Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, นางสาวรติมา มณีคำ เลขที่ 17 รุ่น…
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินหายใจในเด็ก
อัตราการหายใจในเด็ก
2-12 เดือน ไม่เกิน 50 ครั้ง/นาที
1-5 ปี ไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที
ต่ำกว่า 2 เดือน ไม่เกิน 60 ครั้ง/นาที
O₂ saturation มากกว่า :red_flag:
ศัพท์ที่ต้องรู้
tachypnea = อัตราการหายใจเร็วกว่าปกติ
หายใจ
ช้ากว่าปกติ =bradypnea
หายใจลำบาก =dypnea
มีอาการ nasal flaring (การหายใจมีปีกจมูกบาน)
มีอาการ retraction (ขณะหายใจเข้ามีการยุบลง)
stridor = หายใจมีเสียงดังคล้ายเสียงคราง
เสียงหายใจผิดปกติ
เสียงหายใจที่ผิดปกติแสดงว่าผู้่วยได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
ได้แก่
crepitation sound
เสียงแตกกระจายเป็นช่วงๆ
เกิดจากการที่ลมผ่านท่อทางเดินหายใจที่มีน้ำหรือเสมหะ
rhonchi sound
เสียงเกิดจากการไหลวนของอากาศผ่านเข้าไปในส่วนของทางเดินหายใจที่ ตีบแคบกว่าปกติ
การตีบแคบอาจเกิดจากเสมหะอุดตัน เยื่อบุทางเดินหายใจบวม หลอดลมบีบเกร็งจากภาวะภูมิแพ้
wheezing
เสียงที่มีความถี่สูงหรือเสียงหวีด
ได้ยินชัดในช่วงหายใจออก
เกิดจากหลอดลมเล็ก ๆ หรือ หลอดลมฝอย เกิดการบีบเกร็ง
stridor sound
เกิดจากการตีบแคบของบริเวณกล่องเสียงหรือหลอดลมจะได้ยินตอนหายใจเข้า-ออก
ลักษณะคล้ายเสียงคราง
กลไกการสร้างเสมหะ
กลไกในการขจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ
ได้แก่
การพัดโบกของขน Cilia
กลไกการไอ Cough Reflex
กระบวนการสร้างสารมูก Mucous
เมื่อติดเชื้อ
มีการทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดลมและทำลาย Cilia เพิ่มมากขึ้น
จำนวน Cilia ก็จะลดน้อยลงจะทำให้เสมหะมากและเหนียวข้นจะไม่ถูกพัดออกจากทางเดินหายใจ
mucus gland จะสร้างสารคัดหลั่งมากขึ้นทำให้เสมหะมากขึ้น
ทำให้เกิดการค้างของเสมหะในหลอดลมเพิ่มมากขึ้น
อากาศเย็นการพัดโพกของ cilia ก็ไม่ดี
การไออย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยป้องกันไม่ให้มีการคั่งค้างของเสมหะในหลอดลม
การเพิ่มน้ำในผู้ป่วยที่มีเสมหะ
ทำให้ Cilia พัดโบกได้ดีขึ้น
การให้น้ำขึ้นอยู่กับการประเมินจากสีของปัสสาวะถ้าขาดน้ำ ปัสสาวะจะเข้ม และการขาดน้ำผู้ป่วยจะมีอาการปากแห้ง
จะช่วยให้ความชุ่มชื้นต่อทางเดินหายใจ ทำให้เสมหะเหนียวน้อยลงขับออกได้ดี
ลักษณะของเสมหะ
เสมหะเหนียว
ไอออกมาได้ยาก
ผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียวควรจะต้องมีการประเมินต่อไปว่าผู้ป่วยได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอหรือไม่
คล้ายแป้งเปียก มีความยืดและความหนืดมาก
เสมหะไม่เหนียว
ไอขับออกมาได้ง่าย
เป็นเมือกเหลวมีความยืดและความหนืดน้อย
ปัญหาทางเดินหายใจในเด็กที่พบบ่อย
Croup
กลุ่มอาการอุดกลั้นทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณlarynxและส่วนที่อยู่ใต้ลงมา
สาเหตุ
มีการอักเสบที่บริเวณ
กล่องเสียง→ acute laryngitis
กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลม ฝอยในปอด→Laryngotracheobronchitis
ฝาปิดกล่องเสียง→acute epiglottitis
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ
virus
Bacteria
S.pneumoniae gr.A Streptococus
H.influenzae
ปัญหาสำคัญ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากมีการอุดกลั้นทางเดินหายใจ
การฟังเสียงหายใจก็จะทำให้รู้ได้ว่าผู้ป่วยเด็กรายนี้อาจเป็นCroup
อาการ
น้ำลายไหล (drooling)
อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ไข ้เจ็บคอ หายใจDyspnea
ไม่ตอบสนองต่อการพ่นยาทั่วไป
ไอเสียงก้อง Barking cough
ส่วนใหญ่จะพ่น Adrenaline ต้องใส่ Endotracheal tube
inspiratory stridor
Tonsilitis / Pharyngitis
สาเหตุ
ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส
Beta Hemolytic
streptococcus gr. A
อาการ
ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ
ตุ่มใสหรือแผลตื้นที่ คอหอย หรือเพดานปาก
เกิดจาก Coxsackie Virus เรียกว่า Herpangina
ให้กิน ยา Antibiotic ใหค้รบ 10 วัน
เพื่อป้องกัน
ไข้รูห์มาติค และ หัวใจรูห์มาติค
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน AGN
tonsillectomy
มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้นอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ในรายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิล
มีไข้, เจ็บคอ, เจ็บคอมากเวลากลืนหรือกลืนลำบาก รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ต้องหยุดเรียนบ่อยๆ
ทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ในเรื่องของการติดเชื้อเรื้อรัง เป็นๆหายๆ
การดูแลหลังผ่าตัด Tonsillectomy
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะระยะแรกหลังผ่าตัด ถ้าชีพจร 120 ครั้ง/นาที เป็นเวลาอย่างต่อเนื่องประกอบกับเด็กเงียบ ซีด
มีการกลืนติดต่อกันเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีเลือดออก
เมื่อเด็กรู้ตัวดี
ให้อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ
ใช้กระเป๋าน้ำแข็งวางรอบคอ ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด
ให้เด็กอยู่ในท่านั่ง 1-2 ชั่วโมง
ให้เด็กนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสะดวกต่อการ ระบายเสมหะ น้ำลายหรือโลหิตอาจมีคั่งอยู่ในปากและในคอ จนกว่าจะรู้สึกตัวดี
หลังผ่าตัด
ส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมง หากรับประทานน้ำและอาหารได้เพียงพอ และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ผู้ป่วยอาจจะมีไข้ บวม หรือรู้สึกตึงๆ คล้ายมีสิ่งแปลกปลอมบริเวณ คอ หรือมีเสียงเปลี่ยนได้ และจะหายเองใน 1 สัปดาห์
1-2 วันแรก ผนงัในคออาจบวมมากขึ้นได้ ทำให้หายใจอึดอัดไม่สะดวกจึงควรนอนศีรษะสูง โดยใช้ หมอนหนุน อมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆ
หลีกเลี่ยงการแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป ถ้ามีเลือดออกจากช่องปากควรนอนพัก ยกศีรษะสูง อมน้ำแข็งในปาก ประคบบริเวณหน้าผากหรือ คอด้วย cold pack เพื่อให้เลือดหยุด
การอมน้ำแข็งและการประคบเย็นควรทำ 10 นาทีแล้วพัก10นาที แล้วทำใหม่แบบนี้ไปเรื่อยๆ
Sinusitis
เป็นอาการอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา
เมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุในโพรงอากาศ และทำให้เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้างจมูกทำให้เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง
ส่งผลทำให้ความดันโพรงอากาศเป็นลบ เมื่อมีอาการจาม สูดหรือสั่งน้ำมูก
ผลของการติดเชื้อทำให้การทำงานcilia ผิดปกติร่วมกับมีสารคัดหลั่งออกมามาก และมีความหนืดมากขึ้น
ระยะของโรค
Acute sinusitis
ระยะของโรคไม่เกิน 12 week
ถ้าเป็นจะเป็นหนักกว่าเรื้อรัง
Chronic sinusitis
อาการจะต่อเนื่องเกิน 12 week
อาการ
มีไข้สูงมากกว่า 39 ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูกไหล ไอ
อาการมักจะนานมากกว่า 10 วัน
ถ้ารุนแรงจะมีน้ำมูกใสหรือข้นเขียวเป็นหนอง ร่วมกับอาการไอ ลม หายใจมีกลิ่นเหม็นปวดบริเวณหน้าผาก และหัวคิ้วมาก
การวินิจฉัย
การส่องไฟผ่าน (Transilumination)
ไซนัสที่มีการอักเสบจะมีลักษณะมัว
CT scan
ได้ผลดีกว่าวิธีอื่น
X-ray paranasal sinus
ควรทำในเด็กที่อายุเกิน 6 ปี เพราะถ้าทำในเด็กอายุน้อย ไซนัสยังบางอยู่อาจทำให้การแปลผลผิดพลาด
การดูแลรักษา
ให้ยาแก้แพ้ ให้ใช้เฉพาะในรายที่ไซนัสอักเสบเรื้อรังที่มีสาเหตุชักนำมาจากโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เท่านั้น
เพื่อลดอาการจาม น้ำมูกไหล และเยื่อบุจมูกบวม :red_cross:ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยAcute เพราะจะทำให้จมูกและไซนัสแห้ง
ให้ยาแก้ปวด ลดไข้
ให้ยาSteroid เพื่อลดอาการบวม ลดการคั่งของเลือดที่จมูก
ให้ยา antibiotic
การล้างจมูก
เพื่อทำความสะอาดโพรงจมูก ช่วยชะล้างมูก คราบมูก หรือ หนองบริเวณโพรงจมูก/ไซนัส
ล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูก จะทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ล้างจมูกวนัละ 2-3 ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% NSS เพื่อลดความเหนียวของน้ำมูกและทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
Asthma
เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม(Chronic airway inflammation)
Bronchial hyper-reactivity มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น
ทำให้เกิดพยาธิสภาพ 3 อย่าง
ทำให้หลอดลมตีบแคบลงเยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น
สร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก→ช่องทางเดินอากาศในหลอดลมแคบลง→อาการหอบหืดขึ้น
ทำให้หลอดลมหดเกร็งตัว
เมื่อพยาธิทั้ง 3 อย่างนี้เกิดขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยหายใจหอบเหนื่อย
การดูแลจึงต้องให้ผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดลม ได้รับออกซิเจนให้พักเพื่อลด activity
ได้ยาลดอาการบวม
Dexa ซึ่งเป็นยา Steroid
เด็กที่เป็น Asthma ที่กำลังหอบจะไม่เคาะปอดเพราะจะทำให้หลอดลมเกิดการหดเกร็งมากขึ้น
่อาย ุ1 - 2 ปี โรคหอบหืดมักเกิดตามหลังอาการ การติดเชื้อไวรัส
เด็กวัยเรียน หอบหืดมักจะเกิดจากการ มีประวัติภูมิแพ้
อาการ
บางครั้งการเกร็งตัวของหลอดลมเกิดขึ้นไม่มากนัก ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มากแต่ก็เป็นอยู่เรื่อยๆ
อาจมีอาการไออย่างเดียว และมักจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย อาการไอจะดีขึ้นหลังจากที่ได้อาเจียนเอาเสมหะเหนียวๆออกมา
เริ่มต้นด้วยอาการ หวัด ไอ มีเสมหะ ถ้าไอมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักจะมี เสียง Wheezing ในช่วงหายใจออก
ความรุนแรง
ขั้นปานกลาง
ตื่นกลางคืนบ่อยๆ เริ่มวิ่งซนไม่ได้ ขณะเล่นมัก ไอ หรือมีเสียง Wheezing ไปด้วย
ขั้นรุนแรง
กระสับกระส่าย จนนอนไม่ได้ เล่นซนไม่ได้ หอบจนพูดหรือกินอะไรไม่ได้หรือรอบริมฝีปากเป็นสีเขียว กรณีอย่างนี้ต้องส่งโรงพยาบาล
ขั้นเล็กน้อย
เริ่มไอหรือ มีเสียงวี้ด เล่น กิน นอนยังปกติ
การรักษา
ลดอาการของเด็กและพยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งกระตุ้น
ยาขยายหลอดลม ( Relievers )
ชนิดพ่น
ให้ผลได้เร็ว ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น เพราะจะไปขยายกล้ามเนื้อเล็กๆ
เช่น ventolin บางรายอาจได้รับยาพ่นกลุ่ม Corticosteroids (Flixotide Evohaler) ต้องแนะนำให้บ้วนปากหลังพ่นยาทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อราในปาก
baby haler
ต้องล้างทำความสะอาดบ่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกครั้ง หลังใช้ล้างด้วยน้ำยาล้างจานตากให้แห้ง
ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดถู เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตที่ผนังของ Spacer เดี๋ยวยาจะไปติดที่ Spacer และจะได้ยาไม่ครบ
หลังล้างทำความสะอาด ต้องสอนผู้ป่วยว่าให้พ่นยาทิ้งก่อน 1 ครั้ง เพื่อให้ยาจับผนังของ Spacer ก่อนเพื่อให้การพ่นครั้งต่อๆไปยาก็จะเข้าผู้ป่วย
ชนิดกิน
ยาลดการบวมและการอักเสบ (Steroid )
ควรใช้เพียงระยะสั้นๆ คือ 3 - 5 วัน จะไม่มีผลข้างเคียงในเด็ก
เพื่อการรักษาและป้องกันไม่ให้โรครุนแรงขึ้น
เช่น Dexa , Hydrocortisone
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
หมอน ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ซักสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
ตุ๊กตาที่มีขน พรมในห้องนอนควรเช็ดฝุ่นทุกวัน
การออกกำลังกาย ถ้าควบคุมหอบได้ดีจะไม่มีปัญหา
ตัวไรฝุ่น
อากาศเย็น
ควันบุหรี่
Bronchitis/Bronchiolitis
เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอักเสบและอุดกลั้นของหลอดลม
เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด Respiratory syncytial virus : RSV
เด็กที่ไม่กินนมแม่จะพบได้ค่อนข้างสูงกว่าเด็กทั่วไป
พบในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต อายุประมาณ 6 เดือนจะพบบ่อยที่สุด
กลไกการเกิด
เชื้อไวรัสจะทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอย→เกิดอาการ อักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะ →เกิดการอุดกั้นของหลอดลมฝอย→ผลคือเกิด Atelectasis
อาการ
เริ่มจากไข้หวัดเพียงเล็กน้อย มีน้ำมูกใส จาม เบื่ออาหาร→ไอเป็น ชุดๆ ร้องกวน หายใจเร็ว หอบปีกจมูกบาน ดูดนมหรือน้ำได้น้อย
การรักษา
ดูตามอาการ ให้ยาลดไข ้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ (Corticosteroid )ยาขยายหลอดลม
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ได้รับน้ำ ดูแลไข้
ดูแลปัญหาการติดเชื้อ เสริมสร้างภูมิต้านทานให้อาหารที่มีประโยชน์
Pneumonia
สาเหตุ
สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส
อาการ
ไข้ ไอ หอบ ดูดน้ำ ดูดนมน้อยลง ซึม
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินว่าเป็นPneumonia
อายุ 2 เดือนถึง 1 ปี RR > 50 ครั้ง/นาที
อายุ1-5 ปี RR > 40 ครั้ง/นาที
แรกเกิด RR > 60 ครั้ง/นาที
การรักษา
ดูแลเรื่องไข ้Clear airway suction เพื่อให้การแลกเปลี่ยน ออกซิเจนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลแก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน ให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ยาฆ่าเชื้อ
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว ขับออกได้ง่าย ช่วยลดไข้
การพยาบาล
รายที่เสมหะอยู่ลึกให้เคาะปอดและsuction เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ
การทำ Postural drainage จะช่วยทำให้เสมหะที่อยู่ส่วนปลายถูก กระตุ้นให้เลื่อนขึ้นมาถึงปลายสายดูดเสมหะ ช่วยให้ดูดเสมหะอย่างมีประสิทธิภาพ
เด็กโตต้องสอนให้ไออย่างถูกวิธี กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ
จัดใหผู้ป่วยนอนศีรษะสูง หรือนอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อให้ปอดข้างที่ดีขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาที่สำคัญคือการอุดกั้นทางเดินหายใจต้องรีบดูแลแก้ไข
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
การระบายเสมหะ
องค์ประกอบ
เคาะ (Percussion)
ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ แต่ละท่าใช้เวลาประมาณ 1 นาที
ขณะเคาะหากผู้ป่วยไอควรหยุดเคาะ ให้ใช้การสั่นสะเทือนแทน
ใช้อุ้งมือทำเป็นถ้วยไม่ควรใช้ฝ่ามือ เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ได้รับการจัดท่า
ควรเคาะก่อนกินอาหาร หรือขณะท้องว่าง หรือหลังกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักและอาเจียน
สั่นสะเทือน (Vibration)
ใช้มือวางราบพร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน และหัวไหล่ในจังหวะการหายใจเข้าเต็มที่ และก าลังหายใจออก
จัดท่าผู้ป่วย (Postural drainage)
อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) เป็นหลัก
โดยจัดให้ส่วนของปอดที่ต้องการระบายอยู่เหนือกว่าหลอดลมและปาก
ถ้าเสมหะ
อยู่ส่วนหลัง Posterior ให้จัดนอนคว่ำ
อยู่ด้านซ้ายให้จัดท่านอนตะแคงขวา ถ้าอยู่ด้านขวาให้นอนตะแคงซ้าย
อยู่ส่วนหน้า Anterior ให้จัดท่านอนหงาย
อยู่ส่วนบนนอนหัวสูง อยู่ส่วนล่างนอนหัวต่ำ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough)
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ช้าๆ กลั้นไว้ สักครู่และไอออกมาโดยเร็วและแรง
การพ่นยาในเด็ก
ประโยชน์
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไอขับเสมหะได้ง่ายขึ้น
ให้ความชุ่มชื้นแก่อากาศหรือก๊าซที่หายใจเข้า
ง่ายต่อการระบายออกจากปอด
เป็นหนทางในการบริหารยาทางระบบหายใจ
ทำให้เสมหะที่เหนียวอ่อนตัวลง
Neubulizer
ข้อควรปฎิบัติ
เคาะกระเปาะพ่นยาเป็นเรื่อยๆเพื่อไม่ให้ยาตกค้างในกระเปาะมากเกินไป พ่นจนกว่ายาจะหมด ใช้เวลา 10 นาที
ถ้าไม่เห็นละอองยา หรือละอองยาออกไม่หนาแน่นเท่าที่ควรจะต้องสำรวจเครื่องพ่นยาทำงานหรือไม่ ช่วงรอยต่อหลุดหรือไม่
ใช้มือประคองกระเปาะพ่นยาไว้ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ ทำให้ขนาด particle สม่ำเสมอ
ออกซิเจนเปิด 6 – 8 ลิตร/นาที
ไม่ควรให้เด็กร้อง เพราะยาจะเข้าสู่ปอดน้อยลง
face mask
ครอบบริเวณจมูกและปาก มีสายรัดศีรษะเพื่อให้หน้ากากยึดและแนบสนิทกับใบหน้า
เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนในระดับปานกลาง ความเข้มข้นของ ออกซิเจนประมาณ 35%-50% flow rate 5-10 lit/min ไม่ควรให้น้อยกว่า 5 lit/min เพื่อ ป้องกันการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในmask ที่เกิดขึ้นในขณะที่ ผปู้่วยหายใจออก
Nasal cannula
ข้อดี คือ ประหยัด ยึดติดกับผู้ป่วยง่าย สามามารถให้ นม และอาหารกับผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องหยุดให้ออกซิเจน
แต่มีข้อจำกัดในผู้ป่วยที่มีน้ำมูกมาก เยื่อบุจมูกบวม หรือผนังจมูกเอียง
เป็นการให้ออกซิเจนที่ต้องการความเข้มข้นไม่สูงมาก เด็กเล็กจะปรับอัตราการไหลไม่เกิน 2 lit/mim ส่วนในเด็กโตจะปรับที่ 2 lit/mim ไม่ควรปรับสูงเกินไปเพราะจะทำให้เยื่อจมูกแห้ง และระคายเคืองได้
Oxygen hood/Box
มีลักษณะเป็นกล่องพลาสติก วางครอบศีรษะเด็ก เหมาะกับทารกแรก เกิดและเด็กเล็ก ความเข้มข้นของออกซิเจนประมาณ 30%-70% ทั้งนี้ ขึ้นกับขนาดของ Hood/Box ควรเปิดออกซิเจนอย่างน้อย 7 lit/min เพื่อป้องกันการคั่งของกาซคาร์บอนไดออกไซด์
ทารกที่ใช ้Hood เล็ก การเปิดออกซิเจนไม่จำเป็นต้องมาก สามารถเปิด 3-5 lit/min ไม่ควรลด flow rate ลงเหลือน้อยกว่า 3 lit/min เพื่อป้องกันการคั่งของกาซคาร์บอนไดออกไซด์
หลักการให้คำแนะนำในการดูแลเด็ก
ปัญหาพร่องออกซิเจน
แก้ไขเส้นทางผ่านของออกซิเจนเพื่อให้ออกซิเจนลงไปถึงจุดที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซให้ได้
บทบาท
ประเมินและร่วมกับแพทย์ในการแก้ไขส่วนผู้ป่วยและญาติจะช่วยในเรื่องที่เขาช่วยได้
เช่น สังเกตอาการ ดูแลเช็ดตัว เมื่อมีไข้ รักษาความสะอาด
การดูแล
อักเสบติดเชื้อก็ให้ยา ATB
ตีบก็ให้ยาขยาย
บวมก็ให้ยาลดบวม
ถ้ามีเสมหะ ก็เอาเสมหะออก
นางสาวรติมา มณีคำ เลขที่ 17 รุ่น 36/2 รหัสนักศึกษา 612001097