Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมาย
กฎหมาย คือ ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่รัฐหรือผู้มีอานาจกำหนดขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติ/พฤติกรรมของมนุษย์ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ หมายความว่า กฎหมาย ต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดหรือกาหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้
กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ คือ ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์)
กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ ในเมื่อกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของบุคคล ดังนั้นเพื่อให้บุคคลนั้นปฏิบัติตาม จึงจำต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการผ่าฝืนกฎหมายหากเกณฑ์ใดไม่มีสภาพบังคับก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายมหาชน ( Public Law)
กฎหมายเอกชน (Private Law)
กฎหมายระหว่างประเทศ ( International Law)
กฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกาเนิดของกฎหมาย
กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ
กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ
กฎหมายที่แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กาหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ
กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล
กฎหมายที่แบ่งโดยสภาพบังคับทางกฎหมาย เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง เป็นต้น
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree) เป็นกฎหมายที่กาหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อย ของพระราชบัญญัติหรือพระราชกาหนด
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation) เป็นกฎหมายที่ออกโดย ฝ่ายบริหาร คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ซึ่งออกตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นเดียวกัน และรองจากรัฐธรรมนูญ
พระราชกำหนด (Royal Enactment) เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหาร เพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจาเป็นรีบด่วน
ประมวลกฎหมาย (Code of Law) เป็นการรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์ อักษรในเรื่องเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ให้มาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบ
พระราชบัญญัติ (พรบ.) (Act) คือ กฎหมายที่ออกโดยฝุายนิติบัญญัติหรือรัฐสภานายกรัฐมนตรีจะนำทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule/Regulation/Discipline) เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้า หน่วยงานองค์กร ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการ
รัฐธรรมนูญ ( Constitutional Law) เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุดกำหนดรูปแบบการปกครองประเทศ และวางระเบียบอานาจสูงสุดของรัฐหรืออานาจอธิปไตย
ประกาศและคำสั่ง (Announcement/Command) เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้า หน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยอาศัยอานาจตามพระราชบัญญัติ
อื่นๆ : ข้อบังคับท้องถิ่นเป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลของประเทศไทย เป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ จะย้ายจากศาลหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้
ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย ปัญหาข้อ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีอานาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดีทั่วไป
ศาลยุติธรรม
ศาลชั้นต้น (Civil court/Court in the First instance) เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก เมื่อมีการฟ้องร้องและนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ศาลแพ่ง เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอานาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
ศาลอาญา เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาทั้งปวงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์ ( Appeal Court) เป็นศาลลำดับที่สูงกว่าศาลชั้นต้นมีองค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน เพื่อพิจารณาตัดสินคดีที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินแล้วแต่คู่ความยังต้องการความเป็นธรรม ซึ่งการตัดสินคดีของศาลอุทธรณ์จะเป็นไปในลักษณะยืนตาม แก้ไข กลับหรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการพิจารณาคดีใหม่
ศาลฎีกา (Supreme Court) เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขของตุลาการศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีเพียงศาลเดียวตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร การวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาถือเป็นที่สุดหรือเป็นคดีแดง ซึ่งคู่กรณีไม่สามารถนากลับมาฟ้องร้องได้
ศาลปกครอง (Administrative Court) เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ ต่างจากศาลยุติธรรมซึ่งใช้ระบบกล่าวหา ศาลปกครองมี 2 ชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองชั้นสูงสุด
ศาลทหาร มีอานาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจำการกระทำผิดตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร
ลักษณะของระบบศาล
ระบบศาลเดี่ยว เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท
ระบบศาลคู่ เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น