Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 อุบัติเหตุหมู่และการบรรเทาสาธารณภัย - Coggle Diagram
บทที่ 5 อุบัติเหตุหมู่และการบรรเทาสาธารณภัย
ปัญหาและผลกระทบทางการสาธารณภัย
ระยะเกิดภัย
1.1 ปัญหาและผลกระทบทางการสาธารณสุขผู้ประสบภัย เสียชีวิต พิการหรือทุพพลภาพ บาดเจ็บ สภาพจิตใจได้รับการกระทบกระเทือนระบบบริการสุขภาพ ไม่สามารถให้บริการได้เต็มที่
1.2 ปัญหาและผลกระทบทางเศรษฐกิจผู้ประสบภัย สูญเสียทรัพย์สิน แหล่งทำมาหากิน ไม่มีรายได้ประเทศชาติต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อบรรเทาสาธารณภั
1.3 ปัญหาและผลกระทบทางสังคม การเมืองและการปกครองสังคมสับสนวุ่นวาย อาจเกิดความขัดแย้งในหมู่ประชาชนที่ประสบภัยเนื่องจากการแก่งแย่ง
1.4 ปัญหาและผลกระทบทางสาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ เช่น การประปา การไฟฟ้าและพลังงานอื่นๆ
1.5 ปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมอาจถูกทำลายจนขาดสมดุล บางครั้งอาจกลายเป็นแหล่งเอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคได้
ระยะหลังเกิดภัย
2.1 ปัญหาและผลกระทบทางการสาธารณสุข การเสียชีวิต พิการภายหลัง ส่วนปัญหาด้านจิตใจเกิดจาก การสูญเสียสิ่งที่ตนรักเป็นการให้บริการที่ต่อเนื่อง อาจพบปัญหาผู้ให้บริการเองอ่อนล้าจากการปฏิบัติงาน
2.2 ปัญหาและผลกระทบทางเศรษฐกิจประเทศชาติต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อฟื้นฟูบูรณะสิ่งเสียหาย การสงเคราะห์ทางการเงินหรือสิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
2.3 ปัญหาและผลกระทบทางสังคม การเมือง และการปกครองต้องมีการอพยพผู้ประสบภัยจำนวนมาก มาพักอาศัยร่วมกันชั่วคราว นอกจากความขัดแย้งในการแก่งแย่งสิ่งของ
2.4 ปัญหาและผลกระทบทางสาธารณูปโภค การคมนาคมขนส่งจากการถูกตัดขาดและการทำลายสาธารณูปโภคการคมนาคมขนส่งก่อให้เกิดความล่าช้าต่อการฟื้นฟู
2.5 ปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เมื่อระบบนิเวศที่สมดุลถูกทำลายย่อมเกิดปัญหาที่เป็นลูกโซ่ต่างๆ ตามมา
การจัดการสาธารณภัย (Disaster Management)
การจัดการระยะก่อนเกิดสาธารณภัย (Pre-impact phase)
การประเมินสาธารณภัย (Disaster Assessment) ประกอบด้วย การประเมินภัย (Hazard Assessment) เป็นการกำหนดโอกาสในการเกิดภัยในแต่ละพื้นที่และแต่ละเวลา การประเมินกลุ่มเสี่ยง (Vulnerability Assessment) เป็นการประเมินหรือวิเคราะห์ผลที่จะเกิดจากภัยการประเมินการจัดการภัย (Manageability Assessment)
การป้องกันสาธารณภัย (Prevention)
1.การกำหนดนโยบายในระดับชาติที่ชัดเจนในด้านการป้องกัน หรือลดสาธารณภัย รวมถึงการกำหนด โครงสร้างการปฏิบัติงานรองรับนโยบายด้วย
2.การสร้างความตระหนักและการให้ความรู้เกี่ยวกับสาธารณภัยแก่ประชาชน
3.ารใช้กฎหมายรัฐต้องกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันสาธารณภัย
การลดความรุนแรงของสาธารณภัย (Mitigation)
เป็นมาตรการเฉพาะที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความรุนแรง ความเสียหาย ผลกระทบของสาธารณภัยที่จะเกิดกับผู้ประสบภัย ชุมชนและประเทศชาติ ไม่ได้มุ่งเน้นจัดการที่สาเหตุ โดยสามารถใช้แนวทางเดียวกับการป้องกันสาธารณภัยได้ โดยนิยมที่จะกำหนดในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง
การเตรียมพร้อมรับสาธารณภัย (Preparedness) เป็นมาตรการซึ่งช่วยให้รัฐ ชุมชนและบุคคลตอบสนองต่อสถานการณ์สาธารณภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การจัดการระยะเกิดสาธารณภัย (Impact Phase)
การควบคุมภัย (Control Hazard)
1) การวิเคราะห์ภัย ต้องกระทำอย่างรีบด่วน โดยสำรวจความเสียหาย
2) การใช้แผนสาธารณภัยทันทีที่เกิดภัยตั้งแต่ขนาดกลาง ซึ่งผู้ประสบภัยไม่สามารถระงับได้ด้วยตนเอง
การกู้ภัย (Rescue)
วิธีการหรือแนวทางในการกู้ภัยที่สำคัญ คือ
1) การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ต้องคำนึงถึงสถานการณ์สภาพสิ่งแวดล้อม
2) การให้บริการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ที่สำคัญ
3) การเคลื่อนย้ายและส่งต่อผู้ประสบภัย ต้องกระทำอย่างถูกต้องรวดเร็ว
4) การช่วยเหลือฉุกเฉินอื่นๆ ในเรื่องความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
การสื่อสารและคมนาคม (Communication and Transportation)
การสื่อสารและคมนาคมอาจถูกทำลายจากการเกิดสาธารณภัย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดตั้งเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่จำเป็น
การรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย (Safety and Security)
การจัดการระยะหลังเกิดสาธารณภัย (Post-Impact Phase)
การช่วยเหลือฉุกเฉินและการบรรเทาทุกข์ (Emergency Response and Relief)
ต้องทำอย่างรีบด่วนเพื่อป้องกันความ ผิดปกติทางจิตใจของผู้ประสบภัยและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยการปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรจากสาขาวิชาชีพต่างๆ วิธีการหรือแนวทางช่วยเหลือ
การฟื้นฟูสภาพ (Recovery)
1) การฟื้นฟูสุขภาพ ของผู้ประสบภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2) การฟื้นฟูบูรณะ เป็นการฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างต่างๆ
3) การก่อสร้างใหม่ทดแทนอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่เสียหายจากสาธารณภัย
การประเมินผลการจัดการสาธารณภัย (Disaster Management Evaluation)
เพื่อทราบว่าการแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ประสบความสำเร็จหรือไม่ ควรกระทำอย่างรวดเร็วที่สุดหลังเกิดภัย โดยประเมินตามแผนสาธารณภัย และมาตรการต่างๆ
DISASTER paradigm
D - Detection
เป็นการประเมินสถานการณ์ว่าเกินกำลังที่เรามีหรือไม่
I - Incident command
ระบบผู้บัญชาเหตุการณ์ ทั้งนี้เพื่อสามารถขอความร่วมมือในทุกหน่วยงาน ขยายงาน ยุบงาน เพื่อให้การบริหารจัดการที่คล่องตัวในทุกสถานการณ์
S – Safety and Securityทีมสามารถเข้าพื้นที่เหตุการณ์ได้แล้วต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันตนเองรวมทั้งทีม เป็นอันดับแรก จากนั้นจึงค่อยคำนึงถึงการป้องกันชุมชนเช่น คิดว่าทำอย่างไรเพื่อไม่ให้มีผู้อื่นได้รับบาดเจ็บจากที่นี่อีก
A – Assess Hazards
ประเมินที่เกิดเหตุช้าๆ เพื่อระแวดระวังวัตถุอันตรายต่างๆที่อาจเหลือตกค้างในที่เกิดเหตุ
S – Supportการเตรียมการล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญ ผู้เผชิญเหตุมักจะไม่สามารถหวังพึ่งการสื่อสารในขณะเกิดภัยพิบัติได้ ดังนั้นจึงควรมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นส่วนสำรอง
T – Triage/Treatmentระบบการคัดกรองที่ใช้คือ MASS Triage Model จะประกอบด้วยMove, Assess, Sort และ Send
E – Evacuation
การอพยพผู้บาดเจ็บระหว่างที่เกิดเหตุ รวมทั้งการอพยพหน่วยกู้ภัยเมื่อถึงเวลาจำเป็น
R – Recovery
ช่วงการฟื้นฟูเริ่มต้นทันทีหลังจากเกิดเหตุการณ์ ควรให้ความสนใจกับผลกระทบในระยะยาว ค่าใช้จ่าย และลดผลกระทบของเหตุการณ์ต่อผู้บาดเจ็บ ผู้เข้าช่วยเหลือ ชุมชน รัฐ ประเทศและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
MASS Triage
M-Moveทำได้โดยอาจตะโกนว่า “ ใครที่ได้ยินผมและต้องการความช่วยเหลือ ขอให้เดินไปที่ธงสีเขียว” กลุ่มผู้ป่วยนี้จัดเป็นกลุ่ม Minimal
A-Assessขั้นตอนแรกโดยการไปที่กลุ่ม Immediate โดยมองหาตำแหน่งที่มีผู้บาดเจ็บซึ่งไม่สามารถ เดินได้และไม่ทำตามสั่ง จากนั้นให้ประเมิน ABC อย่างรวดเร็ว
S-sortทำได้โดยการแยกแยะผู้บาดเจ็บออกเป็น 4 กลุ่มตาม ID-me (Immediate, Delayed, Minimal และ Expectant) โดยอาจใช้แผ่นป้ายคล้องคอผู้บาดเจ็บ
S-sendการขนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากที่เกิดเหตุ วิธีการต่างๆ ขึ้นกับกลุ่มที่ได้จากการคัดกรองและ สภาวะทางคลินิก
วิธีการจำแนกและการใช้ป้ายสัญลักษณ์
ป้ายสีแดง (Red tag) เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับแรก (First priority) ที่ต้องรีบให้การช่วยเหลือ หรือต้องการการดูแลอย่างทันทีทันใด รอไม่ได้ เนื่องจากอยู่ในภาวะที่คุกคามอาจถึงแก่ชีวิตถ้าช่วยเหลือช้า
ป้ายสีเหลือง (Yellow tag) เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับที่ 2 (Secondary priority) ที่ต้อง ให้การช่วยเหลือ เป็นกลุ่มที่บาดเจ็บมากแต่รอได้ สามารถรอการส่งไปสถานรักษาพยาบาลเพื่อการรักษาทางศัลยกรรมได้ ภายใน เวลา 2 ชั่วโมง
ป้ายสีเขียว (Green tag) เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับที่ 3 (Third priority) ที่ต้องให้ความ ช่วยเหลือ เป็นกลุ่มที่บาดเจ็บเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรีบรักษาหรือนำส่งโรงพยาบาล เพียงแต่ให้การปฐมพยาบาลแล้วให้กลับบ้านนัดดูอาการ
ป้ายสีดำ (Black tag) เป็นสัญลักษณ์ของผู้ประสบภัยที่จัดเป็นอันดับที่ 4 (Fourth priority) หรืออันดับสุดท้าย ที่จะได้รับการช่วยเหลือหรือนำส่งไปสถานพยาบาล เป็นกลุ่มที่มีความหวังในการรอดชีวิตต่ำ หรือเป็นประเภทหมดหวัง
การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัย (First aid for Victims)
วัตถุประสงค์ในการปฐมพยาบาล
ช่วยผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บให้รอดชีวิต
ช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ หรือป้องกันมิให้เกิดความพิการมากขึ้น
ส่งเสริมให้ผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บกลับคืนสู่สภาพเดิม หายจากการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น
หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล
ตั้งสติให้มั่นคงอย่าตื่นเต้น ตกใจ ปฏิบัติการด้วยความรวดเร็วว่องไว ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
ตรวจดูว่าผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวหรือหมดสติ
จัดท่านอนของผู้บาดเจ็บให้เหมาะสมในการปฐมพยาบาล
อย่า เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเกินความจำเป็น
บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ อาการและลักษณะของผู้บาดเจ็บ
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย
ข้อปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย
วางแผนและเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับยานพาหนะ อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
ก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย ต้องประเมินว่าเป็นภัยชนิดใด
ก่อนทำการเคลื่อนย้ายต้องประเมินขั้นต้น ตามหลัก ABC
เมื่อขาดอุปกรณ์ในการช่วยเหลือควรประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้
ประมาณกำลังที่จะยกผู้ป่วย ถ้าไม่แน่ใจว่าจะยกไหว ต้องหาผู้ช่วยเหลือให้มากพอ
เมื่อมีผู้ช่วยเหลือหลายคนจะต้องมีคนใดคนหนึ่งเป็นคนออกคำสั่งและต้องบอกแผนการเคลื่อนย้ายกับผู้ช่วยเหลือคนอื่นๆ
ในการยกผู้ประสบภัย ผู้ช่วยเหลือควรระมัดระวังไม่ให้หลังงอ เพราะอาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนได้
ขณะเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยควรปฏิบัติด้วยความนุ่มนวลระมัดระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น การใช้ท่าในการ เคลื่อนย้ายต่างๆ
ให้ความอบอุ่นโดยใช้ผ้าห่มหรือผ้าปกคลุมตัวผู้ประสบภัย
พูดคุยให้กำลังใจและปลอบโยนผู้ประสบภัยที่ตระหนกตกใจ
ประเมินสภาพผู้ประสบภัยเป็นระยะๆ โดยสังเกตอาการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้นหรืออาการเปลี่ยนแปลงที่เลวลง
เมื่อเสร็จสิ้นการเคลื่อนย้ายควรบันทึกรายงานเกี่ยวกับจำนวนผู้บาดเจ็บทั้งหมด จำนวนผู้บาดเจ็บที่อาการหนัก สถานที่และเวลาที่เกิดเหตุสาธารณภัย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
การเคลื่อนย้ายแบบฉุกเฉิน Emergency Move or Scoop and run จะใช้ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายแก่ผู้เจ็บป่วยได้หากไม่มีการเคลื่อนย้ายทันที ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่อันตรายและน่ากลัวที่สุด ที่อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่สันหลังทั้ง ผู้เจ็บป่วยโดยเฉพาะจากอุบัติเหตุ
การเคลื่อนย้ายแบบไม่ฉุกเฉิน เป็นการยกและเคลื่อนย้ายที่ใช้กับผู้เจ็บป่วยที่ไม่มีความจำเป็นต้องรีบเคลื่อนย้าย ซึ่งมีอยู่หลายวิธีทั้งที่ไม่ใช้และใช้อุปกรณ์ช่วยให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้เจ็บป่วยและผู้ปฏิบัติ