Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.3 การพยาบาลมารดาที่มี ภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด (ต่อ) - Coggle…
บทที่ 4.3 การพยาบาลมารดาที่มี
ภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด (ต่อ)
12. รกค้าง
(Retained placenta)
:star:
ความหมาย
ภาวะที่รกไม่คลอดภายใน 30 นาทีหลังจากทารกคลอด
โดยทั่วไปรกจะคลอดภายใน 10 นาที หลังจากที่ทารก
คลอดแล้ว และไม่ควรเกิน 30 นาท
:star:
ชนิดของรกติด
(placenta adherens)
1. placenta accreta
ชนิดที่ trophoblast ฝังตัวลงไปตลอด
ชั้นสปอนจิโอซา (spongiosa) ของเยื่อบุมดลูกอาจทั้งหมด
หรือเพียงบางส่วน แต่ไม่ผ่านลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
2. placenta increta
ชนิดที่ trophoblast ฝังตัวลึกผ่านลง
ไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก แต่ไม่ถึงชั้นซีโรซา(serosa)
3. placenta percreta
ชนิดที่ trophoblast
ฝังตัวลึกทะลุชั้นกล้ามเนื้อมดลูกจนถึง serosa
:star:
สาเหตุ
การขาดกลไกการลอกตัว
รกปกติ แต่มดลูกไม่มีการหดรัดตัว รกจึงไม่ลอกตัว
หรือลอกตัวได้ไม่สมบูรณ์ ได้แก่ full bladder,
prolonged labor, มารดาอ่อนเพลีย ขาดอาหาร
และน้ำ, รกเกาะที่บริเวณคอร์นู
รกผิดปกติ ถึงแม้มดลูกจะมีการหดรัดตัวได้ดีตามปกติ
แต่รกไม่สามารถลอกออกมาได้ เนื่องจากภาวะรกติด
การขาดกลไกการขับดัน
รกลอกตัวแล้วแต่ไม่อาจผ่านออกมาจากโพรงมดลูกส่วนบนได้
เกิดขึ้นเนื่องจากการหดรัดตัวที่ผิดปกติของมดลูก เช่น
การหดเกร็งของปากมดลูกและconstriction ring
รกลอกตัวแล้ว และผ่านโพรงมดลูกออกมาอยู่ในช่องคลอด
เนื่องจากมารดาไม่เบ่งผลักรกที่ลอกตัวแล้ว
ให้คลอดออกมาเองตามธรรมชาติของการคลอดรก
สาเหตุส่งเสริม
การทำคลอดรกก่อนรกลอกตัวสมบูรณ์
เคยมีประวัติรกค้าง
เคยทำหัตถการที่ส่งเสริมให้เกิดรกค้าง
เช่น ผ่าท้องคลอดหรือเคยขูดมดลูก
มดลูกมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีผนังกั้น
ภายในโพรงมดลูก
:star:
การประเมินสภาพ
ไม่มีอาการแสดงของรกลอกตัว หรือมีเพียงเล็กน้อย
หลังทารกคลอดนาน 20-30 นาที
มดลูกหดรัดตัวไม่ดีหลังคลอด
มารดามีอาการกระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ตัวเย็นซีด
เหงื่อออก ความดันโลหิตลดลง ระดับความรู้สึกตัวลดลง
:star:
ผลกระทบ
มารดา
ตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากรกไม่ลอกตัว
และมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
เกิดการติดเชื้อหลังคลอดได้ เนื่องจากชิ้นส่วน
ของรกตกค้างภายในโพรงมดลูก
มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการถูกตัดมดลูกทิ้ง
เนื่องจากรกฝังตัวลึกกว่าปกติ
ทารก
ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า
การเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดา
และทารกล่าช้า
:star:
การพยาบาล
ซักประวัติเกี่ยวกับสาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เกิดภาวะรกค้าง
เพื่อวางแผนป้องกันการเกิดภาวะรกค้าง และเตรียมการ
ช่วยเหลือในระยะการคลอดรกอย่างเหมาะสม
ช่วยเหลือการคลอดรกที่ลอกแล้วแต่ค้างอยู่ในช่องคลอด
โดยตรวจดูอาการแสดง (signs) ของรกที่ลอกตัวสมบูรณ์ ถ้ามี signs
แสดงว่ารกลอกตัวแล้ว แต่ขาดกลไกธรรมชาติที่จะให้รกคลอดออกมาเอง
ช่วยเหลือการคลอดรกที่ยังค้างอยู่ในโพรงมดลูก เมื่อตรวจแล้วไม่มี
อาการแสดงของรกลอกตัวสมบูรณ์ ให้ปฏิบัติตามลำดับดังนี้
ถ้าไม่มีการหดรัดตัว ให้สวนปัสสาวะ
ถ้ารกยังไม่คลอดออกมาในเวลาอันสมควร ผู้ทำคลอดอาจสอดนิ้วมือเข้า
ไปในช่องคลอด เพื่อตรวจดูสภาพของปากมดลูกว่ามีการหดเกร็ง
ของปากมดลูก จนขัดขวางการเคลื่อนต่ำของรก
13. มดลูกปริ้น
(Uterine inversion)
:recycle:
ความหมาย
คือ ภาวะที่เกิดจากยอดมดลูกยกตัวเข้าไป
ภายในโพรงมดลูก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
หลังจากการคลอด ผลเสียที่ตามมา คือ การตกเลือด
หลังคลอดอย่างรุนแรงและเกิดภาวะช็อคตามมา
:recycle:
ชนิดของมดลูกปลิ้น
มดลูกปลิ้นแบบไม่สมบูรณ์ คือ ภาวะที่ยอดมดลูกยุบตัวเข้าไป
อยู่ในโพรงมดลูกเป็นบางส่วน
มดลูกปลิ้นแบบสมบูรณ์ คือ ภาวะที่ยอดมดลูกยกตัวเข้ามา
ในโพรงมดลูกและผ่านพ้นปากมดลูกออกมา
มดลูกปลิ้นพ้นจากช่องคลอด คือ ภาวะที่ยอดมดลูกยุบตัว
ผ่านออกมาพ้นปากช่องคลอด
:recycle:
สาเหตุ
• มีพยาธิสภาพที่มดลูก
• การทำคลอดรกไม่ถูกวิธี
• รกเกาะแน่นแบบ Placenta accrete
• สายสะดือสั้นจนดึงรั้ง
• การเพิ่มแรงดันภายในช่องท้องอย่างรวดเร็วและรุนแรง
:recycle:
อาการและ
อาการแสดง
• ยอดมดลูกเป็นแอ่งคล้ายปล่องภูเขาไฟ
• ตรวจภายในจะคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณปากมดลูกช่องคลอดหรือ
ก้อนโผล่ออกมานอกช่องคลอด
• จะมีอาการปวด ช็อก ตกเลือดทางช่องคลอดอย่างเฉียบพลัน
และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
• ในรายที่เรื้อรังผนังเยื่อบุมดลูกจะแห้ง และเป็นแผลทำให้เกิดตกขาว
เลือดออกกะปริบกะปรอย
:recycle:
การพยาบาล
• ป้องกันการเกิดมดลูกปลิ้น โดยทำคลอดอย่างระมัดระวังและถูกวิธี
• ประเมินชนิดของมดลูกปลิ้นอย่างรวดเร็ว
• การช่วยเหลือเพื่อป้องกันภาวะ shock เมื่อเกิดภาวะมดลูกปลิ้น ดังนี้
• ประเมินความรู้สึกตัว
• ให้สารน้ำ
• Vital signs ทุก 5-15 นาที
• ดูแลให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกเมื่อดันมดลูกกลับ
• ถ้า manual reinversionไม่สำเร็จเตรียมผู้ป่วยเพื่อผ่าตัด
• เตรียม CPR เมื่อเกิดภาวะ shock
• ให้ทบทวนหาสาเหตุเพื่อวางแผนป้องกันการเกิดในผู้คลอดรายต่อๆไป
14. ภาวะช็อคทางสูติศาสตร์
:<3:
ความหมาย
ภาวะที่ระบบไหลเวียนเลือดไม่สามารถนำออกซิเจน
และไม่สามารถนำของเสียที่เกิดจากการแปรสภาพใน
เซลล์ (Cellular metabolism) กลับออกมาได้ตามปกติ
ทำให้เกิดความผิดปกติในการแปรสภาพ และเยื่อหุ้มเซลล์
เป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ถ้าแก้ไขไม่ทันผู้ป่วยจะถึงแก่ความตายในที่สุด
:<3:
ชนิดของภาวะช็อค
Hypovolemic shock ได้แก่ ภาวะช็อคจากการเสียเลือด,
ภาวะช็อคจากการเสียน้ำ, กลุ่มอาการความดันเลือดต่ำในท่านอนหงาย
Septic shock เป็นภาวะติดเชื้อ อาจเกิดร่วมกับการแท้งติดเชื้อ
Chorioamnionitis กรวยไตและไตอักเสบ และการติดเชื้อหลังคลอด
Cardiogenic shock ได้แก่ การสูญเสียหน้าที่ของเวนตริเคิลซ้ายในการฉีดเลือด
การสูญเสียหน้าที่ของเวนตริเคิลในการรับเลือด
Neurogenic shock จากสารเคมี จากยา เช่น การฉีดยาชาเฉพาะที่
เข้าไขสันหลัง ภาวะมดลูกปลิ้น ทำให้เกิด Vasomotor collapse
:<3:
สาเหตุ
การลดลงของปริมาตรในหลอดเลือด
การลดลงของปริมาณเลือดจากหัวใจต่อนาที
ความผิดปกติในระบบไหลเวียนฝอย
ความผิดปกติของเยื่อหุ้มเซลล์
:<3:
อาการและ
อาการแสดง
ปฐมภูมิ
- ช่วงแรก
รู้สึกกระวนกระวาย
ผิวหนังปกติอบอุ่น PR เพิ่มขึ้นเล็กน้อย BP
ต่ำลงเล็กน้อย หายใจหอบ ปัสสาวะออกมาก
- ช่วงหลัง
ไม่ค่อยรู้เรื่อง ผิวหนังซีด
เย็น PR 100 – 120 /นาที BP ต่ำปานกลาง
หายใจหอบ ปัสสาวะออกมากขึ้นเล็กน้อย
ทุติยภูมิ
ไม่รู้สติ ผิวหนังเขียว เย็น
PR เบาเร็ว > 120/นาที
BP ต่ำมาก การหายใจหอบและเขียว
จำนวนปัสสาวะไม่เปลี่ยนแปลง
:<3:
การพยาบาล
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที
ขอความช่วยเหลือจากบุคลากรอื่นในทีมสุขภาพ
จัดให้มารดาอยู่ในท่านอนหงายราบและ
ดูแลไม่ให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น
ให้ความอบอุ่นกับร่างกาย เพื่อเพิ่มการไหลเวียน
ของเลือดมาสู่อวัยวะส่วนปลายแขน ปลายขา
ยกปลายเท้าให้สูงเล็กน้อย เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดมาสู่หัวใจ
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
สวนคาและบันทึกจำนวนปัสสาวะ
ให้ออกซิเจน 6 – 8 ลิตร/นาที
ให้ความช่วยเหลือตามสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะช็อค