Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมาย
ตามบทนิยามของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
กฎหมาย
กฎที่สถาบันหรือผู้มีอาฃำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
ลักษณะและประเภท
กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
เช่น รัฐสภา รัฐบาล องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น
กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี
เช่น กรณีของฑูตต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำในประเทศไทยอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดหรือกำหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้
ตัวอย่างเช่นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔ บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์”
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ในเมื่อกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กาหนดความประพฤติของบุคคลดังนั้นเพื่อให้บุคคลนั้นปฏิบัติตาม จึงจาต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการผ่าฝืนกฎหมาย หากเกณฑ์ใดไม่มีสภาพบังคับก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
ตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายเอกชน (Private Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับ
เอกชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน โดย
บัญญัติถึงฐานะของบุคคล ครอบครัว มรดก หนี้สิน และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ
กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการค้าขาย หุ้นส่วน บริษัท การ
ประกันภัยและตั๋วเงิน
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือรัฐต่อรัฐ โดยมีแหล่งกำเนิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
แผนกคดีบุคคล
เป็นกฎหมายที่กาหนดความสัมพันธ์ของบุคคลต่างรัฐในทางแพ่ง
เกี่ยวกับความประพฤติ สิทธิและหน้าที่
สัญชาติ ภูมิลาเนา การสมรส การทำนิติกรรม และทรัพย์สิน ซึ่ง
แต่ละประเทศจะมีรายละเอียดแตกต่างกัน ทำให้เกิดการขัดแย้งกันได้
แผนกคดีอาญา
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ในคดีอาญาของบุคคลที่เกิดขึ้นโดยประชาชนของประเทศหนึ่ง หรือการกระทำผิดที่ต่อเนื่องในหลายประเทศ และต้องพิจารณาว่าประเทศใดมีอำนาจจับกุมและพิพากษาคดีเพื่อลงโทษบุคคลนั้น
กฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กฎหมายความ
ร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญา
แผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่กาหนดความสัมพันธ์ของรัฐเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่
มหาชน (Public rights and duties) ทั้งในเรื่องเขตแดน การฑูต การทาสนธิสัญญา หรือกรณีพิพาท
สนธิสัญญาเกี่ยวกับเขตแดน สนธิสัญญาสงบศึก กฎบัตรสหประชาชาติ
กฎหมายมหาชน (Public Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ
ประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นแม่บทและเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่กำหนดการปกครองประเทศ รองจากรัฐธรรมนูญ
เจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ
กฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล
วิธีพิจารณา
ความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา
สภาพบังคับทางกฎหมาย
กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง
แหล่งกำเนิดของกฎหมาย
กฎหมายภายใน
เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอานาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้น
ใช้ภายในประเทศ
กฎหมายภายนอก
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ
สหประชาชาติ หรือ เกิดจากความตกลงระหว่างประเทศ
สนธิสัญญา อนุสัญญา
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
ศักดิ์ของกฎหมาย
ลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สูงสุดถึงต่าสุด
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ซึ่งออกตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และอาศัยอานาจตามพระราชบัญญัติ เพื่อออกกฎหมายเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินั้นๆ โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงใช้บังคับกับประชาชนทั่วไป
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและ
ลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558 กฎกระทรวง กำหนดชื่อสถานพยาบาล
ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule/Regulation/Discipline)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้า
หน่วยงานองค์กร ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการ เพื่อกาหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติงาน โดยอาศัยตามพระราชบัญญัติ
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่ง
วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยวิทยาลัยพยาบาล
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนาของคณะรัฐมนตรี ออกโดยฝ่ายบริหารที่อาศัยอานาจตามรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติ ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจใช้บังคับประชาชนทั่วไป แต่ไม่สามารถมีบทกาหนดโทษ และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกาจะถูกยกเลิกไปโดยปริยาย เช่น พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ประกาศและคำสั่ง (Announcement/Command)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยอาศัยอานาจตามพระราชบัญญัติ หรือเพื่อปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ
ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องห้ามมิให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำ
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้น
เดียวกัน และรองจากรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ (พรบ.) (Act)
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา โดยผู้ที่สามารถเสนอร่างกฎหมายนี้ คือ คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอผ่านพรรคการเมืองที่ตนสังกัด เมื่อกฎหมายผ่านขั้นตอนการออกกฎหมายจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีจะนาทูลเกล้า ฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา จึงถือว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้กรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรนาเสนอ ให้วุฒิสมาชิกยับยั้งพระราชบัญญัตินั้นไว้ และส่งคืนให้สภาผู้แทนราษฎร โดยสภาผู้แทนราษฎรจะยกร่างกฎหมายนี้มาพิจารณาใหม่ได้เมื่อพ้น 180 วันนับจากที่ได้รับคืนจากวุฒิสภา ยกเว้นเกี่ยวกับเรื่องเงิน สภาผู้แทนราษฎรสามารถนาร่างกฎหมายนั้น มาพิจารณาใหม่ได้ทันที และถ้าลงมติเห็นชอบด้วยเสียง 2 ใน 3 ถือว่าร่างกฎหมายนี้ผ่านความเห็นชอบและนายกรัฐมนตรีสามารถนาขึ้นทูลเกล้าฯ เสนอเพื่อลงพระปรมาภิไธย
ประมวลกฎหมาย (Code of Law)
เป็นการรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ให้มาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบ เพื่อง่ายต่อการศึกษา ค้นคว้านำไปประยุกต์ ปรับปรุงหรือแก้ไขกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชกำหนด (Royal Enactment)
เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหาร เพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และในกรณีต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้เมื่อประกาศใช้แล้ว คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภา ถ้าได้รับอนุมัติจะมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติต่อไป โดยจะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติ พระราชกำหนดนั้นมีอันถูกยกเลิก แต่ไม่มีผลกระทบต่อกิจกรรมที่ได้กระทำในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น
พระราชกำหนดอัตราราคาน้ำมัน พระราชกำหนดอัตราภาษีอากร
อื่นๆ
ข้อบังคับท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
ข้อบัญญัติ
กรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติจังหวัด และเทศบัญญัติ ซึ่งมีผลบังคับใช้เฉพาะพื้นที่เท่านั้น
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลของประเทศไทย
แยกเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ จะย้ายจากศาลหนึ่งไปดารงตาแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แต่ละคดีได้รับการวินิจฉัยโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายและลักษณะคดีแต่ละประเภทเหล่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดตัดสิน ด้วยวิธีพิจารณาที่เหมาะสม
ศาลของประเทศไทย
ศาลยุติธรรม
เป็นศาลที่มีอานาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอานาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมมีรูปแบบการพิจารณาคดีด้วย “ระบบกล่าวหา” ที่มีผู้พิพากษาเป็นคนกลางทาหน้าที่ตัดสินคดีความ ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น
ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court)
เป็นศาลลาดับที่สูงกว่าศาลชั้นต้น มีองค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน เพื่อพิจารณาตัดสินคดีที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินแล้ว แต่คู่ความยังต้องการความเป็นธรรม ซึ่งการตัดสินคดีของศาลอุทธรณ์จะเป็นไปในลักษณะยืนตาม แก้ไข กลับหรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการพิจารณาคดีใหม่
ศาลฎีกา (Supreme Court)
เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขของตุลาการศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีเพียงศาลเดียวตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร องค์คณะ ผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน ศาลฎีกามีอานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คาพิพากษา หรือคาสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณี ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา การวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาถือเป็นที่สุดหรือเป็นคดีแดง ซึ่งคู่กรณีไม่สามารถนากลับมาฟ้องร้องได้
ศาลชั้นต้น (Civil court/Court in the First instance)
ศาลแพ่ง เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและ
คดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอานาจของศาลยุติธรรมอื่น
ศาลอาญา เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงในเขต
ท้องที่กรุงเทพมหานคร
เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณา
และชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก เมื่อมีการฟ้องร้องและนาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ศาลปกครอง (Administrative Court)
เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมที่มีอานาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีในทางปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง
ศาลรัฐธรรมนูญ
เป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2540 แทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ยุบเลิกไป
ศาลทหาร
ได้มีขึ้นเป็นของคู่กันมาตั้งแต่มีการทหารไว้ป้องกันประเทศ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบบศาลทหารไทยปรากฏตามกฎหมายลักษณะขบฎศึก จุลศักราช 796 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 มีศาลกลาโหม ชาระความที่เกี่ยวกับทหารและยังชาระความพลเรือนด้วย ทั้งนี้เนื่องจากสมุหพระกลาโหมนั้นมิได้มีเพียงอานาจหน้าที่เฉพาะการบังคับบัญชาทหารบกทหารเรือเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่จัดการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมมีทั้งศาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ และศาลในหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย ศาลกลาโหมจึงมีลักษณะเป็นทั้งศาลทหารและศาลพลเรือน
ระบบศาลคู่
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอานาจในการวินิจฉัยคดีดังกล่าว ข้อพิจารณาของระบบศาลคู่
ระบบศาลเดี่ยว
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดี
แพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่นๆ ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด ประเทศที่ใช้ระบบนี้
กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา