Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย นาย พงศกร สมพร 6001211320…
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
นาย พงศกร สมพร 6001211320 เลขที่61 Sec.B
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย ตามบทนิยามของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจ สูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ
เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ
เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม
เพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
กฎหมาย คือ
ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น
เพื่อควบคุมความประพฤติ/ พฤติกรรมของมนุษย์
หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ลักษณะของกฎหมายและประเภทของกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
กำหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔ บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยทุจริตไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์”
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๓ บัญญัติว่า “บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา”
กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ คือ
ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มี อำนาจในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์)
สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
รัฐสภา รัฐบาล องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น
กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้ กฎหมายโดยเสมอภาค
จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคล ใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้
ยกเว้นในบางกรณี เช่น กรณีของฑูตต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำใน ประเทศไทยอาจได้รับการยกเว้น
ได้รับเอกสิทธิ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศไม่ต้องถูกดำเนินคดีในประเทศไทย
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
จึงจำต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการผ่าฝืนกฎหมาย
หากเกณฑ์ใดไม่มี สภาพบังคับก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
สภาพบังคับนั้นมีทั้งผลร้ายและผลดี
สภาพบังคับที่มีผลร้าย
โทษทางอาญา
ประหารชีวิต
การนำตัวผู้กระทำความผิดไปฉีดยาพิษให้ตาย
จำคุก
การเอาตัวไปคุมขังไว้ในเรือนจำตามกำหนดเวลาที่ศาลพิพากษา
กักขัง
โทษที่ให้กักตัวผู้กระทำความผิดไว้ในสถานที่กักขัง ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช้เรือนจำ ทางปฏิบัติให้เอา ตัวไปกักขังไว้ที่สถานีตำรวจ
ปรับ
่ผู้กระทำความผิดต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
มิฉะนั้นต้องถูกยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ
สภาพบังคับที่มีผลดี
กรณีจดทะเบียนสมรส
ทำให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้สิทธิของคู่สมรสไปลดหย่อนภาษีได้
ระบบของกฎหมาย
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law system)
กำเนิดในชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศอังกฤษ
ระบบการพิจารณาพิพากษาคดีที่อาศัย บรรทัดฐานจากคดีที่คล้ายคลึงกัน และผู้พิพากษาคนก่อนๆ ตัดสินคดีเดิมไว้
ศาลอังกฤษหรือผู้พิพากษาในคดีต่อมาจะต้องยึดถือคำพิพากษาในคดีก่อน
เป็นหลักบรรทัดฐานในการตัดสินคดีแต่ละเรื่องสิทธิ
ทำให้มีความจำเป็นต้องรวบรวมคำ
พิพากษาศาลสูงพิมพ์ไว้
หนังสือรวบรวมคำพิพากษาในอดีตมีชื่อว่า Yearbooks แต่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า Law reports
ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบจารีตประเพณี
อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย (Civil law system)
มีแหล่งกำเนิดจากชาวโรมัน
พระเจ้าจัสติเนียน (Justinian) โดยนำค าพิพากษาของศาล และการตีความของนักปราชญ์ทางกฎหมาย
บันทึกเป็น ลายลักษณ์อักษร
การพิจารณาคดี
ศาลจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ทั่วไป
สู่การพิจารณาเฉพาะเรื่อง โดยการตีความต้องพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย
ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี เยอรมัน เดนมาร์ก ออสเตรีย สเปน สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ไทย จีน
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์
และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายมหาชน (Public Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอำนาจ
เหนือกว่าประชาชน
เช่น
กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นแม่บทและเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่กำหนดการปกครองประเทศ รองจากรัฐธรรมนูญ
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดและบทลงโทษ
ธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงการจัดตั้งศาล อำนาจของศาลและผู้พิพากษาคดี
กฎหมายเอกชน (Private Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน
เช่น
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน โดย บัญญัติถึงฐานะของบุคคล ครอบครัว มรดก หนี้สิน และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ
กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการค้าขาย หุ้นส่วน บริษัท การ ประกันภัยและตั๋วเงิน
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณา ความการดำเนินคดี
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
3.1 แผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของรัฐเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่มหาชน (Public rights and duties)
เรื่องเขตแดน การฑูต การทำสนธิสัญญา หรือกรณีพิพาท
3.2 แผนกคดีบุคคล
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลต่างรัฐในทางแพ่ง เกี่ยวกับความประพฤติ สิทธิและหน้าที่
เช่น
สัญชาติ ภูมิลำเนา การสมรส การทำนิติกรรม
และทรัพย์สิน
ตัวอย่างกฎหมายของไทย
พระราชบัญญัติสัญชาติ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย
3.3 แผนกคดีอาญา
ต้องพิจารณาว่าประเทศใดมี อำนาจจับกุมและพิพากษาคดีเพื่อลงโทษบุคคลนั้น
เช่น
กฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
กฎหมายความ ร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญา
กฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
กฎหมายภายใน
เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้น ใช้ภายในประเทศ
กฎหมายภายนอก
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ
สหประชาชาติ
เกิดจากความตกลงระหว่างประเทศ
กฎหมายที่แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
กฎหมายระเบียบราชการ กฎหมาย การเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายสาธารณะสุข กฎหมายอุตสาหกรรม
กฎหมายที่แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ
กฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล
วิธีพิจารณา ความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายที่แบ่งโดยสภาพบังคับทางกฎหมาย
กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด
กำหนดรูปแบบการปกครองประเทศ และวางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย
ได้แก่
อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร
อำนาจตุลาการ
รับรองและการส่งเสริมสิทธิหน้าที่ของประชาชนชาวไทย
เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายปกครองประเทศ
กฎหมายอื่นจะขัดแย้งไม่ได
ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็น องค์กรที่ชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดแย้งกับกฎหมายแม่บท
หากต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิก รัฐธรรมนูญ ต้องปฏิบัติตามวิธีที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ผ่านสภาร่าง รัฐธรรมนูญก่อนเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
2.1 พระราชบัญญัติ (พรบ.) (Act)
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา
2.2 ประมวลกฎหมาย (Code of Law)
เป็นการรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์ อักษรในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
ให้มาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบ
เช่น
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.3 พระราชกำหนด (Royal Enactment)
เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่ ฝ่ายบริหาร
เพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน
เป็นประโยชน์ในการรักษาความ ปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
ป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของ พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
อกโดยฝ่ายบริหารที่อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
หรือพระราชบัญญัติ
ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
มีอำนาจใช้บังคับประชาชนทั่วไป
ไม่สามารถมีบทกำหนดโทษ
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ
ไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา
แต่ต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เช่น
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและ ลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558
ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule/Regulation/Discipline)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงานองค์กร
ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการ
เพื่อกำหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติงาน
ประกาศและคำสั่ง (Announcement/Command)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน
เช่น ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องห้ามมิให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำ
อื่นๆ: ข้อบังคับท้องถิ่น
ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลเดี่ยว
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท
ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law)
สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา
ระบบศาลคู่
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญา เท่านั้น
ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law)
ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
ระบบศาลของประเทศไทย เป็นระบบศาลคู่
แยกเป็นอิสระจากกัน
มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละ ศาลโดยเฉพาะ
จะย้ายจากศาลหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้
ศาลของประเทศไทย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งใช้ในปัจจุบัน มาตรา 188 ถึงมาตรา 214
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
ศาลรัฐธรรมนูญ
เป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม
เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น
ศาลชั้นต้น (Civil court/Court in the First instance)
เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก
ศาลแพ่ง
1 more item...
ศาลอาญา
1 more item...
ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court)
มีองค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน
1 more item...
ศาลอุทธรณ์ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขออุทธรณ์ของคู่กรณี
1 more item...
อำนาจพิจารณาคำสั่งอื่นๆ เช่น คำสั่งการขอประกันตัวในคดีอาญา
ศาลฎีกา (Supreme Court)
เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุข ของตุลาการศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
การวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาถือเป็นที่สุด
ศาลปกครอง (Administrative Court)
เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
พิพากษาคดีในทางปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง
เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและ
เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ
โดยรูปแบบการพิจารณาคดีใช้ “ระบบไต่สวน”
ศาลทหาร
ชำระความที่เกี่ยวกับทหารและยังชำระความ พลเรือนด้วย
ศาลทหารมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจ าการกระทำผิด ตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร