Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย, นางสาวเณสรา คามจังหาร 6001211078…
บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติ/พฤติกรรมของมนุษย์
หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์)
สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย เช่น รัฐสภา รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้
แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น กรณีของฑูตต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจำในประเทศไทย
อาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดหรือกำหนด
ความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
เพื่อให้บุคคลนั้นปฏิบัติตาม จึงจำต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการผ่าฝืนกฎหมาย หากเกณฑ์ใดไม่มีสภาพบังคับก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
มีทั้งผลดีและผลเสีย
ระบบของกฎหมาย
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
หรือระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ต้นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ คำพิพากษาของศาลถือเป็นกฎหมาย การพิพากษาคดียึดตามคำพิพากษาเดิม จึงเป็นการพิจารณาคดีเฉพาะเรื่องไปสู่เรื่องทั่วไป (Induction)
ปัจจุบันนิยมเรียกว่า Law reports
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
หรือระบบประมวลกฎหมาย
แหล่งกำเนิดจากชาวโรมัน รัฐสภาเป็น ผู้ออกกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามตัวบทกฎหมาย จึงเป็นการพิจารณาคดีจากหลักเกณฑ์ทั่วไปสู่เฉพาะเรื่อง (Deduction) และคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงตัวอย่างของการใช้กฎหมาย
ประเทศไทยใช้ระบบนี้
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
กฎหมายภายใน
กฎหมายที่บัญญัติขึ้นภายในประเทศ
กฎหมายภายนอก
กฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์
และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายเอกชน (Private Law)
กฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน
รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน
กฎหมายพาณิชย์
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายแพ่ง
อื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ กฎหมายแรงงาน ฯลฯ
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ต่อประเทศ หรือรัฐต่อรัฐ
แผนกคดีบุคคล
แผนกคดีอาญา
แผนกคดีเมือง
กฎหมายมหาชน (Public Law)
กฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน
กฎหมายอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กฎหมายปกครอง
ธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ
กฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
กฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล
กฎหมายที่แบ่งโดยสภาพบังคับทางกฎหมาย
กฎหมายอาญา
กฎหมายปกครอง
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายที่แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
กฎหมายระเบียบราชการ
กฎหมายการเงินการคลัง
กฎหมายธุรกิจ
กฎหมายสาธารณะสุข
กฎหมายอุตสาหกรรม
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นเดียวกัน และรองจากรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ (พรบ.) (Act)
ประมวลกฎหมาย (Code of Law)
พระราชกำหนด (Royal Enactment)
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
เป็นกฎหมายที่กำหนด
รายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนาของคณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ
ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule/Regulation/Discipline
)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงานองค์กร
ประกาศและคำสั่ง (Announcement/Command)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน
อื่นๆ
: ข้อบังคับท้องถิ่น
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลเดี่ยว
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจ
วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท
ระบบศาลคู่
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น
คดีปกครองแยกให้ศาลปกครอง
เป็นศาลที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีดังกล่าว
ศาลของประเทศไทย
ศาลรัฐธรรมนูญ
เป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ศาลยุติธรรม
เป็นศาลที่มีอานาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอานาจของศาลอื่น
ศาลชั้นต้น เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก
ศาลแพ่ง
ศาลอาญา
ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลลาดับที่สูงกว่าศาลชั้นต้น
ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด
ศาลปกครอง (Administrative Court)
เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่
ศาลทหาร
ได้มีขึ้นเป็นของคู่กันมาตั้งแต่มีการทหารไว้ป้องกันประเทศ
ระบบศาลของประเทศไทย เป็นระบบศาลคู่
นางสาวเณสรา คามจังหาร 6001211078 เลขที่ 50 Sec.A