Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การล้างและการสวนล้าง, -, -, นางสาวปรัศนียาพร เดชแพง เลขที่ 27 ห้อง A …
การล้างและการสวนล้าง
การล้างไต
แนวคิดสำคัญ
ไตเป็นอวัยวะลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วมีสองอัน ขนาดเท่ากำปั้น มีตำแหน่งอยู่ข้างกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ทำหน้าที่กำจัดของเสีย ควบคุมน้ำในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดง และช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง เมื่อไตสูญเสียหน้าที่ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ติดเชื้อซ้ำๆที่ไต นิ่วในไต ไตอักเสบ หรือสาเหตุอื่นๆ สำหรับแนวทางการรักษามีหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา ควบคุมอาหาร ผ่าตัดปลูกถ่ายไตและการล้างไต ซึ่งวิธีการล้างไต ประกอบด้วย การทำ Hemodialysis และ Continuous Ambulation Peritoneal Dialysis; CAPD ในเอกสารนี้จะกล่าวถึง CAPD กล่าวคือ เป็นการใช้น้ำยาล้างไตใส่เข้าไปในช่องท้องและใช้เยื่อบุช่องท้องเป็นตัวกรองทำความสะอาดเลือด น้ำและของเสียจะถูกกำจัดออกจากเลือดเข้าสู่ช่องท้อง โดยกระบวนการแพร่ (diffusion) ทั้งนี้พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ในการดูแลและให้คำแนะนำผู้ป่วยหรือผู้ดูแล เพราะหากปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น การติดเชื้อ เป็นต้น
1
หลักการ Continuous Ambulation Peritoneal Dialysis
เมื่อใส่น้ำยาที่มีส่วนประกอบด้วยน้ำตาลซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษช่วยดึงน้ำออกจากเลือดเข้าไปในช่องท้อง น้ำยาจะสัมผัสกับเยื่อบุช่องท้องและเกิดการดึงน้ำและของเสียออกจากเส้นเลือดบริเวณผนังเยื่อบุช่องท้องซึ่งเรียกกระกวนการแพร่ (diffusion) เป็นการเคลื่อนที่ของของเสียจากเลือดไปสู่น้ำยาล้างไต ขบวนการนี้จะสิ้นสุดหลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เพราะผู้ป่วยต้องเปลี่ยนน้ำยาใหม่ทุก 4- 6 ชั่วโมง
2
คุณสมบัติของผู้ที่จำเป็นต้องรักษาด้วย CAPD
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 ที่มีอาการอย่างน้อย 1 อาการ ดังนี้
1.มีอาการของเสียคั่ง
2.มีภาวะน้ำเกินที่ไม่สามารถรักษาด้วยการจำกัดน้ำและเกลือ หรือยาขับปัสสาวะ
3.ภาวะทุพโภชนาการ serum albumin ต่ำกว่า 3.5 กรัม/ดล.
อุปกรณ์การทำ CAPD
1.อุปกรณ์ในการล้างมือ ได้แก่ สบู่เหลวหรือแอลกฮอล์เจล ผ้าเช็ดมือ
2.Mask
3.น้ำยาล้างไตตามแผนการรักษา
4.พลาสเตอร์
5.เสาแขวนน้ำยา
6.กรรไกรปลายมน
7.โต๊ะวางอุปกรณ์
8.70% แอลอฮอล์ก๊อซ สำลี
9.ตัวหนีบสีน้ำเงิน (Out port clamp) 2 อัน จุกปิดสีขาว (minicap) แบบ Twin bag
10.เครื่องชั่งน้ำหนักขนาด 3-5 กิโลกรัม
วิธีปฏิบัติ CAPD
วิธีปฏิบัติเปลี่ยนน้ำยาระบบ ANDY-DISC
1.เตรียมอุปกรณ์ จัดสิ่งแวดล้อม สวม Mask
2.ล้างมือ
3.เตรียมโต๊ะที่เปลี่ยนน้ำยาให้สะอาด โดยใช้ 70% แอลกอฮอลฉีดพ่นทำความสะอาด
4.ใช้ผ้าก๊อซ สำลี เช็ดโต๊ะไปในทางเดียวกัน และขอบโต๊ะทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนน้ำยา
5.ตรวจสอบถุงน้ำยา โดยวางบนโต๊ะ ดูวันหมดอายุ เปอร์เซ็นต์ ปริมาตร สภาพของสายน้ำยา ทดสอบการรั่วของถุงน้ำยา
6.ฉีกถุงหุ้มน้ำยาภายนอกออก ยกถุงส่องดูว่าน้ำยามีสิ่งแขวนลอยหรือสิ่งผิดปกติ นำน้ำยามาชั่งที่ตาชั่ง
7.ทำความสะอาดแท่นยึด (organizer) ด้วยสำลีชุบ 70% แอลกอฮอล์ แล้ววางที่โต๊ะที่ทำความสะอาดแล้ว
8.วางจานหมุนลงในแท่นยึดแยกสายของถุงน้ำยาใหม่ออก วางถุงน้ำยาเปล่าลงในภาชนะรองรับโดยให้ระดับต่ำกว่าช่องท้อง
หมุนข้อต่อออกจากฝาเปิดอันเก่าจากนั้นหมุนข้อต่อเข้ากับปลายท่อจานหมุนแทนสำรวจเข็มชี้จานหมุนอยู่ตำแหน่ง 1 จุดพร้อมกับเปิดตัวหนับสายส่งน้ำยาจากช่องท้องสู่น้ำเปล่าจนหมด ใช้เวลา 10-15 นาที
10.หมุนจานตามเข็มนาฬิกาให้อยู่ตำแหน่ง 2 จุด เพื่อให้น้ำยาถุงใหม่ล้างข้อต่อสาน 5 วินาทีและหมุนตามเข็มนาฬิกาไปถึง 3 จุดเพื่อปล่อยน้ำยาเข้าช่องท้องจนหมด หมุนเข็มไปที่จุด 4 เพื่อปิดระบบ (บันทึกเวลาน้ำยาเข้า)
11.เปิดซองบรรจุฝาปิดหยิบออกจากซอง สอดเข้าปในช่องที่อยู่ด้านซ้ายของแท่นยึดให้ลึกที่สุด
12.หมุนฝาครอบฝาปิดอันใหม่ออก หมุนข้อต่อออกจากจานหมุนและต่อกับฝาปิดอันใหม่พร้อมชั่งน้ำหนักน้ำยาถุงที่ปล่อยออก ตรวจดูลักษณะของน้ำยา
13.ลงบันทึกพร้อมเทน้ำยาที่ใช้แล้วใส่ชักโครก ถุงพลาสติกและขยะแยกทิ้งในถัง
วิธีปฏิบัติเปลี่ยนน้ำยาระบบ Twin bag
ขั้นตอนที่ 1-6 เหมือนกัน
7.วางซอง minicap ใหม่บนโต๊ะที่ทำความสะอาดแล้ว
8.หากปลายสาย mini transfer มีผ้าก๊อซหุ้มอยู่ให้แกะออก แล้วปูผ้าสะอาดรองสาย
9.ล้างมือ ต่อสายเข้ากับผู้ป่วย และมืออีกข้างแยกสายและถุงน้ำยาเปล่าออกจากถุงน้ำยา ตรวจสอบความสมบูรณ์และวางถุงเปล่าลงในภาชนะ โดยให้อยู่ระดับต่ำกว่าท้อง
10.นำตัวหนีบ หนีบสายน้ำเข้า
11.ใช้มือข้างถนัดจับสาย mini transfer มืออีกข้างจับถุงน้ำยาและดึงจุกยางเปลี่ยนสายถุงน้ำยาออก
12.ต่อสายรูปตัว Y เข้ากับ minitransfer หมุนเกลียวให้สนิท คลายเกลียว mini transfer เพื่อปล่อยน้ำยาออกจากช่องท้องและหมุนปิด (ลงบันทึก)
ปลด out port clam จากถุงน้ำยาใหม่เพื่อให้น้ำยาไหลลงถุงน้ำยาที่ปล่อยออก 5 วินาที เรียก Flush before fill และหนีบสายน้ำยาออกไว้
14.คลายเกลียว mini transfer ให้น้ำยาไหลเข้าท้องจนหมด ปิดเกลียวและนำ out port clamp หนีบสายน้ำยาปล่อยเข้า (บันทึกเวลาน้ำยาเข้า)
15.ปล่อยน้ำยาออก โดยปลดสายของถุงน้ำยาออกระวังไม่ให้ mini transfer สัมผัสสิ่งปนเปื้อน หมุดปิดด้วย minicap อันใหม่หุ้มด้วยก๊อซ ติดพลาสเตอร์ mini transfer ไว้กับหน้าท้องผู้ป่วย
16.ชั่งน้ำหนักน้ำยา ลงบันทึก เก็บอุปกรณ์
จุดเน้นสำคัญ
1.ข้อห้ามเด็ดขาดและพลาดไม่ได้
ผู้ป่วยที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ มีสิ่งแปลกปลอมในช่องท้องก่อนเริ่มทำการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง มีไส้เลื่อนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือมีช่องท้องติดต่อระหว่างช่องท้องกับอวัยวะภายนอกช่องท้อง มีน้ำหนักมากกว่า 90 กก. BMI มากกว่า 35 กก./ตร.ม. มีโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ติดเชื้อที่ผนังช่องท้องและผิวหนังบริเวณตำแหน่งที่ใส่สาย มี recurrent diverticulitis ,colostomy หรือ ileostomy และภาวะทุพโภชนาการขั้นรุนแรง
ผู้ป่วยที่ควรห้ามรับการรักษาด้วยการทำ CAPD ได้แก่ ผู้ป่วยมีรอยโรคบริเวณผิวหนังหน้าท้องที่สายล้างช่องท้องได้ ผู้ป่วยที่มีพังผืดภายในช่องท้องมาก ผู้ป่วยมีสภาพจิตบกพร่องรุนแรง ไม่มีผู้ดูแลอยู่ในระหว่างหรือมีภาวะอักเสบในช่องท้องไม่เกิน 3 เดือน
2.จุดควรระวังและมีการพลาดบ่อย
เฝ้าระวังเรื่องการป้องกันการติดเชื้อจากการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตโดยยึดหลักสะอาด
3.เทคนิคและจุดสร้างคุณภาพ
เครื่องมือต้องสะอาด
ประเมินปริมาณการไหลเข้าออกของสารน้ำ และสังเกตสีของน้ำยาล้างไต
แนะนำผู้ป่วยเรื่องการรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มโปแตสเซียมในร่างกาย เช่น กล้วย เพราะร่างกายสูญเสียโปแตสเซียมขณะทำ CAPD
ข้อควรรู้
ผลกระทบของการรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง
1.ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความสูญเสียต่างๆ
1.1 การสูญเสียภาพลักษณ์ เนื่องจากภาวะยูรีเมีย ทำให้ผิวแห้ง คล้ำ หยาบ ผมร่วงเปราะ -ร่างกายอ่อนเพลีย ซูบซีด
1.2 การสูญเสียหน้าที่การงาน มีผลกระทบต่อความมั่นคงของครอบครัว
1.3 การสูญเสียฐานะทางเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องเงินค่ารักษา
1.4 สูญเสียการเป็นสมาชิกกลุ่ม ต้องละทิ้งกิจกรรมที่เคยทำ
2ปัญหาทางเพศ ผู้ป่วยมีความรู้สึกทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง เนื่องจากภาวะจิตใจและสรีระ
3.ความสับสนในชีวิตที่ต้องพึ่งพา หรือพึ่งบุคคลอื่น
4.ภาวะคุกคามด้วยกลัวอันตรายและกลัวความตาย
5.ปัญหาด้านอาหารและน้ำ การจำกัดน้ำและอาหาร ความต้องการในรสชาติอาหาร
การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ
วิธีปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐานเรื่องการสวนปัสสาวะ (urinary catheterization)
การสวนปัสสาวะ หมายถึง การสอดใส่สายสวน (catheter) จากภายนอกผ่านท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ แบ่งตามเทคนิคได้ 2 ชนิด ได้แก่ การสวนปัสสาวะชนิดเป็นครั้งคราว (intermittent catheterization) และการสวนปัสสาวะชนิดคาสายปัสสาวะ (indwelling catheterization or retained catheterizations: IUCs) ซึ่งการสวนปัสสาวะชนิดคาสายปัสสาวะมีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ แม้การสวนปัสสาวะจะถูกต้องตามข้อบ่งชี้ (เช่น ป้องกันการอุดกั้นของท่อปัสสาวะภายหลังผ่าตัดผ่านท่อปัสสาวะ หรือมีลิ่มเลือดในท่อปัสสาวะ ฯลฯ) แต่โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบขับถ่ายปัสสาวะในผู้ป่วยที่คาสวนปัสสาวะก็ผลที่ตามมา คือ การเพิ่มค่าใช้จ่ายในระดับครอบครัวและประเทศ การป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะจึงเป็นการพยาบาลที่สำคัญ
อุปกรณ์
ชุดสวนปัสสาวะพร้อมน้ำยาชำระอวัยวะสืบพันธุ์/0.9 %NSS
ชุดการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์พร้อมน้ำสบู่/น้ำสะอาด/น้ำยาชำระอวัยวะสืบพันธุ์
ถุงมือปราศจากเชื้อ
ถุงมือสะอาด
น้ำยาหล่อลื่น/ KY-jelly
ภาชนะหรือถุงสำหรับใส่สำลีที่ใช้แล้ว
ผ้าปิดตา
หม้อนอน
สายสวนปัสสาวะ (Foley’s Catheter)
กระบอกฉีดยาดูดน้ำกลั่นจำนวนตามชนิดของสายสวนนั้นๆ พร้อมถาดรอง
พลาสเตอร์/อุปกรณ์สำหรับตรึงยึดสายสวนปัสสาวะ
ถุงรองรับปัสสาวะพร้อมที่แขวน
วิธีปฏิบัติ
๑. แนะนำตัว อธิบายจุดประสงค์และวิธีการสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยและญาติทราบ
๒. ล้างมือและเตรียมจัดอุปกรณ์
๓. จัดสิ่งแวดล้อมและจัดท่านอนผู้ป่วย
(เลือกทำในเพศหญิงหรือเพศชาย)
-เพศหญิง นอนหงายชันเข่าแยกขาออกจากกันและใช้ผ้าคลุมไว้
-เพศชาย นอนหงายแยกขาออกจากกันเล็กน้อยและใช้ผ้าคลุมไว้
๔. ล้างมือเปิดชุดการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์สอดหม้อนอน (กรณีผู้ป่วยมีผ้าอ้อมสำเร็จรูปสามารถใช้รองรับได้)
๕. ใช้Forceps คีบสำลีทำความสะอาดดังนี้
เพศหญิง
ก้อนที่ 1 เช็ดหัวเหน่า
ก้อนที่ 2 เช็ด Labia majora ไกลตัว
ก้อนที่ 3เช็ด Labia majora ใกล้ตัว
ก้อนที่ 4เช็ด Labia minora ไกลตัว
ก้อนที่ 5เช็ด Labia minora ใกล้ตัว
ก้อนที่ 6 เช็ดตรงกลางจากบนลงล่างถึงทวารหนัก
ก้อนที่ 7 ซับให้แห้ง
เพศชาย จับองคชาตยกขึ้นตั้งตรง
ก้อนที่ 1 เช็ดจากส่วน URETHRAL ORIFICE วนออกรอบนอกดึงหนังหุ้มอวัยวะเพศลง (กรณีไม่ได้ขลิบออก)แล้วรูดหนังหุ้มปลายกลับคืน
ก้อนที่ 2 เช็ดวนบริเวณรอบๆ องคชาตจากบนลงล่าง
ก้อนที่ 3 เช็ดบริเวณหัวหน่าว
ก้อนที่ 4 เช็ดบริเวณอัณฑะ
ก้อนที่ 5 เช็ดบริเวณขาหนีบไกลตัว
ก้อนที่ 6 เช็ดบริเวณขาหนีบใกล้ตัว
ก้อนที่ 7 เช็ดใต้ลูกอัณฑะตรงกลางจากบนลงล่างถึงทวารหนัก
๖. ซับให้แห้ง (ถ้าใช้น้ำสบู่ต้องราดตามด้วยน้ำสะอาด)และเลื่อนหม้อนอนออก
๗. ล้างมือเปิดชุดสวนปัสสาวะ ฉีกอุปกรณ์ลงในชุดสวนปัสสาวะได้แก่ Foley’s Catheter, Urine bag บีบ K-Y jelly ไว้ในก็อสที่อยู่ในชุดสวนปัสสาวะ เทน้ำยา0.9%NSS
๘. สวมถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ หล่อลื่นปลายสายสวน หญิง 1-3 นิ้ว ชาย 5-8 นิ้ว หรือสายFoley’s catheter
๙. ปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง ใช้ชายผ้าต่อกับน้ำห่อชุดสวนปัสสาวะ(กรณีเป็นการสวนค้างและไม่มีการเก็บปัสสาวะส่งตรวจให้ต่อสาย Foley’s Catheter กับ Urine bag)
๑๐. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกสอดปลายสายสวนปัสสาวะ หรือสาย Foley’s catheter เข้าในท่อปัสสาวะ
เพศหญิงเปิด Urethral orifice สอดสาย Foley’s catheter เข้าในท่อปัสสาวะจนสุดสายพร้อมสังเกตUrine
เพศชายจับองคชาตทำมุม 90 องศากับร่างกาย สอดสาย Foley’s catheter เข้าในท่อปัสสาวะจนสุดสายพร้อมสังเกต Urine
Inflate balloon catheter 10cc ด้วย STW พร้อมทดสอบไม่ให้สายเลื่อนหลุด ติดปลาสเตอร์เพื่อตรึงสายFoley’s catheter ให้อยู่กับที่ (เพศหญิงติดขาด้านใน เพศชายติดบริเวณเหนือหัวเหน่า)
12.แขวน Urine bag ต่ำกว่าระดับเอวประเมินปริมาณปัสสาวะและสังเกตลักษณะของน้ำปัสสาวะ
13.นำอุปกรณ์ใช้แล้วไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ถอดถุงมือและล้างมือ
วิธีปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐานเรื่องการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Irrigation)
แนคิดสำคัญ
การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หมายถึง การใส่น้ำยาผ่านทางสายสวนปัสสาวะเข้าชะล้างกระเพาะปัสสาวะแล้วปล่อยน้ำยาออกมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับภาวะเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ และล้างลิ่มเลือดหรือตะกอนที่จะอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะจะกระทำได้เมื่อมีคำสั่งการรักษาซึ่งพิจารณาเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการให้การดูแลเรื่องการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Irrigation) เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะมี 2 วิธี
1.การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะด้วยระบบเปิด (Irrigation the catheter using the open system)
อุปกรณ์การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะด้วยระบบเปิด
1.ชุดสวนล้างกระเพาะปัสสาวะที่ปลอดเชื้อ 1 ชุด
2.กระบอกสวนล้างขนาด 50 cc
3.น้ำยาที่ใช้ได้แก่ 0.9% NSS
4.ถุงมือปราศจากเชื้อ 1 คู่
5.สำลี และน้ำยาฆ่าเชื้อ
วิธีปฏิบัติการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะด้วยระบบเปิด
1.แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างกระเพาะปัสสาวะ ให้ผู้ป่วยทราบ
2.ล้างมือ เตรียมอุปกรณ์ไปที่เตียงผู้ป่วย กั้นม่าน
3.จัดท่านอนหงาย และเลื่อนตัวผู้ป่วยมาใกล้ขอบเตียงด้านที่พยาบาลยืนอยู่
4.ล้างมือ เปิดชุดสวนล้างด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เทน้ำยาใส่ลงในถ้วย ปลดสายสวนที่ต่อกับถุงรองรับปัสสาวะออก หุ้มห่อปลายข้อต่อของถุงด้วยก๊อส
5.สวมถุงมือ หยิบกระบอกสวนล้างดูดน้ำยาแล้วนำมาต่อกับปลายสายสวน ค่อยๆ ปล่อยให้น้ำยาไหลเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะอย่างช้าๆ ครั้งละประมาณ 50 cc แล้วค่อยๆดูดน้ำยาที่ใส่เข้าไปออกมา ซึ่งต้องมีจำนวนเท่ากับที่ใส่เข้าไปล้าง และทำต่อเช่นนี้อีกจนน้ำยาที่เข้าไปไหลออกมาใสสะอาดถ้าผู้ป่วยปวดมากหรือน้ำยาที่ใส่เข้าไปไม่ไหลออกมาต้องหยุดทำทันทีและรายงานแพทย์
6.ภายหลังสวนล้างเสร็จแล้ว ใช้สำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณข้อต่อสายสวน และถุงรองรับปัสสาวะแล้วนำมาต่อเข้าด้วยกัน
7.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย และนำอุปกรณ์ไปล้างทำความสะอาด
8.บันทึกการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะในบันทึกทางการพยาบาล โดยระบุวัน เวลา ชนิดและจำนวนสารน้ำที่สวนล้าง จำนวนและลักษณะสารน้ำที่ไหลออกมา
2.การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะต่อเนื่องตลอดเวลา (Continuous bladder irrigation: CBI)
อุปกรณ์การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะต่อเนื่องตลอดเวลา (Continuous bladder irrigation : CBI)
1.สายสวนปัสสาวะโฟเล่ย์ (Foley catheter ) ชนิด 3 หาง
หางที่ 1 เป็นทางให้ปัสสาวะไหลออกจากกระเพาะปัสสาวะจะต่อกับสายต่อของถุงรองรับปัสสาวะ
หางที่ 2 เป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นที่ปราศจากเชื้อจำนวน 10 cc เข้าไปโป่งบอลลูนให้พอง ให้สายสวนปัสสาวะคงอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้
2.ชุดให้สารน้ำ
3.สารน้ำสวนล้างปราศจากเชื้อที่ใช้สวนล้างกระเพาะปัสสาวะตามแผนการรักษา เช่น น้ำเกลือ 0.9% จำนวน 1,000 cc
4.สำลี และน้ำยาฆ่าเชื้อ
5.ถุงมือสะอาด 1 คู่
หางที 3 เป็นทางให้สารน้ำที่สวนล้างไหลเข้าสายสวน โดยต่อกับสายชุดให้สารน้ำซึ่งต่อกับขวดสารน้ำที่ใช้สวนล้างกระเพาะปัสสาวะ
วิธีการปฏิบัติ
1.แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างกระเพาะปัสสาวะ ให้ผู้ป่วยทราบ
2.ล้างมือ เตรียมอุปกรณ์ไปที่เตียงผู้ป่วย กั้นม่าน
3.จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย และพยาบาลอยู่ในท่าที่สามารถหยิบจับสายสวนปัสสาวะได้สะดวด
4.ล้างมือ และสวมถุงมือสะอาด
5.ต่อชุดให้สารน้ำกับขวดน้ำยาสวนล้าง ไล่อากาศที่อยู่ในสายชุดให้สารน้ำออกจนหมด แล้วต่อเข้ากับปลายสายสวนปัสสาวะชนิด 3 หาง ดูแลให้น้ำยาสวนล้างหยดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะด้วยอัตราการไหลตามแผนการรักษาโดยทั่วไปประมาณ 60-80 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
6.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย และนำอุปกรณ์ไปล้างทำความสะอาด
7.เทน้ำที่สวนล้างที่อยู่ในถุงรองรับปัสสาวะทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อจำนวนน้ำประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของถุงปัสสาวะ
8.บันทึกการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะในบันทึกทางการพยาบาล โดยระบุวัน เวลา ชนิดและจำนวนสารน้ำที่สวนล้าง จำนวนและลักษณะสารน้ำที่ไหลออกมา อาการและอาการแสดงและความสุขสบายของผู้ป่วย
จุดเน้นสำคัญ
1.ข้อห้ามเด็ดขาดและพลาดไม่ได้
-
2.จุดควรระวังและมีการพลาดบ่อย
พยาบาลต้องประเมินลักษณะการไหล ปริมาณและลักษณะของสารน้ำและปัสสาวะที่ไหลออกมาเป็นระยะ และต้องคอยดูแลปรับอัตราการไหลของสารน้ำที่ใส่เข้าไปชะล้างกระเพาะปัสสาวะให้สอดคล้องกับจำนวนสารน้ำและปัสสาวะที่ไหลออกมา ถ้าสารน้ำไหลเข้าน้อย จำนวนสารน้ำและปัสสาวะที่ไหลออกมามีเลือดออกมาก จะเกิดลิ่มเลือดหรือเป็นตะกอนอุดกั้นการไหลของสารน้ำและปัสสาวะได้ ซึ่งประเมินได้จากปัสสาวะไหลน้อยลงหรือหยุดไหล ผู้ป่วยรู้สึกปวดถ่ายปัสสาวะ หน้าท้องโป่งนูน หรือมีปัสสาวะและสารน้ำไหลซึมรอบท่อสายสวนปัสสาวะ
3.เทคนิคและจุดสร้างคุณภาพ
เครื่องมือต้องสะอาดปราศจากเชื้อ
ปล่อยสารน้ำตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ หรือตามจำนวนที่พอเหมาะ
ประเมิน pain score
ประเมินปริมาณการไหลเข้าออกของสารน้ำ และสังเกตสีของปัสสาวะ
การล้างตา
แนวคิดสำคัญ
การล้างตา หมายถึง การทำความสะอาดภายในตาด้วยเทคนิคไร้เชื้อ (sterile technique) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขจัดฝุ่นละออง สารเคมี ล้างพิษหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากตาบรรเทาอาการเจ็บปวด ล้างตาเตรียมความสะอาดก่อนผ่าตัด และทำให้เกิดความสุขสบาย
อุปกรณ์
สารละลายน้ำเกลือ(NSS)
สำลีไร้เชื้อ(sterile)
ชุดล้างตาไร้เชื้อ (sterile) 1 ชุด ประกอบด้วย syringe 10-20 cc 1 อันถ้วยเล็ก 1 ใบ
ผ้ายางไว้สำหรับรองใต้ศีรษะผู้ป่วย
Set IV และเสา IV กรณีประเมินแล้วผู้ป่วยต้องการล้างตาในปริมาณมาก
ชามรูปไต
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างตาให้ผู้ป่วยทราบ
2.ล้างมือ เตรียมอุปกรณ์
3.จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายไม่หนุนหมอน ใช้ผ้ายางรองใต้ศีรษะผู้ป่วยนำชามรูปไตรองใต้หางตาผู้ป่วยข้างที่ต้องการจะล้าง จัดให้ส่วนเว้าของชามรูปไตกระชับกับส่วนโค้งของใบหน้า บอกให้ผู้ป่วยเอียงใบหน้ามาข้างที่จะล้าง
4.ล้างมือ เปิดชุดล้างตาไร้เชื้อ (sterile)เทน้ำยาล้างตาลงในถ้วยใบเล็กใช้ syringe ดูดน้ำยาจากถ้วยใบเล็กหรือใช้ Set IV ต่อกับ NSS ล้างตาให้ผู้ป่วย
5.ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้ข้างที่ไม่ถนัดค่อยๆเปิดหนังตาบนและล่างของผู้ป่วย
6.ใช้มือข้างที่ถนัดจับ syringe แล้วค่อยๆดันน้ำยาให้ไหลจากหัวตาเป็นสายตลอดเวลา พร้อมทั้งให้ผู้ป่วยกลอกตาขณะทำการล้างตาจนสะอาด
7.บอกให้ผู้ป่วยหลับตา ใช้สำลีซับเบาๆจากหัวตามาหางตา
8.นำอุปกรณ์ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ และล้างมือ
9.เขียนบันทึกทางการพยาบาล
จุดเน้นสำคัญ
1.ข้อห้ามเด็ดขาดและพลาดไม่ได้
ห้ามล้างตาผู้ป่วย Eye injury ชนิด mechanical injury หรือการบาดเจ็บทางตาที่เกิดจากวัตถุ เช่น Rupture globe, Rupture eye ball ผู้ป่วยหลังผ่าตัดตา Post operation intraocular surgery
2.จุดควรระวังและมีการพลาดบ่อย
1.ระหว่างล้างตาระวังอย่าพุ่งน้ำลงบนกระจกตา (cornea) โดยตรงเพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดได้
ถ้าต้องการล้างตา 2 ข้าง ให้ล้างตาข้างที่สะอาดก่อนเสมอ กรณีที่มีการติดเชื้อ
3.เทคนิคและจุดสร้างคุณภาพ
ก่อนจะดันน้ำยาลงไปที่ตาผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยกลอกตามาทางหางตาก่อน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงแรงกระแทกของน้ำที่จะพุ่งลงบนกระจกตา (cornea)
การล้างหู
แนวคิดสำคัญ
การล้างหู (Ears washing) หมายถึง การใช้น้ำอุ่นที่สะอาดฉีดเข้าไปในช่องหู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อล้างสิ่งที่ไม่ต้องการ หรือเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู
อุปกรณ์
น้ำต้มสุกสะอาด หรือ น้ำสะอาด
syringe 10-20 cc 1 อัน และเข็มพลาสติก (medicut หรือ iv catheter)เบอร์ 18
ชามรูปไต 1 ใบ
ผ้ายางหรือผ้ารองกันเปื้อน
สำลี 2 ก้อน
เครื่องตรวจหู (otoscope)
อุปกรณ์ถ่างรูหู (ear speculum)
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างหูให้ผู้ป่วยทราบ
2.ล้างมือ เตรียมอุปกรณ์
3.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งเอียงศีรษะไปด้านตรงกันข้ามกับข้างที่จะล้างเล็กน้อย ใช้ผ้ายางหรือผ้ารองกันเปื้อนวางบริเวณคอและไหล่ของผู้ป่วย
4.เครื่องตรวจหูที่ใส่อุปกรณ์ถ่างรูหู ส่องดูในรูหูผู้ป่วย เพื่อดูขนาดและลักษณะของขี้หู หรือสิ่งแปลกปลอม
นำ syringe ต่อกับเข็มฉีดยาพลาสติก ดูดน้ำอุ่นจนเต็มกระบอกสูบ
6.ใช้มือข้างหนึ่งดึงใบหูผู้ป่วยไปข้างหลังและขึ้นข้างบน สอดปลายเข็มเข้าไปในรูหูประมาณครึ่งนิ้ว
แล้วฉีดน้ำอุ่นเข้าไปในรูหู โดยฉีดไปทางด้านหลังของรูหูและค่อนไปทางข้างบน เอียงศีรษะให้น้ำไหลออก และคอยสังเกตสิ่งแปลกปลอมที่หลุดออกมา ล้างต่อไปจนสะอาด
7.เมื่อเสร็จแล้วใช้สำลีเช็ดบริเวณหู และซับน้ำที่เหลือค้างอยู่บริเวณหูให้แห้ง
8.นำอุปกรณ์ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ และล้างมือ
9.เขียนบันทึกทางการพยาบาล
จุดเน้นสำคัญ
1.ข้อห้ามเด็ดขาดและพลาดไม่ได้
1.ขณะล้างหูอย่าสอดปลายเข็มไปลึกเกินครึ่งนิ้ว เพราะถ้าลึกกว่านี้จะไปทำอันตรายแก้วหูได้
ไม่ล้างหูในคนที่มีแก้วหูทะลุฉีกขาด และหูชั้นกลางอักเสบได้ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้ มีไข้อาเจียนหรือท้องเสียมีของเหลวสีเขียวหรือเหลืองออกมาจากหูเจ็บหูอย่างรุนแรง
2.จุดควรระวังและมีการพลาดบ่อย
1.ไม่ควรฉีดน้ำเข้าไปตรงๆ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อแก้วหูได้
2.การล้างเอาขี้หูออกมักจะทำในรายที่ผู้ป่วยมีขี้หูอัดแน่น (impacted cerumen) และแข็ง
และได้หยอดยาละลายขี้หูจนขี้หูอ่อนตัวแล้ว จึงจะล้างออกได้สะดวก
3.เทคนิคและจุดสร้างคุณภาพ
น้ำที่ใช้ควรมีอุณหภูมิพอเหมาะ (37 องศาเซลเซียสเท่ากับ) ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดการเวียนศีรษะได้
การสวนล้างกระเพาะอาหาร
แนวคิดสำคัญ
การล้างกระเพาะอาหารและลำไส้ หมายถึง การใส่สารละลายเข้าไปทางสายถึงกระเพาะอาหาร แล้วดูดออกหรือปล่อยให้ไหลออกทางสาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าไปในกระเพาะอาหารเช่น สารพิษ สารเคมี การวินิจฉัยเลือดออกในกระเพาะอาหารและการห้ามเลือด ล้างกระเพาะอาหารสำหรับการตรวจโดยการส่องกล้อง ทำให้กระเพาะอาหารว่าง และลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ในกรณีผู้ป่วยได้รับสารพิษ ควรเลือกใช้สารละลายแก้พิษ (Antidote) เข้าไปล้าง การล้างกระเพาะจะได้ประโยชน์สำหรับสารพิษที่เข้าไปไม่เกิน 4 ชั่วโมง ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการให้การดูแลเรื่องการสวนล้างกระเพาะอาหาร (Gastric Lavage
อุปกรณ์
เช่นเดียวกับการใส่สายทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร ยกเว้นขนาดของสาย เลือกใช้สายที่มีขนาด
สารละลาย ส่วนใหญ่ใช้น้ำเกลือ 0.9% NSS
กระบอกฉีดยาหัวต่อใหญ่ (Irriigating syringe หรือ Asepto syringe)ขนาด 50 cc.
ถุงมือสะอาด
ภาชนะใส่สารละลาย และรองรับสารละลายจากตัวผู้ป่วย
ผ้ารองกันเปื้อน
K-Y jelly หรือ Xylocain
Stethoscope
พลาสเตอร์
ชามรูปไต
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างกระเพาะอาหาร ให้ผู้ป่วยทราบพร้อมจัดท่านอนราบตะแคงศีรษะไปด้านซ้าย
2.ล้างมือ เตรียมอุปกรณ์
คลุมผ้าให้ผู้ป่วยบริเวณใต้คางถึงหน้าอก
4.ล้างมือ สวมถุงมือ
5.ถ้าผู้ป่วยยังไม่มีสายคาอยู่ต้องใส่สายให้ก่อน คือ
เปิดชุดสวนล้างกระเพาะอาหาร เท Solution ใส่ภาชนะที่ใช้ล้างกระเพาะอาหาร
วัดสายยางเตรียมใส่กระเพาะอาหาร เริ่มจากติ่งหูถึงปลายจมูกแล้วต่อไปถึงส่วนปลายของปุ่มกระดูกกลางหน้าอก Xyphoid Proces
หล่อลื่นสายยางแล้วขมวดสายไว้ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด
ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดใส่สายยางเข้าไปในจมูกหรือปากอย่างนิ่มนวล ระวังอย่าให้ผู้ป่วยกัดสาย
ทดสอบสายยางว่าอยู่ในกระเพาะอาหาร
: เช็ดปลายสายด้วย 0.9 % NSS หรือน้ำต้มสุกสะอาดแล้วจุ่มปลายสายลงในแก้ว
: ฟังเสียงลมผ่านปลายสายให้อาหาร โดยใช้ Syringe Feed ดันลมเข้าไปประมาณ 15-20 มล. ในผู้ใหญ่
และในเด็ก 3-5 มล. พร้อมกับฟังด้วย Stethoscope บริเวณ Xiphoid process
: ดูด Content ในกระเพาะอาหาร
ถ้ามีสายคาอยู่แล้วต้องตรวจสอบตำแหน่งของปลายสายว่าอยู่ในกระเพาะอาหาร(ด้วยวิธีดังกล่าว)
6.เทสารละลายใส่ภาชนะรองรับ ใช้กระบอกฉีดยาดูดสารละลาย 50 cc
7.หักพับสายแล้วต่อกระบอกฉีดยาเข้ากับสาย แล้วปล่อยสายที่หักพับ ค่อยๆดันสารละลายเข้าไปละดูดออก ทำซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบว่าสารละลายที่ไหลออกเจือจางลง ใสใกล้เคียงกับสีปกติ จึงหยุด
8.จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายหรือขวาศีรษะต่ำ 15 องศา หากไม่มีข้อห้ามอื่น
9.นำอุปกรณ์ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ และล้างมือ
10.เขียนบันทึกทางการพยาบาล
จุดเน้นสำคัญ
1.ข้อห้ามเด็ดขาดและพลาดไม่ได้
ห้ามล้างกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่รับประทานสารพิษประเภทกัดกร่อนอย่างแรง (strong corrosive) เช่น กรด ด่าง เพราะสายเข้าไปหลอดอาหารอาจทำให้เกิดบาดแผลทะลุได้ หรือเกิดการขย้อนสารพิษขึ้นมาทำลายหลอดอาหาร
ห้ามล้างกระเพาะอาหารในผู้ป่วยได้รับสารพิษพวกไอระเหย เช่น น้ำมันรถยนต์ ไอระเหยจะระคายเคืองต่อปอด
ผู้ป่วยที่รับประทานยานอนหลับ (barbiturate) เกินขนาด การล้างกระเพาะอาหารจะไม่ได้ผลและทำให้การดูดซึมของยาเร็วขึ้น เนื่องจางน้ำที่ใส่เข้าไปเจือจางนอกจากนี้การใส่สายเข้าไปจะกระตุ้นให้ทางเดินอาหารตีบแคบ
2.จุดควรระวังและมีการพลาดบ่อย
-การล้างกระเพาะอาหารอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น บาดเจ็บมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
3.เทคนิคและจุดสร้างคุณภาพ
-หมั่นตรวจสอบสัญญาณชีพ และอาการทั่วไปของการล้างกระเพาะอาหาร
การสวนล้างลำไส้
แนวคิดสำคัญ
การสวนล้างลำไส้ เป็นวิธีการหนึ่งในกระบวนการล้างพิษของการแพทย์ทางเลือกซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้ในคัมภีร์ไบเบิลก็ระบุถึงการสวนล้างลำไส้ ฮิปโปเครติสถือเอาการสวนล้างลำไส้เป็นการรักษาโรควิธีหนึ่ง ในยุโรปและอเมริกาถือเป็นแขนงหนึ่งของวิชาวารีบำบัด(Hydrotherapy) ซึ่งปัจจุบันมีแพทย์ที่ใช้การสวนล้างลำไส้ในการรักษาโรคต่างๆโดยเฉพาะมะเร็ง หรือช่วยในการเตรียมผ่าตัดโดยปัจจุบันนิยมวิธีการฉีดของเหลวเข้าร่างกายผ่านทางช่องทวารหนักเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายขับของเสียออกมา ซึ่งเป็นน้ำยาสำเร็จรูป
หรือการสวนล้างลำไส้ส่วนของ Colostomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดช่องท้องเพื่อทำทางออกของอุจจาระ (artificial anus) ขึ้นมาที่ผนังหน้าท้อง ในรายที่ผู้ป่วยเกิดมีการอุดตันของลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอุจจาระจะออกมาจากลำไส้ผ่านเข้ามาทางผนังหน้าท้องที่ผ่าตัดไว้ ช่องที่เปิดหน้าท้องนี้ เรียกว่า รูเปิด (stoma) ทั้งมีมีทั้งแบบชั่วคราวหรือถาวร
โดยการสวนล้างลำไส้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยขับถ่ายสิ่งที่อยู่ในลำไส้ใหญ่คือของเหลวอุจจาระแก๊สเพื่อล้างส่วนล่างของทางเดินอาหาร เตรียมผ่าตัด
อุปกรณ์
หม้อหรือถุงพลาสติก ที่ใส่น้ำยาสำหรับล้างน้ำยาที่ใช้อาจใช้น้ำอุ่น น้ำเกลือหรือน้ำกลั่น ให้อุ่นประมาณ 103-105 องศาฟาเรนไฮต์ จำนวนที่ใช้ประมาณ 1,000 – 2,000 cc
สายยางที่ต่อปลายหม้อสวนใช้สายยางเบอร์ 22 หรือ 24
Clamp
น้ำยาหล่อลื่น
หรือปัจจุบันนิยมใช้น้ำยาสำเร็จรูป และถุงมือสะอาด ในเอกสารฉบับนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงวิธีที่นิยมในปัจจุบัน
วิธีปฏิบัติ
แจ้งวัตถุประสงค์ อธิบายขั้นตอน จัดท่าท่าที่เหมาะสมโดยนอนตะแคงซ้าย ใช้ผ้ายางรองบริเวณก้น
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด หล่อลื่นทวารด้วยน้ำยาหล่อลื่น
นำน้ำยาสำเร็จรูปค่อยๆ สอดเข้าไปในรูทวารหนัก บีบน้ำยา จนหมดขวด
จัดท่าสุขสบายให้ผู้ป่วย เก็บอุปกรณ์ล้างมือ
เขียนรายงานลงในรายงานให้การพยาบาล (nurse's notes) เกี่ยวกับผลของกาพยาบาล
จุดเน้นสำคัญ
1.ข้อห้ามเด็ดขาดและพลาดไม่ได้
3.เทคนิคและจุดสร้างคุณภาพ
การเปิดเผยส่วนล่างของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติควรคำนึงถึงความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างมาก เพราะผู้ป่วยจะเขินอายและวิตกกังวล จึงควรให้การปกปิดร่างกาย เปิดเฉพาะส่วนที่จำเป็น กั้นม่านให้มิดชิด คลุมผ้าให้รู้สึกอบอุ่นไม่โล่งเปลือย และทำความสะอาดเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เรียบร้อยเมื่อสวนอุจจาระแล้วเสร็จ
2.จุดควรระวังและมีการพลาดบ่อย
-
-
นางสาวปรัศนียาพร เดชแพง เลขที่ 27 ห้อง A รหัสนักศึกษา 623020110275