Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะสายสะดือพลัดต่ำหรือสายสะดือโผล่ (Prolapse of Cord) - Coggle Diagram
ภาวะสายสะดือพลัดต่ำหรือสายสะดือโผล่
(Prolapse of Cord)
ภาวะที่สายสะดือเคลื่อนลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกอาจอยู่ในช่องคลอด หรือโผล่ออกมานอกปากช่องคลอดซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากมีการแตกของถุงน้ำคร่ำ
สาเหตุ
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง
ตั้งครรภ์แฝดเด็กหรือแฝดน้ำ
ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์
ส่วนนำไม่กระชับกับช่องทางคลอด
ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด
การคลอดก่อนกำหนด
สายสะดือยาวกว่าปกติ
กเกาะต่ำทำให้สายสะดืออยู่ใกล้กับปากมดลูก
ชนิด
1. Occult (Hidden) prolapse of cord
สายสะดือเคลื่อนต่ำลงมา
พอที่จะถูกส่วนนำของทารกกดได้
2. Forelying cord
สายสะดือเคลื่อนต่ำลงมาจนถึงปากมดลูก ถ้าตรวจภายในจะสามารถคลำพบสายสะดือได้
3. Complete prolapse of cord
สายสะดือพลัดออกมาจนพ้นปากมดลูก
ในกรณีที่ถุงน้ำแตกแล้วจะสามารถมองเห็นสายสะดือโผล่พ้นออกมาจากปากช่องคลอด
ผลกระทบ
ต่อมารดา
C/S
Forceps extraction
หากทารกเสียชีวิตมารดาได้รับความกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจ
ต่อทารก
ทารกขาดออกซิเจนและถึงแก่ชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
ชนิด Complete prolapse cord จะพบว่าสายสะดือโผล่ออกมาจากช่องคลอด หรือมารดามีความรู้สึกขัดตุงบริเวณช่องคลอดภายหลังจากถุงน้ำแตก
ตรวจภายในพบสายสะดือพลัดต่ำกว่าส่วนนำของทารก โดยอาจตรวจพบการเต้นของหัวใจทารกบริเวณสายสะดือ
ชนิด Occult prolapse cord จะไม่พบส่วนของสายสะดือโผล่ออกมาหรือคลำไม่ได้ แต่จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของการเต้นของหัวใจทารก Variable deceleration หรือมี Bradycardia
การป้องกัน
แนะนำให้มารดาที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ไม่ควรเบ่งก่อนเวลาที่เหมาะสม หรือให้รีบมาโรงพยาบาลทันทีที่ถุงน้ำแตก
ในการเจาะถุงน้ำควรทำด้วยความระมัดระวัง เมื่อเจาะถุงน้ำแล้วควรตรวจภายในทุกครั้ง แล้วฟังเสียงหัวใจทารกทันที
ในกรณีที่ถุงน้ำคร่ำแตกเอง ควรตรวจภายในเพื่อประเมินว่ามีสายสะดือพลัดต่ำหรือไม
มารดาที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรจัดให้นอนท่า Semi – Fowler’s position เพื่อช่วยส่งเสริมให้ส่วนนำเคลื่อนลงสู่ช่องเชิงกรานได้ดีขึ้น
ควรบันทึกการเต้นของหัวใจทารกด้วยเครื่อง Monitor อย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มมารดาที่เสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือพลัดต่ำทุกราย
การวินิจฉัย
จากอาการและอาการแสดง
จากการประเมินพบการเปลี่ยนแปลงของการเต้นของหัวใจทารกเป็นชนิด Variable
deceleration
การรักษา
พยายามลดการกดทับของส่วนนำบนสายสะดืออย่างทันทีทันใด
สวมถุงมือ Sterile แล้วดันส่วนนำไม่ให้กดทับบริเวณสายสะดือจนกว่าการคลอดจะสิ้นสุดลง
ห้ามดันสายสะดือที่โผล่พ้นออกจากช่องคลอดกลับเข้าไปใหม่
พยายามช่วยให้ทารกคลอดออกมาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ให้ออกซิเจนแก่มารดา 8 – 10 ลิตร/นาที
ถ้าหากทารกเสียชีวิตแล้ว แพทย์จะช่วยให้การคลอดเป็นไปตามธรรมชาติ หรืออาจช่วยคลอดโดยการใช้คีม
แนวทางการพยาบาล
พยาบาลจะต้องดูแลมารดาอย่างใกล้ชิด
เตรียมการช่วยเหลือเมื่อพบว่าสายสะดือ
พลัดต่ำ หรือโผล่ออกมา
โดยลดการกดทับบริเวณสายสะดือโดยการจัดท่ามารดาหรือใช้มือดัน
ศีรษะไม่ให้กดทับสายสะดือ
ช่วยให้การคลอดสิ้นสุดลงโดยเร็ว
กรณีที่ทารกเสียชีวิตแล้ว พยาบาลจะต้องช่วยประคับประคองด้านจิตใจ