Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย, นาย ภัครพงษ์ ปิ่นหย่า 6001210545 เลขที่…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมายและประเภทของกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้ กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคล ใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็น มาตรฐานที่ใช้วัดหรือกำหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
สภาพบังคับนั้นมีทั้งผลร้ายและผลด
สภาพบังคับที่มีผลร้าย เช่น โทษทางอาญา ซึ่งได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง คือ ปรับ ริบทรัพย์สิน
สภาพบังคับที่มีผลดี เช่น กรณีจดทะเบียนสมรส ท าให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้สิทธิของคู่สมรสไปลดหย่อนภาษีได
ระบบของกฎหมาย
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Commonlaw system)
คำพิพากษาของศาลถือเป็นกฎหมาย การพิพากษาคดียึดตามคำพิพากษาเดิม จึงเป็นการพิจารณาคดีเฉพาะเรื่องไปสู่เรื่องทั่วไป (Induction)
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย (Civil law system)
รัฐสภาเป็น ผู้ออกกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามตัวบทกฎหมาย จึงเป็นการพิจารณาคดีจากหลักเกณฑ์ทั่วไปสู่เฉพาะเรื่อง(Deduction) และคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงตัวอย่างของการใช้กฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ หรือ เกิดจากความตกลงระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา เป็นต้น
กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอ านาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้น ใช้ภายในประเทศ
กฎหมายที่แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
กฎหมายระเบียบราชการ กฎหมาย การเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายสาธารณะสุข กฎหมายอุตสาหกรรม เป็นต้น
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายเอกชน (Private Law) เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ด าเนินธุรกิจแบบเอกชน
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือรัฐต่อรัฐ โดยมีแหล่งกำเนิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อตกลงหรือ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ แบ่ง 3 ประเภท คือ แผนกคดีเมือง แผนกคดีบุคคล แผนกคดีอาญา
กฎหมายมหาชน (Public Law) เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอ านาจเหนือกว่าประชาชน
กฎหมายที่แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น
กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล เช่น วิธีพิจารณา ความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
กฎหมายที่แบ่งโดยสภาพบังคับทางกฎหมาย
กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง
เป็นต้น
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลคู่
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น
ระบบศาลของประเทศไทย
ศาลยุติธรรม
ศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลยุติธรรมสูงสุดการวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาถือเป็นที่สุดหรือเป็นคดีแดง ซึ่งคู่กรณีไม่สามารถนำกลับมาฟ้องร้องได้
ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court) พิจารณาตัดสินคดีที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินแล้ว แต่คู่ความยังต้องการความเป็นธรรม ซึ่งการตัดสินคดีของศาลอุทธรณ์จะเป็นไปในลักษณะยืนตาม แก้ไข กลับหรือยกคำพิพากษาของศาล
ศาลชั้นต้น (Civil court/Court in the First instance) เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก เมื่อมีการฟ้องร้องและนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ศาลปกครอง (Administrative Court)
เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของ ตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ศาลปกครองมี 2 ชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาล ปกครองสูงสุด
ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป
ศาลทหาร
มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจำการกระทำผิด ตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร
ระบบศาลเดี่ยว
เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอ านาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่นๆ ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด
ความหมายของกฎหมาย
ตามบทนิยามของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจ สูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้ บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
ระเบียบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับ ที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติ/พฤติกรรมของมนุษย์ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม หากผู้ใดฝ่า ฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ซึ่งออกตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของ
พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule/Regulation/Discipline)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้า
หน่วยงานองค์กร ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการ
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติ(พรบ.) (Act)
เป็นการรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์
อักษรในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ให้มาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบ
ประมวลกฎหมาย (Code of Law)
เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่
ฝ่ายบริหาร เพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน
พระราชกำหนด (Royal Enactment)
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา
ประกาศและคำสั่ง (Announcement/Command)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้า
หน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด กำหนดรูปแบบการ
ปกครองประเทศ และวางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย
อื่นๆ
ข้อบังคับท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
นาย ภัครพงษ์ ปิ่นหย่า 6001210545 เลขที่ 23 Section A