Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่10 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาเซลเจริญผิดปกติ, นางสาวสุวิมล เหี้ยมหาญ…
บทที่10 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาเซลเจริญผิดปกติ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
(acute lymphoblastic leaukemia
เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก
พบมากในช่วงอายุ 2-5 ปี
Leukemia
มะเร็งของระบบโลหิต เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิด(Stem cell) ที่อยู่ในไขกระดูก (Bone Marrow) เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติ ไม่สามารถ differentiate ไปเป็นเซลล์ตัวแก่ได้
ส่งผลให้จำนวนเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วร่างกายทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดลดลง
ผู้ป่วยจึงเกิดอาการซีด เลือดออก และติดเชื้อได้ง่าย
ชนิดที่พบบ่อยที่สุดในเด็กคือมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute
lymphoblastic leukemia ,ALL)
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
T-cell lymphoblastic leukemia
B-cell lymphoblastic leukemia
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL(Acute lymphoblastic leukemia)เป็นชนิดที่พบได้ในทุกช่วงอายุ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่แต่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุ
2-5 ปี
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด AML (Acute myelogenous leukemia) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จึงพบได้ในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด CLL (Chronic lymphocytic leukemia) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ และมีความชุกของโรคมากขึ้นตามอายุ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด CML (Chronic myelogenous leukemia) เป็นชนิดที่พบได้น้อย พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในผู้ป่วยเด็กนั้นประมาณ 80%มักพบในเด็กอายุมากกว่า 4 ปี
สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ปัจจัยทางพันธุกรรม
เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)ซึ่งเป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรมพบว่าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดALL และ AML มากกว่าคนปกติ
ครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดALL
พบว่าจะมีโอกาสเป็ นโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 2-4 เท่า
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
การมีประวัติได้รับสีไออนไนซ์(Ionizing radiation) ซึ่งเป็นรังสีที่ใช้ในการตรวจและรักษาในปริมาณสูง
ในเด็กที่รับรังสีรักษาในขณะอยู่ในครรภ์จากการตรวจโรคของมารดา
การมีประวัติได้รับยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน
การสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษบางชนิด โดยเฉพาะสารเบนซิน (Benzene) สารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)พบว่าคนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้สูงกว่าคนทั่วไป
อาจเกิดจากการได้รับสารเคมีต่างๆ ที่เป็นพิษจากสิ่งแวดล้อม
หรือจากควันบุหรี่และการสูบบุหรี่
นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถไปสะสมตามอวัยวะอื่นๆ
ตับ
ม้าม
ต่อมน้ำเหลือง
อาการ
เบื่ออาหาร
น้ำหนักลด
ซีด
อ่อนเพลียง่าย
เลือดออกง่าย เพราะมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีเกร็ดเลือดต่ำ จึงท าให้
เลือดออกง่าย
ออกตามไรฟัน มีจ่ำเขียวขึ้นบนตามตัว หรือมี
ประจำเดือนมากผิดปกติ
มีเม็ดเลือดขาวปริมาณมากแต่ท าหน้าที่ไม่ได้ต่อสู้เชื้อโรคไม่ได้ ผู้ป่วย
จึงติดเชื้อง่าย มีไข้ เป็นอาการสำคัญที่มักจะมารับการรักษา
การตรวจวินิจฉัย
เจาะเลือดตรวจหาเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว Blast cell
ทำการยืนยันโดยการเจาะไขกระดูก Bone marrow Transplanted เพื่อ
ดูให้ชัดเจนอีกครั้งว่ามีการแบ่งตัวที่ผิดปกติในไขกระดูกจริงหรือไม่
ยาเคมีบำบัดที่ใช้บ่อย
Cyclophosphamide รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยออกฤทธิ์จับหรือรวมตัวกับดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง (Cross link) ส่งผลท าให้เพิ่มจำนวนไม่ได้
Mercaptopurine(6-MP) รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันโดยยับยั้งการสร้าง Purine ยับยั้งการสร้างกรดนิวคลีอิก
Methotrexate รักษามะเร็ง Acute leukemiaโดยยับยั้งการสร้าง
DNA และRNA และมีฤทธิ์กดการเจริญเติบโตของเซลล์
Cytarabine(ARA-C) รักษามะเร็งชนิด Acute lymphoblastic
leukemia (ALL)โดยจะขัดขวางการสร้าง DNA
Mesna ป้องกันภาวะเลือดออกในผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่มีสาเหตุมาจากยารักษามะเร็งได้แก่Cyclophosphamide
Ondasetron(onsia) ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนใน
ผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
Ceftazidime(fortum) ป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากมีไข้
หลังได้รับยาเคมีบำบัด
Amikin ป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากมีไข้หลังได้รับยาเคมีบำบัด
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
ระบบน้้ำเหลือง (Lymphoma System) เป็น
ส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน
ม้าม,ไขกระดูก,ต่อมทอนซิล,ต่อมไทมัสภายในอวัยวะเหล่านี้ ประกอบไปด้วยน้ำเหลือง ซึ่งมีหน้าที่นำสารอาหาร และเซลล์เม็ดเลือดขาว(Lymphocyte) ไปยังส่วนต่างๆทั่วร่างกาย
ตำแหน่งที่พบบ่อย
คือต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ(Cervical Lympnode)
มะเร็งต่อมน้้าเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) พบต่อมน้ำเหลืองจะโตมาเป็นปี ไม่มีอาการเจ็บปวดมีลักษณะเฉพาะคือจะพบ Reed-Sternberg cell ซึ่งไม่มีในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่น
มะเร็งต่อมน้้าเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma)
อาการจะเร็วและรุนแรงมักจะมาโรงพยาบาลเมื่อมีการกระจายไปทั่วร่างกาย
แล้ว อาจมีก้อนที่ช่องท้อง ช่องอกหรือในระบบประสาท
Burkitt Lymphoma มีลักษณะพิเศษคือ มีต้นกำเนิดมาจาก B-cell( Blymphocyte)มีการแทรกกระจายในเนื้อเยื่อ มีก้อนเนื้องอกที่โตเร็วมาก มักพบเฉพาะที่ เช่น ในช่องท้อง รอบกระดูกขากรรไกร
การวินิจฉัยมะเร็งต่อมนำเหลือง
การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
การตรวจไขกระดูก เพื่อประเมินว่ามีการกระจายเข้าไปในไขกระดูกหรือไม่
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan)
เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจกระดูก (Bone scan)
การตรวจ PET scan ตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อหาเซลมะเร็ง
อาการ
อาการเริ่มต้นที่พบบ่อย
จะคลำพบก้อนที่บริเวณต่าง ๆ
คอ
รักแร้
ขาหนีบ
เต้านม
แต่ไม่เจ็บซึ่งต่างจากการติดเชื้อที่มักจะมีอาการเจ็บที่ก้อน
มีไข้ หนาว สั่น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน คันทั่วร่างกายเบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อทอนซิลโต ปวดศีรษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)
อาการในระยะลุกลาม
ซีด มีเลือดออกง่าย เช่น จุดเลือดออกตามตัว จ้ำเลือด
ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นภายในช่องท้องผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้องหรืออาหารไม่ย่อย ท้องโตขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง
แนวทางการรักษาในปัจจุบัน
การใช้ยาเคมีบ้าบัด (Chemotherapy)
การฉายรังสี(Radiation Therapy) คือการรักษาด้วยรังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นเนิด (Transplantation)
มะเร็งไต (Nephroblastoma)
ภาวะที่เนื้อไตชั้นพาเรนไคมา(Parenchyma) มีการเจริญผิดปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้องอกภายในเนื้อไตส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ และคลำได้ทางหน้าท้อง และมักจะเป็นที่ไตข้างใดข้างหนึ่งจะไม่ให้คลำบ่อย เพราะอาจทำให้ก้อนแตก หรืออาจเกิดการแพร่กระจายของมะเร็ง
เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงที่พบได้บ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
เป็นเนื้องอกที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบประสาท(Neural crest)สามารถเกิดบริเวณใดก็ได้ที่มีเนื้อเยื่อ Sympathetic nerve ได้แก่ ต่อมหมวกไต(adrenal gland) ในช่องท้อง เป็นต้น
อาการ
มีก้อนในท้อง ท้องโต ปวดท้อง อาการอื่นๆ
ได้แก่ ตาโปนมีรอยช้ำรอบตา(raccoon eyes) มีไข้ ปวดกระดูก ตำแหน่งที่พบก้อนครั้งแรกมากที่สุดคือต่อมหมวกไต
มีอัตราการตายสูง
การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
Chemotherapy
ระยะการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
ระยะชักนำให้โรคสงบ (induction phase)
เป็นการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์ในเวลาอันสั้นให้มากที่สุดและมีอันตรายต่อเซลล์ปกติให้น้อยที่สุด ทำให้ไขกระดูกสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ตามปกติ ระยะนี้ใช้เวลา
4 – 6 สัปดาห์
ยาที่ใช้ ได้แก่ Vincristine, Adriamycin, L – Asparaginase และ Glucocorticoid
ระยะให้ยาแบบเต็มที่ (intensive or consolidation phase)
เป็นการให้ยาหลายชนิดร่วมกันภายหลังที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะโรคสงบแล้ว เพื่อให้ยาทำลายเซลล์มะเร็งให้เหลือน้อยที่สุดระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์
ยาที่ใช้ ได้แก่ Metrotrexate, 6 – MP และ Cyclophosephamide
ระยะป้องกันโรคเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS prophylaxis phase)
เป็นการให้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เพราะผู้ป่วยโดยทั่วไปหลังการให้ยา มักมีโอกาสกลับเป็นโรคอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ ตับม้ามโต
ยาที่ใช้ ได้แก่ Metrotrexate, Hydrocortisoneและ ARA – C
ระยะควบคุมโรคสงบ (maintenance phase or
continuation therapy)
เป็นการให้ยาเพื่อควบคุม และรักษาโรคอย่างถาวร
ยาที่นิยมใช้ คือ การให้ 6 – MP โดยการรับประทานทุกวันร่วมกับการให้ Metrotrexate
วิธีการให้ยาเคมีบำบัด
ทางช่องไขสันหลัง
intrathecal
ทางกล้ามเนื้อ หลังฉีดต้องระวัง
เลือดออก
ทางหลอดเลือดดำ vein ต้องระวังการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือด ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
การรักษาประคับประคอง
เป็นการรักษาโรคแทรกซ้อน และอาการข้างเคียงจากการให้ยา
โดยต้องทำควบคู่กับการรักษาแบบจำเพาะ
แบ่งเป็น 2 แนวทาง
การรักษาทดแทน (Replacement therapy) การให้เลือดเพื่อให้ระดับฮีโมโกลบินไม่น้อยกว่า 7-8 กรัม/ดล.ในระยะแรกก่อนโรคสงบ
การรักษาด้วยเกร็ดเลือด หากผู้ป่วยมีเลือดออกจากจำนวนเกร็ดเลือดต่ำ จำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดก่อการให้ ยา ซึ่งวิธีนี้จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้สูง เพราะมีเกร็ดเลือดต่ำมากจะทำให้ผู้ป่วยถึงเสียชีวิตได้รวดเร็วไม่เกิน 24 ชั่วโมง
นางสาวสุวิมล เหี้ยมหาญ เลขที่51 36/2 612001132