Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ, apgar…
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ
:red_flag:
Birth Injury
การบาดเจ็บที่เกิดกับทารกระหว่างคลอดจากแรงที่กระทำกับทารกโดยตรง และไม่เกี่ยวกับโรคที่มารดาเป็นระหว่างการตั้งครรภ์
ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา
ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น PIH รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะน้ำคร่ำน้อย
ระยะเวลาของการคลอด เช่น การคลอดเฉียบพลัน
ความผิดปกติที่มีมาก่อนการตั้งครรภ์ เช่น มารดามีภาวะเบาหวาน,CPD
ปัจจัยเสี่ยงจากทารก
อายุครรภ์ของทารกไม่ครบกำหนด หรือเกินกำหนด
การคลอดไหล่ยาก
ทารกมีขนาดตัวโตมากทำให้เกิดการคลอดยาก
ทารกมีความพิการแต่กำเนิด
ทารกมีสว่นนำผิดปกติ เช่น หน้า ไหล่ ก้น
ปัจจัยเสี่ยงจากการคลอด
การคลอดด้วยคีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศ
การใช้แรงดึงมากเกินไปในการช่วยคลอดทารก
ปัจจัยเสี่ยงผู้ทำคลอด
ขาดความชำนาญหรือขาดการเอาใจใส่อย่างเพียงพอ
Skull injuries
Caput succedaneum
เกิดจากการคั่งของของเหลวในระหว่างชั้นของหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
ก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ (suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ
มีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุ
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอดท่าศีรษะ ทำให้มีของเหลวไหลซึมออกมานอกหลอดเลือดในชั้นใต้เยื่อหุ้มหนังศีรษะ
การใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด (vacuum extraction)
การวินิจฉัย
จากการคลำศีรษะทารก พบ ก้อนบวมโน นุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ชัดเจน ข้าม suture พบทันทีภายหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
พบได้ด้านข้างของศีรษะ การบวมของก้อนโนนี้จะมีความกว้างและมีขนาดโตประมาณไข่ห่าน ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
แนวทางการรักษา
หายไปได้เองประมาณ 2 -3 วันหลังคลอด ถ้าเกิดจาก V/E จะหายได้ช้ากว่า
บทบาทการพยาบาล
สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารก
Cephalhematoma
สาเหตุ
ระยะเวลาการคลอดยาวนาน, ศีรษะทารกถูกกดจากช่องทางคลอด และ V/E
ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีอาการรุนแรง ก้อนโนเลือดมีขนาดใหญ่ จะเกิดภาวะ hyperbilirubinemia ได้
อาจเกิดการติดเชื้อจากการดูดเลือดออกจากก้อนโนเลือดในกรณีมีแผนการรักษา
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ เป็นการคั่งของเลือดบริเวณใต้ เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตชัดเจน และไม่ข้ามรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะ พบมากที่กระดูก parietal
การวินิจฉัย
ประวัติเบ่งคลอดนาน ช่วยคลอดโดยใช ้V/E
ตรวจพบศีรษะมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่งลักษณะ แข็งหรือค่อนข้างตึง คลำขอบเขตได้ชัดเจน กดไม่บุ๋ม
อาการและอาการแสดง
อาการจะชัดเจนหลัง 24 ชม.ไปแล้ว เนื่องจากเลือดจะค่อย ๆ ซึม ออกมานอกหลอดเลือด
รายที่รุนแรงอาจพบทันทีหลังเกิดและพบว่าก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ
แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะค่อยๆหายไปเองภายใน 2 เดือน
ถ้ามีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วยและมีระดับบิลลิรูบินในเลือดสูง จำเป็นต้องได้รับการส่องไฟ (phototherapy)
ในรายที่ก้อนเลือดขนาดใหญ่อาจรักษาโดยการดูดเลือดออก
บทบาทการพยาบาล
สังเกต ลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับภาวะเลือดออกในสมอง
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโนเลือด
สังเกตอาการซีด เจาะ Hct และให้เลือดตามแผนการรักษา
ตรวจ MB ถ้าตัวเหลืองรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาส่องไฟ (phototherapy)
อธิบายมารดาและบิดาให้เข้าใจถึงอาการของทารก
แนะนำไม่ใช้ใช้ยาทา ยานวด ประคบหรือเจาะเอาเลือดออกเอง
Subgaleal hematoma
ภาวะที่มีเลือดสะสมใต้ช่องว่างของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างพังพืดของกะโหลกกับเยื่อหุ้มกะโหลก สาเหตุมักพบในการคลอดโดยใช ้V/E
อาการและอาการแสดง
มีขอบเขตจากหน้าไปหลังเริ่มจากขอบเบ้าตาไปยังท้ายทอย และด้านข้างจากหูไปยังหูอีกข้าง
ก้อนมีลักษณะนุ่ม และข้ามแนวประสานกระดูก ก้อนมีขนาดเพิ่มขึ้นช้า ๆ ในหลายชั่วโมงหรือวัน หรือเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ทารกช็อกจากการเสียเลือดได้
Subgaleal hematoma อันตรายมากกว่า Cephalhematoma เนื่องจากสามารถขยายขนาดได้ตั้งแต่ขอบกระดูกเบ้าตาจนถึงชายผม ทำให้ทารกเสียเลือดมาก จนเกิด hypovolemia
Intracranial hemorrhage
สาเหตุ
Preterm
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานในขณะคลอดหรือเกิดภายหลังคลอด
การได้รับอันตรายรุนแรงจาการคลอด เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด
ภาวะแทรกซ้อน
เลือดออกกดศูนย์หายใจทำให้ทารกหายใจลำบาก
ทารกอาจเกิดปัญญาอ่อน (mental retardation)
การวินิจฉัย
จากประวัติการคลอดเพื่อค้นหาสาเหตุ
อาการและอาการแสดง
Reflex ลดน้อยลงหรือไม่มี โดยเฉพาะ moro reflex จะเสียไป
กำลังกล้ามเนื้อไม่ดี มีอาการอ่อนแรง
มีภาวะซีด หรือมีอาการเขียว (cyanosis)
ซึม ดูดนมไม่ดี หรือไม่ยอมดูดนม ร้องเสียงแหลม
การหายใจผิดปกติ มีหายใจเร็ว ตื้น ช้า ไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดหายใจ
กระหม่อมโป่งตึง
ชัก (Convulsion)
แนวทางการรักษา
ถ้ามีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจได้รับการรักษาโดยเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อบรรเทาอาการความดันในสมอง
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายทารกถ้าตัวเย็น
ดูแลให้ได้รับยาระงับการชักและให้วิตามินเค
ดูแลให้ออกซเิจนถ้าทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำอย่างเพียงพอ
บทบาทการพยาบาล
ดูแลให้ทารกหายใจสะดวกและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้ได้รับนมและน้ำที่เพียงพอ
ให้ทารกอยู่ในตู้อบ (incubator) ที่ควบคุมอุณหภูมิ
เตรียมเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือทารกไว้ให้พร้อม
ตรวจสอบ V/S และบันทึกไว้ทุก 2- 4 ชม ตามระดับความรุนแรงของอาการ
ป้องกันและไม่ให้ทารกได้รับอันตรายจากการชัก
ดูแลให้ทารกได้พักผ่อน รบกวนทารกให้น้อยที่สุด
ดูแลฉีดวติามินเคจำนวน 1 mg เข้ากล้ามเนื้อ
ประคับประคองจิตใจมารดาและบิดา
ให้การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยการให้ความรู้แก่มารดาในการดูแลทารกให้เหมาะสม
Bone injuries
Fracture humurus
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น ผู้ทำคลอดดึงทารกออกมาแขนเหยียด
การคลอดท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
อาการและอาการแสดง
รายที่มีกระดูกหักสมบูรณ์(complete) อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะคลอด
แขนข้างที่หักจะมีอาการบวมและทารกไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่หัก
แนวทางการรักษา
ถ้ากระดูกแขนหักสมบูรณ์ รักษาโดยการจับแขนตรึงกับผนังทรวงอก ศอกงอ 90 องศา แขนส่วนล่างและมือทาบขวางลำตัวใช้ผ้าพันรอบแขนและลำ ตัว หรือใส่เฝือกอ่อนจากหัวไหล่ถึงสันหมัด
ถ้าเป็นเพียงกระดูกแขนเดาะ รักษาโดยการตรึงแขนให้แนบกับลำตัวเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหว 1-2 สัปดาห์
Fracture femur
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น
ผู้ทำคลอดดึงขาทารกขณะที่ติดอยู่ที่ทางเข้าเชิงกราน (pelvic inlet)
อาการและอาการแสดง
อาจได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทารกคลอด
อาจไม่ทราบว่ากระดูกหักจนเวลาผ่านไปหลายวัน จะพบว่าขาทารกมีอาการบวม
เมื่อจับทารกเคลื่อนไหวหรือถูกบริเวณที่กระดูกต้นขาหักทารกจะร้องไห้
แนวทางการรักษา
ถ้ากระดูกไม่หักแยกจากกัน (incomplete) รักษาโดยการใส่เฝือกขายาว ประมาณ 3-4 สัปดาห์
ถ้ากระดูกหักแยกจากกัน (complete) รักษาโดยการห้อยขาทั้งสองข้างไว้กับราวที่ขวางปลายเตียง ขาเหยียดตรงให้ก้น และสะโพกลอยจากพื้นเตียง ดึงขาไว้นาน 2-3 สัปดาห์
Fracture clavicle
สาเหตุ
การคลอดทารกท่าศีรษะที่ไหล่คลอดยาก
ทารกตัวโตหรือคลอดท่าก้นที่แขนเหยียดซึ่่งผู้ทำคลอดดึงแขนออกมา
อาการและอาการแสดง
ทารกเคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหักน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
ทารกจะมีอาการหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อสัมผัสบริเวณที่กระดูกหัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจับใต้แขนยกตัวทารกขึ้น
อาจพบว่ามีอาการบวมห้อเลือด(ecchymosis) ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
อาจพบปมประสาทใต้ไหปลาร้า (brachial plexus) ของทารกอาจได้รับอันตรายร่วมด้วย
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่หายได้เองค่อนข้างเร็ว มักเกิดกระดูกงอกใหม่ภายใน 1 สัปดาห์
รักษาโดยให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหลปลาร้าหักอยู่นิ่ง ๆ โดยการกลัดแขนเสื้อติดกับตัวเสื้อ ประมาณ 10 – 14 วัน
การบาดเจ็บของเส้นประสาท
facial nerve injury
สาเหตุ
การคลอดยาก
การใช้คีมช่วยคลอดทำให้กดเยื่อประสาทสมองคู่ที่ 7 (facial nerve injury) ที่ไปเลี้ยงใบหน้า
อาการและอาการแสดง
มีอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อใบหน้า มักเป็นด้านเดียว
กล้ามเนื้อด้านที่เป็นอัมพาตจะไม่เคลื่อนไหว ทำให้หน้าเบี้ยวไปข้างที่ดี
รูปหน้าทั้ง 2 ด้านจะไม่เท่ากัน เห็นได้ชัดเจนเมื่อทารกร้องไห้
ทารกจะลืมตาได้เพียงครึ่งเดียว ตาปิดไม่สนิท
ปากข้างที่เป็นจะถูกดึงลงมาทำให้มุมริมฝีปากล่างตก
ไม่มีรอยย่นที่หน้าฝาก
แนวทางการรักษา
ปกติถ้าประสาทที่เลี้ยงใบหน้าเพียงถูกกดอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วันถึงสัปดาห์
ถ้าเส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
ข้อควรจำ :
การให้นมกับทารกต้องให้ทีละน้อย ๆ รอให้ทารกกลืนนมให้หมดก่อนแล้วจึงให้ต่อ
Brachial nerve injury
สาเหตุ
เกิดจากข่ายประสาท Brachial ถูกดึงหรือกด
พบในทารกที่คลอดโดยมีส่วนนำเป็นก้นหรือคลอดยาก บริเวณแขนหรือไหล่จากการที่ดึงไหล่ออกไปจากศีรษะในระหว่างการคลอด
Erb-Duchenne paralysis
แขนข้างนั้นส่วนบนไม่ขยับ
แขนจะอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
บริเวณข้อมือยังขยับ
กำมือได้ตามปกติ
เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังระดับคอ C5 - C6
Klumpke’ s paralysis
เป็นการบาดเจ็บที่เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังตอนคอท่อนที่ 7-8 และเส้นประสาทเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1 (c7-c8 และ T1)
แขนข้างนั้นส่วนล่างไม่ขยับ
แขนอยู่ในท่าชิดตัวและหมุนเข้าข้างใน
บรเิวณข้อมือไม่ขยับ
กำมือไม่ได้
แนวทางการรักษา
ทำกายภาพบำบัด
ถ้าไม่หายอาจต้องทำศัลยกรรมซ่อมประสาท
ให้แขนไม่เคลื่อนไหว ในท่ากางหมุนแขนออก ข้อศอก ตั้งฉากกับลำตัว
การพยาบาล
ดูแลความสุขสบายและการผ่อนคลายให้ทารกที่ต้องตรึงแขน สำรวจมือ ปลายนิ้วเพื่อดูว่าเย็นซีดหรือไม่
ทำความสะอาดร่างกายด้วยความนุ่มนวล ถอดเสื้อจากแขนด้านดีก่อนและสวมเสื้อด้านที่เจ็บก่อน
ดูแลให้แขนที่ได้รับอันตรายได้ออกกำลัง หลังจากการรักษาพยาบาลในช่วงแรกดีขึ้น และส่งกายภาพบำบัดโดยพยาบาลมีส่วนร่วม
ตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ควรเพิ่มความรัก แตะต้องสัมผัสมากกว่าทารกปกติ
ดูแลให้ส่วนที่ได้รับอันตรายไม่เคลื่อนไหว
ช่วยให้มารดาและบิดามั่นใจในการดูแลทารก
:red_flag:
Birth Asphyxia
สาเหตุ
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือของทารกขัดข้อง เช่น สายสะดือถูกกด
ออกซิเจนหรือสารอาหารผ่านรกมายังทารกไม่พอ
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนทางรก
ปอดของทารกขยายไม่เต็มที่ภายหลังคลอด
การไหลเวียนของเลือดไม่เปลี่ยนเป็นแบบทารกหลังคลอดปกติ
อาการและอาการแสดง
ทารกจะมีลักษณะเขียวแรกคลอดไม่หายใจ ตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียก reflex ลดลง หัวใจเต้นช้าโดย อาการขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน
การประเมิน APGAR score พบว่ามีคะแนน < 8 คะแนน ที่นาทีที่ 1
APGAR score 5 – 7 (mild Asphyxia)
APGAR score 3 - 4 (moderate Asphyxia)
APGAR score 0 - 2 (severe Asphyxia)
แนวทางการช่วยเหลือทารก
No asphyxia
(APGAR score 8-10)
เช็ดตัวทารกให้แห้งห่อผ้าให้ความอบอุ่น หรือวางทารกใต้ radiant warmer ที่อุ่น
clear airway โดยดูดสิ่งคัดหลั่งในปากและจมูก
Mild asphyxia
(APGAR score 5-7)
clear airway
กระตุ้นการหายใจด้วยลูบหน้าอกหรือหลัง
เช็ดตัวทารกให้แห้ง
ออกซิเจนที่ผ่านความชื้นและอุ่นผ่าน mask 5 LPM
Moderate asphyxia
(APGAR score 3-4)
ใช้ bag และ mask ให้ออกซิเจนร้อยละ 100 และความดันที่เพียงพอ
หลังช่วยเหลือ 30 วินาที HRไม่เพิ่มหรือเต้นช้ากว่า 60 /min ควรใส่ท่อ endotracheal tube และนวดหัวใจ
clear airway
Severe asphyxia
(APGAR score 0-2)
ช่วยหายใจทันทีที่คลอด โดยการใส่ endotracheal tube และช่วยหายใจด้วย bag ใช้ออกซิเจนร้อยละ 100 พร้อมกับนวดหัวใจในอัตราการนวดหัวใจ : การช่วยหายใจ 3 : 1
หลังช่วย 1 นาที ถ้าไม่มี HR หรือหลังช่วย 2 นาที HR < 100/min ควร ได้รับการใส่ umbilical venous catheter
clear airway
ในรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง อาจทำให้ทารกมีภาวะชักได้ โดยภาวะชักนั้นจะปรากฎภายใน 24 ชั่วโมงแรกของชีวิต
ทารกที่เกิดภาวะชักจะต้องให้ยาระงับชักและสังเกตการณ์กลับเป็นซ้ำ เนื่องจากทารกอาจชักต่อเนื่องจนถึงหลังคลอดประมาณ 8-10 วัน
การช่วยการหายใจ (Artificial Ventilation)
ข้อบ่งชี้การช่วยหายใจด้วยความดันบวก (positive pressure ventilation: PPV) ทันที
เมื่อกระตุ้นการหายใจด้วย tactile stimuli ไม่ช่วยให้เกิดการหายใจเองได้
การหายใจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้การเต้นของหัวใจคงอยู่ในอัตราที่มากกว่า 100 bpm
ทารกที่มี APGAR score เท่ากับหรือน้อยกว่า 4
วิธีการช่วยหายใจด้วยความดันบวก (PPV)
จัดท่าให้ทารก โดยใช้ผ้ารองรับหัวไหล่ให้ยกสูงขึ้นจากพื้นประมาณ 1 นิ้ว ทำให้ศีรษะแหงนไปทางด้านหลังเล็กน้อย ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง อย่าให้หน้าและคอแหงนมากเกินไป เพราะจะทำให้หลอดลมตีบและแคบลง
เลือกขนาดของ mask ให้เหมาะสมกับทารกโดย mask ต้องครอบคลุมทั้งคาง ปากและจมูก
การจับ mask ควรกด mask ให้แนบสนิทกับใบหน้าด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้มือซ้าย ขณะเดียวกันนิ้วกลางจับบริเวณปลายคางยกขึ้น นิ้วนางจับที่ บริเวณขากรรไกรจะทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
การบีบ bag ในการช่วยหายใจด้วย PPV
บีบอัตรา 40 - 60 /min ให้ทรวงอกขยับพอประมาณโดยใช้แรงให้น้อยที่สุด
การบีบ bag เพื่อการหายใจเข้าเป็นครั้งแรกใช้ความดัน 30-50 ซม.น้ำ
การบีบ bag ในครั้งต่อๆไป ใช้ความดัน 20 ซม.น้ำ (ยกเว้นรายความยืดหยุ่นปอดไม่ดี หรือการสำลักขี้เทา 20-40 ซม.น้ำ
✓ถ้าทางเดินหายใจอุดตันต้องดูดเสมหะทารก
เริ่ม resuscitation จาก room air ก่อนและค่อย ๆ ปรับให้O2 จนได้ Targeted Preductal SpO2
ในขณะบีบ bag ผู้ที่บีบ bag ควรประเมินว่า ทรวงอกทั้งสองข้างของทารกขยับเท่ากันหรือไม่ ตรวจสอบว่าขอบของ mask แนบสนิทกับใบหน้าของทารกหรือไม่
ภายหลังทำ PPV 30 วินาทีแล้วต้องประเมินทารกโดยใช้เวลา 6 วินาที
การใส่ท่อหลอดลมคอ endotracheal tube (ET tube)
ข้อบ่งชี้
อัตราการเต้นของหัวใจทารกต่ำกว่า 60 bpm
ทารกที่สงสัยว่ามี Diaphragmatic hernia
ทารกที่ต้องช่วยเหลือโดยทำ Chest compression
ทารกที่มีน้ำหนักตัว < 1,500 กรัมและไม่มีการหายใจ HR < 100 bpm
หลังทำ PPV ด้วย bag และ mask อาการไม่ดีขึ้น
ทารกที่มีน้ำคร่ำและขี้เทาใน trachea และต้องดูดออก
ช่วยฟื้นคืนชีพทารกที่มีภาวะ severe asphyxia
วิธีการใส่ ET tube
ควรเลือกขนาดของ ET tube ให้เหมาะสมกับตัวทารก
ผู้ใส่จับ laryngoscope ด้วยมือซ้าย และสอด ET tube มือขวา
ถ้าไม่สามารถใส่ endotracheal tube ได้ภายใน 30 วินาที ควรพักและช่วยหายใจด้วย bag และ mask เป็นเวลา 30-60 วินาที แล้วจึงพยายามใส่ใหม่อีกครั้ง
ตำแหน่งที่ถูกต้องของปลาย ET tube ต้องอยู่ตำแหน่งเหนือ carina ตรวจสอบโดยใช้ stethoscope ฟัง breath sound ที่ส่วนบนของ mid axillary line หรือที่ยอดปอด ทั้งสองข้าง ควรได้ยินเสียงเท่ากัน
จัดศรีษะอยู่ในลักษณะแบบเดียวกับการช่วยหายใจด้วย PPV
การนวดหัวใจ (External Cardiac massage)
ข้อบ่งชี้
ทารกที่อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 bpm
ภายหลังจากการช่วยหายใจด้วย bag และ mask 30 วินาที แล้ว HR ไม่เพิ่มขึ้น
ทารกที่คลอดออกมาแล้วหัวใจไม่เต้น โดยที่ไม่ได้คาดหมายมาก่อน
ทารกในกลุ่ม Severe asphyxia
วิธีที่ 1
ใช้นิ้ว 2 นิ้ว คือ นิ้วชี้กับนิ้วกลางของมือหนึ่งกดลงบนกลางกระดูกอก อีกมือหนึ่งวางสอดใต้ตัวทารก เพื่อให้รองให้แข็งขึ้น (two fingers technique)
วิธีที่ 2
ใช้หัวแม่มือทั้ง 2 ข้างกดกระดูกอก ส่วนนิ้วที่เหลืออีก 4 นิ้วสอดใต้ตัวทารกไว้ทั้ง 2 ข้าง หัวแม่มือวางให้ชิดกันหรือซ้อนกันก็ได้ (two thumb technique)
หลักการนวดหัวใจ
กดลงที่ตำแหน่ง lower third ของ sternum ความลึกมากกว่า 1/3 ของ chest wall ร่วมกับ ventilation (ETT) ด้วยออกซิเจน 100 % ในอัตรา 3:1 (นับ “หนึ่งและสองและสามและบีบและ… ซ้ำ”)
กดหน้าอก 90 ครั้ง : PPV 30 ครั้ง ในเวลา 1 นาที
การให้ยา epinephrine
ข้อบ่งชี้
ไม่มี HR หรือ HR < 60 /min ทำ PPV ด้วยออกซิเจน 100% ร่วมกับการทำ chest compression แล้วเป็นเวลา 30 วินาที
ขนาด
ให้ epinephrine (1:1,000) ผสมเป็น 1:10,000 โดยให้ 0.01-0.03 mg/kg (0.1-0.3 ml/kg) ทาง umbilical venous catheter หรือ 0.05-0.1 mg/kg (0.5-1 ml/kg) ทาง ET tube ทุก 3-5 นาที ถ้า HR < 60 /min ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีและออกฤทธิ์รวดเร็วมาก
:red_flag:
Meconium aspiration syndrome
สาเหตุ
เกิดจากการขาดออกซิเจนของทารกทำให้ทารกหายใจเอาขี้เทาที่ตนเองถ่ายไว้เข้าไป
อาการและอาการแสดง
ขี้เทาจะไปอุดตามหลอดลมและถุงลมในปอดของทารก ทำให้ทารกหายใจเร็วกว่าปกติเล็กน้อย เป็นเวลา 2- 3 วัน หลังคลอด หรือบางรายอาจหายใจเร็วมากกว่า 60 bpm
ปลายมือปลายเท้าและรอบปากเขียว
หน้าอกโป่ง เวลาหายใจเข้าออก
หน้าอกจะบุ๋ม
ฟังปอดพบเสียง rales และ rhonchi เสียงลมหายใจเข้าเบาลง เสียงหัวใจค่อยลง เนื่องจากมีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax)
ภาพรังสีของปอดพบปอดทึบ พบสารน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
สายสะดือมีสีเหลือง (yellowish staining)
ในรายที่สูดสำลักขี้เทาเข้าไปมากอาจเสียชีวิตทันที หลังคลอดหรือภายใน 24 ชั่วโมง
ในรายที่อาการไม่รุนแรง อาการจะดีขึ้นมาภายใน 24-72 ชั่วโมง
ในรายที่รุนแรง อาจใช้เวลา ถึง 1-2 สัปดาห์
แนวทางการรักษา
หากมีขี้เทาในน้ำคร่ำประกอบกับทารกหายใจช้า ความตึงตัวของ กล้ามเนื้อไม่ดีและ HR < 100 bpm พิจารณาใส่ ETT เพื่อดูดขี้เทาออก
ภายหลังการดูดขี้เทาในหลอดลม ควรใส่สายยางดูดขี้เทาจากกระเพาะอาหารด้วย
ดูดขี้เทาและน้ำคร่ำออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุดก่อนทารกหายใจ
ในรายที่มี asphyxia โดยทำการดดูขี้เทาก่อนช่วยด้วยแรงดันบวก และดูดออกให้มากที่สุด
งดอาหารและน้ำทางปาก ดูแลให้ 10% Dextros in water ทางหลอดเลือดดำ
ตรวจ arterial blood gas เพื่อประเมินภาวะความเป็นกรดของเลือด
ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อที่ปนเข้าไปกับขี้เทา
บทบาทการพยาบาล
กระตุ้นให้ร้องและดูแลให้ออกซิเจน
รักษาร่างกายทารกให้อบอุ่น โดยจัดให้นอนใน radiant warmer ที่อุณหภูมิ 36.5-37 C
ให้ลูกสูบยางแดงหรือสาย suction ขนาดเล็กดูดขี้เทาและน้ำคร่ำจนกว่าจะหมด
สังเกตอาการผิดปกติโดยเฉพาะการหายใจ > 60 bpm ให้รายงานแพทย์
จัดให้ทารกนอนตะแคงศีรษะต่ำเล็กน้อย หรือตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง
บอกถึงอาการและความก้าวหน้าของการรักษาพยาบาล ทารกให้มารดาและบิดาทราบ