Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กโรคมะเร็งระยะสุดท้ายของชีวิต, นายอิบรอฮิมสิเดะ เลขที่88 -…
การดูแลเด็กโรคมะเร็งระยะสุดท้ายของชีวิต
ข้อควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย
ความรักของพ่อแม่และคนรอบข้างมีพลังยิ่งใหญ่เติมพลังใจให้เด็กมีความสุขที่สุด
ความรัก ความอ่อนโยน ความเมตตากรุณา
ซื่อสัตย์ อดทน จริงใจ พูดคุยด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายให้ข้อมูลเมื่อเด็กพร้อมตามความต้องการของเด็กที่อยากรับรู้
ให้ข้อมูลซ้ำเมื่อเด็กต้องการ
ตรวจสอบว่าเด็กเข้าใจสิ่งที่เราพูดและบอก
เป็นผู้รับฟังที่ดี
พร้อมที่จะตอบคำถามง่ายๆ และอย่าแปลกใจถ้าเด็กถามคำถามที่ยาก
ไม่ควรห้ามเด็กไม่ให้ถาม และอย่าเปลี่ยนเรื่องเมื่อเด็กต้องการถาม
ช่วยให้เด็กหาหนทางที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองออกมา เช่น การวาดรูป การเขียนบันทึก ฯลฯ
อาจหาช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ในการพูดคุยอย่างระมัดระวัง และทำความเข้าใจ หาโอกาสที่จะบอก
ให้ความรักแก่เด็กอย่างต่อเนื่อง ให้ความมั่นใจและส่งเสริมกำลังใจแก่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปี
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบองค์รวม
การดูแลด้านทางกาย
1.การบำบัดความปวด (pain management) ความปวดเป็นสิ่งที่รอไม่ได้ บั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็ก
2.การบำบัดภาวะเหนื่อยหอบ (respiratory management) อาการเหนื่อยหอบ หากเกิดจากการติดเชื้อ
2.1 การให้ออกซิเจนที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่เด็ก
2.2 ให้เลือดเมื่อซีด
3.การรักษาภาวะไข้และการติดเชื้อ ในผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย
4.ควรให้อาหารเท่าที่เด็กรับได้และต้องการ ไม่บังคับ ซึ่งทีมการดูแลรักษาควรมีความรู้ความเข้าใจ
การกู้ชีวิต (CPR) เมื่อมีเหตุทำให้หัวใจหยุดเต้น หรือผู้ป่วยเด็กหยุดหายใจ ควรทำความต้องการของเด็กและครอบครัวที่ให้ไว้ล่าสุด
การดูแลด้านจิตสังคม
1.พยาบาลหรือทีมผู้รับผิดชอบดูแลควรประเมินความเข้าใจของพ่อแม่หรือผู้ดูแล หรือเด็ก(โต)เกี่ยวกับเรื่องโรค การดำเนินโรค วิธีการรักษาแบบประคับประคอง
2.ช่วยให้ระยะเวลาที่เหลือมีความหมายกับเด็กและครอบครัวมากที่สุด ทำในสิ่งที่อยากทำ และก้าวล่วงสู่ภาวะใกล้ตายและความตายได้อย่างสงบ
3.ประเมินปัญหาสังคมและเศรษฐานะ เด็กระยะสุดท้ายโดยเฉพาะเด็กเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง ใช้เวลารักษานาน หรือเมื่อโรคกลับมาระหว่างการรักษา ต้องเริ่มต้นรักษาใหม่
4.ประเมินความต้องการของเด็กและครอบครัวเมื่อเข้ามารักษาในโรงพยาบาล เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมต่างๆ การเข้ากลุ่ม support group, self-help group, play activities การใช้ศิลปะบำบัดวาดภาพระบายสี การฟังเพลง
การติดตามเยี่ยมบ้าน (home visit) เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยเด็กและครอบครัวขณะอยู่ที่บ้าน มองเห็นบริบทโดยภาพรวมของครอบครัว และนำมาวางแผนดูแลต่อเนื่องได้อย่างเหมาะสม
การดูแลด้านจิตวิญญาณ
ระลึกถึงความหลัง อโหสิกรรม ระลึกถึงสิ่งดีงาม คำสอนทางศาสนา ปล่อยวาง เกิดจิตเป็นกุศล
การรับรู้ความตายในเด็กแต่ละช่วงอายุ
แรกเกิด -1ปี
ไม่มีการรับรู้เกี่ยวกับความตาย
1 – 3 ปี
คิดว่าคนที่ตายแล้วจะกลับมาได้อีก เหมือนคนนอนหลับ
3– 6 ปี
การตายคือการแยกจาก แต่ยังไม่เข้าใจถึงการแยกจากแบบถาวร
คือ การไม่เคลื่อนไหว และมักเกิดกับคนสูงอายุ คนที่ขึ้นสวรรค์
6 – 12 ปี
ความตายเป็นการแยกจากกันอย่างถาวร ไม่เกิดกับทุกคน โดยเฉพาะกับตัวเขา และเป็นผลจากการกระทาของคน เช่น โรคภัยไข้เจ็บหรืออุบัติเหตุ กลัวในสิ่งที่จินตนาการไว้มากกว่าที่เป็นจริง
วัยรุ่น
การตายเป็นการจากกันอย่างถาวรและหลีกเหลี่ยงไม่ได้ และเป็นจุดจบของชีวิตแต่เด็กคิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่เขาจะตาย
นายอิบรอฮิมสิเดะ เลขที่88