Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทละครเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง, 790AA2A2-52B7-47D3-B0A8…
บทละครเรื่องอิเหนา ตอน
ศึกกะหมังกุหนิง
ผู้แต่ง
♥︎ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
จุดประสงค์ในการแต่ง
♥︎ เพื่อเป็นบทละครรำ
ลักษณะคำประพันธ์
♥︎ กลอนบทละคร
ความเป็นมา
♥︎ บทละครเรื่องอิเหนามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เค้าโครงเรื่องมาจากนิยายของชวาจึงเรียกกันว่านิยายบันหยี มีเนื้อความว่า พระโอรสแห่งกรุงกุเรปันหมั้นกับธิดาท้าวดาหา แต่ไปหลงรักหญิงอื่นจนเกิดเรื่องยุ่งยาก ต้องปลอมพระองค์เร่ร่อนเที่ยงตีเมืองน้อยใหญ่ไปทั่วแดนชวา ทำให้อาณาจักรแผ่ขยายกว้างขวาง ในที่สุดตัวละครสำคัญก็ได้พบกันและกลับคืนบ้านเมืองอย่างเป็นสุข
ความสุนทรียของงานประพันธ์
♥︎ เพราะเป็นวรรณคดีที่ดีพร้อมทั้งเนื้อความและกระบวนกลอน
ตัวละครสำคัญ
ท้าวกะหมังกุหนิง
อิเหนา
จินตะหรา
ท้าวดาหา
วิเคราะห์บทประพันธ์
♡︎คุณค่าด้านวรรณศิลป์♡︎
ที่เด่นชัดในตอนนี้ได้แก่การใช้ภาพพจน์แบบต่างๆ ตัวอย่างภาพพจน์อุปมา เช่น พี่ดังพฤกษาพนาวัน จะอาสัญเพราะลูกดังกล่าวมา และ ให้อาดูรเดือดใจดังไฟฟ้า
♡︎คุณค่าด้านเนื้อหา♡︎
บทละครเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีบทบรรยายที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำศึกสงครามในสมัยก่อนอย่างละเอียดหลายขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มเตรียมกระบวนทัพ การเกณฑ์ทหาร การยกทัพ การตั้งค่าย การสอดแนม การตีเมืองหน้าด่าน เมืองรายทาง การตั้งค่ายตามตำราพิชัยสงคราม ยุทธวิธีในการตั้งรับ และการประจัญบาน จนถึงการต่อสู้กันตัวต่อตัวระหว่างนายทัพของแต่ละฝ่าย แม้เนื้อเรื่องจะกำเนินไปเป็นเรื่องของเมืองต่างๆในชวา แต่แท้จริงแล้วรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการทัพ การศึกสงครามล้วนเป็นประสบการณ์ตรงของผู้ทรงพระราชนิพนธ์
♡︎คุณค่าด้านสังคม♡︎
ทรงรอบรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับการสงครามในช่วงเวลาต้นรัตนโกสินทร์ การอ่านพระราชนิพนธ์อิเหนาตอนนี้ จะทำให้ผู้อ่านได้ความรู้เรื่องการศึกสงครามสมัยก่อนเป็นอย่างดี เพราะแต่ละตอนจะเล่าอย่างกระชับรวดรัดตามลักษณะของกลอนบทละครแต่ชัดเจน เป็นต้นว่า เมื่อการสู้รบสิ้นสุดลงฝ่ายแพ้ก็ขอยอมแพ้เป็นเมืองขึ้น ดังเช่นสองระตูผู้เป็นอนุชาของท้าวกะหมังกุหนิงกราบทูลอิเหนา
จารุภัค วงษ์พานิช ม.4/7. เลขที่ 12