา)จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonaryedema) ระบบไหลเวียนมีปริมาตรลดลง (hypovolemic) และระดับเกลือแร่ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหัวใจวายหรือเกิดภาวะช็อกได
การจมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำให้ตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักเกิดกับเด็กเล็ก และคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น อาจเกิดจากอุบัติเหตุ (เช่น ตกน้ำ เรือคว่ำ เรือชน) คนที่จมน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ เพราะสำลักน้ำ บางคนอาจตายเนื่องจากภาวะเกร็งของกล่องเสียง (laryngospasm) ทำให้หายใจไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้มักจะทำให้คนที่จมน้ำ ตายภายใน 5-10 นาทีคนที่จมน้ำถึงแม้จะรอดมาได้ในระยะแรก แต่ก็อาจ จะตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้เช่น ปอดอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะปอดบวมน้ำ
การปฐมพยาบาล
ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที
ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะหงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้ผู้ป่วยกินอาหาร และดื่มน้ำทางปาก
ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันทีอย่ามัวเสียเวลาในการพยายามเอาน้ำออกจากปอดของผู้ป่วย (เช่น การจับแบก พาดบ่า) ถ้าหากรู้สึกว่าลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจับผู้ป่วยนอนคว่ำแล้ว ใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ท้องผู้ป่วย ยกท้องผู้ป่วยขึ้นจะช่วยไล่น้ำออกจากท้องให้ไหลออกทางปากได้แล้วจับ ผู้ป่วยพลิกหงาย และทำการเป่าปากต่อไป
ควรส่งผู้ป่วยที่จมน้ำไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด ไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทุกรายในรายที่หมดสติและหยุดหายใจ ควรผายปอด ด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทาง อย่าเพิ่งรู้สึกหมดหวังแล้วหยุดให้การช่วยเหลือ
1 กรณีที่คนจมน้ำรู้สึกตัวดี สำลักน้ำไม่มาก
ปลอบโยนให้คลายความตกใจ
ดูแลร่างกายให้อบอุ่น
กระตุ้นให้หายใจลึกๆ
แนะนำให้ไปพบแพทย์เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
อาการ
หัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้)ร่วมด้วย
ปวดศีรษะ
หมดสติ และหยุดหายใจ
เจ็บหน้าอก
กระวนกระวาย
อาเจียน
ไอมีฟองเลือดเรื่อ ๆ
(ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)
ปัจจัยที่มีผลต่อพยาธิสภาพของผู้จมน้ำ
ช่วงเวลาที่จมอยู่ใต้น้ำ
การช่วยฟื้นคืนชีพได้เร็วและถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
CPR ภายใน 10 นาที โอกาสรอด 90%
CPR ภายใน 5 นาที โอกาสรอด 96%
อุณหภูมิของร่างกายหลังจมน้ำ การสูดสำลักน้ำเข้าปอดจะทําให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงอย่ารวดเร็ว ทั้งในเลือดและสมอง
สภาพผู้ป่วยก่อนจมน้ำ
สุขภาพผู้จมน้ำ
การรับประทานอาหารที่ที่อิ่มใหม่ๆ
Diving reflexes
การมึนเมาจากสุรา
การสูดหายใจเข้าปอดเต็มที่ก่อนจมน้ำ
ความรู้ในการว่ายน้ำ
อายุ
การเปลี่ยนแปลงพยาธิสรีรภาพ
การเปลี่ยนแปลงระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ
น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่าเลือด(พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันที ทำให้เกิด hypervolemia
-Pulmonary edema ในน้ำเค็ม น้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำทะเลที่สำลักอยู่ในปอดจะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonaryedema)
การเปลี่ยนแปลงของเกลือแร่และกรดด่างในเลือด
acidosis จาก เยื่อบุถุงลมอักเสบ , ถุงลมขาด surfactant ,atelectasis, pulmonary edema
PO2 metabolic acidosis
PCO2 respiratory acidosis
น้ำจืดเกิด hyponatremia, hypochloremia, hyperkalemia
น้ำเค็มเกิด hypernatremia, hyperchloremia, hypermagnesemia
การเปลี่ยนแปลงระบบประสาท การจมน้ำทำให้เกิด cerebral hypoxia เกิดภาวะสมองบวมตามมา และภาวะ circuratory arrest ทำให้ cerebral perfusion ลดลง ทำให้สมองขาดเลือด Ischemic brain
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายลดต่ำลงตามอุณหภูมิของน้ำที่ผู้ป่วยแช่อยู่
T 35 - 32 องศา สับสน หัวใจเต้นเร็ว
T 32 - 28 องศา เกร็ง หัวใจเต้นช้า หายใจช้า
T 37 - 35 องศา หนาวสั่น ทรงตัวไม่อยู่
T 28 - 25 องศา หมดสติ หัวใจเต้นผิดปกติ
T 25 - 21 องศา หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินหายใจและปอด มีภาวะ Pulmonary congestion หรือ edema
ผู้ป่วยมีการสูดสำลักสารน้ำเข้าไปจะเกิดพยาธิสรีรภาพกับปอดอย่างรุนแรง ขึ้นกับน้ำที่สูดสำลักเข้าไป
Toxicity
Particles และ micro-organism
Tonicity ของสารน้ำ
Hypotonic solution ได้แก่ การจมน้ำจืด เกิดภาวะ Atelectasis เกิดภาวะ hypoxia
Hypertonic solution ได้แก่การจมน้ำทะเล Pulmonary edema ในน้ำเค็ม ทำให้เกิดภาวะ hypoxia จากถุงลมปอดแตก
ผู้ป่วยที่ไม่มีการสำลักน้ำ พบประมาณร้อยละ 10-15 จะพบภาวะสมองขาดออกซิเจน และเกิด neurogenic pulmonary edema ตามมา
น.ส.จิรประภา เจริญเจ้าสกุล 6001211061
เลขที่ 46 sec B