Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล - Coggle Diagram
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
แนวคิดและหลักการบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming)
วงจรเดมมิ่ง(PDCA Deming cycle)
วางแผน(Plan)
การปฏิบัติ(Do)
การตรวจสอบ(Check)
การปฏิบัติจริง(Act)
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran)
การกำหนดเป้าหมายคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพ (Quality control)
การปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement
การพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดของครอสบี (Crosby)
การทำตามมาตรฐาน
การแก้ไขปัญหาคุณภาพ
การทำให้ถูกตั้งแต่แรก
การยึดเป้าหมายของเสียเป็นศูนย์
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน (Continuous quality improvement ,CQI)
เน้นการตอบสนองต่อผู้รับผลงานเป็นสําคัญ
เป็นการปรับปรุงวิธีการทํางานจากงานประจํา
เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล/การคิดสร้างสรรค์และการ มีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
การประกันคุณภาพทางการพยาบาล(Nursing Quality assurance) และมาตรฐานทางการพยาบาล(Nursing standard)
ความหมาย
การกระทำเพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาล สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพได้อย่างสม่ำเสมอ
วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ
เพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น
เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการพยาบาลให้ดีขึ้น
แนวคิดการประกันคุณภาพในยุคเดิม
พัฒนามาตรฐาน โดยกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติขึ้นในหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือเรียกว่า nursing procedure เพื่อให้พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลที่เหมือนกัน
มีการตรวจสอบรวบรวมข้อมูล
รายงานผลการตรวจสอบ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาและมีการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. 1952 – 1992
พยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานเพื่อเป็นการพัฒนาการพยาบาลและการประเมินคุณภาพแต่ยังเป็นการดำเนินการเฉพาะเรื่อง
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ
รูปแบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
การประกันคุณภาพของโรแลนด์
การประกันคุณภาพการพยาบาลขององค์การอนามัยโลก
การประกันคุณภาพการพยาบาลของสมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
การประกันคุณภาพการพยาบาลของคณะกรรมการร่วมเพื่อการรับรององค์การ
บริการสุขภาพ(The Joint Commission On Accreditation of Healthcare Organization : JCAHO)
ระบบการประกันคุณภาพสามารถจำแนกได้ เป็น ๒ รูปแบบ
การประกันคุณภาพภายใน(Internal quality assurance)
การประกันคุณภาพภายนอก (External quality assurance)
องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing Audit)
การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ(Quality improvement)
แนวทางการกำหนดมาตรฐานการพยาบาล
กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของความต้องการ
กำหนดให้สอดคล้องกันทั้งปรัชญา มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
การกำหนดมาตรฐานการพยาบาลในลักษณะกระบวนการ
มาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
ความหมายของมาตรฐานการพยาบาล
ข้อความที่อธิบายลักษณะที่แสดงผลการปฏิบัติการพยาบาลที่ดีเป็นข้อความที่สามารถวัดได้ และใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการพยาบาลทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
มาตรฐานคุณภาพบริการสุขภาพ
มาตรฐานระดับสากล(Normative standards)
มาตรฐานระดับผู้เชี่ยวชาญ(Empirical standards)
ระดับของมาตรฐานการพยาบาลตามสมาคมพยาบาลเมริกา
มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล(Standards of nursing practice) หมายถึง มาตรฐานวิชาชีพที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคต่าง ๆ
มาตรฐานการดูแล(Standard of care)หมายถึง มาตรฐานการพยาบาลที่เน้นที่ตัวผู้ใช้บริการ
มาตรฐานการปฏิบัติตามวิชาชีพ(Standard of professional performance) หมายถึงมาตรฐานที่องค์กรวิชาชีพสร้างขึ้นโดยเน้นที่ผู้ให้บริการ
การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing audit)
การตรวจสอบคุณภาพด้านโครงสร้าง เป็นการประเมินคุณภาพในการจัดระบบงาน
การตรวจสอบคุณภาพด้านกระบวนการ วัดคุณภาพการพยาบาลจากกิจกรรมการพยาบาล
การตรวจสอบคุณภาพด้านผลลัพธ์โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ประเภทของมาตรฐานการพยาบาล
มาตรฐานเชิงโครงสร้าง(Structure standard) หมายถึง ปัจจัยนำเข้าทั้งหมดของระบบบริการพยาบาล
มาตรฐานเชิงกระบวนการ(Process standard) หมายถึง กิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ให้กับผู้ป่วย
มาตรฐานเชิงผลลัพธ์(Outcome standard) หมายถึง การวัดผลการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นจุดประสงค์สุดท้ายในการวัดผลทางการพยาบาล
ระบบการบริหารคุณภาพ
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA)
Hospital Accreditation คือ การรับรองคุณภาพจากองค์กรภายนอก
Hospital Accreditation คือ กลไกกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพระบบงานทั้งโรงพยาบาลอย่างมีทิศทาง
วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน HA
มาตรฐาน HA คือ กรอบความคิดที่สื่อให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของสถานพยาบาลที่มีคุณภาพและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้น
ประโยชน์จากการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation)
ความเสี่ยงลดลงทำงานง่ายขึ้น บรรยากาศการทำงานดีขึ้น ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น เป็นโอกาสที่ขายความฝันส่วนตัว ภูมิใจที่ทำงานในหน่วยงานที่มีระบบดี
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย (Hospital Network Quality Audit: HNQA)
HNQA เป็นระบบการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลที่สำนักพัฒนาระบบริการสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
หลักการ Standardization ของ TQM
Documentation การทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรหลังจากมีเหตุการณ์หรือข้อบกพร่องขึ้นแล้ว
Training ฝึกอบรมสร้างความเข้าใจให้ปฏิบัติได้
Motivation จูงใจให้ปฏิบัติตามเอกสารที่กำหนด
Monitoring มีการติดตามผลดูเป็นระยะๆ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
Review มีการทบทวนเอกสารเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุก ๑ ปี
ระบบมาตรฐาน(ISO)
ISO ย่อมาจาก (International Organization for Standardization) คือ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม
มาตรฐานสากลที่สำคัญต่อการค้าเป็นมาตรฐานสากลด้านระบบบริหาร ได้แก่ ระบบคุณภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือที่รู้จักกัน
• ISO 9000 คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบเอกสาร
• ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
• ISO 9002 มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
• ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
• ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำ ในการจัดการในระบบคุณภาพ ซึ่งจะมีการกำหนดย่อย ในแต่ละประเภทธุรกิจ
• ISO 14000เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้องค์กรมีการพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
• ISO 18000มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
• ISO 26000 สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management: RM)
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management) คือการบริหารจัดการที่วางแผนสำหรับมองไปข้างหน้าและมีกิจกรรมเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
ได้ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
ได้ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานทั้งภายในองค์กรและกับภายนอกองค์กร
ได้ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ในองค์กร
มีระบบรายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมทั้งภายในองค์กรและการนำเสนอสู่ภายนอก
มีการจัดสรรทรัพยากรไปบริหารความเสี่ยงในจุดที่ถูกต้อง
กระบวนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน
การค้นหาความเสี่ยง(Risk indentification)
ประเภทของความเสี่ยง
ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk) หมายถึง ความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย
ความเสี่ยงทางคลินิก(Common Clinical Risk) หมายถึง เหตุการณ์หรือการดูแลรักษาที่อาจเกิดอันตรายหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วยทั่วไป
ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค(Specific Clinical Risk) หมายถึง ความเสี่ยงใดๆที่เกี่ยว ข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยและอาจเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ หรือเสียชีวิต โดยระบุจำเพาะโรค และภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโรคนั้นๆ
การประเมินความเสี่ยง
การจัดการความเสี่ยง (Risk Responses)
การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance)
การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction)
การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing)
หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance)
การติดตามและการประเมินผล(Monitoring & Evaluation)
การเชื่อมโยงการใช้ RM, QA , CQI และการวิเคราะห์ก้างปลา(Fish bone)
เป็นการพัฒนาให้เกิดคุณภาพ คำว่า “คุณภาพ” คือความเป็นเลิศ คือสิ่งที่ดีที่สุด การบริการรักษาพยาบาลที่เป็นเลิศ คือ การได้รับการตอบสนองด้านบริการ
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
วิธีการสร้างผังก้างปลาอาจใช้หลักทางการบริหารมาการกำหนดปัจจัย
M Man คนงาน หรือพนักงาน หรือบุคลากร
M Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวก
M Material วัตถุดิบหรืออะไหล่ อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการ
M Method กระบวนการทำงาน
E Environment อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการทำงาน
เทคนิคการกำหนดหัวข้อปัญหาที่หัวปลา
การกำหนดหัวข้อปัญหาควรกำหนดให้ชัดเจนและมีความเป็น ควรกำหนดหัวข้อปัญหาในเชิงลบ เช่น อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัด อัตราการเกิดพลัดตกหกล้ม หากเป็นด้านบวกเราจะนำไปเป็นความภาคภูมิใจ
ข้อควรระวังในการใช้แผนภาพก้างปลา
สาเหตุความผันแปรในก้างปลาต้องมาจากการระดมสมอง ภายใต้หลักการ ๓ จริง คือสถานที่เกิดเหตุจริง ด้วยของจริง ภายใต้สภาวะแวดล้อมจริง
แผนภาพก้างปลาหน้างาน ต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจริง
ข้อความที่ระบุในก้างปลาเป็นเพียง สมมุติฐานของสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง อย่าพึ่งหาคนผิด
การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้
เมื่อได้สาเหตุของปัญหาแล้ว เลือกสาเหตุที่เชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้มาวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป โดยใช้ Deming cycle (Plan-Do- Check-Act: P-D-C-A)