Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เกณฑ์กำกับของ ธปท. มีผล 1 ม.ค. 60 - Coggle Diagram
เกณฑ์กำกับของ ธปท. มีผล 1 ม.ค. 60
ระยะที่ 1 หลักเกณฑ์ที่สำคัญต่อความมั่นคง 6 ด้าน
1 ธรรมาภิบาล
เน้น 3 เรื่องสำคัญ
ความซื่อสัตย์
ความรู้ความสามารถ
สถานะทางการเงิน
เพื่อให้การกำกับกิจการและการบริหารงานโดยกรรมการและผู้บริหารมีความสามารถ สุจริต และระมัดระวัง
2 การดำรงเงินกองทุน
ใช้หลักการ Basell II กำหนดให้ดำรง BIS ratio ที่ร้อยละ 8.5
เพื่อให้มีเงินกองทุนเพียงพอรองรับผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต มีความมั่่่นคง ปฏิบัติตามพันธกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบ
3 การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
เพื่อให้สภาพคล่องเพียงพอรองรับกระแสเงินสดไหลออก สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน
SFI ที่มีเงินฝาก ให้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve requirement) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝาก ไม่ต้องดำรงเงินฝากกระแสรายวันขั้นต่ำที่ ธปท.
มีนโ่ยบายการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และการจัดทำแบบรายงานฐานะสภาพคล่องสุทธิ (Liquidity gap)
4 กระบวนการด้านสินเชื่อ
4.1 การทำธุรกรรมด้านสินเชื่อ
เพื่อให้กระบวนการพิจารณาสินเชื่อที่เหมาะสมรัดกุม
กำหนดให้มีกระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่ออย่างรัดกุม
นโยบายที่ผ่านการอนุมัติจาก คกก
แบ่งแยกหน้าที่ในกระบวนการสินเชื่อ
เอกสารแระกอบการพิจารณาสินเชื่อที่เพียงพอ
4.2 การสอบทานธุรกรรมด้านสินเชื่อ
ให้มีการสอบทานกระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อทั้งกระบวนการ
4.3 การประเมินราคาและหลักระกันและอสังหาริมทรัพย์รอการขาย
สะท้อนกระแสเงินสดที่แท้จริงที่คาดว่าจะได้รับ
ให้มีกระบวนการตามมาตรฐานจรรยาบรรณผู้ประเมินราคา แต่อนุญาตให้ SFI ใช้เกณฑ์ภายในในการเลือกใช้ผู้ประเมินราคาภายในภายนอกได้ โดยนโยบายการประเมินราคาสินทรัพย์ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คกก.
4.4 การจัดชั้นและการกันเงินสำรอง
เพื่อให้มีการกันเงินสำรองอย่างเพียงพอและสามารถรองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ได้
จัดชั้น พิจารณาระยะเวลาค้างชำระ (Aging) สำหรับลูกหนี้ธุรกิจให้คำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นประกอบ เช่น ลูกหนี้ปิดกิจการ ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย
การจัดชั้นเป็นรายบัญชี เว้นแต่กรณีสินเชื่อธุรกิจที่ต้องพิจารณาความเกี่ยวข้องของกระแสเงินสดของแต่ละบัญชีว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ หากเกี่ยวต้องจัดชั้นไปด้วยกัน
กรณีสินเชื่อภาคการเกษตร สามารถกำหนดงวดชำระเงินตามฤดูการผลิต (Crop seasoning) ของลูกหนี้ และการจัดชั้นกรณีลูกหนี้ที่ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับสินเชื่อเกษตรที่มีงวดการชำระเงินตามฤดูการผลิตแตกต่างจากสินเชื่อโดยทั่วไป ให้หารือ ธปท. เกี่ยวกับแนวทางการจัดชั้นลูกหนี้ได้
4.5 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
กำหนดให้จัดทำนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อถือปฏิบัติ เช่น การวิเคราะห์ลูกหนี้ การติดตามผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขของลูกหนี้ และให้คำนวณและบันทึกบัญชีส่วนสูญเสียตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
ให้หารือ ธปท. กรณีลักษณะอื่น เช่น สินเชื่อฌาปนกิจครู การปรับปรุงโครงร้างหนี้สินเชื่อเกษตร ซึ่งมีลูกค้าจำนวนมาก การวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้รายกรณีอาจดำเนินการได้ยาก
4.6 การกำกับดูแลสินเชื่อที่ค้ำประกัน โดย บสย. แบบ Portfolio Guarantee Scheme (PGS)
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิตของการจัดชั้นและกันสำรองลูกหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันโดย บสย.
โดยส่วนที่ได้รับการค้ำประกันให้จัดชั้นเป็นปกติและน้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับ 0
5 การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit : SLL)
เพื่อไม่ให้มีการกระจกตัวของความเสี่ยง (Concentration risk) ต่อลูกหนี้รายใดรายหนึ่งมากเกินไปจนอาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน
กำหนดให้นับ SLL กรณีสินเชื่อต่อกลุมลูกหนี้ตามนิยามที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ไม่นับ SLL สำหรับลูกหนี้รายใหญ่ที่ดำเนินการตามโครงการ PSA และขอผ่อนผันได้กรณีเป็นการให้สินเชื่อตามพันธิจอื่น โดยไม่ต้องดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่ม
6 การบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล
6.1 การบัญชีและเปิดเผยข้อมูล
เพื่อให้การจัดทำบัญชีและงบการเงินมีมาตรฐานเดียวกัน เปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง SFIs ได้ รวมทั้งเกิดความโปร่งใส
จัดทำงบการเงินทุกรอบระยะเวลา 13 เดือน และงบการเงินรายไตรมาส โดยเผยแพร่งบการเงินประจำปีภายใน 4 เดือน และงบสอบทานรายไตรมาสภายใน 3 เดือนนับจากสิ้นไตรมาส
การคำนวณเงินนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินหรือการจ่ายเงินปันผล ถือตามที่ กค. กำหนด
แสดงรายการโดยแยกธุรกรรมนโยบายรัฐ (PSA) ออกจากราายการตามปกติ และเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกรรม PSA
6.2 การดำเนินธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)
เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อให้เกิดความโปร่งใส
นิยาม PSA สอดคล้องกับ กค. กำหนด หมายถึง โครงการนโยบายรัฐที่ดำเนินการโดย SFIs ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม. โดยอาจมีรูปแบบผ่อนปรน ฟื้นฟู
รายการ PSA เฉพาะส่วนที่มีการชดเชยความเสียหายตามมติ ครม. ให้จัดชั้นปกติ ไม่ต้องกันสำรอง และมีน้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับ 0
กำหนดให้แสดงรายการ PSA ในงบการเงินและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินโครงการ PSA ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ระยะที่ 2 ปรับปรุงจากระยะที่ 1 และเพิ่มช่องทางการให้บริการทางการเงิน 3 ฉบับ และแนวการทดสอบนวัตกรรม (30 ก.ย.62)
การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
กำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV Ratio) โดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มี LTV Ratio ไม่เกินเพดานที่กำหนด ได้รับน้ำหนักความเสี่ยงที่ร้อยละ 35
ไม่ต้องนำสินเชื่อเพื่อชำระค่าประกันชีวิตแบบ Mortgage level Term Assurance (MLTA) มารวมในการคำนวณ LTV Ratio
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีพัฒนาการที่ก้าวหน้ารวดเร็ว รองรับการสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Financial Technology : FinTech)
การใช้บริการจากผู้ใช้บริการสนับสนุนการประกอบธุรกิจ (Business Facilitator ) ของ SFI
เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น และเพื่อให้ SFIs สามารถบริหารจัดการต้นทุนดำเนินการได้อย่างเหมาะสม
ร่วมร่างหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทน (Banking agent) และร่างหลักเกณฑ์การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcing)
จัดกลุ่มงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1 งานสำคัญต่อธุรกิจสถาบันการเงิน
2 งานสนับสนุนธุรกิจสถาบันการเงิน สะท้อนความสำคัญของงานและแนวทางการกำกับดูแล
SFIs สามารถใช้บริการ Business Facilitator เพื่อดำเนินการแทน SFIs โดยควบคุม 3 ด้าน
1 บริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
2 ความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจและการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
3 การคุ้มครองผู้ใช้บริการ
SFIs ต้องรับผิดชอบเหมือนเป็นผู้ดำเนินการเอง และดูแลให้ธุรกรรมที่มีผลเสร็จสมบูรณ์ เป็นมาตรฐาานเดียวกับการที่ผู้ใช้บริการทำธุรกรรมกับ SFIs
การประกอบกิจการสาขาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
เพื่อให้ SFIs มีกระบวนการบริการความเสี่ยงและการคุ้มครองผู้ใช้บริการที่เหมาะสมสอดคล้องกับพันธกิจ
ใช้แนวทางเดียวกับสถาบันการเงิน โดย SFIs มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง คุ้มครองผู้บริการที่เหมาะสม
การประกอบการนอกสถานที่ กรณีการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทั่วไป (ออกบูธ ยานพาหนะเคลื่อนที่) สามารถให้บริการได้ไม่จำกัดกลุ่มลูกค้า และระยะเวลา
การประกอบการนอกสถานที่นอกเหนือจากให้บริการข้างต้น สามารถขออนุญาตต่อ ธปท. เป็นรายกรณีได้
การรับฝากเงินหรือการรับเงินจากประชาชนของ SFIs
เพื่อให้ SFIs มีกระบวนการรู้จักลูกค้า และพิสูจน์ตัวตนลูกค้าที่ได้มาตรฐานและรองรับเทคโนโลยีใหม่
กำหนดกระบวนการในการรู้จักลูกค้า ประกอบด้วย การระบุตัวตนและการพิสูจน์ตัวตนที่เป็นมาตรฐานและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
สำหรับกระบวนการระบุตัวตน (Identification) ธปท. กำหนดให้ธุรกรรมการเปิดบัญชีเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงตามหลักเกณฑ์ของ ปปง. ต้องมีข้อมูลและเอกสารแสดงตนเพิ่มเติมตามที่ ปปง. กำหนด
กระบวนการพิสูจน์ตัวตน (Verfication)
1 กรณีให้บริการแบบพบเห็นต่อหน้า SFIs จะต้องตรวจสอบความถูกต้องและความแท้จริงของเอกสารแสดงตนโดยใช้ Smart card reader และตรวจสอบผ่าน Web-based service หรือหน่วยงานราชการ สามารถใช้เทคโนโลยี เช่น Biometrics ประกอบด้วยได้
2 กรณีให้บริการแบบผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ มีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับ ธ.พาณิชย์ ทั้งกรณีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ของ SFIs และเครื่องของลูกค้า
การเข้าร่วมทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sanbox)
เพื่อให้ SFIs สามารถนำเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาบริการทางการเงิน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
กำหนดแนวทางการส่งเสริมการพัฒนา FinTech ด้วยกลไก Regulatory Sandbox ที่เปิดโอกาสให้ SFIs สามารถนำเนอบริการทางการเงินภายในพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมของการประกอบธุรกิจและการให้บริการที่จำกัด
ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น โดยมีหลักการสำคัญ 3 ประการ
1 ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางการเงิน
2 มีการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
3 ดูแลความเสี่ยงให้อยู่ในระะดับที่ยอมรับได้
นวัตกรรมทางการเงินที่ควรทดสอบใน Sandbox ก่อนออกใช้ในวงกว้าง ต้องเป็นบริการทางการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. และเป็นบริการทา่งการเงินหรือนวัตกรรม Fintech ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ โดยแบ่งกลุ่มการเข้าทดสอบใน Sandbox เป็น 2 กลุ่ม
1 การทดสอบใน Regulatory Sandbox ของ ธปท.
1 เป็นบริการทางการเงินที่จะพัฒนาเป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือมาตรฐานกลางสำหรับภาคการเงินไทยที่ผู้ให้บริการจำเป็นต้องทดสอบร่วมกัน
2 กฎหมายหรือหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกำหนดเกี่ยวกับการทดสอบใน Regulatory Sandbox เช่น การให้บริการ P2P Lending Platform
2 การทดสอบใน Own Sandbox ของผู้ใช้บริการ
สำหรับนวัตกรรมหรือบริการทางการเงินที่ไม่เ่ข้าข่ายตามข้อ 1
SFIs สามารถทดสอบใน Sandbox ของตนเอง (Own Sandbox) เพื่อควบคุมความเสี่ยงในการทดสอบกับลูกค้า สร้างและปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ การดำเนินการ รวมถึงการกำกับดูแลความเสี่ยงของ SFIs ในระยะต่อไป
SFIs จะต้องแจ้งแผนการทดสอบนวัตกรรม FinTech ใน Own Sandbox ประจำปี และปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกไตรมาส รวมทั้งแจ้งผลการทดสอบแต่ละโครงการทุกเดือน มายัง ธปท. ด้วย
ระยะที่ 2 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ แต่ปรับปรุงดังนี้
ด้านที่ 1 ธรรมาภิบาล
เพิ่มเติมบทบาทหน้าที่ของ คกก. SFIs
กำหนด กรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่ดี (Risk Governance Framework)
Risk Culture
Market Conduct
แก้ไข ให้ คกก. มีความรู้ IT 1 คน
มีกรรมการอิสระเกินกว่า กึ่งหนึ่ง
ไม่ให้ประธาน AC ดำรงตำแหน่ง Bord / คกก.กำกับความเสี่ยง
ด้านที่ 5 SLL
เพิ่มหลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ที่มีการปรับลดความเสี่ยงด้านเครดิต โดยการทำธุรกรรมอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit derivatives) เพื่อรองรับการทำธุรกรรม
เพิ่มหลักเกณฑ์การนับลูกหนี้ธุรกรรมประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade credit insurance)
ปรับปรุงแนวทางการจัดเก็บเอกสาร และข้อมุลยอดคงค้างของลุกหนี้หรือลูกค้าทุกรายที่เข้าข่ายได้รับการผ่อนผันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวทาง RIA ของ ธปท.
ด้านที่ 4 กระบวนการด้านสินเชื่อ
การจัดชั้นและการกันเงินสำรอง
สิทธิในบำเหน็จตกทอด สามารถนำมาหักก่อนการกันสำรอง
ปรับปรุงแนวทางการจัดทำและจัดเก็บเอกสารประกอบการพิจารณาการจัดชั้น การกันสำรอง และการตัดรายการออกจากบัญชีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวทาง Regulatory Impact Assessment (RIA) ของ ธปท.
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ปรับปรุงแนวทางการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ปปน.ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนว RIA
Market Conduct การกำกับดูแลการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม
การได้รับบริการทางการเงินอย่างเป็นธรรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนผู้ใช้บริการทางการเงิน
ปัญหาที่พบ
บังคับ/หลอกขายประกันภัย
เสนอขายทางโทรศัพท์รบกวนความเป็นส่วนตัว
เสนอขายโดยบอกเฉพาะข้อดีกดดันให้ซื้อ
การให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นธรรม
4 ไม่ (ที่ผู้ให้บริการทางการเงินห้ามทำ)
1 ไม่หลอก
2 ไม่บังคับ
3 ไม่รบกวน
4 ไม่เอาเปรียบ
ศคง. (ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน) โทร 1213 ตั้้งปี 2555
ปัจจัยสำคัญ 3 ด้านที่สนับสนุนการกำกับดูแล
กำกับดูแลเข้มแข็ง (ธปท.)
ประชาชน รู้สิทธิ เลือกได้
ปชช. มีข้อมูลเพียงพอ
ผลิตภัณฑ์
คุณภาพการให้บริการ
สถาบันการเงินใส่ใจ
ด้านนโยบายและกระบวนการ
มีการเสนอขายเป็นธรรมมากขึ้น
หลักการ Regulatory Impact Analysis : RIA
Define ปัญหา > Confirm ปัญหา > กำหนด Intended outcome > กำหนดวิธีแก้ปัญหา > รับฟังความเห็นจาก Public
ผู้กำกับดูแล และผู้ให้บริการทางการเงินดำเนินการร่วมกัน
เปรียบเทียบข้อมูลผลิตภัณฑ์
www.bot.or.th
www.1213.or.th
สาระสำคัญ
1 วัฒนธรรมองค์กรและบทบาทหน้าที่ คกก.และผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารในตำแหน่งสูงเป็นผู้รับผิดชอบ แสดงความมุ่งมั่นตั้งใจ และติดตามควบคุมอย่างใกล้ชิด
2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดกลุ่มลูกค้า
ไม่ขายผลิตภัณฑ์ซับซ้อนแก่ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง (อาวุโส ที่ไม่มีความรู้เข้าใจเพียงพอ) ไม่ขายผลิตภัณฑ์ที่พนักงานขายยังไม่สามารถอธิบายได้ถูกต้องชัดเจน
3 การจ่ายค่าตอบแทน
ให้คุณภาพการขายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญของค่าตอบแทน มาตรการลงโทษเหมาะสม บังคับใช้จริง
ไม่ผลักดันให้เกิดการขายที่ไม่เหมาะสม มาตรการลงโทษ
4 กระบวนการขาย
4.1 กระบวนการเตรียมความพร้อม
1 ความพร้อมระบบงานในกระบวนการขาย
2 การคัดเลือกพนักงานขาย
3 การจัดให้มีเครื่องมือช่วยอธิบาย เอกสารประกอบการขายชัดเจน ครบถ้วน
4.2 กระบวนการในการขายและให้บริการ
1 การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ลูกค้า ก่อนนำเสนอผลิตภัณฑ์
2 การนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์
3 การให้ข้อมูลหลังการขาย (post-sale)
ไให้ข้อมุลครบถ้วน ชัดเจน ไม่บิดเบือน และไม่รบกวนลูกค้า
5 การสื่อสารและให้ความรู้พนักงาน
สื่อสารแนวทางการให้บริการอย่างเป็นธรรมแก่พนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้อง วัดผลสำเร็จของการสื่อสารเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ทบทวนความรู้ต่อเนื่อง
6 การดูแลข้อมูลของลูกค้า
มีความปลอดภัยและคำนึงถึงความเป็นส่วนตัว
7 การแก้ไขปัญหาและจัดการเรื่องร้องเรียน
มีช่องทางรับเรื่องที่ลูกค้าติดต่อได้สะดวก แก้ไขปัญหาและชดเชยเป็นมาตรฐาน วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงและเสนอผู้บริหารสั่งการแก้ไข
8 การควบคุม กำกับและตรวจสอบ
มีการควบคุมดูแลที่รัดกุม มีประสิทธิผล ในทุกขั้นตอนทำการตรวจสอบการเสนอขายแบบไม่แสดงตัวตน (mystery shopping) ในสัดส่วนที่เพียงพอ ควบคุมให้มีการใช้รายชื่อ "ห้ามโทร" จริงจัง
9 การปฏิบัติงาน และแผนรองรับการปฏิบัติงาน
มีคู่มือการปฏิบัติงาน มีระบบบันทึกเหตุการณ์การทำธุรกรรมที่ใช้งาานได้จริงและบำรุงรักษาต่อเนื่อง มีแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน