Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.การวางแผนแก้ไขปัญหา (planning) - Coggle Diagram
3.การวางแผนแก้ไขปัญหา
(planning)
โครงการและ
การเขียนโครงการ
ความหมายของโครงการ
แผนหรือเค้าโครงการตามที่กําหนดไว้โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง
ในการวางแผนพัฒนาซึ่งช่วยให้เห็นภาพและทิศทางในการพัฒนาซึ่งมี
ขอบเขตในการที่จะสามารถติดตาม และประเมินผลได้
หัวข้อโครงการ
ชื่อโครงการ
การตั้งชื่อ โครงการนั้นต้องมีความชัดเจน เหมาะสมและ
เฉพาะเจาะจงเป็นที่เข้าใจได้ง่ายโดยชื่อโครงการ
จะต้องบ่งบอกว่าจะทําสิ่งใดบ้าง
หลักการและเหตุผล
เป็นส่วนที่บอกว่า ทําไมต้องการทําโครงการนั้น ทําแล้วได้อะไร
ถ้าไม่ทําจะเกิดผลสียอย่างไร ให้สะท้อนความจําเป็นของการจัดทำโครงการ
แสดงสถิติข้อมูลและเหตุผลรองรับที่มีน้ำหนักสมเหตุสมผล
วัตถุประสงค์
เป็นการบอกให้ทราบว่าวัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ ควรเป็น
วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้
หลักการเขียน
วัตถุประสงค์
S : Senible M : Measurable A : Attainble R : Reason T : Time
เป้าหมาย
เป็นการกําหนดทิศทางและความต้องการที่คาดหวังจะใหเ้กิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
วิธีดำเนินการ
เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์
ระยะเวลาการดําเนินงานโครงการ
งบประมาณ
เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ
การประเมินผล
บอกแนวทางการติดตามประเมินผลควรทําอย่างไร ในระยะเวลาใด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นการระบุตัวบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเสนอและดําเนินโครงการ
การประเมินผลโครงการ
ความหมาย
กระบวนการที่ก่อใหเ้กิดสารนิเทศในการปรับปรุงโครงการ
และสารนิเทศในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
ประสิทธิผล
(Effectiveness)
เป็นการประเมินผลลัพธ์หรือผลงานในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ได้ตรง ตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
ความเสมอภาค (Equality)
ประเมินเพื่อดูว่าใครบ้างมีโอกาสหรือไม่มีโอกาสได้รับผลลัพธิ์
โครงการดูความเท่าเทียมที่ผู้รับพึ่งได้รับบริการสาธารณะ
ความเหมาะสม
(Appropriateness)
ประเมินเพื่อจัดว่าการจัดบริการสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่
ความพอเพียง
(Sufficiency)
เป็นการประเมินว่า โครงการตอบสนองความต้องการของ
ผู้รับบริการได้ในระดับใดพอเพียงที่จะแก้ปัญหาที่มีอยู่หรือไม่
ประสิทธิภาพ
(Efficiency)
เป็นการประเมินว่า ผลงานที่ได้ออกมาสิ้นเปลือง
งบประมาณหรือทรัพยาการเพียงใด
การวางแผน
ความหมาย
การใช้ความรู้ทางวิชาการและวิจารณญาณวินิจฉัยเหตุการณ์ในอนาคต
และกําหนดวิธิการโดยถูกต้องและมีเหตุผลเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไป
ตามแผนและเรียบร้อยมีประสิทธิภาพที่สุด
การตัดสินใจล่วงหน้าว่า จะทําอะไร
ทําอย่างไร ทําเมื่อใด และใครเป็นผู้ทํา
ความสําคัญ
ของการวางแผน
การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์
2.การวางแผนเป็นศูนย์กลางการประสานงาน
3.การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัด
มีประสิทธิภาพ แลพประสิทธิผล เพราะการวางแผนเป็นการคิด
4.การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหาร
เพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัตืงานของฝ่ายต่างๆให้เป็นไป
ตามนโยบายและเป้าหมายที่ต้องการ
ลักษณะของแผนที่ดี
1.มีความชัดเจน
2.มีความสมบูรณ์
3.มีความแม่นตรง
4.มีความครอบคลุม
5.มีความยืดหยุน
6.มีความเป็นพิธีการ
7.มีความง่ายในการปฏิบัติ
8.มีความง่ายในการควบคุม
9.มีความประหยัด
สรุป
การวางแผนเป็นเรื่องของการเตรียมการ
การวางแผนเป็นเรื่องของการกระทําอย่างจงใจ
การวางแผนเป็นเรื่องของการจัดกระทําเพื่อผลในอนาคต
ประเภทของแผน
1.แผนระดับสูง
แผนมโนมติ/แผนนโยบาย/แผนยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธื์
เป็นแผนที่องค์การบริหารระดับสูงกําหนดขึ้น
โดยกําหนดเป็นข้อความที่ระบุไว้กว้างๆโดยครอบคลุม
วัตถุประสงค์เชิงนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การ
เพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินงานขององค์กรระดับล่าง
หรือระดับปฏิบัติการ
2.แผนระดับปฏิบัติการ
หรือแผนปฏิบัติการ
แผน(Plan): คือข้อกำหนดหรือรายละเอียดต่างๆของการดำเนินงาน
ในอนาคตเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมีทิศทางหรือสิ่ง
ที่คาดหวังหรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น
แผนงาน หรือชุดโครงการ(Program):คือกลุ่มกิจกรรมตั้งแต่ 2 โครงการ
ขึ้นไปที่มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างเดียวกันและตอบสนอง
นโยบายเดียวกัน
โครงการ(Project) คือ กลุ่มของกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
โดยมีเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ชัดเจนโครงการประกอบด้วยงาน (Task)
และกิจกรรม(Activity)