Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์, ชื่อนางสาว มาลินี…
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
วิวัฒนาการ
สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการออกกฎหมายขึ้นควบคุมการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน
พศ 2472 มีการแก้ไขโดยการตัดสาขาสัตวแพทย์ออกโดยให้การประกอบโรคศิลปะเป็นการกระทำต่อมนุษย์เท่านั้น
พศ 2480 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
พศ 2479 ได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็น 2 แผน ได้แก่ แผนโบราณ และแผนปัจจุบัน
พศ 2518 เพิ่มอีก 2 สาขา คือ กายภาพบำบัดและเทคนิคการแพทย์
วันที่ 27 – 31 ตุลาคม 2518 ได้พิจารณาให้การที่แพทย์แผนปัจจุบันแยกตัวออกจากการควบคุมของพระราชบัญญัติชีพเวชกรรม พศ 2511
5 กันยายน พศ 2528 ประกาศใช้ “ พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พศ 2528 ” โดยมีผลบังคับใช้ในวันต่อมา
พศ 2534 คณะกรรมการสภาการพยาบาลให้ปรับปรุงสาระสำคัญและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทุก 5 ปี รวมทั้งปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียม
วันที่ 23 ธันวาคม พศ 2540 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พศ 2540” โดยมีผลบังคับใช้วันต่อมาจนถึงปัจจุบัน
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและลักษณะ
กฎหมายแพ่ง
เป็นส่วนหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
กฎหมายพาณิชย์
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการ
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการดำเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่เกิดข้อพิพาท
นิติกรรม
ความหมาย
การกระทำของบุคคลด้วยใจสมัครและถูกต้องตามกฎหมาย มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิระหว่างบุคคล
องค์ประกอบ
ผู้กระทำต้องแสดงออกในฐานะที่เป็นเอกชน
การกระทำโดยเจตนา
การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง
การแสดงเจตนาโดยปริยาย
การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสิทธิ
ประเภท
แบ่งตามจำนวนคู่กรณี
นิติกรรมฝ่ายเดียว
นิติกรรมที่เกิดผลโดยการแสดงเจตนาของบุคคลเพียงฝ่ายเดียว และมีผลผูกพันทางกฎหมาย
เช่น พินัยกรรม คำมั่นจะให้รางวัล การบอกล้างโมฆียกรรม เป็นต้น
นิติกรรมหลายฝ่าย
การแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป และทุกฝ่ายตกลงยินยอมตามข้อตกลง
เช่น สัญญาใช้ทุนการศึกษา สัญญาค้ าประกัน สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจ้างดูแลผู้ป่วยอัมพาตที่บ้าน เป็นต้น
แบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
มีผลขณะผู้แสดงเจตนายังมีชีวิต
เช่น การให้โดยเสน่หา สัญญาการซื้อขาย สัญญาการใช้ทุนการศึกษา สัญญาค้ำประกัน เป็นต้น
มีผลขณะผู้แสดงเจตนาไม่มีชีวิต
เช่น พินัยกรรม เป็นต้น
แบ่งตามค่าตอบแทน
มีค่าตอบแทน
เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น
ไม่มีค่าตอบแทน
เช่น การให้โดยเสน่หา สัญญายืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ย เป็นต้น
ความสามารถของบุคคลในการให้การยินยอมรักษาพยาบาล
ความสามารถของบุคคล
หมายถึง สภาพที่กฎหมายกำหนดขอบเขตให้บุคคลมีสิทธิหรือใช้สิทธิ ความสามารถของบุคคลเป็นสิ่งสำคัญต่อการพิจารณาความรับผิดทางกฎหมาย
บุคคล
บุคคลธรรมดา
การตายโดยธรรมชาติ
การป่วยตาย แก่ตาย หรือถูกฆ่าตายของบุคคล
การสาบสูญ
เป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี ในเหตุการณ์ปกติ หรือเป็นเวลา 2 ปี ในกรณีที่มีเหตุอันตรายจากการรบ การสงคราม หรือยานพาหนะอับปาง
นิติบุคคล
หมายถึง สิ่งที่กฎหมายสมมติให้เป็นบุคคล เพื่อให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
บุคคลที่กฎหมายจำกัดสิทธิในการทำนิติกรรม
ผู้เยาว์
บรรลุนิติภาวะ
อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
สมรสเมื่อหญิงและชายอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
สามารถกระทำนิติกรรม
นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ประโยชน์ สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การรับของที่มีผู้ให้โดยเสน่หา การรับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้โดยไม่มีเงื่อนไข
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องกระทำเองเฉพาะตัว เช่น การจดทะเบียน
รับรองบุตรนอกสมรส การทำพินัยกรรมเมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานะและจำเป็นแก่การดำรงชีพ เช่น การซื้ออาหาร
เครื่องดื่มและของใช้ในชีวิตประจำวัน การว่าจ้างรถไปโรงเรียน เป็นต้น
นิติกรรมการจำหน่ายทรัพย์สิน ประกอบธุรกิจการค้า หรือสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตหรือยินยอม
คนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริต (Unsound mind)
อยู่ในภาวะผัก (Vegetative state)
คนเสมือนไร้ความสามารถ
กายพิการ
จิตฟั่นเฟือน
ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ
ติดสุรายาเมา
ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย
สามีภริยา เป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
สภาพบังคับทางแพ่ง
โมฆะกรรม
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
โมฆียกรรม
ความสามารถของบุคคล
การแสดงเจตนาโดยวิปริต
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน
การแสดงเจตนาโดยการฉ้อฉล
การแสดงเจตนาโดยการข่มขู่
การบังคับชำระหนี้
การชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน
ความเสียหายที่คำนวณราคาเป็นเงินได้
ความเสียหายที่ไม่อาจคำนวณราคาเป็นตัวเงินได้ เช่น หมิ่นประมาท ความเศร้าเสียใจ เป็นต้น
ค่าที่เรียกร้องได้
กรณีผู้เสียหายเสียชีวิต
ค่าปลงศพ
ค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าขาดแรงงาน
ถ้ายังไม่ตายทันที สามารถเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จำเป็น
กรณีเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย
ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็น
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย
ค่าเสียความสามารถในการประกอบอาชีพ
ค่าขาดแรงงานในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอก
ค่าเสียหายอื่นที่ไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงิน หรือค่าทำขวัญ
ความรับผิดทางแพ่งของพยาบาลวิชาชีพ
สัญญา
เช่น ในกรณีที่เด็กมารักษาฝีที่ปาก แพทย์สั่งให้ทำการกรีดหนองออก โดยพยาบาลเข้าใจว่าเป็นการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และไม่เชื่อผู้ป่วยเด็ก ถือว่าเป็นความรับผิดตามสัญญา
การละเมิด
การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยจงใจหรือประมาท
ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
บุคคลต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิด
ตัวการต้องรับผิดชอบผลแห่งการละเมิดของตัวแทนที่ได้กระทำไปภายในของเขตอำนาจของตัวแทน
บิดามารดาของผู้เยาว์หรือผู้อนุบาลของผู้วิกลจริต
ครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่น
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและวัตถุประสงค์
เป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิด และกำหนดโทษอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน
เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย
ประเภท
ความผิดต่อแผ่นดิน
การกระทำที่มีผลต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
การปลอมและการแปลงเอกสารการลักทรัพย์
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ความผิดต่อส่วนตัว
เช่น ความผิดฐานฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ผู้อื่น หมิ่นประมาท ความผิดฐานบุกรุก ความผิดทางเพศ เป็นต้น
ลักษณะสำคัญ
ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้ง
ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษร
ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษ
หลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญา
การกระทำ
หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึกและอยู่ภายใต้การบังคับของจิตใจ
เช่น พยาบาลวิชาชีพผูกรัดข้อมือผู้ป่วย พยาบาลรู้ว่ากำลังผูกข้อมือผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยดึงสายน้ำเกลือ แต่ถ้าผูกแน่นไปและไม่มีการประเมิน ทำให้มือของผู้ป่วยขาดเลือด เกิดแผลเน่า หากรักษาไม่ถูกต้องจะทำให้มือพิการได้ เป็นต้น
กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษ
กระทำโดยเจตนา ประมาท หรือไม่เจตนา
การกระทำโดยเจตนา
เช่น พยาบาลวิชาชีพฉีดยาแก้ปวดเกินขนาด จนกดศูนย์การหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายพ้นจากทุกข์ทรมานตามคำร้องขอของญาติ
การกระทำโดยประมาท
วิสัย
ลักษณะที่เป็นอยู่ของบุคคลผู้กระทำ หรือสภาพภายในตัวผู้กระทำ
พฤติการณ์
ข้อเท็จจริงประกอบการกระทำ หรือเหตุภายนอกของผู้กระทำ
การกระทำโดยไม่เจตนา
การกระทำที่ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และไม่คาดคิดว่า
จะเกิดจากการกระทำนั้น แต่ผลลัพธ์ที่เกิดมากกว่าตั้งใจ
เหตุยกเว้นความรับผิดทางอาญา
เหตุยกเว้นความรับผิด
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
เหตุยกเว้นโทษ
กระทำด้วยความจำเป็น
การกระทำผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
การกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี
การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
เหตุลดหย่อนโทษ
การกระทำความผิดโดยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
การกระทำโดยบันดาลโทสะ
เหตุอื่นๆ ในการลดหย่อนหรือบรรเทาโทษ
อายุความ
อายุความฟ้องคดีทั่วไป
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้
โทษทางอาญา
โทษประหารชีวิต
โทษจำคุก
เป็นความผิดมีโทษจำคุก
ศาลต้องลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
ผู้กระทำความผิดต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่ต้องเป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ศาลคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษา สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อม
โทษกักขัง
เปลี่ยนโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน
โทษปรับแล้วไม่ชำระค่าปรับ
ขัดขืนคำพิพากษาของศาลให้ริบทรัพย์สิน
ไม่ยอมทำทัณฑ์บน หรือหาหลักประกันไม่ได้
ไม่ชำระเงินตามที่ศาลสั่งเมื่อกระทำผิดทัณฑ์บน
โทษปรับ
โทษริบทรัพย์สิน
ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด เว้นแต่ทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้ในครอบครองเป็นความผิด
ทรัพย์สินซึ่งเกี่ยวข้องกับสินบนของเจ้าพนักงานเพื่อจูงใจ ให้รางวัลในการกระทำความผิด
การทำงานเพื่อบริการสังคม
ผู้นั้นกระทำความผิดและต้องโทษปรับ แต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับ
ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ทำงานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ
จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือองค์การ
ผู้ที่จะทำงานบริการสังคมต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมทางศีลธรรม วินัย หรือโครงการอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร
ละเว้นการคบหาสมาคมหรือประพฤติใดๆ ที่อาจนำไปสู่การกระทำความผิด
ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด
ห้ามเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ การแพทย์ไม่ถูกต้อง
ความบกพร่องด้านการสื่อสาร
ความบกพร่องด้านการบันทึก
ความบกพร่องด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการ
ความบกพร่องด้านการไม่พิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย
ความประมาทในการประกอบวิชาชีพกับการปฏิเสธการรักษา
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายเล็กน้อยแก่ร่างกายหรือจิตใจ
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธ์ุ
เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
แท้งลูก
จิตพิการอย่างเต็มตัว
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน
ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย
การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วย
การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย
องค์ประกอบ
รู้ความลับผู้อื่นมาเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือจากการศึกษาอบรม
เปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อยกเว้น
เป็นข้อผูกพันหรือหน้าที่
โรคติดต่อร้ายแรงเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจรับผิดชอบหรือตัดสินใจด้วยตนเอง
คำสั่งศาล
ผู้ป่วยรับรู้และยินยอมให้เปิดเผย
การรายงานการทุบตีทำร้ายร่างกายในครอบครัว
รายงานบาดแผลที่ผู้ป่วยมารักษา
แนวปฏิบัติในการรักษาความลับของผู้ป่วย
ไม่นำเรื่องของผู้ป่วยมาวิพากษ์วิจารณ์ให้บุคคลภายนอกได้ยินหรือพูดในที่สาธารณะ
ไม่วางแฟ้มประวัติหรือเขียนการวินิจฉัยไว้ที่ปลายเตียง/หน้าห้องผู้ป่วย
กรณีศึกษาของนักศึกษาพยาบาล ไม่ควรเขียนนามสกุลจริงของผู้ป่วย
ไม่นำบันทึกรายงานของผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วย
ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยแก่ญาติหรือคนอื่น โดยผู้ป่วยไม่ยินยอม
ระมัดระวังการพูดเกี่ยวกับการวินิจฉัย และการรักษาในห้องผู้ป่วยที่เป็นห้องรวม
หากส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เป็นความลับ
อภิปรายข้อมูลผู้ป่วยเฉพาะกับผู้ร่วมทีมสุขภาพ และเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลเท่านั้น
เก็บรายงานผู้ป่วยไว้เป็นสัดส่วน และทบทวนระเบียบยืมแฟ้มประวัติผู้ป่วย/เวชระเบียน เมื่อมีการส่งไปให้คำปรึกษา/ส่งต่อ หรือนำไปใช้เพื่อการศึกษา
โรงพยาบาลควรมีนโยบายจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย การสืบค้นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
จัดทำระเบียบการขอสำเนาเวชระเบียนของผู้ป่วยต่อบุคคลที่สาม
การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิต
ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
ความผิดฐานปลอมเอกสาร
ทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือบางส่วน เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร
นำเอกสารปลอมที่ทำขึ้นไปใช้ในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
ความผิดฐานปลอมเอกสาร รวมถึงผู้ที่กรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด
ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
เป็นผู้ทำคำรับรองเป็นเอกสารเท็จ หรือเป็นผู้ใช้หรืออ้างคำรับรองนั้นโดยทุจริต
ใช้เอกสารเท็จนั้นในทางที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การทำให้หญิงแท้งลูก
การทำให้ตนเองแท้งลูก
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายยินยอม
การทำให้หญิงแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม
การพยายามทำให้หญิงแท้งลูก
การทำให้หญิงแท้งที่ถูกกฎหมาย
จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากถูกข่มขืนกระทำชำเรา
ชื่อนางสาว มาลินี คำมา เลขที่ 62
รหัส 6001211368 Section A