Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
stroke, นางสาวชลิตา วงษ์จันทร์ เลขที่ ห้อง A - Coggle Diagram
stroke
-
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก
-
การรักษา
โรคสมองขาดเลือด 1.การให้ยาสลายลิ่มเลือด (Tissue plasminogen activator, t-PA) ทางหลอดเลือดดำภายในเวลา 4.5 ชั่วโมง นับจากเริ่มมีอาการ ช่วยเพิ่มโอกาสฟื้นตัวจากความพิการได้ 1.5-2.5 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาโดยที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกในสมองได้ 6% หลังได้รับยา 2.การให้ยาต้านเกล็ดเลือด 3.การนอนพักฟื้นในหอผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด (stroke unit) 4.การผ่าตัดเปิดกระโหลก พิจารณาทำในผู้ป่วยที่มีสมองขาดเลือดเป็นบริเวณกว้างเพื่อลดความดันในสมองลง ซึ่งสามารถลดอัตราการตายของผู้ป่วยได้
โรคเลือดออกในสมอง 1.การนอนพักฟื้นในหอผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด (stroke unit) เพื่อควบคุมความดันโลหิต ในช่วง 1 อาทิตย์แรกหลังมีอาการ 2.การผ่าตัด พิจารณาทำในผู้ป่วยที่มีเลือดออกปริมาณมากหรือมีความดันในสมองสูง
พยาธิสภาพ
-
โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากภาวะเลือดออก (hermorrhagic stroke) สาเหตุสำคัญ ได้แก่ ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ซึ่งพบร่วมกับผนังของหลอดเลือดสมองขนาดเล็กอ่อนแอทำให้เกิดการฉีกขาดได้ง่ายเมื่อเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดสมองเลือดที่ออกมาจากการแตกของหลอดเลือดจะรวมตัวกันเป็นก้อนเลือด (hematoma) เข้าไปเบียดแทนที่เนื้อสมองบริเวณที่มีการแตกของหลอดเลือดทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นถูกกตเกิดการอักเสบหากถูกกดและอักเสบเป็นระยะเวลา 3-6 ชั่วโมงทำให้เกิดภาวะเซลล์สมองขาดเลือดและเกิดเนื้อสมองตายและปัญหาสำคัญคือก้อนเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่กดเบียดเนื้อสมองทำให้มีภาวะสมองบวม (brain ederma) ส่งผลให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงถ้าอาการเลือดออกรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะสมองยื่น (Brain hermia tion) ได้ถ้าการแตกของหลอดเลือดสมองไม่มากนักก้อนเลือดที่กตเนื้อสมองจะค่อย ๆ ซึมเข้าสู่หลอดเลือดสมองจดหมดภายในระยะเวลา 2-6 เดือนตำแหน่งของสมองที่เกิดภาวะเลือดออกได้บ่อย Lauri basal ganglia, thalamus. cerebellum ac pons
โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง (Locrachnoid hermortage) มักเกิดจากการแตกของหลอดเลือดที่โป่งพองบริเวณชั้นใต้เยื่อหุ้มสมองสาเหตุการแตกของหลอดเลือดมักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บกระแทกอุบัติเหตุความดันโลหิตสูงหรือมีความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
ถามประวิตจากผู้ป่วย ญาติหรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ (กรณีที่ผู้ป่วยซึมมากหรือพูดไม่ได้) ประวัติที่สำคัญ ได้แก่ รายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นระยะเวลาที่เกิดขึ้น อาการโรคประจําตัว ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต รวมถึงยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่เป็นประจำ และประวัติที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสียงต่างๆ
ถามประวิตจากผู้ป่วย** ญาติหรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ (กรณีที่ผู้ป่วยซึมมากหรือพูดไม่ได้) ประวัติที่สำคัญ ได้แก่ รายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นระยะเวลาที่เกิดขึ้น อาการโรคประจําตัว ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต รวมถึงยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่เป็นประจำ และประวัติที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสียงต่างๆ
ตรวจสัญญาณชีพ (ชีพจร ความดันโลหิต อุณหภูมิ การหายใจ) ตรวจระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท ได้แก่ การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกสัมผัส การพูดติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan brain) Computerized Tomography Scan คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพฉายลักษณะและอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายต่อไป โดยวิธีการนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan brain) Computerized Tomography Scan คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพฉายลักษณะและอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายต่อไป โดยวิธีการนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน
การฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจหลอดเลือดสมอง (Cerebral angiography) การฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจหลอดเลือดสมองสามารถทำได้โดยการสอดใส่สายสวนหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบไปที่หลอดเลือดคอแล้วจึงฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูการอุดตันของหลอดเลือดสมองโดยตรง
การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) การเจาะตรวจน้ำไขสันหลังสามารถทำได้โดยใช้เข็มแบบพิเศษเจาะที่ช่องระหว่างกระดูกสันหลังระดับเอวผ่านเข้าสู่ช่องน้ำไขสันหลังเพื่อน่าน้ำไขสันหลังออกมาตรวจซึ่งจะสามารถช่วยในการวินิจฉัยภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มสมองได้นอกจากนั้นในบางครั้งสามารถบอกสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้
อัลตราซาวนด์หลอดเลือด (ultrasonography) การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอและสมองเพื่อดูตำแหน่งและความผิดปกติของหลอดเลือดที่คอและหลอดเลือดในสมอง
การพยาบาล
ประเมินและจัดการทางเดินหายใจ VIS, NS ทุก% -1 ชั่วโมงอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องช่วยหายใจตามแผนการรักษาเพราะผู้ป่วยมักสูญเสียรีเฟล็กซ์ทางเดินหายใจส่วนบนควรดูดเสมหะเท่าที่จำเป็นครั้งละไม่เกิน 10 วินาทีแรงดัน 80-120 mmHg ให้ออกซิเจน 100% ก่อนและหลังดูดเพื่อลดภาวะ hypoxemia ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เพิ่มแรงดันในสมองนอกจากนี้ถ้ามีไข้เกิน 38.5 ต้องให้ยาลดไข้เป็นลำดับแรกและเช็ดตัวลดไข้การวาง cold pack ควรระมัดระวังเพราะอาจทำให้หนาวสั้นทำให้เพิ่มการเผาผลาญและเพิ่มแรงดันในสมองมากกว่าผลที่ได้จากการลดไข้
การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสูงในรายที่เป็น ischemic stroke คือให้ยาละลายลิมเลือด (thrombolytic therapy) เช่น 1-PA ควรให้ระยะ 3 ชั่วโมงแรกหลังจากเริ่มมีอาการพบว่ามากกว่าร้อยละ 30 ผู้ป่วยสามารถฟื้นสภาพได้ตามปกติหรือไม่มีความพิการเกิดขึ้น
ในรายที่ ishemic stroke แต่ไม่ได้รักษาด้วย -PA อาจรักษาโดยให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) เช่น wafarin Sodium (Coumadin) และยาต้านการรวมตัวของเกร็ดเลือดเช่น ASA, dipyridamole, ticlopidine (Ticid) แพทย์จะพิจารณาให้ในรายที่มีเลือดข้นหรือเลือดหนืดเพื่อป้องกันการเกิด embolus / thrombosis แต่มีข้อห้ามในรายที่มีความดันโลหิตสูงเพราะเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมองให้ยาขยายหลอดเลือดส่วนปลายเช่น cylandilate (Cyclospassmol) papaverine (Pavalid), isoxsuprine (Vasodilan) inavunng ไหลเวียนโลหิตของสมองบริเวณข้างเคียง (collateral) และลดการหดเกร็งหลอดเลือดให้ยากลุ่ม steroid เช่น Dexamthasone เพื่อลดการบวมของสมองให้ยากันชักเพราะการชักจะเพิ่ม metabolism ของสมองยาขับปัสสาวะชนิด Osmotic diuretic (Mannitol) ใช้ใน ICP รักษาระดับ Paco, ให้อยู่ในระดับ 30-35 mmHg โดยต้องให้เข้าทางหลอดเลือดดำใช้เข็มขนาดใหญ่โดยหยดให้หมดภายใน 10-30 นาทีในขนาด 0.25-2 กรัม / กก. ซึ่งมีฤทธิ์ดึงน้ำออกจากเนื้อสมองทำให้ขับปัสสาวะออกมากต้องระวังฤทธิ์ข้างเคียงคืออาจทำให้สมองบวมมากขึ้น
ในรายที่มีเลือดออกในสมองและกด ventricl แพทย์ทำผ่าตัด ventriculostormy ป้องกันการอุดตันของท่อระบายน้ำไขสันหลังป้องกันการระบายน้ำไขสันหลังออกมาก-น้อยเกินไปโดยไม่ให้ศีรษะสูงหรือต่ำเกินไปควรบันทึกจำนวนของน้ำไขสันหลังทุก 1 ชั่วโมงโดยให้จุดหยดของน้ำไขสันหลังอยู่เหนือรูหู (ขณะผู้ป่วยนอนหงาย) 10 ซม. หากท่อระบายน้ำอุดตันควรบีบรูดท่อด้วยความระมัดระวังไม่ให้สายหลุด
ให้นอนพักบนเตียงอย่างเคร่งครัด (strict bedrest) ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวบนเตียงเพื่อป้องกันการหดเกร็งของหลอดเลือดและป้องกันการแตกของ aneurysm และให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติว่าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกซ้ำได้ในระยะ 7 วันหลีกเลี่ยงการไอจามถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรแนะนำให้ผู้ป่วยอ้าปากทุกครั้งเวลาไอหรือจามให้หายใจออกขณะเปลี่ยนท่านอนหลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระและการผูกมัดผู้ป่วยเมื่อพ้นระยะวิกฤตแล้วควรให้อาหารทางสายยางฟื้นฟูสภาพการพูด-สื่อสารการเคลื่อนไหว
แนะนำผู้ป่วยและญาติ ischemic stroke และ TIA ที่ได้รับยา anticoagulant ควรงดรับประทานสมุนไพรหรืออาหารเสริมพวกผลแปะก๊วย (Ginkgo) เพราะจะเสริมฤทธิ์ยาทำให้เพิ่ม bleeding time และเกิดภาวะ spontaneous hemorrhage, subdural hemorrhage และการรับประทานกระเทียมจะเสริมฤทธิ์ wafarin ทำให้เพิ่ม international normalized ratio (INR) และ lavarennuionconino
-