Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการช็อคและแมลงสัตว์กัดต่อย, นส นิลาวรรณ นันต๊ะ เลขที่29, istock…
กลุ่มอาการช็อคและแมลงสัตว์กัดต่อย
งูกัด (Snake bite)
Snake bite หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยถูกงูกัด จะเป็นงูที่มีพิษหรือไม่มีพิษก็ได้แต่โดยทั่วไปมักหมายถึง งูพิษกัด
งูมีพิษที่สำคัญในทางการแพทย์
Elapidae ได้แก่ งูจงอาง (King Cobra) งูเห่า(Cobra) และงูสามเหลี่ยม (Banded krait)
2.Vaperidae ได้แก่ งูแมวเซา(Russell’s Viper) งูกะปะ(Malayan pit viper) งูเขียวหางไหม้(Green pit viper)
3.Hydrophiidae ได้แก่ งูทะเล(Sea snake)
การตรวจร่างกาย ตำแหน่ง แผลที่ถูกกัด รอยเขี้ยว
งูมีพิษ
งูมีพิษลักษณะแผลมีรอยเขี้ยวเป็นจุด2จุด ที่รอยเขี้ยวจะมี เลือดซึมๆ รอบๆรอยเขี้ยวจะบวมมีสีเขียวคล้ำ ถา้ถูกกัดที่แขนหรือขาอาจบวมตลอดแขน หรือขาที่ถูกกัด
งูไม่มีพิษ
ลักษณะแผลเป็นรอยฟัน หรือเป็นรอยขีดหลายขีด หรือเป็นแผลถลอกหลายรอย ไม่เป็นจุด ไม่มีเลือดซึม และบริเวณแผลไม่มีสีเขียวคล้า
พิษของงู
พิษต่อระบบประสาท(Neurotoxin) เช่น พิษของงูเห่า งูจงอาง และงูสามเหลี่ยม ผู้ที่ได้รับพิษจะทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ทำให้หนังตาตกลืมตาไม่ขึ้น
พิษต่อระบบโลหิต (Hemotoxin) เช่น พิษของงูแมวเซา งูกะปะและงูเขียวหางไหม้ ทำให้เลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด ถ้าเลือดออกมาก ผู้ป่วยอาจช็อกได้ อาจเสียชีวิตจากการมีเลือดออกในสมอง
พิษต่อระบบกล้ามเนื้อ(Myotoxin) เช่น พิษของงูทะเล ทำอันตรายต่อเซลล์กล้ามเนื้อทำให้ มีอาการปวดกล้ามเนื้อมาก มีการตายของกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต
พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiotoxin) ได้แก่พิษงูเห่า งูจงอาง
การรักษาโดยทั่วไป
1.ลดปริมาณการดูดซึมพิษสู่ร่างกาย
2.ลดปริมาณแบคทีเรียที่ปนเปื้อนจากน้ำลายงูโดยทำความสะอาดฟอกผิวหนังบริเวณที่ถูกงูกัดให้สะอาดอย่างนุ่มนวลเบามือ
3.การให้เซรุ่มแก้พิษงูเมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าผู้นั้นถูกงูพิษกัด และเริ่มมีอาการแสดงว่า พิษงูได้เข้าสู่ร่างกายโดยใช้เซรุ่มแก้พิษงู ซึ่งฤทธิ์ต่อต้านต่อจำเพาะพิษงูที่กัด
4.การให้ยาปฏิชีวนะ ส่วนใหญ่นิยมให้แต่ไม่มีรายงานยืนยันแน่นอนวา่ได้ประโยชน์ชัดเจน
5.การให้สเตียรอยด์อาจได้ผลในกรณี ถูกงูซึ้งมีพิษทางกระแสโลหิตกัด และอาจช่วยได้ในกรณีต้องให้เซรุ่มเร่งด่วน
6.การรักษาบาดแผล และภาวะแทรกซ้อน เช่น บาดทะยัก การติดเชื้อ
7.การรักษาตามอาการ เช่น ปวดมากให้ยาแก้ปวด หายใจเองไม่ได้ ช่วยโดยการให้เครื่องช่วยหายใจ
คนกัด (Human bites)
แผลจากการโดนกัดมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง หรืออุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา, กิจกรรมในโรงเรียน หรือจากขณะมีเพศสัมพันธ์โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมดถูกกัดบริเวณมือ หรือนิ้ว 1ใน 4 โดนกัด บริเวณแขนขา และอีกส่วนหนึ่งคือบริเวณศีรษะและคอ
ประเภทของแผล
Clenched-fist injury
พบได้น้อยกว่าแต่อันตรายมากกว่า คือ กําปั้นต่อยไปโดนฟันของอีกฝ่ายด้วยแรงที่มากพอที่จะทําให้เกิดบาดแผล การประเมินแผลอาจเกิดข้อผิดพลาด เนื่องจากแผลมักจะเล็ก ดูเหมือนไม่เป็นอะไรมาก แต่แท้จริงแล้ว อาจเป็นแผลลึกถึงข้อ
Occlusive bite
จะหมายถึงถูกการกัดตามร่างกายด้วยแรงที่มากพอที่จะทําให้เกิดการแยกของผิวหนัง ความรุนแรงอาจจะไม่เท่า clenched-fist injury ถ้าถูกกัดบริเวณอื่นๆของร่างกาย โอกาสติดเชื้อแทบไม่แตกต่างจากบาดแผลฉีกขาดทั่วไป
การรักษา
แผลถูกกัดทะลุผิวหนังต้องได้รับการทำแผล อย่างถูกต้อง ล้างแผลผู้ป่วยได้ด้วยน้ำปราศจากเชื้อปริมาณมาก โดยให้ล้างแผล อย่างทั่วถึง ซอกซอน และนาน ด้วยสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาดแผล เช่น povidone iodine หลังจากนั้นให้ตรึง บริเวณแผลและยกบริเวณแผลขึ้นสูง
นอกจากนี้ สามารถให้ยาปฏิชีวนะ ชนิดรับประทานแก่ผู้ป่วยเบื้องต้น
ในกรณีที่ผู้ป่วยยังสามารถรับประทานยาได้ โดยควรได้รับยา amoxicillin-clavulanic acid หรือ doxycycline เป็นเวลา 5-7 วัน
สำหรับผู้ป่วยถูกกัดทุกรายที่แผลทะลุผิวหนังต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
แมงกะพรุนต่อย (Jellyfish strings)
ชนิดของแมงกะพรุน
แมงกะพรุนสาหร่าย สาโหร่ง (Sea wasp ,Chironex species) ทำอันตรายต่อผู้ที่สัมผัสได้ ทำให้ไหมเ้กรียม ปวดแสบตามกล้ามเนื้อ
แมงกะพรุนไฟ (Sea nettle ,Chrysaora species) เมื่อถูกตัวจะเกิดแผลพุพองแตกเป็นน้ำเหลือง
แมงกะพรุนกล่อง ไม่ใช่แมงกะพรุนที่พบได้บ่อยในประเทศไทย แต่มีพิษร้ายแรงทำให้เสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
อาการที่พบได้ทั่วไปเมื่อถูกแมงกระพรุนต่อย ได้แก่ ปวดแสบปวดร้อนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วง 1 ชั่วโมงแรก และคันตามผิวหนังหรือมีร่องรอยของหนวดแมงกะพรุนอยู่บนผิวหนังบริเวณที่ถูกต่อย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
1.นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ โดยให้อยู่นิ่ง ๆ เพื่อลดการกระจายของพิษแมงกระพรุน
2.ล้างแผลและนำหนวดแมงกะพรุนออก ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณที่ถูกแมงกะพรุนต่อยเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วินาที เพื่อป้องกันการกระจายของพิษ หากไม่มีน้ำส้มสายชูสามารถใช้น้ำอัดลมแทนได้ แต่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า
3.บรรเทาอาการ หากโดนแมงกะพรุนชนิดที่มีพิษไม่รุนแรงต่อย สามารถบรรเทาอาการปวดโดยการใช้น้ำแข็งประคบที่แผล รับประทานยาแก้ปวด รับประทานยาแก้แพ้
4.สังเกตอาการ หลังถูกแมงกะพรุนต่อย ควรเฝ้าดูอาการอย่างน้อย 45 นาที หากปวดที่บาดแผลอย่างรุนแรง ปวดศีรษะ หลัง หรือลำตัว กระสับกระส่าย สับสน เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบพบแพทย์ทันที
แมงกะพรุนต่อย คือการสัมผัสกับกระเปาะพิษที่อยู่ตามหนวดของแมงกะพรุน อาจเป็นการสัมผัสโดยตรงขณะเล่นน้ำ หรือสัมผัสกับกระเปาะพิษที่ลอยตามน้ำมาหลังฝนตก หรือคลื่นลมแรงในบริเวณที่มีแมงกะพรุนชุกชุม
การรักษา
1.ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินผลกระทบต่อระบบต่างๆในร่างกายและรักษาตามอาการ
2.สำหรับรอยโรคจากแมงกะพรุนที่มีการเจ็บ สามารถใช้ยาชาและยาแก้ปวด รวมถึงใช้น้ำแข็ง หรือโคลแพ็คประคบได้
3.ผื่นที่เกิดจากแมงกะพรุน สามารถให้การรักษาด้วยยาทาสเตียรอยด์ ยาทากลุ่ม tacrolimus รวมถึงยาแก้แพ้ได้
4.กรณีมีอาการปวด ให้รักษาด้วยยาแก้ปวด ตามความเหมาะสม
5.ผื่นจากแมงกะพรุนมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน หากมีหนองไหลจากรอยโรค หรือมีแผลแฉะอักเสบอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะ
นส นิลาวรรณ นันต๊ะ เลขที่29