Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบเลือด3 - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบเลือด3
ภาวะซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
สาเหตุ
การขาดสารอาหารจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ขาดธาตุเหล็ก
ความผิดปกติของเซลล์ที่สร้างเม็ดเลือดแดง
พยาธิสภาพของโรคต่าง ๆ เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับ โรคเอสแอลอี
การขาดธาตุเหล็ก
การขาดวิตามินบี12
ซีดอะพลาสติก
ซีดจากการขาดธาตุเหล็ก IDA
การเสียเลือดชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ได้แก่ เสียเลือดจากอุบัติเหตุ
การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
กลุ่มที่มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนด วัยรุ่นหญิงเมื่อเริ่มมีประจำเดือน หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากธาตุเหล็กในแม่จะต้องส่งไปให้ทารกในครรภ์เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงและหญิงให้นมบุตร
กลุ่มที่ได้รับธาตุเหล็กจากสารอาหารไม่เพียงพอ
รับประทานอาหารที่มีธาตุเหลกไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย พบในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ
ได้รับสารที่มีคุณสมบัติต่อต้านการดูดซึมธาตุเหล็ก
มีพยาธิสภาพของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กลดลง
ผลของการขาดธาตุเหล็ก
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เป็นต้น หากซีดมาก ๆ อาจมีอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวร่วม
อาการและอาการแสดง
อาการซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด หากรุนแรงจะมีอาการมึนงง สับสน หัวใจล้มเหลว มุมปากอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อน
มีการติดเชื้อและภาวะปอดอักเสบ มีการเสียเลือด โดยจะเห็นจากรอยจ้ำเลือดตามผิวหนัง ปัสสาวะเป็นเลือด มีเลือดออกที่เหงือก
การรักษา
กำจัดและรักษาสาเหตุร่วมกับการใช้ธาตุเหล็กทดแทน ในกรณีซีดมากจนเกิดภาวะหัวใจวาย พิจารณาให้เลือดในรูปของ Packed red cell (PRC) ด้วยความระมัดระวังร่วมกับให้ยาขับปัสสาวะ
หลีกเลี่ยงสาเหตุของการเสียเลือด
ให้เหล็กโดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น เช่น Ferrous sulfate, Ferrous gluconate, Ferrous fumarate < 30 ไมโครกรัม/ลิตร
ระมัดระวังผลข้างเคียงของยา
ให้รับประทานร่วมกับวิตามินซีสูงในมื้อเดียวกันเพราะวิตามินซีจะช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็ก
การพยาบาล
มีความบกพร่องเกี่ยวกับการรับรู้ เนื่องจากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
เหนื่อยง่ายเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
เซลล์ผิวมีความผิดปกติเนื่องจากการดูดซึมลดลง
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเนื่องจากรับประทาน
อาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย และมีการอักเสบที่มุมปากและในช่องปาก
ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค
ภาวะซีดจากการขาดวิตามินบี12
การดูดซึม วิตามินบี12 ผิดปกติ เนื่องจากขาด Intrinsic factor ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างจากเยื่อบุในกระเพาะอาหาร
การได้รับ วิตามินบี12 ไม่เพียงพอ พบในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารมังสวิรัติอย่าง เคร่งครัด
อาการและอาการแสดง
อาการของเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เป็นต้น อาการทางระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม สับสน ชาที่แขนขา กล้ามเนื้อขาไม่มีแรง มีอาการสั่นเดินแล้วล้ม
การรักษา
ให้เลือดเพื่อแก้ไขภาวะซีด
ให้รับประทานอาหารพวกปลา เนื้อสัตว์ นม และไข่
ให้ยาช่วยสร้างเม็ดเลือด เช่น Ferrous sulfate
ฉีดวิตามินบี12 จำนวน 1,000 ไมโครกรัม/วัน เข้ากล้ามเนื้อ เป็นเวลา 2 สัปดาห์
ให้พักบนเตียงจนกว่าฮีโมโกลบินจะสูงขึ้น
ผู้ป่วยหนักมีผลกับหัวใจและปอดอาจต้องให้เลือด ให้ยาดิจิตาลีส ยาขับปัสสาวะ ให้อาหารจืด (Low sodium)
ฉีด อาจมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอย่างถาวร
ภาวะซีดอะพลาสติก
ภาวะซีดจากไขกระดูกฝ่อ เป็นโรคที่มีการขาดเม็ดเลือดทุกชนิด
อาจเกิดจากพิษของยาหรือสารเคมีไปทำลายไขกระดูก
สาเหตุ
ภาวะซีดอะพลาสติกเป็นภาวะที่ไขกระดูกล้มเหลวไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ตามปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดต่ำกว่าระดับปกติ
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด
เกิดจากได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อไขกระดูกโดยตรง
อาการและอาการแสดง
มีจุดเลือดออกที่เยื่อบุเปลือกตาหรือเรตินา พบจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า 1 ล้านเซลล์/ลบ.มม
เรติคิวโลไซต์ต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย และหายใจลำบากเมื่อออกแรง เลือดออกง่ายเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ จะพบจ้ำเขียวตามผิวหนัง เหงือกและฟัน มีไข้จากการติดเชื้อในร่างกาย พบเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำกว่า 2,000 เซลล์/ลบ.มม. เป็นชนิดลิมโฟไซม์
การรักษา
การรักษาที่ได้ผล ต้องแยกสาเหตุและให้การรักษาอย่างดี
ภาวะแทรกซ้อน มีการเสียเลือดอย่างทันทีทันใด และมีการติดเชื้อจากการที่ผู้ป่วยได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
การวางแผนทางการพยาบาล
ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจน
มีโอกาสติดเชื้อเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดขาวลดลง
มีโอกาสเสียเลือดเนื่องจากปริมาณเกล็ดเลือดต่ำและมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ชนิด
lymphocyte
myeloid
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักเกิดกับเด็ก
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง
เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติ
สาเหตุ
สารก่อมะเร็ง
รังสี (Ionizing radiation)
ความผิดปกติของ
โครโมโซม (Chromosomal aberration)
ไวรัสบางชนิดเช่น ไวรัสเฮชทีแอลวี (Human T-lymphotropic virus Type I หรือเรียกย่อว่า HTLV-1)
อาการ
ติดเชื้อเมื่อมีเม็ดเลือดขาวปกติลดลง
ภาวะซีด จากเม็ดเลือดแดงลดลง
เลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดลดลง
การรักษา
เคมีบำบัด Chemotherapy
การปลูกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation
การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด
ผลข้างเคียงของการรักษา
เคมีบำบัด Chemotherapy
เกิดจากการที่เซลล์ปกติถูกทำลาย ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน
รังสีรักษา Radiotherapy
ผมจะร่วง ผิวบริเวณดังกล่าวจะแห้ง คัน ห้ามใช้ lotion ก่อนปรึกษาแพทย์
การปลูกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation
จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ