Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 เรื่องการวางแผนงาน / โครงการการประเมินผล, นางสาวพัทธมน ชูอินทร์…
บทที่ 8 เรื่องการวางแผนงาน / โครงการการประเมินผล
โครงการและการเขียนโครงการ
หลักการเขียนวัตถุประสงค์
A: Attainble (ระบุสิ่งที่ต้องการ) หมายถึงต้องระบุสิ่งที่ต้องการอย่างเฉพาะเจาะจง
R: Reason (เป็นเหตุเป็นผล) หมายถึงวัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลในการปฏิบัติ
M: Measurable (วัดได้) หมายถึงวัตถุประสงค์ที่ดีสามารถวัดและประเมินผลได้
T: Time (เวลา) หมายถึงวัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีขอบเขตเวลาที่แน่นอน Activate
S: Senible (เป็นไปได้) หมายถึงวัตถุประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ
การเขียนโครงการประกอบไปด้วย(แบบประเพณีนิยม)
วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์โดยกำหนดกิจกรรมอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการระบุใครทำอะไรมีปฏิทินปฏิบัติงานควบคุมกำกับชัดเจน
ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ
คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการนิยมระบุวัน-เดือน-ปีที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้นการระบุจำนวนความยาวของโครงการ
เป้าหมาย
เป็นการกำหนดทิศทางและความต้องการที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์
งบประมาณ
เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างการระบุยอดงบประมาณควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วยระบุราบละเอียดค่าใช้จ่ายจำแนกตามหมวดหมู่
วัตถุประสงค์
เป็นการบอกให้ทราบว่าการดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้นวัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้
การประเมินผล
บอกแนวทางการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสมโดยระบุวิธีการและเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดและเป็นแนวทางให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องเห็นแนวทางการติดตามผลโครงการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์
หลักการและเหตุผล
เป็นส่วนที่บอกว่าทำไมต้องการทำโครงการนั้นทำแล้วได้อะไรถ้าไม่ทำจะเกิดผลสียอย่างไรให้สะท้อนความจำเป็นของการจัดทำโครงการแสดงสถิติข้อมูลและเหตุผลรองรับที่มีน้ำหนักสมเหตุสมผลเพื่อให้ผู้บริหารเห็นควรให้การสนับสนุนโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลประ/โยชน์และผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโดยตรงและโดยอ้อมที่อยู่นอกความคาดหมายไปจากวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ชื่อโครงการ
การตั้งชื่อโครงการนั้นต้องมีความชัดเจนเหมาะสมและเฉพาะเจาะจงเป็นที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับผู้นำโครงการไปใช้หรือผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
เป็นการระบุตัวบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเสนอและดำเนินโครงการ
หมายถึง
"แผนหรือเค้าโครงการตามที่กะกำหนดไว้"
โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาซึ่งช่วยให้เห็นภาพและทิศทางในการพัฒนาซึ่งมีขอบเขตในการที่จะสามารถติดตามและประเมินผลได้
โครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรมหรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหาและความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคตโครงการโดยทั่วไปสามารถแยกได้หลายประเภท
การเขียนโครงการนิยม
แบบประเพณีนิยม (Convention method)
แบบตารางเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framwork method)
แผนงาน
ความหมาย
การตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไรทำอย่างไรทำเมื่อใดและใครเป็นผู้ทำ
การใช้ความรู้ทางวิชาการและวิจารณญาณวินิจฉัยเหตุการณ์ในอนาคตและกำหนดวิธีการโดยถูกต้องและมีเหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนและเรียบร้อยมีประสิทธิภาพที่สุด
สาระสำคัญ การวางแผน
การวางแผนเป็นเรื่องของการกระทำอย่างจงใจ
การวางแผนเป็นเรื่องของการจัดกระทำเพื่อผลในอนาคต
การวางแผนเป็นเรื่องของการเตรียมการ
ความสำคัญของการวางแผน
การวางแผนเป็นศูนย์กลางการประสานงานเช่นในการจัดบริการเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อประสานงานการบริการทุกระดับและทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้
การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด
การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมในปัจจุบันแล้วกำหนดสภาพใหม่ในอนาคต
การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหารเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ต้องการ
ประเภทของแผน
1.แผนระดับสูง
(แผนมโนมติ / แผนนโยบาย / แผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์)
เป็นแผนที่องค์การบริหารระดับสูงกำหนดขึ้นโดยกำหนดเป็นข้อความที่ระบุไว้กว้าง ๆ โดนครอบคลุมวัตถุประสงค์เชิงนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การเพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินงานขององค์กรระดับล่างหรีอระดับปฏิบัติการ
2.แผนระดับปฏิบัติการหรือแผนปฏิบัติการ
แผนงานหรือชุดโครงการ (Program)
คือกลุ่มกิจกรรมตั้งแต่ 2-โครงการขึ้นไปที่มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเอื้ออำนวยซึ่งกันและกันและตอบสนองนโยบายเดียวกัน
โครงการ (Project)
คือกลุ่มของกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมุ่งตอบสนองเป้าหมายในแผนงานเดียวกันโดยมีเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ชัดเจนและต้องเป็นงานพิเศษหรือต่างไปจากงานประจํา (Routine) โครงการประกอบด้วยงาน (Task) และกิจกรรม (Activity)
แผน (Plan)
คือข้อกำหนดหรือรายละเอียดต่างๆของการดำเนินงานในอนาคตเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมีทิศทางหรือสิ่งคาดหวังหรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นมีแนวดำเนินการเพื่อให้เกิดผลที่คาดหวังมีการใช้ทรัพยากรและเงื่อนไขเวลาทั้งหมดที่กล่าวมาจะถูกกำหนดไว้กว้าง ๆ
ลักษณะของแผนที่ดี
มีความยืดหยุ่น
มีความเป็นพิธีการ
มีความครอบคลุม
มีความง่ายในการปฏิบัติ
มีความแม่นตรง
มีความง่ายในการควบคุม
มีความสมบูรณ์
มีความประหยัด
มีความชัดเจน
ระดับแผนงาน
นโยบาย
โครงการ
งาน/กิจกรรม
แผนงาน
แผน
ประเมินผลโครงการ
การประเมินผลโครงการมีเป้าประสงค์หลัก
ต้องการข้อมูลที่บ่งชี้ว่าโครงการที่ดำเนินการนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่หรีอเป็นโครงการที่คุ้มค่าต่อการตัดสินใจในการดำเนินการหรือไม่รวมถึงการศึกษาว่าในการดำเนินการโครงการมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขในเรื่องอะไรบ้างและเป็นโครงการที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด
หมายถึง
การประเมินโครงการหมายถึงกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อสรุปผลว่าโครงการนั้น ๆ ได้บรรลุวัตถุประสงค์ / เป้าหมายและมีประสิทธิภาพเพียงใด
การประเมินโครงการหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดสารนิเทศในการปรับปรุงโครงการและสารนิเทศในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
ประเด็นสำคัญที่นำมาใช้ในการประเมิน
ความพอเพียง (Sufficiency) เป็นการประเมินว่าโครงการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ในระดับใดพอเพียงที่จะแก้ปัญหาที่มีอยู่หรือไม่
ความเหมาะสม (Appropriateness) ประเมินเพื่อดูว่าการจัดบริการสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่เพียงใดเหมาะสมกับพื้นที่และเหมาะสมกับเวลาหรือไม่
ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นการประเมินว่าผลงานที่ได้ออกมาสิ้นเปลืองงบประมาณหรือทรัพยากรเพียงใดมักใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ (Cost benefit analysis) หรือการวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผล (Cost-effectiveness analysis) ยิ่งผลลัพธ์มากต้นทุนต่ำยิ่งมีประสิทธิภาพมาก
ความเสมอภาค (Equality) ประเมินเพื่อดูว่าใครบ้างมีโอกาสหรือไม่มีโอกาสได้รับผลลัพธ์โครงการดูความเท่าเทียมที่ผู้รับฟังได้รับบริการสาธารณะตามสิทธิอันพึงมีพึงได้
ประสิทธิผล (Effectiveness) เป็นการประเมินผลลัพ์หรือผลงานในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
นางสาวพัทธมน ชูอินทร์ ชั้นปีที่3 เลขที่42