Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย, นาย พิชยุตม์ อยู่ประเสริฐ 6001210637 sec…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมาย
ระเบียบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติ/พฤติกรรมของมนุษย์ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ลักษณะ
1.กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดหรือกำหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้
3.กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี
4.กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ในเมื่อกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคล
ดังนั้นเพื่อให้บุคคลนั้นปฏิบัติตาม จึงจำต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการผ่าฝืนกฎหมาย หากเกณฑ์ใดไม่มีสภาพบังคับก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
สภาพบังคับที่มีผลร้าย
จำคุก
กักขัง
ประหารชีวิต
ปรับ
สภาพบังคับที่มีผลดี
กรณีจดทะเบียนสมรส
2.กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย
รัฐบาล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รัฐสภา
ระบบของกฎหมาย
1.ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law system)
มีระบบการพิจารณาพิพากษาคดีที่อาศัยบรรทัดฐานจากคดีที่คล้ายคลึงกัน และผู้พิพากษาคนก่อนๆ ตัดสินคดีเดิมไว้
เป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป บรรทัดฐาน และเป็นกฎหมายจากคำตัดสินของผู้พิพากษา (Judge made law) ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
ประเทศที่ใช้กฎหมายระบบจารีตประเพณี ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เป็นต้น
2.ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย (Civil law system)
นำคำพิพากษาของศาล และการตีความของนักปราชญ์ทางกฎหมาย จนได้กฎหมายที่ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
คำพิพากษาของศาลเป็นเพียงตัวอย่างในการประยุกต์กฎหมายกับข้อเท็จจริง
ประเทศที่ใช้กฎหมายประเภทนี้ เช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี เยอรมัน เดนมาร์ก ออสเตรีย สเปน สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ไทย จีน เป็นต้น
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล
2.กฎหมายเอกชน (Private Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน
กฎหมายพาณิชย์
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
อื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม
3.กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือรัฐต่อรัฐ โดยมีแหล่งกำเนิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
แผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลต่างรัฐในทางแพ่ง เกี่ยวกับความประพฤติ สิทธิและหน้าที่
แผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ในคดีอาญาของบุคคลที่เกิดขึ้นโดยประชาชนของประเทศหนึ่ง หรือการกระทำผิดที่ต่อเนื่องในหลายประเทศ และต้องพิจารณาว่าประเทศใดมีอำนาจจับกุมและพิพากษาคดีเพื่อลงโทษบุคคลนั้น
แผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของรัฐเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่มหาชน (Public rights and duties)
1.กฎหมายมหาชน (Public Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายอาญา
กฎหมายปกครอง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
1.กฎหมายภายใน
เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ
2.กฎหมายภายนอก
กฎหมายการเงินการคลัง
กฎหมายธุรกิจ
กฎหมายสาธารณะสุข
กฎหมายระเบียบราชการ
กฎหมายอุตสาหกรรม
กฎหมายที่แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
1.กฎหมายสารบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ
กฎหมายอาญา
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
2.กฎหมายวิธีสบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล
วิธีพิจารณาความแพ่ง
วิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายที่แบ่งโดยสภาพบังคับทางกฎหมาย
กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง เป็นต้น
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
3.พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ออกโดยฝ่ายบริหารที่อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติ ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
มีอำนาจใช้บังคับประชาชนทั่วไป แต่ไม่สามารถมีบทกำหนดโทษ
2.พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นเดียวกัน และรองจากรัฐธรรมนูญ
2.2 ประมวลกฎหมาย(Code of Law)
เป็นการรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ให้มาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบ
2.3 พระราชกำหนด(Royal Enactment)
เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหาร เพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
2.1 พระราชบัญญัติ(พรบ.) (Act)
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาโดยผู้ที่สามารถเสนอร่างกฎหมายนี้ คือ คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อกฎหมายผ่านขั้นตอนการออกกฎหมายจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีจะนำทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้
1.รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุดกำหนดรูปแบบการปกครองประเทศ และวางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการรับรองและการส่งเสริมสิทธิหน้าที่ของประชาชนชาวไทย
เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายปกครองประเทศซึ่งกฎหมายอื่นจะขัดแย้งไม่ได้
4.กฎกระทรวง(Ministerial Regulation)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ซึ่งออกตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ เพื่อออกกฎหมายเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินั้นๆ
6.ประกาศและคำสั่ง(Announcement/Command)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือเพื่อปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ
7.อื่นๆ
ข้อบังคับท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
5.ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule/Regulation/Discipline)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงานองค์กร ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการ เพื่อกำหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติงาน โดยอาศัยตามพระราชบัญญัติ
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลเดี่ยว
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่นๆ ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด
ระบบศาลคู่
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีดังกล่าว
ระบบศาลของประเทศไทย
เป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ
2.ศาลยุติธรรม
เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลอุทธรณ์
เป็นศาลลำดับที่สูงกว่าศาลชั้นต้น มีองค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 3คน เพื่อพิจารณาตัดสินคดีที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินแล้ว แต่คู่ความยังต้องการความเป็นธรรม
การตัดสินคดีของศาลอุทธรณ์จะเป็นไปในลักษณะยืนตาม แก้ไข กลับหรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
ศาลฏีกา
เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขของตุลาการศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาการวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาถือเป็นที่สุดหรือเป็นคดีแดง ซึ่งคู่กรณีไม่สามารถนำกลับมาฟ้องร้องได้
ศาลชั้นต้น
เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก เมื่อมีการฟ้องร้องและนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ศาลแพ่ง
เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ศาลอาญา
เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง
3.ศาลปกครอง
มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีในทางปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง
โดยรูปแบบการพิจารณาคดีใช้ “ระบบไต่สวน” ที่ศาลเป็นผู้ค้นหาความจริงด้วยตนเอง
1.ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญแต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป
4.ศาลทหาร
ศาลทหารมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจำการกระทำผิดตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร
นาย พิชยุตม์ อยู่ประเสริฐ 6001210637 sec B เลขที่ 29