Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพัฒนาการครอบครัว ( Family Development Theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีพัฒนาการครอบครัว
( Family Development Theory)
1. ครอบครัวระยะเริ่มต้น (marital stage)
1.1 พันธกิจครอบครัว
1) จัดเตรียมที่อยู่อาศัย
2) สร้างระบบต่าง ๆร่วมกัน เช่น ระบบการใช้จ่ายเงิน
3) ปรับตัวเข้าหากันและยอมรับพฤติกรรมและปรับบทบาทหน้าที่ใหม่ในครอบครัว
7) สร้างวิถีทางการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
8) วางแผนการมีบุตร
9) สร้างปรัชญาชีวิตร่วมกัน
4) สร้างความพึงพอใจสัมพันธภาพทางเพศให้คงอยู่ตลอดไป
5) สร้างระบบการสื่อสารที่ดี ใช้สติปัญญา มีเหตุผล และซื่อสัตย์ต่อกัน
6) สร้างสัมพันธภาพกับเครือญาติ
1.2 บทบาทของพยาบาลครอบครัว
พยาบาลจะต้องแสดงบทบาทผู้ให้ความรู้ คือสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับพันธกิจครอบครัวในระยะเริ่มต้น พร้อมทั้งแสดงบทบาทผู้ให้คำปรึกษาในเรื่องการปรับบทบาทในชีวิตสมรสและเรื่องเกี่ยวกับเพศ การวางแผนครอบครัว การสื่อสารในครอบครัว การดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ก่อนการตั้งครรภ์ ความพร้อมในการมีบุตร รวมทั้งการปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์
2. ครอบครัวระยะเริ่มเลี้ยงดูบุตร (early childbearing families)
2.1 พันธกิจครอบครัว
1) เตรียมการจัดการสำหรับการเลี้ยงดูบุตร
2) พัฒนารูปแบบการหารายได้และการใช้จ่ายเงินใหม่
3) ปรับบทบาทความรับผิดชอบในการทำงานใหม่
4) ปรับแบบแผนการมีเพศสัมพันธ์
5) ขยายระบบการสื่อสารในปัจจุบันโดยเฉพาะการตอบสนองความต้องการทางด้านอารมณ์
8) แสวงหาความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และการเป็นบิดามารดา วางแผนสำหรับการมีบุตรในครอบครัวและ
9) รักษาดำรงไว้ซึ่งการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมตามปรัชญาแห่งชีวิต
6) ปรับความสัมพันธ์กับเครือญาติ
7) ปรับความสัมพันธ์กับผู้อื่น ชุมชน สังคม
2.2 บทบาทของพยาบาลครอบครัว
1) การเป็นพ่อแม่
2) การดูแลสุขภาพ
3) การดูแลปัญหาสุขภาพเบื้องต้น การปฐมพยาบาล
4) การให้ภูมิคุ้มกันโรคเด็ก
5) การสังเกตประเมินพัฒนาการเด็กและการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
6) การวางแผนครอบครัว
7) สนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
3. ครอบครัวระยะมีบุตรวัยก่อนเรียน (families with preschool children)
3.2 บทบาทของพยาบาลครอบครัว
พยาบาลจะต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้ค้นหาเกี่ยวกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของบุตรวัยก่อนเรียน คือ ประเมินครอบครัวและให้การช่วยเหลือให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาทั้งในเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก และแสดงบทบาทการเป็นผู้สนับสนุนคือส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามวัย การป้องกันโรค การดูแลเมื่อเจ็บป่วย การดูแลเมื่อต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก การป้องกันอุบัติเหตุ และประเด็นสำคัญคือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งมั่นคงในชีวิตสมรส
3.1 พันธกิจครอบครัว
1) จัดเตรียมสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกเครื่องมือเครื่องใช้ ให้เพียงพอสำหรับสมาชิกครอบครัว และคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ
7) จัดสรรทรัพยากรตอบสนองความต้องการของสมาชิก มีความสัมพันธ์กับสังคมภายนอกครอบครัว
8) เผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างท้าทาย
2) วางแผนปรึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
3) ร่วมกันรับผิดชอบเกี่ยวกับการขยายตัวของครอบครัวและการเจริญเติบโต
4) รักษาความพึงพอใจในสัมพันธภาพทางเพศ
5) รักษาระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในครอบครัว
6) รักษาความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติกับครอบครัว
4. ครอบครัวระยะมีบุตรวัยเรียน (Families with school children)
4.1 พันธกิจครอบครัว
1) เตรียมการสำหรับกิจกรรมของเด็ก
6) มีความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันกับญาติของครอบครัว
7) เชื่อมโยงครอบครัวกับสังคมภายนอก
8) ทดสอบและตรวจสอบปรัชญาของครอบครัวอีกครั้ง
5) ยังคงรักษาความพึงพอใจของแต่ละบุคคลรวมทั้งคู่สมรส
4) ใช้ระบบการสื่อสารในครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ให้ความร่วมมือประสานงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
2) รักษาสถานภาพทางเศรษฐกิจให้มั่นคง
4.2 บทบาทของพยาบาลครอบครัว
พยาบาลเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก การป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาการเรียน พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาการเรียน พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ปัญหาสุขภาพ การสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับลูก รวมทั้งปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา
5. ครอบครัวระยะมีบุตรวัยรุ่น (families with teenagers)
5.1 พันธกิจครอบครัว
1) อำนวยความสะดวกตามความต้องการที่แตกต่างกันของสมาชิกครอบครัว
2) คิดคำนวณเงินรายได้ของครอบครัว เพื่อวางแผนการใช้จ่าย
3) ร่วมกันทำหน้าที่และรับผิดชอบการดำเนินชีวิตของครอบครัว
4) ให้ความสำคัญต่อสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสามีและภรรยา
5) รักษาระบบการสื่อสารที่ดี ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6) รักษาความสัมพันธ์กับเครือญาติ
7) เติบโตเป็นตัวของตัวเองอยู่ในครอบครัวและสังคมภายนอกอย่างมีความสุข
8) ดำเนินวิถีชีวิตตามปรัชญาการดำเนินชีวิต
5.2 บทบาทของพยาบาล
ครอบครัวพยาบาลจะต้องแสดงบทบาทผู้ให้ความรู้ พร้อมทั้งแสดงบทบาทผู้ให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวในประเด็นการช่วยให้ครอบครัวเข้าใจเด็กวัยรุ่นและมีทักษะการสื่อสารที่ดี รวมทั้งทักษะการแก้ไขปัญหา การตอบสนองปฏิกิริยาความต้องการของวัยรุ่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยน้อยที่สุด จะเป็นการลดความขัดแย้งและปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
6.ครอบครัวระยะมีบุตรแยกจากครอบครัว (launching center families)
6.1 พันธกิจของครอบครัว
1) จัดสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพและทรัพยากรตามการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวให้เหมาะสม
2) ค่าใช้จ่ายสำหรับการที่บุตรย้ายครอบครัวไป
3) แบ่งบทบาทความรับผิดชอบใหม่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในครอบครัว รับบทบาทการเป็นปู่ ย่า ตา ยาย
4) พ่อแม่จะย้อนกลับมาด้วยกันเพียงสองคน คือ สามีและภรรยา
5) คงรักษาระบบการสื่อสารที่ดีมีความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวและกับครอบครัวใหม่ของบุตร
6) วงจรครอบครัวจะขยายกว้างออกไปตั้งแต่บุตรเป็นผู้ใหญ่
7) สร้างความปรองดองเมื่อเกิดความคับข้องใจในเรื่องความซื่อสัตย์และปรัชญาในการดำเนินชีวิต
6.2 บทบาทของพยาบาลครอบครัว
พยาบาลจะต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้ค้นหาเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า การพลัดพรากจากบุตร และความวิตกกลังวลเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของบุตรที่แยกออกไปอยู่ตามลำพังกับครอบครัวใหม่พยาบาลจะต้องประเมินครอบครัว และให้การช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ
7. ครอบครัวระยะวัยกลางคน (families of middle years)
7.1 พันธกิจของครอบครัว
1) ดูแลรักษาบ้านให้น่าอยู่
2) วางแผนเพื่อความมั่นคงของชีวิตในบั้นปลาย
3) รับผิดชอบต่อครอบครัว
4) สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อคู่สมรสให้มีความผูกพันใกล้ชิด
5) มีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวใหม่ของบุตร
6) คงความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือญาติโดยเฉพาะพ่อแม่ที่สูงอายุ
7) เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนสังคมเพิ่มมากขึ้น
8) ทบทวนเพื่อยืนยันว่าค่านิยมของวิถีชีวิตนั้นเหมาะสมและมีความหมายอย่างแท้จริง
7.2 บทบาทของพยาบาล
ครอบครัวพยาบาลจะต้องแสดงบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสิ่งสำคัญที่พยาบาลควรปฏิบัติ คือ 1) การส่งเสริมสุขภาพ 2) ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพที่ดีของสามีและภรรยา 3) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการสื่อสาร มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุตร บุตรเขย-บุตรสะใภ้ หลานและพ่อแม่วัยชรา 4) ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ และ 5) จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยป้องกันอุบัติเหตุ
8. ครอบครัวระยะวัยชรา (Aging families)
8.2 บทบาทของพยาบาล
ครอบครัวพยาบาลควรมีบทบาทเป็นผู้ให้บริการ สนับสนุนในการช่วยเหลือให้ครอบครัวสามารถเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงการสูญเสียได้อย่างเหมาะสมโดยช่วยสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ เตรียมพร้อม ที่จะรับสถานการณ์ต่าง ๆ
8.1 พันธกิจครอบครัว
1) เตรียมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามวัย
2) ปรับการใช้จ่ายให้เหมาะสมภายหลังการเกษียณ
3) สร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต
4) ดูแลกันระหว่างสามีภรรยา
5) เตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับการสูญเสียคู่ชีวิต
6) คงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับบุตรหลาน
7) ดูแลญาติที่สูงอายุ
8) คงรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในชุมชนสังคม
9) ค้นหาความหมายของชีวิต คุณค่าประสบการณ์