Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4 การจัดอาหารที่เหมาะสมกับบุคคล ในภาวะเบี่ยงเบนและเจ็บป่วย - Coggle…
บทที่4 การจัดอาหารที่เหมาะสมกับบุคคล
ในภาวะเบี่ยงเบนและเจ็บป่วย
หลักการประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วย
1.การประเมินภาวะทางโภชนาการโดยอาศัยข้อมูลจากบุคคล(subjective nutritionalassessment) เช่น การซักประวัติ การประเมินด้วยแบบทดสอบทางโภชนาการแบบองค์รวม หรือsubjective global assessment (SGA)
2.การประเมินภาวะทางโภชนาการโดยอาศัยข้อมูลจากการตรวจวัด(objective nutritional assessment) เช่น การเจาะเลือด หรือใช้ค่าดัชนีมวลกาย (bodymass index: BMI)
การประเมินถึงความต้องการพลังงานของผู้ป่วย
1.การประเมินด้วย indirect calorimetryประเมินถึง oxygen consumption และ carbondioxide
production ของผู้ป่วยและนํามาคํานวนหาา TEE ด้วย Weir equation.
การประเมินด้วย Fick equationเป็นวิธีประเมิน TEE จาก oxygen consumption ที่ คํานวณได้หลังจากการใส่สาย Swan-Ganz catheter
3.การใช้สูตรในการคํานวณหา TEE (predictive equation)
3.1 Harris-Benedict equation
สำหรับผู้ชาย B.M.R. = 66 + (13.7 ×น้ำหนักตัวเป็น กก,) + (5 × ส่วนสูงเป็น ซม.) - (6.8 × อายุ)
สำหรับผู้หญิง B.M.R. = 665 + (9.6 × น้ำหนักตัวเป็น กก,) + (1.8 × ส่วนสูงเป็น ซม.) - (4.7 × อายุ)
3.2 Ireton-Jones equations
ผู้ป่วยหายใจเอง :BEE=629 - 11Xage + 25xkg - 609 x obesity
ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ : BEE =1784 - 11Xage + 5xkg + 244xเพศ + 239 xอุบัติเหตุ + 804x ไฟใหม้
3.3 Estimated factor
เพศชาย คิด 25-30 kcal/kg/day
เพศหญิง คิด 20-25 kcal/kg/day
การรับประทานอาหารเพื่อบำบัดโรคของผู้ป่วย
ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยควรบริโภคอาหารที่มี GI ตํ่า เนื่องจากอาหารจะถูกย่อยช้าๆ จึงทําให้น้ำนํ้าตาลกลูโคสถูกปล่อยเข้าไปในกระแสเลือดอย่างช้าๆ ทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดก็จะขึ้นช้าด้วย อาหารที่มี GI ต่ำ ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ผักใบต่างๆ และควรบริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรรับประทานอาหารทีมีแคลเซียมสูง นมพร่องมันเนย และผักสดทุกชนิด ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป
ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน พยายามปรุงอาหารด้วยการต้ม นิ่ง ย่าง แทนการทอด
ผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร ควรรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่ม ไม่มีกากใย ละเอียด เปื่อย นุ่ม รสอ่อน
โรคตับอ่อนอักเสบ ควรงดอาหารที่ให้ทางปาก
โรคตับแข็ง อาหารที่ให้ควรเป็นพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูงและไขมันปานกลาง
โรคตับอักเสบเฉียบพลัน ควรให้อาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตสูง
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จำกัดโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน และควรได้รับโปรตีนต่ำกว่าคนปกติ ต้องตํ่ากว่า 0.8 กรัม แต่ต้องไม่ตํ่ากว่าา 0.6 กรัม/กิโลกรัม
ผู้ป่วยโรคเกาท์ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีพิวรีนน้อย และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น ยอดผัก เนื้อเป็ด เนื้อไก่
ผู้ป่วยติดเชื้อ หากมีอาการท้องเสีย ควรให้เครื่องดื่มชดเชยอิเล็กโทรไลต์
การให้อาหารทางหลอดเลือดดำ
Partial parenteral nutrition (PPN) คือ การให้อาหารผ่านทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย(600-900 mOsm/L) เช่น ข้อพับ ผ่ามือ
Central Parenteral Nutrition หรือ Total Parenteral Nutrition (TPN); การให้สารอาหารผ่านทางเส้นเลือดดำใหญ่
การเปลี่ยนจากให้อาหารทางหลอดเลือดดำเป็นการให้อากหารทางปาก
ในผู้ใหญ่ที่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอที่จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่จำเป็นต้องให้ PPN
ลดลง 50 เปอร์เซน ทุกๆ 1-2 ชม.เปลี่ยนเป็น 10 เปอร์เซน dextrose IV เพื่อป้องกัน hypoglycemia
ติดตามปริมาณน้ำตาลในเลือด ทุกๆ 30-60 นาที หลังลดปริมาณลง
นํ้าเกลือความเข้มข้นตํ่าที่นิยมใช้
5% DN/2 เป็นนํ้าเกลือที่นิยมให้ในผู้ใหญ่ทั่วไป
2) 0.9%NaCl หรือ NSS (Normal Saline)เป็นนํ้าเกลือที่นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดนํ้ารุนแรง เช่น อุจจาระร่วงรุนแรง
3) 5%DN/3 เป็นนํ้าเกลือที่นิยมใช้ในเด็ก