Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ปรัชญาการศึกษากลุ่มอนุรักษนิยม, จัดทำโดย นางสาวชฎาพันธ์ ปะมาคะเต…
บทที่ 5 ปรัชญาการศึกษากลุ่มอนุรักษนิยม
ปรัชญาสาขาสารัตถนิยม (Essentialism) เป็นปรัชญาที่ยึดเนื้อหาเป็นหลักสำคัญของการศึกษา และเนื้อหามี่สำคัญนั้นก็ต้องเน้นเนื้อหาที่ได้มาจากมรดกทางวัฒนธรรมของเรา ความรู้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้รับความสำคัญน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับความรู้ในอดีต
องค์ประกอบของการศึกษา
2.ครู ซึ่งจะแยกเป็นข้อได้ดังนี้
ครูเป็นผู้ตัดสินว่า นักเรียนเรียนรู้ได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว
ครูเป็นผู้กำหนดมาตรฐานว่า การเรียนรู้จะเรียนรู้ได้มากน้อยแค่ไหน เพียงไร
ครูเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีที่สุด
ครูเป็นผู้นำของห้องเรียนและถือว่าเป็นผู้นำที่ฉลาดรอบรู้
ครูเป็นผู้รู้เนื้อหาที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดในห้องเรียน
ครูเป็นแบบแผนและเป็นแม่พิมพ์ของการศึกษา
3.ผู้เรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้เรียนรู้ เป็นผู้สืบทอดค่านิยมไว้ และสืบต่อให้กับคนรุ่นหลังต่อไป
1.หลักสูตร เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นหลักสำคัญ เนื้อหาหลักคือ เนื้อหาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน เช่น ภาษา ประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังเน้นเนื้อหาพิเศษด้วย เช่น เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ ค่านิยม และวัฒนธรรมของสังคม
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.ให้การศึกษาเพื่ิการเรียนรู้ในเรื่องของความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมสังคมในอดีต
3.ธำรงรักษาสิ่งต่างๆ ในอดีตเอาไว้
1.ให้การศึกษาในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระอันได้จากมรดกทางวัฒนธรรม
กระบวนการของการศึกษา
2.กระบวนการบริหาร คือการยึดแบบอย่าง ยึดมาตรฐาน ยึดระเบียบวินัย เพื่อให้การเรียนรู้เนื้อหาเป็นไปอย่างดีและมีประสิทธิภาพตามปรัชญาแนวนี้
3.บทบาทของโรงเรียนต่อชุมชน การเรียนรู้เนื้อหาในกลุ่มนี้ไม่ได้เน้นเนื้อหาที่นำไปใช้ในทันทีทันใด แต่มุ่งที่จะให้รู้ เข้าใจ จดจำ นำไปใช้ได้ภายหลัง สังคมมอบหมายอะไรก็ให้ทำไปตามนั้น
1.กระบวนการเรียนการสอน การเรียนการสอนจะเน้นบรรยายเป็นหลัก เด็กต้องรู้แบะเข้าใจเป็นสำคัญ ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความเห็นหรือโต้แย้ง นอกจากนี้ยังเน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำในกลุ่มด้วย
กลุ่มอนุรักษนิยม (Conservative View) เป็นกลุ่มที่เน้นเนื้อหา เน้นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่ากิจกรรมและความรู้สมัยใหม่ ปรัชญาในกลุ่มนี้มี 2 สาขาใหญ่
สารัตถนิยม (Essentialism)
นิรันตรนิยม (Perennialism)
ปรัชญาสาขานิรันตรนิยม (Perennialism) ปรัชญาแนวนี้จะสอนสิ่งที่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลง มีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็จะมีคุณค่าไม่เปลี่ยนแปลง เนื้อหาเป็นเพียงพาหะนำคนไปสู่สิ่งที่สูงส่งกว่านั้นคือ การเป็นคนที่สมบูรณ์ เน้นหนักในเรื่องของเหตุผล สติปัญญา และศาสนา
องค์ประกอบของการศึกษา
2.ครู ผู้สอนเป็นผู้เพิ่มบทบาทในการจัดกิจกรรม เป็นผู้สร้างบรรยากาศ เป็นผู้นำทางสติปัญญา มีความรู้ความสามารถ และเป็นผู้เสนอความรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาความคิดและสติปัญญาของผู้เรียน
3.นักเรียน เด็กจะมีบทบาทอย่างมาก เท่าๆ กับครูหรือมากกว่าครู จะมีลักษณะการเรียนรู้ที่ฝึกฝนสติปัญญาของตนเอง เป็นการแลกเปลี่ยนและถกเถียง แต่อยู่ภายใต้การแนะนำของครู
1.หลักสูตร หลักสูตรที่เรียกกันคือ หลักสูตรศิลปศาสตร์ เน้นการฝึกฝนให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่รู้จักใช้สติปัญญา เหตุผล และความรู้อย่างอิสระ มีความคิดความอ่านกว้างขวาง จะประกอบด้วย ไวยากรณ์ วาทศิลป์ ตรรกศาสตร์ เลขคณิต เลขาคณิต เป็นต้น
กระบวนการการศึกษา
2.กระบวนการบริหาร ต้องเป็หลักที่จะต้องสร้างขึ้นคือ บรรยากาศอิสระในสถาบันการศึกษาหรือ เสรีภาพทางวิชาการ บรรยากาศของการบริหารจะต้องเอื้อต่อการถกเถียง อภิปราย เสรีภาพทางวิชาการจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
3.บทบาทต่อสังคม ปรัชญานี้จะไม่มีผลต่อสังคม เพราะเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก เน้นที่การพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลของบุคคล
1.กระบวนการเรียนการสอน มุ่งการสร้างคนให้เป็นคนสมบูรณ์โดยวิธีการฝึกฝนศักยภาพที่มีในตัวของผู้เรียนเป็นสำคัญ วิธีการจึงเป็นการถกเถียง อภิปราย การใช้เหตุผลสติปัญญาโต้แย้งกัน
4.ข้อจำกัด คือ คนเราอยู่ด้วยเหตุผลอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความรู้สึกและการกระทำต่างๆ ประกอบด้วย การเน้นแค่สติปัญญาและเหตุผลอย่างเดียวคงไม่เหมาะ
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
2.มุ่งพัฒนาสติปัญญาและเหตุผลในตัวมนุษย์ให้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น
3.เมื่อมนุษย์มีเหตุผลกันทุกคน การศึกษาในทุกแห่งทุกสถานที่จึงเหมือนเป็นสากล
1.มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักและทำความเข้าใจกับตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของเหตุผล
จัดทำโดย
นางสาวชฎาพันธ์ ปะมาคะเต รหัส 62723713203