Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่ได้รับการช่วยเหลือสูติศาสตร์หัตถการ - Coggle Diagram
การพยาบาลมารดาที่ได้รับการช่วยเหลือสูติศาสตร์หัตถการ
การคลอดโดยใช้คีม (Forcep extraction)
การคลอดโดยใช้คีม (Forcep extraction) เป็นวิธีช่วยคลอดโดยผู้ทำคลอดจะใช้คีม (forcep) ดึงศีรษะทารกให้คลอดผ่านทางช่องคลอด โดยที่คีมจะทำหน้าที่แทนแรงเบ่งของผู้คลอด
ประเภทของคีม
Short Curve Forcep เป็นคีมที่ใช้ในกรณีศีรษะทารกมาอยู่ต่ำบริเวณฝีเย็บแล้วผู้ทำคลอดใช้แรงดึงน้อย และเกิดอันตรายน้อย
Long Curve Axis Traction Forcep เป็นคีมที่ใช้ในกรณีศีรษะทารกอยู่ค่อนข้างสูง
Kielland Forceps เป็นคีมที่ใช้การหมุนของศีรษะทารกภายในอุ้งเชิงกราน
หน้าที่ของคีม
Extractor (ตัวดึง)
Rotation (ตัวหมุน)
ชนิดของการทำคลอดด้วยคีม
การทำคลอดด้วยคีมเมื่อศีรษะมี engagement แล้ว โดยต้องทำการช่วยเหลือโดยการหมุนก่อนเมื่อเริ่มดึงถือว่าเป็น Mid Forceps
Low Forceps หมายถึง การทำคลอดด้วยคีมเมื่อเห็นหนังศีรษะที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ข้อบ่งชี้
ด้านแม่
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี/มารดาไม่มีแรงเบ่ง
กระดูกเชิงกรานค่อนข้างแคบ
ส่วนนำของทารกค่อนข้างใหญ่ หรือ Occiput อยู่ด้านหลัง
ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์
ผู้คลอดอ่อนเพลีย
ผู้คลอดมีสุขภาพไม่ดีจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ, ไทรอยด์, หลอดลมอักเสบ
มีปัญหาเลือดออกในสมอง
ไส้ติ่งอักเสบ
ด้านทารก
Fetal distress
สายสะดือพลัดต่ำ
สภาวะที่เหมาะสมในการทำคลอดด้วยคีม
ปากมดลูกเปิดหมด
ส่วนนำมีสภาวะที่เหมาะสมสามารถคลอดทางช่องคลอดได้
ศีรษะทารกต้อง Deep engaged แล้ว
ไม่พบภาวะผิดสัดส่วนระหว่างส่วนนำกับช่องเชิงกราน
กระเพาะปัสสาวะและทวารหนักต้องว่าง
ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่
ขั้นตอนของการทำคลอด
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
สวนปัสสาวะให้ผู้คลอด
แพทย์ผู้ทำประเมินสภาพช่องเชิงกรานผู้คลอดโดยการตรวจภายใน
การใส่ใบคีมต้องใส่ข้างซ้ายก่อนข้างขวา
เมื่อใส่ใบคีมทั้งสองข้างครบจึงล็อค
Tentative traction เป็นการทดลองก่อนดึงจริง
Traction ควรดึงพร้อมกับมดลูกหดรัดตัวให้ดึงแต่ละครั้งนาน 1-2 นาที ขณะพักให้แก้ล็อคออกเพื่อลดความกดดันที่ส่วนนำทารก
Removal แก้ปลดล็อค นำใบคีมขวาออกก่อนจึงนำใบคีมซ้ายออก
Birth of Head ทำคลอดศีรษะเหมือนตามปกติตามกลไกการคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
มีการฉีกขาดของหนทางคลอด
อันตรายต่อกระดูกเชิงกราน
กระทบกระเทือนต่อกระเพาะปัสสาวะ
ช็อคจากความเจ็บปวด
เกิดการตกเลือด
ติดเชื้อ
การแพ้ยาระงับความรู้สึก
ต่อทารก
Asphyxia
กระทบกระเทือนต่อกระโหลกศีรษะ สมองและหนังศีรษะ
Erb’ s Palsy
Facial Palsy
หูหนวก
ปอดบวมและถุงลมแฟบ
การพยาบาล
การซักประวัติเกี่ยวกับอาการผิดปกติในการตั้งครรภ์และการ
คลอดครั้งก่อนเช่น การช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ
การตรวจร่างกาย ได้แก่ การตรวจทางหน้าท้อง ตรวจช่องทางคลอด การตรวจร่างกายทั่วไปและสัญญาณชีพ การประเมินสภาพทารกในครรภ์
การประเมินความวิตกกังวลและหวาดกลัวของผู้คลอดต่อ
การช่วยคลอดด้วยคีม
การทำคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ (Vacumm extraction)
ข้อบ่งชี้
มีปัญหามดลูกหดรัดตัวไม่ดีเนื่องจากอ่อนเพลียหรือเกิด
ความล่าช้าในระยะที่ 2 ของการคลอด
โรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ
ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะ Mild fetal asphyxia
Mild CPD
ศีรษะทารกไม่หุนตามกลไกการคลอดปกติ
ข้อห้าม
CPD
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ
ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะวิกฤติ
ทารกในครรภ์เสียชีวิต
ทารกคลอดก่อนกำหนด
มีการพลัดต่ำของสายสะดือ
ทารกอยู่ในภาวะ Fetal distress โดยที่ปากมดลูกยังไม่เปิด
สภาวะที่เหมาะสมในการทำคลอด
ปากมดลูกเปิดหมด และปากมดลูกมีความบางเต็มที่
ส่วนนำอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมสามารถคลอดทางช่องคลอดได้
ศีรษะในครรภ์ต้อง Deep engaged
ไม่พบปัญหาผิดสัดส่วนกันระหว่างศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน
กระเพาะปัสสาวะและทวาหนักต้องว่าง
ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่
ขั้นตอนในการทำคลอด
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อตามขั้นตอน
สวนปัสสาวะให้ผู้คลอด
แพทย์ผู้ทำประเมินสภาพช่องเชิงกรานผู้คลอดโดยการตรวจภายใน
แพทย์ใช้ยาชาเฉพาะที่คือทำ Pudendal neve block โดยใช้ 1% Xylocain
แพทย์เลือก Cupที่มีขนาดเหมาะสมกับศีรษะทารก
เริ่มต้นดูดด้วยแรงดูด 0.20 Kg/cm 2 ก่อน เพิ่มแรงดูดขึ้นอีกครั้งๆละ
0.10-0.20 Kg/cm 2 พักนาน1-2 นาทีทำสลับกันไป จนได้แรงดูดสำหรับ
การดึงคือ 0.60-0.70 Kg/cm 2 ไม่เกิน 0.80 Kg/cm 2 ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
การดึงโดยใช้มือขวาดึง Handle มือซ้ายแตะ Cup ที่ติดกับศีรษะทารกการดึงให้ดึงพร้อมๆกับที่มดลูกหดรัดตัวและให้ผู้คลอดช่วยเบ่ง
ภาวะแทรกซ้อน
ด้านมารดา
การฉีกขาดของหนทางคลอด
Symphysis pubis แยก
กระทบกระเทือนต่อกระเพาะปัสสาวะ
ช็อคจากความเจ็บปวด
เกิดการตกเลือด
ติดเชื้อ
อันตรายจากการแพ้ยาระงับความรู้สึก
ด้านทารก
Cephal hematoma
มีเลือดอกที่จอตาแต่จะหายได้ภายใน 1 สัปดาห์
Asphyxia
กระทบกระเทือนต่อกระโหลกศีรษะ สมองและหนังศีรษะ
Facial Palsy
หูหนวก
ปอดบวม (Pneumonia) และถุงลมแฟบ (Atelectasis)
การพยาบาล
การซักประวัติเกี่ยวกับอาการผิดปกติในการตั้งครรภ์และการ
คลอดครั้งก่อนเช่น การช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ
การตรวจร่างกาย ได้แก่ การตรวจทางหน้าท้อง ตรวจช่องทางคลอด การตรวจร่างกายทั่วไปและสัญญาณชีพ การประเมินสภาพทารกในครรภ์
การประเมินความวิตกกังวลและหวาดกลัวของผู้คลอดต่อ
การช่วยคลอดด้วยคีม
การตรวจพิเศษและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นการตรวจสภาพความ
สมบูรณ์ของทารกโดย Ultrasound การตรวจความเข้มข้นของเลือดมารดา การตรวจปัสสาวะเพื่อหา albumin และ sugar
การชักนำการคลอด (Induction of labour)
ข้อบ่งชี้ทางด้านสูติกรรม
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (PIH)
ภาวะครรภ์เกินกำหนด
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (DFIU)
PROM ในรายที่อายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ และไม่เข้าสู่ระยะคลอดเองภายใน 12 ชั่วโมง
การติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ (choroamnionitis)
(abruptio placenta)
ทารกเจริญเติบโตช้า (IUGR)
ภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
ข้อบ่งชี้ทางอายุรกรรม
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
ข้อห้าม
ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa)
vasa previa
ทารกท่าขวาง CPD
เนื้องอกที่ขัดขวางช่องทางคลอด
Prolapsed cord
Fetal distress
Twins
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ โดยใช้ Bishop scoring system
ถ้าคะแนนรวมน้อยกว่า 3 ถือว่าปากมดลูกอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการชักนำคลอด
ถ้าคะแนนมากกว่า 7 ถือว่าปากมดลูกอยู่ในภาวะที่เหมาะสมต่อการชักนำการคลอด
ถ้าคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 9 โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการชักนำการคลอดสูงถึง
วิธีการชักนำการคลอด
Medical
Oxytocin
นิยมใช้เพื่อ Augmentation of labor
การพยาบาล
เตรียมสารละลายออกซิโตซิน
เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ในการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
ช่วยแพทย์ในการให้สารละลายออกซิโตซินทางหลอดเลือดดำ
สังเกตลักษณะการหดรัดตัวของมดลูก
ปรับหยดสารละลายออกซิโตซิน เริ่มต้น 5-10 หยด/นาที เพิ่ม 5 หยดทุก 30 นาที จนกว่าการหดรัดตัวของมดลูกจะดี
ตรวจสอบการหยดของออกซิโตซิน ทุก 30 นาที
ฟังเสียงหัวใจทารกเป็นระยะๆ ทุก 15-30 นาที
วัดและบันทึกสัญญาณชีพมารดา
ดูแลผู้คลอดให้ได้รับความสุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจ
prostaglandins
Prostaglandin E1 dose 25 ถึง 50 mg intravaginally into proterior fornix ทุก 3-6 ซม. ไม่เกิน 300-400 mg. ใน 24 ซม. เพื่อให้มดลูกหดรัดตัว
Protaglandin E2 dose 10 mg. intravaginally into posterior fornix ทุก 6 ชม.
ข้อควรระวัง
มดลูกหดรัดตัวมากเกินไป
คลื่นไส้อาเจียน
ปวดศีรษะ
ความดันโลหิตต่ำ
Surgical
การเจาะถุงน้ำทุนหัว (Amniotomy, Artificial rupture of membrance)
การพยาบาล
เตรียมเครื่องมือ เครื่องมือเจาะถุงน้ำ Amniotomy Forceps ,Set Flush,Bed pan,ถุงมือ Sterile
เตรียมผู้คลอด ด้านเตรียมจิตใจ และด้านเตรียมร่างกาย
ฟังเสียงหัวใจทารก และบันทึก
เมื่อน้ำคร่ำไหลออกมาต้องบันทึกเกี่ยวกับลักษณะสี และจำนวนของ Amniotic Fluid
ฟังเสียงหัวทารกทันทีภายหลังเจาะถุงน้ำทูนหัว
Flushing และใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตปริมาณน้ำคร่ำ
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียง
เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งที่เปียกชุ่มพร้อม Flushing ให้
วัดและบันทึกสัญญาณชีพมารดา
ภาวะแทรกซ้อน
ผลต่อหญิงตั้งครรภ์
ภาวะมดลูกแตก
การตกเลือด
การติดเชื้อของเยื่อบุถุงน้ำคร่ำ
เกิดการอุดตันในกระแสเลือดจากน้ำคร่ำ
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด
fetal distress
อันตรายจากการเจาะถุงน้ำคร่ำ
การติดเชื้อจากการเจาะถุงน้ำและมีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีอุบัติการเลือดออกในสมองสูง
การผ่าตัดทารกออกทางหน้าท้อง (Cesarean Section)
ประเภท
Classic cesarean
lower – segment cesarean
ข้อบ่งชี้
CPD
ท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง
Total placenta previa
มะเร็งปากมดลูก
ภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
Fetal distress
ยาระงับความรู้สึก
Spenal block
Epidural block
GA
การพยาบาลมารดา
ก่อนทำผ่าตัด
อธิบายถึงขั้นตอนต่างๆ ในการเตรียมร่างกายของมารดาเพื่อการผ่าตัด
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมผ่าตัด
ดูแลให้มารดางดน้ำและอาหารทางปาก
ตัดเตรียมความสะอาดบริเวณผิวหนังโดยการโกนขน
ทำการสวนคาสายปัสสาวะ
ดูแลให้มารดาได้รับสารน้ำและยาก่อนการผ่าตัด
ตรวจนับสัญญาณชีพ (Vital signs)
เตรียมชุดให้เลือด ผ้าห่อทารก
ดูแลด้านจิตใจของมารดา
หลังผ่าตัด
ต้องประเมินสภาวะของมารดาหลังผ่าตัด
สังเกตอาการของการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
ดูแลให้มารดาได้รับยาปฏิชีวนะ
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจกเกิดขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
ดูแลให้มารดาได้รับสารน้ำทางเส้นเลือด
สังเกตและจดบันทึกปริมาณ ลักษณะสี ความขุ่น ใส ของปัสสาวะ
กระตุ้นให้มารดามี carly ambulation
ดูแลความสะอาดร่างกายทั่วไป ความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์
ให้ยาระงับปวดตามการรักษาของแพทย์
ดูแลด้านจิตใจ