Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 เรื่องการวางแผนงาน / โครงการ / การประเมินผล - Coggle Diagram
บทที่ 8 เรื่องการวางแผนงาน / โครงการ / การประเมินผล
แผนงาน
ความหมาย
การตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อใด และใครเป็นผู้ทำ
การใช้ความรู้ทางวิชาการ และวิจารณญาณวินิจฉัยเหตุการณ์ในอนาคต และกำหนดวิธีการโดยถูกต้อง และมีเหตุผล เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแบบแผน และเรียบร้อยมีประสิทธิภาพที่สุด
สาระสำคัญ การวางแผน
การวางแผนเป็นเรื่องของการเตรียมการ
การวางแผนเป็นเรื่องของการกระทำอย่างจงใจ
การวางแผนเป็นเรื่องของการจัดกระทำเพื่อผลในอนาคต
ความสำคัญของการวางแผน
การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมในปัจจุบันแล้วกำหนดสภาพใหม่ในอนาคต
การวางแผนเป็นศูนย์กลางการประสานงาน เช่น ในการจัดบริการเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อประสานงานการบริการทุกระดับ และทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้
การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่าง ๆ เป็นไปโดยประหยัด มีสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพราะการวางแผนเป็นการคิด และการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า และเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด
การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหาร เพื่อติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย และเป้าหมายที่ต้องการ
ประเภทของแผน
1.แผนระดับสูง
(แผนภูมิมโนมติ / แผนนโยบาย / แผนยุทธศาสตร์)
เป็นแผนที่องค์การบริหารระดับสูงกำหนดขึ้น โดยกำหนดเป็นข้อความที่ระบุไว้กว้าง ๆ โดนครอบคลุมวัตถุประสงค์ขององค์การเพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินงานขององค์กรระดับล่าง หรือระดับปฏิบัติ
2.แผนระดับปฏิบัติการหรือแผนปฏิบัติการ
แผน (Plan)
คือ ข้อกำหนดหรือรายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินการในอนาคต เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมีทิศทาง หรือสิ่งที่คาดหวังหรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น มีแนวดำเนินการเพื่อให้เกิดผลที่คาดหวัง มีการใช้ทรัพยากร และเงื่อนไขเวลา ทั้งหมดที่กล่าวมาจะถูกกำหนดไว้กว้างๆ
แผนงาน หรือชุดโครงการ (Program)
คือ กลุ่มกิจกรรมตั้งแต่ 2 โครงการขึ้นไปที่มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน และตอบสนองนโยบายเดียวกัน
โครงการ (Project)
คือ กลุ่มของกิจกรรมที่มีความสัมพันธเกี่ยวข้องกันมุ่งตอบสนองเป้าหมายในแผนงานเดียวกัน โดยมีเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ชัดเจน และต้องเป็นงานพิเศษ หรือต่างไปจากงานประจำ โครงการประกอบด้วยงาน และกิจกรรม
ลักษณะของแผนงานที่ดี
มีความชัดเจน
มีความสมบูรณ์
มีความแม่นตรง
มีความครอบคลุม
มีความยืดหยุ่น
มีความเป็นพิธีการ
มีความง่ายในการปฏิบัติ
มีความง่ายในการควบคุม
มีความประหยัด
ระดับแผนงาน
นโยบาย
แผน
แผนงาน
โครงการ
งาน / กิจกรรม
การประเมินผลโครงการ
การประเมินโครงการมีเป้าประสงค์หลัก
ต้องการข้อมูลที่บ่งชี้ว่าโครงการที่ดำเนินการนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ หรือเป็นโครงการที่คุ้มค่าต่อการตัดสินใจในการดำเนินการหรือไม่ รวมถึงการศึกษาว่าในการดำเนินการโครงการมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขในเรื่องอะไรบ้าง และเป็นโครงการที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด
หมายถึง
การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดสารนิเทศในการปรับปรุงโครงการ และสารนิเทศในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อสรุปผลว่าโครงการนั้น ๆ ได้บรรลุวัตถุประสงค์ / เป้าหมาย และมีประสิทธิภาพเพียงใด
ประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ในการประเมิน
1. ประสิทธิผล (Effectiveness)
เป็นการประเมินผลลัพธ์ หรือผลงานในเชิงปริมาณ หรือคุณภาพได้ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
2. ประสิทธิภาพ (Effciency)
เป็นการประเมินว่าผลงานที่ได้ออกมาสิ้นเปลืองงบประมาณ หรือทรัพยากรมากเพียงใด มักใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ (Cost benefit analysis) หรือการวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผล (Cost-effectiveness analysis) ยิ่งผลลัพธ์มาก ต้นทุนต่ำ ยิ่งมีประสิทธิภาพมาก
3. ความพอเพียง (Sufficiency)
เป็นการประเมินว่าโครงการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ในระดับใด พอเพียงที่จะแก้ปัญหาที่มีอยู่หรือไม่
4.ความเหมาะสม (Appropriateness)
ประเมินเพื่อดูว่าการจัดบริการสดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่เพียงใด เหมาะกับพื้นที่ และเหมาะสมกับเวลาหรือไม่
5.ความเสมอภาค (Equality)
ประเมินเพื่อดูว่าใครบ้างมีโอกาส หรือไม่มีโอกาสได้รับผลลัพธ์โครงการ ดูความเท่าเทียมที่ผู้รับพึงได้รับบริการสาธารณะตามสิทธิอันึงมีพึงได้
โครงการและการเขียนโครงการ
หมายถึง
"แผนหรือเค้าโครงการตามที่กำหนดไว้"
โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนา ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพ และทิศทางซึ่งมีขอบเขตในการที่จะสามารถติดตาม และประเมินผลได้
โครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทา หรือลด หรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบัน และอนาคต โครงการโดยทั่วไป สามารถแยกได้หลายประเภท
การเขียนโครงการที่นิยม
แบบประเพณีนิยม (Convention method)
แบบตารางเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framwork method)
หลักการเขียนวัตถุประสงค์
S : Senible (เป็นไปได้)
หมายถึง วัตถุประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ
M : Measurable (วัดได้)
หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีสามารถวัดและประเมินผลได้
A : Attainble (ระบุสิ่งที่ต้องการ)
หมายถึง ต้องระบุสิ่งต้องการอย่างเฉพาะเจาะจง
R : Reason (เป็นเหตุเป็นผล)
หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลในการปฏิบัติ
T : Time (เวลา)
หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีขอบเขตเวลาที่แน่นอน
การเขียนโครงการประกอบไปด้วย (แบบประเพณีนิยม)
ชื่อโครงการ
การตั้งชื่อโครงการนั้นต้องมีความชัดเจน เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง เป็นที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับผู้นำโครงการไปใช้ หรือผู้เข้าร่วมโครงการ
หลักการและเหตุผล
เป็นส่วนที่บอกว่าทำไมต้องการทำโครงการนั้น ทำแล้วได้อะไร ถ้าไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ให้สะท้อนความจำเป็นของการจัดทำโครงการแสดสถิติข้อมูลและเหตุผลรองรับที่มีน้ำหนักสมเหตุสมผล เพื่อให้ผู้รับบริการเห็นควรให้การสนับสนุนโครงการ
วัตถุประสงค์
เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ และวัดประเมินผลได้
เป้าหมาย
เป็นการกำหนดทิศทางและความต้องการที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์
วิธีดำเนินการ หรือกิจกรรม หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
เป็นกระบวนการปฏิบัติ เพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ โดยกำหนดกิจกรรมอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ระบุใคร ทำอะไรมีปฏิทินปฏิบัติงานควบคุมกำกับชัดเจน
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
คือ การระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการนิยมระบุ วัน - เดือน - ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการ
งบประมาณ
เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายงานค่าใช้จ่ายได้อย่างการระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วยระบุรายละเอียดค่าใช้จ่ายจำแนกตมหมวดหมู่
การประเมินผล
บอกแนวทางการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไร ในระยะเวลาใด และใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม ดดยระบุวิธีการ และเกณฑ์ที่ใช้ในการวัด และเป็นแนวทางให้ผู้รับบริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นแนวทางการติดตามผลโครงการ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ / ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นผลประโยชน์และผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโดยตรง และโดยอ้อมที่อยู่นอกความคาดหมายไปจากวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
เป็นการระบุตัวบุคคล หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเสนอและดำเนินโครงการ