Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปรับตัวผิดปกติ ( Adjustment Disorder) - Coggle Diagram
การปรับตัวผิดปกติ ( Adjustment Disorder)
ความหมาย เป็นโรคทางจิตเวชเนื่องจากการปรับตัว ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจที่เกิดมาจากสภาพการณ์ทางสังคม ได้แก่ ปัญหาการเจ็บป่วยหรือพิการ ปัญหาความรักและชีวิตสมรส การหย่าร้างปัญหาครอบครัวกับคนในครอบครัว งานบ้าน ปัญหาการงานอาชีพ เศรษฐกิจ เกษียณอายุ ปัญหาการเรียน และปัญหาทางด้านกฎหมาย เป็นต้น
สาเหตุ
ความสามารถเฉพาะตัว
อุปนิสัย
ประสบการณ์ของชีวิต
วิธีแก้ปัญหา
ลักษณะอาการทางคลินิก
Adjustment disorder with disturbance of conduct อาการเด่นได้แก่ มีประพฤติที่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ละเมิดต่อผู้ใหญ่ หรือละเมิดต่อกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
Adjustment disorder with mixed disturbance of emotions and conduct อาการที่เด่นเป็นอาการต่างๆทางอารมณ์ เช่น อารมณ์เศร้า วิตกกังวล และความแปรปรวนของความประพฤติ
Adjustment disorder with depressed mood อาการที่เด่นเป็น อารมณ์เศร้า เสียใจ และรู้สึกสิ้นหวัง
Adjustment disorder unspecified คือ ความผิดปกติต่างๆซึ่งเป็นปฏิกิริยาในการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมต่อ psychosocial stressors ซึ่งมิได้จัดระบบไว้เป็น adjustment disorder อย่างเฉพาะเจาะจง
Adjustment disorder with anxiety อาการเด่นคือ วิตกกังวลหงุดหงิด ตึงเครียด และตื่นเต้น
Adjustment disorder with mixed anxiety and depress mood
อาการเด่นเป็นอาการร่วมกันของอารมณ์เศร้าและอาการวิตกกังวล
อาการและอาการแสดง
มีอาการทางอารมณ์หรือพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์หนึ่ง หรือมากกว่าแล้วทำให้เกิดความเครียดภายใน 3 เดือนหลังจากเริ่มต้นเหตุการณ์
อาการทางอารมณ์หรือพฤติกรรมนั้นมีความสำคัญทางการแพทย์ โดยมีข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
รู้สึกทุกข์ทรมานอย่างมากเกินกว่าที่ควรจะเกิดขึึ้นจากเหตุการณ์นั้นๆ
กิจกรรมทางด้านสังคม การงาน หรือการศึกษา บกพร่องลงอย่างชัดเจน
อาการไม่ใช่ปฏิกิริยาจากการสูญเสียทั่วไป
เมื่อเหตุการณ์สิ้นสุดลง อาการจะคงอยู่ต่อไปอีก ไม่นานกว่า 6 เดือน ถ้าอาการความผิดปกติคงอยู่นานกว่า 6 เดือน เป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์เครียดเรื้อรัง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิตกกังวล เนื่องจากความขัดแย้งในจิตใจ
การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง เนื่องจากความวิตกกังวล
เสี่ยงต่อภาวะเครียด เนื่องจากเผชิญกับสถานการณ์คุกคาม
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการใช้กลไกความเจ็บในการแก้ปัญหา
เสี่ยงต่อการดูแลสุขภาพไม่ถูกต้อง เนื่องจาก การรับรู้การเจ็บป่วยของตนเองไม่ถูกต้อง
การปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินบุคลิกภาพทั้งหมดของผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยเข้าใจและสามารถระบายปัญหาภาวะความกดดันทางจิตใจออกมาได้
หากพบความผิดปกติทางจิตเวชอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นให้ทำการรักษา
ให้คำแนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
ประเมินระดับความรุนแรงและระยะเวลาความผิดปกติที่เกิดขึ้น
ส่งเสริมให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญต่อภาวะความกดดันนั้นได้
หาสาเหตุของภาวะความกดดันให้ชัดเจน เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการตอบสนองของผู้ป่วย
เทคนิคการผ่อนคลายตนเอง
ฝึกสมาธิ สติ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกลมหายใจ (breathing exercise)
ออกกำลังกายสม่ำเสมอแบบแอโรบิค ได้แก่ เดินหรือวิ่ง จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค วันละ 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
กีฬาแบบที่เล่นร่วมกับผู้อื่น กีฬาที่ได้ระบายอารมณ์ แต่มีกติกาปลอดภัย
นวดกล้ามเนื้อ โดยผู้นวดที่ได้รับการฝึกอย่างดีการนวดจะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่มีการหดเกร็งปวด ให้คลายออก และความเครียดจะลดลง
การฝึกประสาทอัตโนมัติ โดยการแช่ในน้ำเย็นจัดสลับกับการอบไอน้ำอุ่น อย่างละ 10-20 นาที เพื่อให้ประสาทอัตโนมัติเกิดการเปลี่ยนแปลงตามอย่างรวดเร็ว วิธีนี้ควรทำเมื่อร่างกายแข็งแรง
สร้างจินตนาการที่ทำให้ใจสงบ ผ่อนคลาย เช่น สถานที่ที่เคยไปพักผ่อน ชายทะเล ภูเขา
การฟังเพลง/ดนตรี ที่ผ่อนคลาย ดนตรีต้องมีลักษณะนุ่มนวล จังหวะช้าๆไม่เกิน 60 ครั้งต่อนาที ไม่ควรมีเนื้อร้อง เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำตก เสียงคลื่น
กิจกรรมศิลปะ งานประดิษฐ์ ศิลปะ แกะสลัก เครื่องปั้นดินเผา กวี
กิจกรรมสนุก เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ รายการตลก
กลุ่มช่วยเหลือกันเอง มีโอกาสระบายความทุกข์ใจ และช่วยเหลือกันเอง มีความรู้สึกมีเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข และให้กำลังใจและคำแนะนำแก่กัน