Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติขิงระบบทางเดินอาหาร, นางสาวอมรรัตน์ สะพานแก้ว ชั้นปีที่2…
ความผิดปกติขิงระบบทางเดินอาหาร
ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง
(Diarrhea)
เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD) หรือโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
อาการท้องเสีย
อาการของโรคที่พบได้บ่อย จะมีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
ถึงแม้ท้องเสียมักจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่อาจสร้างความทรมานให้แก่ผู้ป่วยและเป็นเรื้อรังจนก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้
เกิดภาวะขาดน้ำหรือมีอาการท้องเสียมากกว่า 2 วัน สำหรับเด็กเล็กหรือทารกหากมีอาการเกิน 1 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์ เนื่องจากเสี่ยงกับการเสียชีวิตจากภาวะขาดน้ำ
มีอาการปวดอย่างรุนแรงในช่องท้องหรือทวารหนัก
ไข้ขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
ถ่ายอุจจาระมีเลือดหรืออุจจาระเป็นสีดำ
สาเหตุของท้องเสีย
โดยปกติลำไส้จะดูดซึมสารอาหารในรูปแบบของเหลวจากสิ่งที่รับประทานเข้าไปในร่างกายจนเหลือแต่กากใยทิ้งไว้ แต่เมื่อเกิดอาการท้องเสียขึ้น ทำให้ลำไส้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สารอาหารเหล่านั้นจึงไม่ถูกดูดซึมและถูกขับออกมาจากร่างกาย
การถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นมูกเลือดนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งออกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ดังต่อไปนี้
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
อาการท้องเสียแบบเฉียบพลับมักเกิดจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต ดังนี้
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น โดยโรต้าไวรัสเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องเสียในเด็กมากที่สุด ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยและดูดซึมแล็กโทสที่พบในน้ำนมได้
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
นอกจากนี้ อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น อาการวิตกกังวล การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเกินไป การแพ้อาหารบางชนิด ไส้ติ่งอักเสบ หรือเยื่อบุลำไส้เสียหายจากการฉายรังสี เป็นต้น
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
อาหาร บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
การตอบสนองต่อยาบางประเภท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องเสีย
ผู้ป่วยท้องเสียส่วนใหญ่มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา แต่คนบางกลุ่มอย่างหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้มากกว่าปกติ
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
การป้องกันอาการท้องเสีย
ท้องเสียเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน ซึ่งการติดเชื้อในทางเดินอาหารจัดเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ดังนั้น การรักษาความสะอาดและเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยจึงเป็นการป้องกันการติดเชื้อที่นำไปสู่ภาวะท้องเสียได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นเหล่านี้
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งสกปรกอื่น ๆ เพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค
ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เช่น รับประทานของร้อน อาหารที่สะอาด สดใหม่ หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม เป็นต้น
ไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ ควรเก็บเข้าตู้เย็น เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการล้างมือให้สะอาด ขณะเตรียมอาหาร
เลือกดื่มน้ำที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
ภาวะท้องผูก (Constipation)
ท้องผูก หมายถึง การถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ ร่วมกับการมีอุจจาระแข็ง ซึ่งเกิดจากกากอาหารที่ย่อยแล้วเคลื่อนที่มาถึงลำไส้ใหญ่แล้วถูกดูดซึมน้ำและสารบางอย่างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแห้งเป็นก้อนแข็ง อุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ยิ่งนาน ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้น้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายมาก อุจจาระก็จะแข็งมากขึ้น เป็นเหตุให้ถ่ายลำบาก หรือผู้ที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การที่อุจจาระที่คั่งค้างในลำไส้นาน ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย แน่นท้องอึดอัด ภาวะท้องผูกมักพบบ่อยในผู้สูงอายุ
สาเหตุ
รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย ดื่มน้ำน้อย หรือความอยากอาหารลดน้อยลง อาหารที่มีเส้นใยจะเพิ่มกากอาหาร หรือปริมาณเนื้ออุจจาระ และอุ้มน้ำทำให้อุจจาระอ่อน
สุขนิสัยส่วนตัว เช่น ถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา หรือการกลั้นอุจจาระบ่อยๆ
ระบบการย่อยของทางเดินอาหารเสื่อมลง เช่น การบดเคี้ยวไม่ดีเนื่องจากฟันผุ ไม่มีฟันที่จะบดเคี้ยวอาหารที่มีเส้นใย ประกอบกับการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้ลดลง
ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือไม่มีการออกกำลังกาย หรือผู้ป่วยที่นอนติดเตียง การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายจะกระตุ้นกระบวนการ
เผาผลาญอาหารและช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวบีบตัวให้มีการขับถ่าย
ดีขึ้น
การรับประทานยาระบายเป็นประจำ ทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกกระตุ้นจากยาอยู่เสมอจนลำไส้ไม่สามารถทำงานตามกลไกปกติได้
ความเครียดส่งผลให้ร่างกายรู้สึกเบื่ออาหาร และรับประทานอาหารได้น้อย มีผลกระทบต่อระบบการขับถ่าย ร่างกายจะระงับการขับถ่ายชั่วคราวได้
ยารักษาโรคบางชนิด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน
สาเหตุอื่นๆ เช่น ดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟมากเกินไป ได้รับยาแก้ปวด หรือยาบางอย่าง หรืออาจมีโรคที่ทำให้ท้องผูกได้ เช่น โรคทางระบบประสาท มะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ
การป้องกันและแก้ไขภาวะท้องผูก
รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยอาหารให้มากขึ้น อาหารที่มีเส้นใยพบมากในผัก เช่น ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักคะน้า ผักโขม กวางตุ้ง ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี แตงกวา หรือมะเขือเทศสด ผลไม้ทุกชนิด เช่น กล้วย สับปะรด ส้มโอ ฝรั่ง องุ่น มะละกอ สาลี่ แอปเปิ้ล เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโพด เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีกากใย เช่น ครีม เนย เนื้อสัตว์ติดมัน มันทอด และขนมหวานต่างๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ฯลฯ
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า ควรดื่มน้ำ 2-3 แก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (ถ้าแพทย์ไม่ได้จำกัดน้ำดื่ม) อาจเพิ่มน้ำผัก น้ำผลไม้ในการช่วยย่อยอาหารด้วย ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้อุจจาระแห้ง
ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน และไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป ซึ่งตำราโบราณถือว่า เวลา 05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด หรือจัดสถานที่ขับถ่ายให้เหมาะสม
ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การแกว่งแขน การทำกายบริหารอย่างง่ายๆ จะช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น
ถ้าปฏิบัติตามข้อ 1-4 ไม่ได้ผล ใช้ยาระบายตามแพทย์สั่ง และใช้เท่าที่จำเป็น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถ้าปฏิบัติตัวดีก็หายเองได้
ผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวัน สูดลมหายใจเข้าออกยาวๆ ฟังดนตรีเบาๆ ทำใจให้สบายร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย
คนไข้จะรู้สึกรำคาญ อึดอัดในช่องท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ปวดท้อง ทำให้รับประทานอาหารน้อยลง และบางรายอุจจาระที่ถ่ายไม่ออกหลายๆวันจะไปอุดตันจนไม่สามารถถ่ายออก จะมีอาการต่างๆข้างต้น บางครั้ง ถ้าลำไส้อุดตันอาจจะมีอาการท้องเสียตามมาด้วย ในบางราย ( พบน้อย ) อาจะทำให้มีอาการลำไส้โป่งพองมาก มีโอกาสแตกทะลุ นอกจากนั้นอาจจะทำให้มีการสูญเสียเกลือแร่และน้ำ
ผลกระทบ
ท้องผูกส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลายคนรู้สึกเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ปวดหัว ปวดหลัง และแสบร้อนบริเวณหน้าอก ไม่เพียงเท่านั้นการออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่น
ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ
นางสาวอมรรัตน์ สะพานแก้ว ชั้นปีที่2 รุ่นที่26 ห้องA เลขที่47 รัสนักศึกษา 613020110565