Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผุงครรภ์ - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผุงครรภ์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ส าหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่งเป็นส่วนหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ที่กําหนดสิทธิ หน้าที่ และ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
กฎหมายพาณิชย์: เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ ที่ได้กระทําในเรื่องหุ้นส่วนบริษัท ประกันภัย ตั๋วเงิน เป็นต้น
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง : เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการดําเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น
นิติกรรม
ปพพ. มาตรา 149 “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทําลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”
นิติกรรม หมายถึง การกระท าของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมาย มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล
องค์ประกอบของนิติกรรม
ผู้กระทําต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน หมายถึง ผู้กระทํานิติกรรมต้องแสดงออกในฐานะเอกชน มิใช่เจ้าพนักงานของรัฐ
การกระทําโดยเจตนา เป็นการกระทําอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยใจสมัคร เพื่อให้บุคคลภายนอกรับรู้ถึงความต้องการหรือเจตนาของตนที่จะทํานิติกรรมตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง อาจทําโดยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือแสดงกิริยาที่ทําให้เข้าใจอย่างหนึ่งอย่างใด
การแสดงเจตนาโดยปริยาย เป็นการแสดงเจตนาไม่ชัดแจ้งแต่การกระทําอื่นๆ ที่ทําให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่า มีความประสงค์ใดในกิริยาเช่นนั้น
การกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การกระทําที่กฎหมายให้อํานาจบุคคลกระทําได้โดยชัดแจ้ง หรือกฎหมายไม่ได้กําหนดไว้ว่าห้ามกระทํา
ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิหมายถึง ผลของการกระทําที่ชอบด้วยกฎหมาย ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งแก่คู่กรณีตามนิติกรรมนั้นๆ
ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจํานวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว
นิติกรรมหลายฝ่าย
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต
นิติกรรมที่มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต
นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
นิติกรรมที่มีค่าตอบแทน
นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ถ้าบุคคล
บรรลุนิติภาวะ กฎหมายถือว่าบุคคลมีวุฒิภาวะที่จะตัดสินใจกระท าสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
บุคคล
บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ที่มีชีวิตรอดภายหลังการคลอดจากครรภ์มารดา ในทางกฎหมายกําหนดให้สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดลงเมื่อตาย
การตายโดยธรรมชาติ
การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกะ่าตายของบุคคล ทําให้สภาพ
บุคคลสิ้นสุด ก่อให้เกิดผลทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา
การสาบสูญ
การที่บุคคลได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่า บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี ในเหตุการณ์ปกติ หรือเป็นเวลา 2 ปี ในกรณีที่มีเหตุอันตรายจากการรบ การสงคราม หรือยานพาหนะอับปาง
นิติบุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งกฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย(ปพพ. มาตรา 65 – 66) และภายในวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียน
มีบุคคลบางประเภทที่กฎหมายจํากัดสิทธิในการทํานิติกรรม
ผู้เยาว์(Minor) หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมาย บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะใน 2 กรณี คือ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (ปพพ. มาตรา 19) หรือการสมรส
กฎหมายยกเว้นให้ผู้เยาว์สามารถกระทํานิติกรรมบางประเภทด้วยตนเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ดังนี้
1.1 นิติกรรมที่ทําให้ผู้เยาว์ได้ประโยชน์ สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ (ปพพ. มาตรา 22)
1.2 นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องกระทําเองเฉพาะตัว (ปพพ. มาตรา 23)
1.3 นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานะและจําเป็นแก่การดํารงชีพ (ปพพ. มาตรา 24)
1.4 นิติกรรมการจ าหน่ายทรัพย์สิน ประกอบธุรกิจการค้า หรือสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตหรือยินยอม ผู้เยาว์สามารถกระท าต่อเนื่องได้ (ปพพ. มาตรา 26 และ 27)
คนไร้ความสามารถ (Incompetence) หมายถึง คนวิกลจริต (Unsound mind) หรือ อยู่ในภาวะผัก (Vegetative state) ที่คู่สมรส ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลื้อ) บุพการี (บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด) ผู้อนุบาล หรือพนักงานอัยการยื่นเรื่องต่อศาล และศาลมีคําสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (ปพพ.มาตรา 28)
คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi – incompetence) หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถจัดทําการงานโดยตนเอง หรือจัดกิจการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัวและศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ปพพ. มาตรา 32) บุคคลที่ศาลจะสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
3.1 กายพิการ เช่น เด็กพิการทางสมอง ผู้ป่วยอัมพาต
3.2 จิตฟั่นเฟือน เช่น ผู้สูงอายุ สมองเสื่อม
ผู้ป่วยจิตเภท เป็นต้น
3.3 ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ
3.4 ติดสุรายาเมา เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน เป็นต้น จนเป็นนิสัยและเลิกไม่ได้ มีอาการมึนเมาเสมอ จนไม่เหลือสภาพปกต
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พรบ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอํานาจในการจัดการ จําหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้
และกระทําการอื่นๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
สามีภริยา เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน จึงต้องให้ความยินยอมซึ่งกันและกันเป็นการทํานิติกรรมบางประเภท เช่น การซื้อขาย แลก เปลี่ยน การเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี การประนีประนอมยอมความการกู้ยืมเงิน การให้โดยเสน่หาเกินฐานะ (ปพพ. มาตรา 1476) เป็นต้น
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆะกรรม หมายถึง ความเสียเปล่าของนิติกรรม ที่กระทาตั้งแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่กระท านิติกรรม หรืออาจกล่าวได้ว่านิติกรรมเป็นโมะะ ทําให้ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับตามกฎหมาย และไม่อาจให้สัตยาบัน กล่าวคือ ไม่สามารถให้คํารับรองนิติกรรมภายหลังการกระทํา เพื่อให้นิติกรรมกลับมามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
สาเหตุที่ทําให้นิติกรรมเป็นโมะะ
1.1 นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
1.2 นิติกรรมที่ไม่ได้ทําให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกําหนด
1.3 การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสาระสําคัญแห่งนิติกรรม
โมฆียกรรมหมายถึง การทํานิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ในขณะกระทํา แต่สามารถบอกล้างหรือปฏิเสธนิติกรรมโดยผู้เสียหายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด
นี้สาเหตุที่ทําให้นิติกรรมเป็นโมะียกรรมมี 2 ประการ
2.1 ความสามารถของบุคคล นิติกรรมใดที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายเป็นโมะียะ
2.2 การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การแสดงเจตนาโดยส าคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน
การแสดงเจตนาโดยการฉ้อฉล (ปพพ. มาตรา 159) เป็นการกระทํานิติกรรมโดยผู้แสดงเจตนาถูกหลอกลวง ปกปิดความจริง หรือใช้อุบายโดยกล่าวความเท็จจากคู่กรณ
การแสดงเจตนาโดยการข่มขู่ (ปพพ. มาตรา 164) เป็นการแสดงเจตนาในการทํานิติกรรม
การบังคับช าระหนี้เป็นการชําระเงิน ส่งมอบทรัพย์สิน กระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้ หรืองดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้หนี้
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน หมายถึง การที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมมากที่สุด
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน มี 2 ประการ
4.1 ความเสียหายที่คํานวณราคาเป็นเงินได้
4.2 ความเสียหายที่ไม่อาจค านวณราคาเป็นตัวเงินได
ทั้งนี้ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายจะเรียกร้องได้ตามกฎหมายกําหนด
1) กรณีผู้เสียหายเสียชีวิต ผู้กระทําผิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจําเป็นอย่างอื่น (ปพพ. มาตรา 443 วรรค 1)
ค่าขาดไร้อุปการะ (ปพพ. มาตรา 443 วรรค 3) ต้องเป็นกรณีที่ผู้ตายมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามกฎหมาย
ค่าขาดแรงงาน ในกรณีผู้ตายมีความผูกพันทางกฎหมายที่ต้องทํางานแก่บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลภายนอก (ปพพ. มาตรา 445)
ถ้ายังไม่ตายทันที สามารถเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จําเป็น
2) กรณีเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ผู้กระทําผิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจําเป็น และสมควรแก่ฐานะ
ค่าขาดประโยชน์ทํามาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย
ค่าเสียความสามารถในการประกอบอาชีพ ทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต
ค่าขาดแรงงานในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอก
ค่าเสียหายอื่นที่ไม่สามารถคํานวณเป็นตัวเงิน หรือค่าทําขวัญ เพื่อทดแทนความเสียหายทางร่างกายและจิตใจที่ผู้เสียหายได้รับ
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ
ความรับผิดทางแพ่งของพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีสาเหตุสําคัญ 2 ประการ คือ ความรับผิดตามสัญญา และความรับผิดจากการละเมิด
สัญญา หมายถึง การกระท าของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ที่แสดงเจตนาด้วยใจสมัครถูกต้องตรงกันที่จะกระทำหรืองดเว้นการกระทํา และตกลงกันทุกข้อโดยไม่มีข้อสงสัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดผล
ผูกพันโดยชอบตามกฎหมาย
สําหรับความรับผิดจากการละเมิด หมายถึง การกระทำหรืองดเว้นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่าง
หนึ่งอย่างใด ผู้ละเมิดหรือผู้กระทำต้องรับผิดจากการกระทำ โดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
การละเมิดถือเป็นนิติเหตุอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยหลักส าคัญ 3 ประการ
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
การกระทำโดยจงใจ
การกระทําโดยประมาทเลินเล่อ
ทําให้บุคคลอื่นเสียหาย หมายถึง การกระทําที่ทําให้บุคคลอื่นขาดประโยชน์ที่เคยได้รับ หรือได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ
การกระทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทําไปภายในของเขตอํานาจของตัวแทน ซึ่งกระทําตามที่ตัวการมอบหมาย (ปพพ. มาตรา 427)
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตกระทำ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในหน้าที่การดูแล (ปพพ.มาตรา 429)
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ หรือชั่วครั้งคราวจะต้องร่วมรับผิดกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด
อายุความ คือ ระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดให้บุคคลมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด ถ้าผู้เสียหายใช้สิทธินั้นร้องเรียนต่อศาลเกินระยะเวลาที่กําหนดศาลจะมีคําสั่งยกฟ้องได้
เนื่องจากคดีขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๑๕ สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตายทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อท าการสมรส หากการสมรสนั้นได้ท าตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘
มาตรา ๒๑ ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมะฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒๒ ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
มาตรา ๒๓ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
มาตรา ๒๔ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร
มาตรา ๒๕ ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ
มาตรา ๒๖ ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้ระบุไว
มาตรา ๒๗ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น
มาตรา ๒๘ บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี
หรือพนักงานอัยการก็ดี
มาตรา ๒๙ การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระท าลง การนั้นเป็นโมะียะ
มาตรา ๓๑ ถ้าเหตุที่ท าให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว และเมื่อบุคคลผู้นั้นเองหรือบุคคลใดๆ
มาตรา ๓๒ บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น
มาตรา ๓๓ ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริต ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
มาตรา ๓๔ คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได
มาตรา ๓๖ ถ้าเหตุที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๖๑ ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าป
มาตรา ๖๒ บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๖๑
มาตรา ๖๓ เมื่อบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล
มาตรา ๖๔ ค าสั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญหรือคําสั่งถอนคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๖ นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๘๓ สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๑๒๒ มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๑๔๙ นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล
มาตรา ๑๕๐ การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นถือเป็นโมะะ
มาตรา ๑๕๑ การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ
มาตรา ๑๕๒ การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ
มาตรา ๑๕๓ การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๕๗ การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความส าคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็น
มาตรา ๑๕๙ การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๖๔ การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๗๒ โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
มาตรา ๑๗๓ ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นเว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่าคู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจาก
ส่วนที่เป็นโมฆะได้
มาตรา ๑๗๔ การใดเป็นโมฆะแต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะ
มาตรา ๑๗๕ โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
มาตรา ๑๗๖ โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมะะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม
มาตรา ๑๗๗ ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา ๑๗๕ ผู้หนึ่งผู้ใด ได้ให้สัตยาบันแก่โมฑียะกรรม ให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก แต่ทั้งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก
มาตรา ๑๗๘ การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ย่อมกระท าได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน
มาตรา ๑๘๑ โมฆียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้
หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทํานิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น
มาตรา ๓๖๖ ข้อความใดๆ แห่งสัญญาอันคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อนั้น
มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ด
มาตรา ๔๒๕ นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
มาตรา ๔๒๖ นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
มาตรา ๔๒๗ บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๒๙ บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด
มาตรา ๔๓๐ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี
มาตรา ๔๓๘ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
มาตรา ๔๔๓ ในกรณีทําให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ อีกด้วย
มาตรา ๔๔๔ ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป
มาตรา ๔๔๕ ในกรณีทำให้เขาถึงตาย หรือให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี
มาตรา ๔๔๖ ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี
มาตรา ๔๔๘ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น
มาตรา ๔๕๖
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ท าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมะะ
มาตรา ๑๐๑๕ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติแห่งลักษณะนี้แล้ว
มาตรา ๑๔๔๘ การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได
มาตรา ๑๔๔๙ การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
มาตรา ๑๔๗๖
สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
มาตรา ๑๔๘๐
การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา ๑๔๗๖ ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได
มาตรา ๑๕๔๗ เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
มาตรา ๑๕๙๙ เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาททายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๑๖๐๐ ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา ๑๖๐๑ ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
มาตรา ๑๖๐๒ เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา ๖๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
มาตรา ๑๗๐๓ พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทำขึ้นนั้น เป็นโมฆะ
มาตรา ๑๗๐๔ พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้น เป็นโมฆะ
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย รักษาโครงสร้างของสังคมให้มั่นคง คุ้มครองความปลอดภัย
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
ความผิดต่อแผ่นดิน เป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม
ความผิดต่อส่วนตัว เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตที่ว่า “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฏหมาย” และใช้บังคับ
เฉพาะการกระทำในราชอาณาจักรเท่านั้น
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
การกระทำโดยเจตนา
การกระทำโดยประมาท (Negligence)
วิสัย
พฤติการณ์
การกระทำโดยไม่เจตนา
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
4.1 เหตุยกเว้นความรับผิด
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
4.2 เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็น
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
4.3 เหตุลดหย่อนโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ
อายุความ
5.1 อายุความฟ้องคดีทั่วไป
5.2 อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิต เป็นโทษสูงสุด ส าหรับลงโทษผู้กระทําความผิดคดีอุกฉกรรจ์
โทษจําคุก
2.1 เป็นความผิดมีโทษจำคุก
2.2 ศาลต้องลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
2.3 ผู้กระทำความผิดต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือได้รับโทษจ าคุกมาก่อนแต่ต้องเป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
2.4 ศาลค านึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญาการศึกษา สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อม
โทษกักขัง เป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษอย่างอื่นมาเป็นโทษกักขัง
โทษปรับ การเสียค่าปรับ คือ การชําระเงินต่อศาลตามจ านวนที่ศาลกําหนดไว้ในคำพิพากษา
โทษริบทรัพย์สิน
ลหุโทษ หมายถึง ความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ปอ. มาตรา 102)
การทำงานเพื่อบริการสังคม
1) ผู้นั้นกระทำความผิดและต้องโทษปรับ แต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ
2) ในคดีที่ศาลพิพากษาปรับไม่เกิน 200,000 บาท และผู้กระทำผิดมีความประสงค์จะขอทํางาน เพื่อบริการสังคมหรือทํางานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ
3) ผู้ที่ถูกลงโทษโดยการทำงานบริการสังคม
4) ผู้ที่จะท างานบริการสังคมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางศีลธรรม วินัย หรือโครงการอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร
ละเว้นการคบหาสมาคมหรือประพฤติใดๆ ที่อาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกัน
ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด
5) ให้ผู้ดูแลรายงานเกี่ยวกับการทำงานให้ศาลทราบ
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ (Malpractice / Professional negligence /
Professional misconduct)
สาเหตุของความประมาทอาจเกิดจากการปฏิบัติการพยาบาลเกินขอบเขตวิชาชีพหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่ หรืองดเว้นการกระทำในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ต้องทำ แบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1) ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ (Failure to follow standard of care)
2) ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ การแพทย์ไม่ถูกต้อง (Failure to use equipment in aresponsible manner)
3) ความบกพร่องด้านการสื่อสาร (Failure to communication)
4) ความบกพร่องด้านการบันทึก (Failure to document)
5) ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ (Failure to assess andmonitor)
6) ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย (Failure to act as patientadvocate)
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
สำหรับบทลงโทษตามกฎหมายอาญาในความผิดฐานประมาทนั้น พิจารณาจากผลของการประมาทว่า เกิดความเสียหายรุนแรงมากน้อยเพียงใด
1) ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ
2) ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธ์
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
แท้งลูก
จิตพิการอย่างเต็มตัว
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน
3) ประมาทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย (Confidential disclosure)
1) รู้ความลับผู้อื่นมาเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือจากการศึกษาอบรม
2) เปิดเผยความลับนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดฐานเปิดเผยความลับมีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์
1) เป็นข้อผูกพันหรือหน้าที่
2) โรคติดต่อร้ายแรงเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
3) ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจรับผิดชอบหรือตัดสินใจด้วยตนเอง
4) คำสั่งศาล
5) ผู้ป่วยรับรู้และยินยอมให้เปิดเผย
6) การรายงานการทุบตีทำร้ายร่างกายในครอบครัว (Domestic violence)
7) รายงานบาดแผลที่ผู้ป่วยมารักษา เนื่องจากก่อคดีอาชญากรรม
แนวปฏิบัติในการรักษาความลับของผู้ป่วย
1) ไม่นำเรื่องของผู้ป่วยมาวิพากษ์วิจารณ์ให้บุคคลภายนอกได้ยินหรือพูดในที่สาธารณะ
2) ไม่วางแฟ้มประวัติหรือเขียนการวินิจฉัยไว้ที่ปลายเตียง/หน้าห้องผู้ป่วย
3) กรณีศึกษาของนักศึกษาพยาบาล ไม่ควรเขียนนามสกุลจริงของผู้ป่วย แต่อาจเขียนเฉพาะชื่อ เว้นการเขียนนามสกุลไว
4) ไม่นำบันทึกรายงานของผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วย
5) ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยแก่ญาติหรือคนอื่น โดยผู้ป่วยไม่ยินยอม
6) ระมัดระวังการพูดเกี่ยวกับการวินิจฉัย และการรักษาในห้องผู้ป่วยที่เป็นห้องรวม
7) หากส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เป็นความลับ เช่น ผลการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ควรใช้กระดาษปะหน้า ใส่ซองปิดผนึกและประทับตรา “ลับ”
8) อภิปรายข้อมูลผู้ป่วยเฉพาะกับผู้ร่วมทีมสุขภาพ และเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลเท่านั้น
9) จัดเก็บรายงานผู้ป่วยไว้เป็นสัดส่วน และทบทวนระเบียบยืมแฟ้มประวัติผู้ป่วย/เวชระเบียน เมื่อมีการส่งไปให้ค าปรึกษา/ส่งต่อ หรือนำ ไปใช้เพื่อการศึกษา
10) โรงพยาบาลควรมีนโยบายจ ากัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย การสืบค้นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
11) จัดทำระเบียบการขอส าเนาเวชระเบียนของผู้ป่วยต่อบุคคลที่สาม
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิตการไม่ช่วยเหลือหรือปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทั้งๆ ที่ตนอาจช่วยได้ (ปอ. มาตรา 374) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร : การปลอมเอกสารและการทำ หรือรับรองเอกสารเท็จ
5.1 ความผิดฐานปลอมเอกสาร
1) ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร
2) นำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
3) ความผิดฐานปลอมเอกสาร รวมถึงผู้ที่กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น
5.2 ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
1) เป็นผู้ทำคำรับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้หรืออ้างคำรับรองนั้นโดยทุจริต
2) ใช้เอกสารเท็จนั้นในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน
3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูก (Induced abortion)
6.1 การทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ไม่ว่าจะกระทำให้แท้งโดยวิธีใด
6.2 การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทำรือทั้งจำทั้งปรับ
6.3 การท าให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม การทำแท้งตามมาตรานี้เป็นการกระทำที่หญิงตั้งครรภ์ไม่สมัครใจ
6.4 การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก หมายถึง การทำแท้งที่ไม่ได้กระทำไปจนครบกระบวนการ หรือกระทำไปจนครบทุกขั้นตอน แต่ไม่บรรลุผล
6.5 การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมายการทำแท้งจะถูกกฎหมาย หากแพทย์เป็นผู้กระทำภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (ปอ.มาตรา 305)
1) จ าเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
2) หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา (มาตรา 276) เด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปีตั้งครรภ์จากการถูกชำเราโดยเด็กยินยอมหรือไม่ก็ตาม