Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, นางสาว เนหา สุกูล รุ่น 36/1…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
ลักษณะการหายใจ
ขณะหายใจเข้ามีการยุบลง (retraction)
การยุบลง (retraction) ของกระดูกหน้าอก (sternal retraction) ช่องระหว่างซี่โครง (costal retraction) และใต้ซี่โครง (subcostal retraction)
การหายใจมีปีกจมูกบาน (nasal flaring)
เป็นลักษณะของการ หายใจลำบาก การบานออกของปีกจมูกทั้งสองข้าง เพื่อช่วยขยายท่อทางเดินหายใจให้อากาศที่หายใจเข้าเพียงพอต่อความ ต้องการของร่างกาย
เสียงหายใจผิดปกติ เกิดจากการที่ลมผ่านเข้าไปในท่อทางเดินหายใจที่มีความผิดปกติ แสดงว่าผู้ป่วยได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
wheezing เป็นเสียงที่มีความถี่สูงหรือเสียงหวีด ได้ยินชัดในช่วงหายใจออกเกิดจากหลอดลมเล็กๆหรือหลอดลมฝอย เกิดการบีบเกร็ง
rhonchi sound เกิดจากการ ไหลวนของอากาศผ่านเข้าไปในส่วนของทางเดินหายใจที่ ตีบแคบกว่าปกติ
crepitation sound เป็นเสียงแตกกระจายเป็นช่วงๆ เกิดจากการที่ลมผ่านท่อทางเดินหายใจที่มีน้ำหรือเสมหะ
stridor sound เกิดจากมีการตีบแคบของบริเวณกล่องเสียงหรือหลอดลม ได้ยินตอนหายใจเข้าและออก มีลักษณะคล้ายเสียงคราง
เสมหะ
การขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ
การพัดโบกของขนกวัด Cilia
กลไกการไอ Cough Reflex
กระบวนการสร้างสารมูก Mucous
เมื่อมีการติดเชื้อ
ต่อมสร้างสารคัดหลั่ง(mucus gland) จะสร้าง mucous เพิ่มมากขึ้น ทำให้เสมหะมากขึ้น มีการทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดลมและทำลาย Cilia เพิ่มมากขึ้น ทำให้เสมหะมีปริมาณมากและเหนียวข้นจะไม่ถูกพัดพาออกจากทางเดินหายใจทำ ให้เกิดการคั่งค้างของเสมหะในหลอดลมเพิ่มมากขึ้น การไออย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นกลไกที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มี การคั่งค้างของเสมหะในหลอดลม
สาเหตุที่เพิ่มน้ำในผู้ป่วยที่มีเสมหะ
น้ำจะช่วยให้ความชุ่มชื้นต่อทางเดินหายใจทำให้เสมหะเหนียวน้อยลงขับออกได้ดี ส่งผลให้ Cilia ทำหน้าที่ในการพัดโบกได้ดีขึ้นเป็นผลให้ผู้ป่วยไอขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น ปริมาณน้ำให้ประเมินจากภาวะขาดน้ำของคนไข้
ลักษณะของเสมหะ
เสมหะเหนียว หมายถึง เสมหะเป็นมูกคล้ายแป้งเปียกอยู่ติดรวมกันเป็นก้อนมีความยืดและความหนืดมาก ทำให้ผู้ป่วยไอขับออกมาได้ยาก ต้องระเมินต่อไปว่าผู้ป่วยได้รับสารน้ำเพียงพอหรือไม่
เสมหะไม่เหนียว หมายถึง เสมหะมีลักษณะเป็นเมือกเหลวมีความยืดและความหนืดน้อยไม่รวมตัวกันเป็นก้อน ขับออกมาได้ง่าย
Croup
เป็นกลุ่มอาการอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณกล่องเสียง (larynx)และส่วนที่อยู่ใต้ลงมา
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อ virus Bacteria -> H.influenzae ,S.pneumoniae, gr.A Streptococus
อักเสบที่บริเวณกล่องเสียง (acute laryngitis)
อักเสบที่บริเวณกล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลม ฝอยในปอด (Laryngotracheobronchitis)
อักเสบที่บริเวณฝาปิดกล่องเสียง(acute epiglottitis)
อาการ
ไข้เจ็บคอ หายใจลำบาก Dyspnea
อาการน้ำลายไหล (drooling)
ไอเสียงก้อง Barking cough
อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
inspiratory stridor หายใจเข้ามีเสียงฮืด
ไม่ตอบสนองต่อการพ่นยาทั่วไป
ส่วนใหญ่จะพ่น Adrenaline ต้องใส่ Endotracheal tube
Tonsilitis / Pharyngitis
สาเหตุ การติดเชื้อ แบคที่เรีย ไวรัส เช่น Beta Hemolytic streptococcus gr. A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ ในรายที่มีตุ่มใสหรือแผลตื้นที่ คอหอย หรือเพดานปาก
คำแนะนำที่สำคัญ
ให้กิน ยา Antibiotic ให้ครบ 10 วัน เพื่อป้องกัน ไข้รูห์มาติคและหัวใจรูห์มาติคหรือกรวยไตอกัเสบเฉียบพลัน AGN
การผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy)
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด Tonsillectomy
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะระยะแรกหลังผ่าตัดถ้าชีพจร 120 ครั้ง/นาที เป็นเวลาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเด็กเงียบ ซีด และมีการกลืนติดต่อกันเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีเลือดออก โดยทั่วไปจะเกิด ภายใน 6-8 ชั่วโมงแรก
หลังผ่าตัดควรให้เด็กนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อสะดวกต่อการระบายเสมหะน้ำลายหรือโลหิตอาจมีคั่งอยู่ในปากและในคอจนกว่าเด็กจะรู้สึกตัวดีและสามารถขับเสมหะได้เอง
เมื่อเด็กรู้ตัวดี จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่ง 1-2 ชั่วโมง ให้อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ รับประทานของเหลวในรายที่ปวดแผลผ่าตัดให้ใช้กระเป๋าน้ำแข็งวางรอบ คอ ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด
ทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ในเรื่องของการติดเชื้อเรื้อรัง (chronic tonsillitis) หรือเป็นๆหายๆ (recurrent acute tonsillitis) หรือในรายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล (carcinoma of tonsils)
การระบายเสมหะ
การจัดท่านอนเพื่อช่วยระบายเสมหะ
เป็นวิธีการที่อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) เป็นหลัก โดยจัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบายอยู่เหนือกว่าหลอดลม และปาก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กสู่หลอดลมใหญ่ และถูกขับออก
การเคาะ (Percussion)
ใช้อุ้งมือ ไม่ควรใช้ฝ่ามือโดยทำมือให้เป็นลักษณะคุมนิ้วแต่ละนิ้วชิดกัน ที่เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ได้รับการจัดท่า
การสั่นสะเทือน (Vibration)
ใช้มือวางราบพร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ในจังหวะการหายใจเข้าเต็มที่และกำลังหายใจออก
การไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough)
ไซนัสอักเสบ(Sinusitis) เป็นอาการอกัเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
ระยะของโรค
Acute sinusitis ระยะของโรคไม่เกิน 12 สัปดาห์
Chronic sinusitis อาการจะต่อเนื่องเกิน 12 สัปดาห์
อาการ
มีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูกไหล ไอ ในรายที่ติดเชื้อแบคทีเรีย อาการมักจะนานมากกว่า 10 วัน และมีอาการ รุนแรง โดยมีน้ำมูกใสหรือข้นเขียวเป็นหนอง ร่วมกับอาการไอ ลม หายใจมีกลิ่นเหม็นปวดบริเวณหน้าผาก และหัวคิ้วมาก อาการ Acute จะรุนแรงกว่า Chronic
การดูแลรักษา
เพื่อลดอาการจาม น้ำมูกไหล และเยื่อบุจมูกบวม ไม่แนะนำให้ใช้ ในผู้ป่วยเฉียบพลันเพราะจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
ให้ยาแก้แพ้ ให้ใช้เฉพาะในรายที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุชักนำมาจากโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เท่านั้น
ให้ยาแก้ปวด ลดไข้ เพื่อลดไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะ
ให้ยาSteroid เพื่อลดอาการบวม ลดการคั่งของเลือดที่จมูก ทำให้รูเปิดของโพรงไซนัสสามารถระบายสารคัดหลั่งได้ดีขึ้น
ให้ยา antibiotic ตามแผนการรักษา
หอบหืด Asthma
เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม (Chronic airway inflammation)
การอักเสบของหลอดลม มีปฏิกริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้มากกว่าปกติ Bronchial hyper-reactivity ทำให้เกิดพยาธิสภาพ
ทำให้หลอดลมตีบแคบลง (Stenosis) เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น
สร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก (Hypersecretion) ทำให้ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลง
ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว(Brochospasm)
อาการ
ผู้ป่วยเด็กบางคนจะมีอาการไออย่างเดียวและมักจะมีอาการอาเจียนร่วม ด้วย อาการไอจะดีขึ้นหลังจากที่เด็กได้อาเจียนเอาเสมหะเหนียวๆออกมา
มักเริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆก็มักจะมีเสียง Wheezing ในช่วงหายใจออก
ความรุนแรงของหอบหืด
ขั้นปานกลาง - ตื่นกลางคืนบ่อยๆ วิ่งเล่นซนไม่ค่อยได้ขณะเล่นมัก ไอ หรือมีเสียง Wheezing ไปด้วย
ขั้นรุนแรง - กระสับกระส่ายจนนอนไม่ได้ เล่นซนไม่ได้ เหนื่อย หอบจนพูดหรือกินอาหารไม่ได้ หรือรอบริมฝีปากเป็นสีเขียว
ขั้นเล็กน้อย - เริ่มไอ และ/หรือ มีเสียงวี้ด แต่ยังเล่นซนได้ตามปกติ และทานอาหารไดต้ามปกติ การนอนยังปกติ
การรักษา
การลดอาการของเด็กให้เด็กมีกิจกรรมได้ตามปกติ พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้นและการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ยา
ยาขยายหลอดลม ( Relievers ) มีทั้งชนิดพ่น และ ชนิดรับประทาน
ยาชนิดพ่นจะให้ผลได้เร็ว บางรายอาจได้รับยาพ่นกลุ่ม Corticosteroids ได้แก่ Flixotide Evohaler (Fluticasone propionate 250 microgram) Serotide ต้องดูแลให้บ้วนปากหลังพ่นยาทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อราในปาก
ยาลดการบวม และการอกัเสบของหลอดลม (Steroid ) ควรใช้เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วัน เพื่อการรักษาและป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ควันบุหรี่
ตัวไรฝุ่น ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน ไม่ใช้พรมในห้องนอน ควรเช็ดฝุ่นทุกวัน
ใช้ที่นอนจากใยสังเคราะห์หรือฟองน้ำ
ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
การออกกำลังกาย
อากาศเย็น
การใช้ baby haler
Baby haler ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกครั้งหลังล้างทำความสะอาดต้องสอนผู้ป่วยให้พ่นยาทิ้ง 1 ครั้งเพื่อให้ยาจับผนังของ Spacer ก่อนเพื่อให้การพ่นครั้งต่อๆไปยาก็จะเข้าผู้ป่วย
หลอดลมอักเสบ( Bronchitis) หลอดลมฝอยอักเสบ(Bronchiolitis)
อาการ
เริ่มจากไข้หวัดเพียงเล็กน้อย มีน้ามูกใส จาม เบื่ออาหาร ต่อมาเริ่มไอเป็นชุดๆ ร้องกวน หายใจเร็ว หอบ หายใจมีปีกจมูกบาน ดูดนมหรือน้ำได้น้อยหรือไม่ได้เลย
การรักษา
ตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ (Corticosteroid ) ยาขยายหลอดลม
การดูแลให้เด็กได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอได้รับน้ำ ดูแลไข้ ดูแลปัญหาการติดเชื้อ ดูแลเสริมสร้างภูมิต้านทานให้อาหารที่มี ประโยชน์
กลไกการเกิด
เชื้อไวรัสทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอยทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะ เกิด การอุดกั้นของหลอดลมฝอย ผลที่ตามมาคือ เกิด Atelectasis
ปอดบวม Pneumonia
อาการ ไข้ ไอ หอบ ดูดน้ำ ดูดนมน้อยลง ซึม
การรักษา
ดูแลเรื่องไข้ Clear airway suction เพื่อให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแล แก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ยาฆ่าเชื้อ
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้เสมหะอ่อนตัวขับออกได้ง่าย ช่วยลดไข้
สาเหตุ สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส
การพยาบาล
เด็กโตต้องสอนการไออย่างถูกวิธี กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
ในรายที่สมหะอยู่ลึกให้ Postural drainage โดยการเคาะปอด และ Suction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ (Atelectasis)
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง หรือนอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อให้ปอดข้างที่ดีขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
การพ่นยาในเด็ก
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไอขับเสมหะได้ง่ายขึ้น
ให้ความชุ่มชื้นแก่อากาศหรือก๊าซที่หายใจเข้า
ง่ายต่อการระบายออกจากปอด
เป็นหนทางในการบริหารยาทางระบบหายใจ
ทำให้เสมหะที่เหนียวอ่อนตัวลง
การให้ออกซิเจน
Nasal cannula
ให้ออกซิเจนที่ต้องการความเข้มข้นไม่สูงมากในเด็กเล็ก จะปรับอัตราการไหลไม่เกิน 2 lit/mim ส่วนในเด็กโตจะปรับที่ 2 lit/mim
Oxygen hood/Box
ความเข้มข้นของออกซิเจนประมาณ 30%-70% ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของ Hood/Box ควรเปิดออกซิเจนอย่างน้อย 7 lit/min เพื่อป้องกันการคั่งของกาซคาร์บอนไดออกไซด์
face mask
หน้ากากครอบบริเวณจมูกและปาก มีสายรัดศีรษะ เพื่อให้หน้ากากยึดและแนบสนิทกับใบหน้า
หลักการให้คำแนะนำในการดูแลเด็ก
การดูแลเด็กที่มีปัญหาพร่องออกซิเจน หลักสำคัญ คือต้องแก้ไขเส้นทางผ่านของออกซิเจนเพื่อให้ออกซิเจนลงไปถึงจุดที่มีการแลกเปลี่ยนกาซให้ได้
นางสาว เนหา สุกูล รุ่น 36/1 เลขที่61 612001062
อ้างอิง
กัลยา ศรีมหันต์.
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ.