Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลิลิตตะเลงพ่าย - Coggle Diagram
ลิลิตตะเลงพ่าย
ด้านสังคม
•สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ขนบธรรมเนียมในการศึกที่ปรากฏในเรื่อง ได้แก่ เมื่อพระมหาอุปราชาจะออกศึก พระเจ้าหงสาวดีทรงประสาทและให้โอวาทการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหารและความเด็ดขาดในการรบ ความรู้เกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม การจัดทัพ การตั้งทัพ ประเพณี และพิธีกรรมเกี่ยวกับสงคราม เช่น พิธีโขลนทวารตัดไม้ข่มนาม เพื่อการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหาร ดังที่ปรากฏในบทประพันธ์ที่กล่าวถึงพิธีโขลนทวารซึ่งเป็นพิธีบำรุงขวัญทหารก่อนออกศึกเหล่าทหารต่างฮึกเหิมและมีกำลังใจเพราะมีพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้
• สะท้อนข้อคิดเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต ลิลิตตะเลงพ่ายได้แสดงคุณธรรมด้านต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต เช่น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความเมตตา ความนอบน้อม การให้อภัย เป็นต้น โดยสอดแทรกอยู่ในบทประพันธ์ ผู้อ่านจะสามารถซึมซับคุณธรรมเหล่านี้ผ่านความงามของภาษา สามารถจรรโลงใจผู้อ่านได้ เช่น ตอนที่พระเจ้านันทบุเรง ทรงสอนการศึกสงครามแก่พระมหาอุปราชา ก็เป็นข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งต่อการดำเนินชีวิตทุกยุคสมัย
•สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย ความเชื่อที่ปรากฏในเรื่อง ได้แก่ ความเชื่อของบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องความฝันบอกเหตุ เชื่อคำทำนายทายทักของโหร เช่น ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินนิมิต จึงตรัสให้หาพระโหราจารย์เพื่อทำนายนิมิต
-
การใช้โวหาร
- การใช้คำให้เกิดจินตภาพ เช่น การใช้คำที่แสดงให้เห็นภาพการต่อสู้อย่างห้าวหาญของพลทหารทั้งสองฝ่ายที่ผลัดกันรุกรับขับเคี่ยวกันด้วยอาวุธหลากหลายทั้งขอ ง้าว ทวน หอก ธนู จนต่างฝ่ายล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
- การใช้โวหารโดยการเปรียบเทียบ ว่าสมเด็จพระนเรศวรมีฤทธิ์เหมือนพระรามยามต่อสู้กับทศกัณฐ์ ข้าศึกศัตรูที่พ่ายแพ้ไปเหมือนพลยักษ์ สมเด็จพระนเรศวรก็เหมือนองค์พระนารายณ์อวตารลงมา
- การใช้ถ้อยคำสร้างอารมณ์และความรู้สึก แม้ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แต่ด้วยความปรีชาในด้านภาษาอย่างลึกซึ้งของกวี กวีสามารถใช้ถ้อยคำ ทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์ เกิดความรู้สึกเห็นใจ เศร้าใจ ดีใจ ภูมิใจ
องค์ประกอบของเรื่อง
สาระ แก่นสำคัญของลิลิตตะเลงพ่าย คือ การยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในด้านพระปรีชาสามารถทางการรบ โดยการกระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีและได้รับชัยชนะอย่างงดงาม นอกจากพระปรีชาสามารถทางการรบแล้ว ผู้แต่งยังได้เน้นพระปรีชาสามารถในด้านการปกครองและพระจริยวัตรอันกอปรด้วยทศพิธราชธรรม 10 ประการ สังคหวัตถุ 4 ประการ และพระจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
โครงเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนำมาจากประวัติศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตกำหนดเนื้อกาไว้เพียงเรื่องการทำสงครามยุทธหัตถี แต่เพื่อมิให้เนื้อเรื่องแห้งแล้งขาดชีวิตชีวาจึงทรงเพิ่มเติมเรื่องที่ไม่ใช่การสงครามเข้าไป เนื้อหาที่สำคัญเป็นหลักของเรื่อง “ตะเลงพ่าย” คือ การดำเนินความตามเค้าเรื่องพงศาวดาร ได้แก่ การทำสงคราม การต่อสู้แบบยุทธหัตถี การจัดทัพ และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามตำราพิชัยสงครามและโบราณราชประเพณีทุกอย่าง สำหรับเนื้อหาที่เป็นส่วนเพิ่มเติมส่วนเสริมเรื่อง คือ บทประพันธ์ที่เป็นลักษณะนิราศ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับการเดินทางและการคร่ำครวญถึงนางผู้เป็นที่รักโดยผ่านบทบาทของพระมหาอุปราชา
ด้านวรรณศิลป์
- การสรรคำ ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีมรดกล้ำค่าที่คนไทยควรศึกษาเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในวีรกรรมของนักรบไทยและภูมิใจในภาษาไทยที่กวีใช้ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างมีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ด้วยการเลือกใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ
-การใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง ความไพเราะของถ้อยคำหรือความงามของถ้อยคำนั้น พิจารณาที่การใช้สัมผัส การเล่นคำ เล่นความ การเลียนเสียงธรรมชาติ
ด้านเนื้อหา
รูปแบบลิลิตตะเลงพ่ายแต่งเป็นลิลิตสุภาพประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพได้แก่โคลงสองสุภาพโคลงสามสุภาพและโคลงสี่สุภาพสลับกันตามความเหมาะสมของเนื้อหาลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีแนวประวัติศาสตร์และเป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติที่มุ่งสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชการที่ผู้แต่งเลือกใช้คำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพและโคลงสุภาพในงานประพันธ์จึงนับว่าเหมาะสมอย่างยิ่งเพราะคำประพันธ์ทั้งสองประเภทนี้นิยมใช้ในการพรรณนาเรื่องราวที่สูงส่งศักดิ์สิทธิ์
-
•ฉากและบรรยากาศ ฉากที่ปรากฏในเรื่องตอนที่เรียน คือ เหตุการณ์ภายในเมืองมอญและบรรยากาศระหว่างการเดินทัพของพระมหาอุปราชาจากเมืองมอญสู่กาญจนบุรี ผู้แต่งได้บรรยายฉากและบรรยากาศได้สมจริงสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
• กลวิธีในการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงดำเนินเรื่องตามธรรมเนียมนิยมในการแต่ง กล่าวคือ เริ่มด้วยบทสดุดี มีเนื้อเรื่องและตอนท้ายกล่าวสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและจบด้วยการกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของกวี บอกชื่อความเป็นมาและคำอธิษฐานของพระองค์ท่าน การนำเสนอเรื่อง พระองค์ไม่ได้สอดแทรกคพวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ลงไป คือ ไม่นำตัวตนของกวีไปแทรกในเรื่อง