Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบหัวใจและหลอดเลือดและระบบทางเดินอาหาร - Coggle…
การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบหัวใจและหลอดเลือดและระบบทางเดินอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบหัวใจ
Acute MI
โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemicheart disease, IHD) หรือโรคหลอดเลือดแดง โคโรนารี(Coronary artery disease, CAD) หมายถึง โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดง ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน จะมีอาการและอาการแสดงเมื่อหลอดเลือดแดงนี้ตีบ
อาการสําคัญที่พบได้บ่อย เช่น อาการเจ็บเค้นอก ใจสั่น เหงื่อออก เหนื่อยขณะออกแรง เป็นลม หมดสติหรือเสียชีวิตเฉียบพลัน
ST elevation acute coronary syndrome หมายถึง ภาวะหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน โดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีลักษณะ ST segment ยกขึ้นอย่างน้อย 2 leads ที่ต่อเนื่องกัน
Non ST elevation acute coronary syndrome หมายถึง ภาวะหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดที่ไม่พบ ST segment elevation มักพบลักษณะของคลื่น ไฟฟ้าหัวใจเป็น ST segment depression และ/หรือ T wave inversion ร่วมด้วย
อาการสำคัญ
กลุ่มอาการเจ็บเค้นอก
ซักประวัติอาการเจ็บเค้นอกที่มีลักษณะเฉพาะ โดยยืนยันการวินิจฉัยจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะมีอาการเทียบกับขณะที่ไม่มีอาการการดูลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะพักเพียง รวมทั้ง การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออก กําลังกาย (exercise stress test) การตรวจ cardiac imaging ชนิดต่าง ๆ
การวินิจฉัยแยกโรค ในผู้ป่วยที่มีอาการต่างไปจากลักษณะเฉพาะหากไม่แน่ใจแพทย์จะพิจารณาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม
ควรนึกถึงภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเค้นอกรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 20 นาทีหรือ อมยาใต้ลิ้นแล้วไม่ได้ผล
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ํา เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและประเมินความ รุนแรงของโรค ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันควรตรวจ troponin และ/หรือ cardiac enzyme
อาจสงสัยว่าอาการเจ็บเค้นอกนั้นมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วย ที่มีอาการเจ็บเค้นอกและเคยได้รับการตรวจพิเศษทางระบบหัวใจที่มีความแม่นยําใน
เหนื่อยง่ายขณะออกแรง
แบ่งออกได้2 กลุ่มตามระยะเวลาที่มีอาการต่อเนื่อง คือเหนื่อยขณะออกกําลังที่เกิดขึ้นเฉียบพลันภายใน 1–2สัปดาห์ นึกถึงโรคหัวใจที่มีการทํางานของหัวใจลดลงอย่างเฉียบพลัน เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
มีอาการเหนื่อยขณะออกกําลังเรื้อรังเกินกว่า3สัปดาห์ขึ้นไป คิดถึงโรคที่การทํางานของหัวใจลดลงช้าๆอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน เช่น Ischemic cardiomyopathy
กลุ่มอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
กลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน มักจะมาด้วยอาการเหนื่อยซึ่งเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หายใจหอบ นอนราบไม่ได้แน่นอึดอัด หายใจเข้าไม่เต็มปอดอาจมีอาการเจ็บเค้นอกร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
อาการที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นๆ หายๆ มาเป็นเวลานานส่วนหนึ่งจะ เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีพยาธิสภาพกระจายกว้าง หรือเคยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจ ตายขนาดใหญ่
อาการเนื่องจากความดันโลหิตต่ําเฉียบพลัน
เนื่องจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาจทําให้ประสิทธิภาพการบีบตัวของ หัวใจลดลงอย่างรวดเร็วเป็นผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงจนเกิดอาการ หน้ามืด เวียนศีรษะเป็นลม ร่วมกับอาการแน่นหน้าอกซึ่งจัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย
อาการหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น
อาจมาด้วยอาการหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหันจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการกู้ชีพทันท่วงที ประมาณครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตเกิดขึ้นก่อนผู้ป่วยมาโรงพยาบาล การลดอัตราตายจึงจําเป็นต้องได้รับการกู้ชีพ ณ จุดเกิดเหตุ เมื่อมาถึงโรงพยาบาลจําเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยแยกโรค สาเหตุของการหมดสติชั่วคราว
การรักษา
การช่วยหายใจ และนวดหัวใจในผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างหยุดนิ่ง (ventricular standstill) และควรพิจารณาให้ยากระตุ้นหัวใจ เช่น ยา adrenaline(1:1,000) 1 มล. เข้าทาง หลอดเลือดดํา หรือเจือจางด้วยน้ําเกลือมาตรฐาน 5-10 มล. บริหารทางท่อช่วยหายใจผ่านหลอดลม (endotracheal tube) รวมทั้งอาจพิจารณาใช้calcium chloride หรือ calcium gluconate และต้องทําการนวดหัวใจร่วมกับการช่วยหายใจ อย่างต่อเนื่องจนกว่าระบบไหลเวียนจะกลับมาทํางานได้
ต้องทําการกระตุกไฟฟ้าหัวใจสลับกับการกู้ชีพเบื้องต้น ในผู้ป่วยที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจแสดงลักษณะ Ventricular tachycardia หรือventricular fibrillation
ควรพิจาณาใส่สายกระตุ้นหัวใจชั่วคราว (temporary pacemaker) ในผู้ป่วยที่มีทางเดินไฟฟ้าหัวใจติดขัดระดับ 3 (3rd degree AV block) ร่วมกับความดันโลหิตต่ําจนเกิดภาวะช็อกซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยการให้สารน้ําหรือยาเพิ่มความดันโลหิตได้
ควรให้การรักษาเพื่อแก้ไขภาวะช็อกดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในผู้ป่วยที่ระบบไหลเวียนโลหิตฟื้นกลับมาทํางานได้หลังการกู้ชีพ แต่ความดันโลหิตต่ําและยังอยู่ในภาวะช็อก
ควรพิจารณาให้การรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดดังที่กล่าวมาแล้ว หากสามารถวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจขาดเลือดร่วมด้วยโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับและสภาพผู้ป่วยในขณะนั้น
Pulmonary embolism (PE)
ปัจจัยเสี่ยง
การผ่าตัดในระยะ12 สัปดาห์ที่ผ่านมา
มีโรคมะเร็ง
เคยเป็น deep vein thrombosis (DVT) หรือ PE มาก่อน
immobilization นานเกิน 3 วัน ใน 4 สัปดาห์ที่ผา่ นมา
ระยะหลังคลอด 3 สัปดาห์หรือการใช้estrogen
ประวัติครอบครัวเป็ น DVT หรือ PE
กระดูกหักบริเวณขาใน 12 สัปดาห์ที่ผ่านนมา ภาวะ hypercoagulability ชนิด acquired อื่นอาจพบได้ใน antiphospholipid syndrome, nephrotic syndrome, และthrombocytosis และparoxysmal nocturnal hemoglobinuria ภาวะ hypercoagulability ทั้งชนิด congenital และacquired มักจะทำให้เกิด recurrent DVT/PE
อาการแสดงทางคลินิก
ผู้ป่วยมักจะมีอาการหายใจหอบเหนื่อยมากอย่างกะทันหัน ใจสั่น แน่นหน้าอก (pleuritic pain) อาจมีอาการหน้ามืดเป็นลม หรือหมดสติ พบไม่บ่อยที่จะมีอาการไอเป็นเลือด
ตรวจร่างกาย ผุ้ป่วยมักหายใจเร็ว เกิดภาวะ hypoxemia หัวใจเต้นเร็ว และ มีหลอดเลือดดําที่คอโป่ง (elevated jugular venous pressure) ฟังปอดมักปกติหรืออาจฟังได้เสียงวี๊ด (wheezing) ในหลอดลม บางครั้งอาจได้ยินเสียงการเสียดสีของเยื่อหุ้มปอด (pleural rub) ได้
แนวทางการวินิจฉัยและการส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติตรวจร่างกาย ใช้ wells scoring system ถ้าคะแนนมากกว่า 6 ขึ้นไป โอกาสที่จะเป็น PE จะสูงมาก
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray) มักพบว่าปกติเป็นส่วนใหญ่ อาจพบว่ามีเนื้อปอด บริเวณที่ปริมาณหลอดเลือดลดลง (regional hypo-perfusion) หรือเห็นมี infiltration ที่บริเวณปอด ในกรณีที่มีการตายของเนื้อปอด
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12 leads-ECG) ส่วนใหญ่พบว่าหัวใจเต้นเร็ว (sinus tachycardia) ลักษณะมี deep S-wave ใน lead I และมี Q-wave และ T-inversion ใน lead III อาจมี T-inversion ใน leads V1 -V3 right bundle branch block (CRBBB) บ่งบอกว่าหัวใจห้องล่างขวาทําางานผิดปกติ
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiography) จะพบมีลักษณะของ right ventricular dysfunction
การตรวจระดับก๊าซในเลือดแดง (arterial blood gas, ABG) พบว่า มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxemia) ร่วมกับมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ํา (hypocapnia) และมีค่า alveolar-arterial oxygen gradient กว้าง
ค่า biomarkers ต่างๆ ที่พบว่าสูงกว่าปกติได้แก่ D-dimer
Troponin-I หรือ T และ Pro-Brain-type natriuretic peptide อาจสูงกว่าปกติได้ บ่งบอกว่า มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวา (right ventricular infarction) และ RV overload
การรักษา
Anticoagulation ในผู้ป่วยที่มีการเกิด PE ซ้ําแล้วซ้ําอีกอาจจะ พิจารณาการให้ยา Anticoagulation ตลอดชีวิต
Thrombolytic therapy มักจะเก็บไว้ในผู้ป่วยที่มีกรณี massive pulmonary emboli กับ haemodynamic อย่างรุนแรง
Caval filter วิธีการนี้จะทําในผู้ป่วยที่มีrecurrent PE ทั้ง ๆ ที่ให้ยา anticoagulation อย่างเพียงพอ หรืออาจใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ยา anticoagulationได้ก็จะ พิจารณาอาจจะต้องใส่ caval filter ชั่วคราว
บทบาทของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติ
ประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว
1) O: Onset ระยะเวลาที่เกิดอาการ เช่น อาการเกิดขึ้นอย่างไร ขณะเกิดอาการ ผู้ป่วยกำลังทำอะไรเพื่อให้ทราบว่าอาการเกิดขึ้นนานแค่ไหน เป็นเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
2) P: Precipitate cause สาเหตุชักนําและการทุเลา เช่น อะไรทําให้อาการดีขึ้น อะไรทําให้อาการแย่ลง
3) Q: Quality ลักษณะของอาการเจ็บอก เช่น มีอาการอย่างไร เจ็บแน่นเหมือนมีอะไรมาบีบ รัดหรือเจ็บแปล๊บ ๆ
4) R: Refer pain ส าหรับอาการเจ็บร้าว อาจให้ผู้ป่วยชี้ด้วยนิ้วว่าเจ็บตรงไหน เจ็บร้าวไปที่ไหนตำแหน่งใดบ้าง
5) S: Severity ความรุนแรงของอาการเจ็บแน่นอก หรือ Pain score
6) T: Time ระยะเวลาที่เป็น หรือเวลาที่เกิดอาการที่แน่นอน ปวดนานกี่นาที
ประสานงาน
ตามทีมผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ให้การดูแลแบบช่องทางด่วนพิเศษ ACS fast track โดยใช้ clinical pathway หรือ care map
ให้ออกซิเจน
เมื่อร่างกายมีภาวะ hyperoxia จะทําให้เกิด vasospasm และ myocardia injury มากขึ้น ดังนั้นไม่แนะนํา ให้ routine oxygen ในผู้ป่วยที่มี SaO2 > 90% รวมถึงดูแลให้ยา ตามแผนการรักษา aspirin 160 - 325 มก. เคี้ยวทันที และให้nitroglycerin พ่นหรืออมใต้ลิ้น
กํารตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการแปลผล
พยาบาลต้องตัดสินใจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที โดยทําพร้อมกับการซักประวัติ เพราะต้องอ่านแปลผลภายใน 10 นาที พร้อมกับรายงานแพทย์ และแปลผลร่วมกัน
เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงของการเกิด cardiac arrest
เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำ ติดตามประเมินสัญญาณชีพ และ EKG สังเกตอาการเหงื่อแตก ตัวเย็น ซีดเขียว ปัสสาวะออกน้อย ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง เตรียมรถ emergency และเครื่อง defibrillator ให้พร้อมใช้งาน
การพยาบาลกรณี EKG show ST elevation หรือพบ LBBB ที่เกิดขึ้นใหม่
ต้องเตรียมผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดโดยเร่งด่วน โดยเลือกวิธีการรักษาโดยทํา Primary PCI เป็นอันดับแรก สามารถทําได้ถึง 48 ชั่วโมง กรณีสถานพยาบาลไม่มี PCI center พิจารณา refer ระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายไม่เกิน 120 นาที หากเกินไม่แนะนำให้ไม่เคลื่อนย้าย แต่จะพิจารณาให้ fibrinolysis drug ภายใน 10 นาที
พยาบาลต้องประสานงาน จัดหาเครื่องมือประเมินสภาพและดูแลรักษาผู้ป่วยให้เพียงพอ
เพื่อให้ปฏิบัติงานได้สะดวก รวดเร็วและสอดคล้องกับแนวทางการดูแลรักษาที่กำหนด
เตรียมความพร้อมของระบบสนับสนุนการดูแลรักษา
ระบบเวชระเบียน ระบบสื่อสาร การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระบบสนับสนุนต้องรับรู้ เป็นแนวทางเดียวกันและให้ ความสำคัญกับความเร่งด่วน
ปรับปรุงระบบส่งต่อผู้ป่วยให้รวดเร็วและปลอดภัย
กำหนดส่งต่อผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นอันดับแรก เมื่อรับผู้ป่วยและประเมินสภาพพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ให้ตัดสินใจตามทีมส่งต่อและเรียกรถพยาบาลสำหรับการส่งต่อ เมื่อแพทย์ตัดสินใจส่งต่อ ระหว่างการนำส่ง พยาบาลทีมส่งต่อต้องศึกษาประวัติผู้ป่วย ประเมินข้อบ่งชี้และข้อห้ามการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดหรือการรักษาด้วยการทําPCI เพื่อลดการใช้เวลาของโรงพยาบาลที่รับส่งต่อ
การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบทางเดินอาหาร
ชนิดของการบาดเจ็บ
Blunt injury หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระแทก พบร้อยละ 70 ของผู้ป่วยที่บาดเจ็บช่องท้อง เกิดจากอุบัติเหตุรถชน หรือตกจากที่สูง
Penetrating trauma หรือการบาดเจ็บที่เกิดจากของมีคมทะลุเป็นแผลนั้น พบร้อยละ 30แบ่งออกเป็น Gun short wound
ลักษณะและอาการแสดงของการได้รับบาดเจ็บบริเวณช่องท้อง
อาการปวด คือ ปวดจากการฉีกขาดของผนังหน้าท้องและอวัยวะภายใน
การกดเจ็บเฉพาะที่หรือการเกร็งของกล้ามเนื้อท้อง เป็นอาการแสดงให้ทราบถึงการตกเลือด และมีอวัยวะภายในบาดเจ็บ
อาการท้องอืด บ่งบอกถึงการได้รับบาดเจ็บของ ตับ ม้าม และเส้นเลือดใหญ่ในท้อง
ไม่ได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของลําไส้
ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อก ที่ไม่เห็นร่องรอยของการเสียเลือด เมื่อการช่วยเหลือไม่ดีขึ้นให้คํานึงถึงการตกเลือดในอวัยวะภายในช่องท้อง
ภาวะฉุกเฉินผู้ป่วย Blunt abdominal trauma
ภาวะเลือดออก คือเกิดการเสียเลือดเป็นผลมาจากการฉีกขาดของอวัยวะภายใน เกิดการเสียเลือด ทําให้ปริมาณสารเหลวในระบบไหลเวียนลดลง ทําให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง
ภาวะฉีกขาดทะลุ (Perforate) อวัยวะที่เป็นโพรงและเกิดการปนเปื้อนของสิ่งที่อยู่ในช่องท้อง ทําให้เกิดการอักเสบทั่วช่องท้อง ผู้ป่วยมักมีลักษณะปวดรุนแรงมาก ปวดทั่วท้อง กล้ามเนื้อทั่วท้องจะแข็งเกร็ง และจะปวดมากเวลาเคลื่อนไหวหรือสะเทือนท้องอืด ถ้าการอักเสบรุนแรงมากผู้ป่วยอาจช็อกและเกิด organ failure ได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้อง
การดูแลระบบทางเดินหายใจ
1) ประเมินว่าผู้บาดเจ็บได้รับอากาศเพียงพอ ไม่มีการอุดตันของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวมักเกิดจากลิ้นตก หรืออุดกั้นด้วยเศษอาหาร ก้อนเลือดอุดตัน
2) ดูแลผู้บาดเจ็บให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะผู้บาดเจ็บ Blunt abdominal trauma ที่อาจเกิดภาวะช็อกได้
3) กําจัดสาเหตุที่ทําให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ
4) ส่งผู้ป่วยไปถ่ายภาพรังสีตามแผนการรักษา
การดูแลระบบหัวใจและระบบไหลเวียน
การดูแลสารน้ําทดแทน โดยให้ Lactate ringer หรือ 5%D/N/2
ใส่สายสวนปัสสาวะตามแผนการรักษา ติดตามบันทึกจํานวนปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง โดยจํานวนปัสสาวะไม่ควรน้อยกว่า 0.5 - 1 ซีซี/นําหนักตัว 1 กก. /ชั่วโมง ใส่NG Tube ตามแผนการรักษา บันทึก สี ลักษณะ จํานวน
ช่วยแพทย์เจาะท้อง เพื่อการวินิจฉัย กรณีสงสัยว่ามีเลือดออกในช่องท้อง
ดูแลให้ได้รับยาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของหัวใจตามแผนการรักษา
เจาะเลือดส่งตรวจหาค่าฮีโมโกลบิน ฮีมาโตรคริต จํานวนเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และหมู่เลือด ตามแผนการรักษาของแพทย์
การบรรเทาความเจ็บปวดโดยวิธีการใช้ยาตามแผนการรักษาและวิธีการไม่ใช้ยา
ให้การพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและครอบครัว
การเฝ้าระวังระบบประสาทกลาง ระบบสูบฉีดโลหิตและไต
การพยาบาลเบื้องต้นในผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินจากบาดเจ็บบริเวณช่องท้อง
Primary survey
A. Airway maintenance with Cervical Spine control มีการประเมินภาวะของ airway obstruction, foreign bodies, facial, mandibular or tracheal/laryngeal fracture โดยต้องระวังการบาดเจ็บของ C-spine เสมอ
B. Breathing and ventilation การประเมินภาวะการหายใจของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วในช่วงแรกที่มาถึงโรงพยาบาล โดยดูภาวะ Apnea ภาวะupper airway obstruction
C. Circulation with hemorrhagic control เป็นการประเมินการเสียเลือดหรือภาวะ Hypovolemic shock อย่างรวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีโดยดูจาก level of conscious, skin color โดยดูจากภาวะ capillary filling time 3 วินาที, pulse ดูว่าเร็ว เบาหรือไม่และทําการควบคุม external hemorrhage โดยกดบริเวณที่มีเลือดออก
D. Disability: Neurologic status คือการประเมิน neurological status
E. Exposure/ Environment control คือการถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยเพื่อตรวจหาร่องรอยบาดแผลที่ชัดเจน แต่ต้องระวังภาวะ Hypothermia ด้วย
2) Resuscitation
เป็นการแก้ไขภาวะ immediate life threatening conditions ที่พบในPrimary survey
3) Secondary survey
เป็นการตรวจอย่างละเอียด (head to toe) เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยว่าผู้บาดเจ็บได้รับบาดเจ็บที่อวัยวะใดบ้าง
4) Definitive care
นําผู้ป่วยไปผ่าตัด
หรือเพียงแค่ Medication แล้วแต่พยาธิสภาพ