Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 ปรัชญาการศึกษา กลุ่มเสรีนิยม - Coggle Diagram
บทที่ 6 ปรัชญาการศึกษา กลุ่มเสรีนิยม
กลุ่มเสรีนิยมนี เป็นกลุ่มที่ไม่ยึดติดกับเนื้อหาที่ตายตัว ไม่ยึดติดมรดกทางวัฒนธรรมมากเกินไป ซึ่งมี 2 สาขาคือ พิพัฒนนิยม และปฏิรูปนิยม
ปรัชญาสาขาพิพัฒนนิยม เพื่อต่อต้านแนวคิดวิธีการศึกษาเดิมที่เน้นแต่เนื้อหา สอนแต่ท่องจำ ตัดขาดจากส้งคม ปรัชญานี้เฟื่องฟูช่วง 1910-1950
จุดมุ่งหมายของการศึกษา มองว่าการศึกษาจะต้องให้การศึกษาทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม อาชีพ และสติปัญญาควบคู่กันไปสอดคล้องกับชีวิตประจำวันให้มากที่สุด
องค์ประกอบของการศึกษา
หลักสูตร เน้นในสภาพปัจจุบันโดยเฉพาะการมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขและสมบูรณ์ในปัจจุบันและอนาคต
ครู ทำหน้าที่การเตรียม การแนะนำและการให้คำปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ครูอาจจะเป็นผู้รู้ แต่ไม่ควรไปกำหนดหรือกะเกณฑ์
นักเรียน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพราะถือว่าการเรียนรู้นั้นจะเกิดได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงหรือลงมือทำด้วยตนเอง
กระบวนการของการศึกษา
บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน การศึกษาเป็นวิธีการหลักในการปฏิรูปหรือปรับปรุงสังคม
ข้อจำกัด บทบาทของผู้เรียนนั้นจะมีมากน้อยแค่ไหน ตรงไหนคือความพอดี ใครจะเป็นผู้ตัดสินความพอดี
กระบวนการบริหาร การบริหารตามปรัชญาสาขานี้ถือหลักเดียวกับการสอน คือ การร่วมมือกัน ผู้บริหารไม่บงการหรือสั่งการ ครูทุกคนมีส่วนร่วม
กระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนควรมีบทบาทด้วยตนเองให้มากที่สุด การเรียนควรเป็นเรื่องของการกระทำ
ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม การศึกษาควรจะช่วยปรับปรุงพัฒนาหรือกล่าวรวมๆว่า ปฏิรูปสังคม
จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการปรับปรุง พัฒนา และสร้างสรรค์สังคมที่ดีและเหมาะสมกว่าขึ้นมาให้ได้
องค์ประกอบของการศึกษา
หลักสูตร เน้นสังคมเป็นหลักผู้เรียนจะต้องรู้จักและเข้าใจสภาพของสังคมอย่างดี
นักเรียน เด็กจะเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตนเองน้อยลงแต่เห็นประโยชน์ของสังคมมากขึ้น
ครู ครูจะต้องบุกเบิก เ็นนักแก้ปัญหา วิเคราะห์ให้ผู้เรียนเห็นได้ มีความเป็นประชาธิปไตย ครูไม่ใช่ผู้รู้คนเดียว
กระบวนของการศึกษา
บาบาทของโรงเรียนต่อชุมชน มีส่วนร่วมรับรู้ปัญหาของสังคมร่วมแก้ปัญหาของสังคม และส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม ถูกต้อง เป็นธรรม
ข้อจำกัด เป็นปรัชญาที่มีอุดมคติสูง มีความหวัง ความตั้งใจสูง ถ้าระบบทางการเมืองไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง คงสำเร็จได้ลำบาก
กระบวนการบริหาร ยึดหลักการบริหารแบบประชาธิปไตยเป็นหลักการบริหาร กระจายอำนาจอย่างแท้จริง
กระบวนการเรียนการสอน ให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือทำเอง มองเห็นปัญหาและเข้าใจเรื่องราว
นางสาวมาลินี จอมคำสิงห์ 62723713202 หมู่เรียนที่ 2