Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๗ การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ ๗
การบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
แนวคิดและหลักการบริหารคุณภาพทางการพยาบาล
คุณภาพ(Quality)หมายถึงลักษณะต่างๆของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ดีเลิศตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้รับบริการหรือทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการ
คุณภาพบริการพยาบาล หมายถึง การบริการด้านการพยาบาลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีคุณภาพสนองความ
คาดหวังของผู้ใช้บริการ
การควบคุมคุมภาพ(Quality Control :QC)หมายถึงกิจกรรมในการประเมินตรวจสอบการพยาบาลหรือควบคุมดูแลบริการที่ให้แก่ผู้ใช้บริการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการพยาบาลตามต้องการ
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่สำคัญ ได้แก่
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง(Deming)นำแนวคิดการวางแผนคุณภาพมาใช้ โดยมีกระบวนการคือการวางแผน(Plan) การปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) และการปฏิบัติจริง(Act) หรือที่เรียกย่อว่า PDCA หรือ วงจรเดมมิ่ง(PDCA Deming cycle)
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของจูแรน (Juran) โดยจูแรนกล่าวว่า“คุณภาพมิใช่อุบัติเหตุแต่เกิดจากการวางแผนอย่างระมัดระวัง” ใช้กระบวนการ ๓ ขั้นตอนในการพัฒนาคุณภาพ
๑) การกำหนดเป้าหมายคุณภาพ
๒) การควบคุมคุณภาพ (Quality control)
๓) การปรับปรุงคุณภาพ (Quality improvement)
การพัฒนาคุณภาพตามแนวคิดของครอสบี (Crosby) เขามีความสามารถในการจัดทำโปรแกรมปรับปรุงคุณภาพเพื่อเพิ่มผลกำไร มีพื้นฐานมาจากหลักการจัดการคุณภาพที่สมบูรณ์ ๕ ประการ (five absolutes of quality management) ๑) คุณภาพ หมายถึง การทำตามมาตรฐาน
๒)ไม่มีปัญหาอะไรสำคัญเท่ากับปัญหาคุณภาพ
๓) ทำได้ถูกกว่าเสมอ ถ้าหากทำให้ถูกตั้งแต่แรก
๔)ตัวชี้วัดผลงาน คือ ต้นทุนคุณภาพ
๕) มาตรฐานของผลงาน คือ ของเสียเป็นศูนย์ (the performance standard is zero defects)
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน (Continuous quality improvement ,CQI) เป็นแนวคิดเชิงกระบวนการพัฒนาระบบงานอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด เป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงาน สำหรับหัวใจสําคัญในการพัฒนา มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ
๑)เน้นการตอบสนองต่อผู้รับผลงานเป็นสําคัญ
๒) เป็นการปรับปรุงวิธีการทํางานจากงานประจํา
๓) เป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล/การคิดสร้างสรรค์และการ
มีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
การประกันคุณภาพทางการพยาบาล(Nursing Quality assurance)และมาตรฐานทางการพยาบาล(Nursing standard)
การประกันคุณภาพการพยาบาล (Nursing Quality assurance) คือลักษณะต่างๆของวิชาชีพการพยาบาลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเกิดการปฏิบัติการดูแลผู้
ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างดีเลิศ
วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ 1. เพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น
เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริการพยาบาลให้ดีขึ้น
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาล
แนวคิดการประกันคุณภาพในยุคเดิม พยาบาลเป็นผู้กำหนดเกณฑ์ตามความคิดเห็น ความเชื่อ ความรู้ที่มีในการตรวจสอบและประเมินผล มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑.๑ พัฒนามาตรฐาน
๑.๒ มีการตรวจสอบรวบรวมข้อมูล
๑.๓ รายงานผลการตรวจสอบ
แนวคิดของการประกันคุณภาพการพยาบาลในช่วง ค.ศ. ๑๙๕๒ – ๑๙๙๒
สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนามาตรฐานเพื่อเป็นการพัฒนาการพยาบาลและการประเมินคุณภาพแต่ยังเป็นการดำเนินการเฉพาะเรื่อง
แนวคิดการประกันคุณภาพการพยาบาลเน้นที่กระบวนการ ซึ่งจะทำให้มีคุณภาพ โดยการประเมินคุณภาพและนำผลมาพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
รูปแบบที่ ๑. การประกันคุณภาพของโรแลนด์ เป็นการประกันคุณภาพการพยาบาลโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ๑.๑ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการพยาบาลที่ชัดเจนขององค์กร
๑.๒ การออกแบบกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาล
๑.๓ การเตรียมข้อมูลภายในหน่วยงานเพื่อแสดงคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
๑.๔ การเปรียบเทียบสารสนเทศที่ได้กับหน่วยงานอื่น
๑.๕ นำแนวคิดที่ได้หรือข้อมูลจากการประเมินมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้น
๑.๖ ในกรณีที่เกณฑ์ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จะต้องมีการปรับให้สามารถวัดและประเมินผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และเริ่มต้นวงจรใหม่
รูปแบบที่ ๒. การประกันคุณภาพการพยาบาลขององค์การอนามัยโลก (๑๙๙๕) มี ๔ ขั้นตอนดังนี้ ๒.๑ สร้างเครื่องบ่งชี้คุณภาพโดยกำหนดเกณฑ์ตัวบ่งชี้ซึ่งเป็นคุณภาพงานเป็นที่ยอมรับขององค์กร
๒.๒ สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ
๒.๓ ประเมินค่าการวัด
๒.๔ ปรับปรุงคุณภาพ หลังจากได้รับผลการประเมินแล้ว
รูปแบบที่ ๓ การประกันคุณภาพการพยาบาลของสมาคมพยาบาลอเมริกัน (American nurses association : ANA)
๓.๑ สร้างความรู้สึกต่อคุณภาพ
๓.๒ กำหนดมาตรฐานและเกณฑ์
๓.๓ สร้างเครื่องมือวัดคุณภาพ
๓.๔ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผล ให้เป็นหมวดหมู่ของกิจกรรมต่างๆ
๓.๕ ค้นหาแนวทางปรับปรุง
๓.๖ เลือกวิธีการปรับปรุง
๓.๗ ปฏิบัติ
รูปแบบที่ ๔ การประกันคุณภาพการพยาบาลของคณะกรรมการร่วมเพื่อการรับรององค์การบริการสุขภาพ(The Joint Commission On Accreditation of Healthcare Organization :JCAHO) โดยมีกิจกรรม ๑๐ ขั้นตอน -มอบหมายความรับผิดชอบ (Assign responsibility) -เขียนขอบเขตของการพยาบาลและบริการที่ให้ (Delineate the scope of care and service) -ระบุจุดสำคัญของการพยาบาลและบริการที่ให้ (Identify indicators relates to the important aspects of care) -ระบุตัวบ่งชี้ที่ใช้วัดจุดสำคัญของการพยาบาล -กำหนดระดับของการรับรอง (Establish thresholds for evaluation ) -กำหนดคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดระเบียบข้อมูล -การประเมินคุณภาพการพยาบาลโดยการวิเคราะห์ข้อมูล และแปลข้อมูล -ปฏิบัติการทันทีเพื่อแก้ปัญหาที่พบจากการประเมิน -ประเมินผลการปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาและทำการบันทึก -รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพขององค์กร(Communication relevant information to the organization wide QA committee)
ระบบการประกันคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายใน(Internal quality assurance) หมายถึงกิจกรรมการควบคุมคุณภาพในฝ่ายบริการพยาบาลโดยมีการกำหนดของฝ่ายบริการการพยาบาล เพื่อให้มีความมั่นใจว่าการบริการพยาบาลได้บริการดำเนินการตามหลักวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายนอก (External quality assurance) หมายถึง การดำเนินการตามระบบการควบคุมคุณภาพภายในรวมทั้งการตรวจสอบและประเมินผลทั้งหมดโดยหน่วยงานภายนอก เพื่อประกันว่าโรงพยาบาลนั้นมีขั้นตอนดำเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพและวิธีการบริหารจัดการนั้นสามา
รถให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ
องค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพการพยาบาล
๑) การกำหนดมาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard)
๒) การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing Audit)
๓) การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ(Quality improvement)
แนวทางการกำหนดมาตรฐานการพยาบาล
๑.กำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของความต้องการ
๒.กำหนดให้สอดคล้องกันทั้งปรัชญา มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
๓.การกำหนดมาตรฐานการพยาบาลในลักษณะกระบวนการ
มาตรฐานการพยาบาล(Nursing standard) หมายถึง ข้อความที่อธิบายแนวทางการปฏิบัติหรือวิธีดำเนินการที่ครอบคลุมขอบเขตของการพยาบาลถือเป็นข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีต่อการดูแลหรือการให้บริการแก่ผู้รับบริการทั้งในส่วนบุคล ครอบครัว และชุมชนตลอดทั้งข้อความนั้นต้องเที่ยงตรง ชัดแจ้ง สามารถนำไปปฏิบัติได้
มาตรฐานคุณภาพบริการสุขภาพ
๑.มาตรฐานระดับสากล(Normative standards) แนวทางการกำหนดมาตรฐานจะอยู่ในระดับดีเลิศตามความคาดหวังที่เป็นอุดมคติซึ่งโดยทั่วไปมักจะถูกกำหนโดยองค์กรวิชาชีพ
๒.มาตรฐานระดับผู้เชี่ยวชาญ(Empirical standards) เนื้อหากำหนดเป็นมาตรฐานจะมาจากระดับผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ ความสามารถ
ระดับของมาตรฐานการพยาบาลตามสมาคมพยาบาลเมริกา
๑. มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล(Standards of nursing practice) หมายถึง มาตรฐานวิชาชีพที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้ความรู้เชิงวิชาชีพมาปฏิบัติได้ถูกต้อง
๒. มาตรฐานการดูแล(Standard of care) หมายถึง มาตรฐานการพยาบาลที่เน้นที่ตัวผู้ใช้บริการ
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตามวิชาชีพ(Standard of professional performance) หมายถึงมาตรฐานที่องค์กรวิชาชีพสร้างขึ้นโดยเน้นที่ผู้ให้บริการ
ประเภทของมาตรฐานการพยาบาล
๑. มาตรฐานเชิงโครงสร้าง(Structure standard) หมายถึง
ปัจจัยนำเข้าทั้งหมดของระบบบริการพยาบาล
๒. มาตรฐานเชิงกระบวนการ(Process standard) หมายถึง กิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ให้กับผู้ป่วย โดยระบุพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ของพยาบาล การกำหนดมาตรฐานเชิงกระบวนการนี้กระทำเพื่อใช้วัดคุณภาพการพยาบาล
๓. มาตรฐานเชิงผลลัพธ์(Outcome standard) หมายถึง การวัดผลการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นจุดประสงค์สุดท้ายในการวัดผลทางการพยาบาล
การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล(Nursing audit) สามารถแบ่งเป็น ๓ วิธีตามลักษณะของมาตรฐาน คือ
๑) การตรวจสอบคุณภาพด้านโครงสร้าง เป็นการประเมินคุณภาพในการจัดระบบงาน
๒) การตรวจสอบคุณภาพด้านกระบวนการ วัดคุณภาพการพยาบาลจากกิจกรรมการพยาบาล
๓)การตรวจสอบคุณภาพด้านผลลัพธ์โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานผลลัพธ์ทางการพยาบาล
การพัฒนาคุณภาพหรือการปรับปรุงคุณภาพ(Quality improvement) เป็นกระบวนการวิเคราะห์และรายงานผลการปฏิบัติงานการพยาบาลขององค์กรโดยแยกแยะปัญหาหรือตัวแปรที่ส่งผลกระทบและหาแนวทางการแก้ไขป้องกัน ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การกระทำ
การตรวจสอบผลการกระทำและการกำหนดเป็นมาตรฐาน
ระบบการบริหารคุณภาพ เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กร เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA) การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เป็นสิ่งจำเป็นในการประกันคุณภาพ
โดยหน่วยงานภายนอกเพื่อประกันการดำเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพในโรงพยาบาลนั้นและวิธีการบริหารจัด
Hospital Accreditation (HA) กับการพัฒนาคุณภาพงานบริการพยาบาล พยาบาลจัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล
วิวัฒนาการของการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(Hospital Accreditation: HA) เริ่มจากการตรวจรับรองโรงพยาบาล เพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรมศัลยแพทย์เปลี่ยนจากการเน้นที่แพทย์ มาสู่จุดเน้นของการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพต่างๆเปลี่ยนจากการเน้นที่โครงสร้างและเอกสาร
มาสู่กระบวนการผลลัพธ์เปลี่ยนจากการเน้นที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน มาสู่การเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเปลี่ยนจากกระบวนการตรวจสอบ มาเป็นกระบวนการเรียนรู้
หลักการของการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) เป็นกระบวนการเรียนรู้มิใช่การตรวจสอบ การเรียนรู้เกิดจากการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับการทบทวนผลการประเมินโดยผู้อื่นเน้นการพัฒนาศักยภาพของคน
วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน HA
มาตรฐาน HA คือ กรอบความคิดที่สื่อให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญของสถานพยาบาลที่มีคุณภาพและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้น มาตรฐาน HA มิได้เป็นมาตรฐานที่ใช้เพียงเพื่อการประเมินหรือวัดคุณภาพ แต่เป็นมาตรฐานที่ใช้การพัฒนากระตุ้น ให้มีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการใช้กระบวนทัศน์ใหม่ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
ประโยชน์จากการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation)
-ความเสี่ยงลดลงทำงานง่ายขึ้น
-บรรยากาศการทำงานดีขึ้น
-ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น
-เป็นโอกาสที่ขายความฝันส่วนตัว
-ภูมิใจที่ทำงานในหน่วยงานที่มีระบบดี
“มาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษก” พิจารณาแบ่งเป็น ๒ มิติ คือมิติผลลัพธ์และมิติกระบวนการ ๔ หมวด ดังนี้
หมวดที่ ๑ ภาพรวมของการบริหารองค์กร ประกอบด้วย ๖ ตัวชี้วัด ได้แก่ การนำองค์กร การจัดทำกลยุทธ์ สิทธิผู้ป่วย การวัดวิเคราะห์ปรับปรุงผลงาน ความผูกพัน การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
หมวดที่ ๒ ระบบงานที่สำคัญของโรงพยาบาล ประกอบด้วย ๙ ตัวชี้วัด ได้แก่ ความเสี่ยง เครื่องมือและระบบสาธารณูปโภค การป้องกันการติดเชื้อ การบริหารเวชระเบียน การบริหารยา
หมวดที่ ๓ กระบวนการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วย ๖ ตัวชี้วัด ได้แก่ การเข้าถึงและการเข้ารับบริการ การประเมินผู้ป่วย การวางแผนดูแลผู้ป่วย การวางแผนจำหน่าย การดูแล การให้ข้อมูล และการดูแลอย่างต่อเนื่อง
หมวดที่ ๔ ผลการดำเนินการขององค์กร ประกอบด้วย ๗ ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านการดูแลผู้ป่วย ด้านการมุ่งเน้นของผู้ป่วย ด้านการเงิน ด้านทรัพยากรบุคล ด้านระบบงาน ด้านการนำและด้านสร้างเสริมสุขภาพ
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย (Hospital Network Quality Audit: HNQA) การดำเนินงานตามมาตรฐานนี้ โรงพยาบาลต้องกำหนดสิ่งส่งมอบ (Service specification) แก่ลูกค้า ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า (Customer Focus) โดยต้องมีจุดคุณภาพ (Quality point) กำหนดวิธีการบริการที่เหมาะสม (Service procedure) ในทุกจุดสัมผัสบริการ (Service interface) กำหนดวิธีการบริการที่เหมาะสม (Service procedure) ในทุกจุดสัมผัสบริการ (Service interface) ในการพัฒนาคุณภาพเพื่อการประกันคุณภาพ (QA) นี้ให้ใช้หลักการ Standardization ของ TQM ประกอบด้วย
Documentation การทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรหลังจากมีเหตุการณ์หรือข้อบกพร่องขึ้นแล้วให้ทำการแก้ไขข้อบกพร่อง
Training ฝึกอบรมสร้างความเข้าใจให้ปฏิบัติได้
Training ฝึกอบรมสร้างความเข้าใจให้ปฏิบัติได้
Monitoring มีการติดตามผลดูเป็นระยะๆ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
Review มีการทบทวนเอกสารเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุก ๑ ปี
การพัฒนาคุณภาพบริการแบบเครือข่าย(Hospital Network Quality Audit: HNQA) ในทางปฏิบัติ
-Product content in service คือ อุปกรณ์การให้บริการที่ให้ผู้ป่วยไปด้วย เช่น ยา ไหมเย็บแผล
-Mechanize service คือ เครื่องมืออาคารสถานที่ที่ให้บริการแล้วไม่ได้ให้ผู้ป่วยไปด้วย เช่นห้องพัก เตียงนอน
-Personalized service คือ การทำหัตถการ การดูแล
ระบบมาตรฐาน(ISO)
ISO ย่อมาจาก (International Organization for Standardization) เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและอุตสาหกรรม
-ISO ๙๐๐๐ คือการจัดระบบการบริหารเพื่อประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบได้โดยผ่านระบบเอกสาร
-ISO ๙๐๐๑ เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบ และพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
-ISO ๙๐๐๒ มาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ
-ISO ๙๐๐๓ เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพ ซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจ และการทดสอบขั้นสุดท้าย
-ISO ๙๐๐๔ เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำในการจัดการในระบบคุณภาพ
-ISO ๑๔๐๐๐เป็นระบบมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
-ISO ๑๘๐๐๐ มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
-ISO ๒๖๐๐๐ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐาน ISO ๙๐๐๐
“ คุณภาพ ” ตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๐ จึงหมายถึงลักษณะและคุณสมบัติทั้งหมดของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือการบริการที่แสดงถึงความสามารถว่าอยู่ในสถานะที่พึงพอใจ หรือตามความต้องการของลูกค้าที่ได้กำหนดไว้
ประโยชน์ของมาตรฐาน ISO ๙๐๐๐ นอกจากสร้างความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าแล้วยังเป็นการประชาสัมพันธ์ว่าสินค้าหรือบริการขององค์การมีคุณภาพ ยังเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การด้วย
มาตรฐาน ISO ๑๔๐๐๐ คือมาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม(Environmental Management) ขององค์การให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
แนวคิดของมาตรฐาน ISO ๑๔๐๐๐ “ธุรกิจและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจแบบยั่งยืน(
Sustainable Management)
มาตรฐาน ISO ๑๘๐๐๐ จะเป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีวัตถุประสงค์หลักคือการกำหนดมาตรการป้องกันการบาดเจ็บพิการและโรคภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพ
มาตรฐาน ISO ๒๖๐๐๐ ๒๖๐๐๐ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมในองค์กรได้ทุกรูปแบบ
การบริหารความเสี่ยง(Risk Management: RM) คือการบริหารจัดการที่วางแผนสำหรับมองไปข้างหน้าและมีกิจกรรมเพื่อป้องกันความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
ความเสี่ยง(Risk) คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง
๑.เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก เข้าใจและหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
๒.เพื่อสร้างกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บริหารจัดการความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
๓. เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
๔.เพื่อให้มีระบบการติดตามผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้น
ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
๑. ได้ปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ
๒. ได้ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานทั้งภายในองค์กรและกับภายนอกองค์กร
๓. ได้ปรับปรุงระบบการสื่อสารและการแบ่งปันความรู้ในองค์กร
๔. มีระบบรายงานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมทั้งภายในองค์กรและการนำเสนอสู่ภายนอก
๕. มีการจัดสรรทรัพยากรไปบริหารความเสี่ยงในจุดที่ถูกต้อง
กระบวนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน
๑. การค้นหาความเสี่ยง(Risk indentification)
๑.๑ สำรวจความเสี่ยงของหน่วยงาน
๑.๒ ระบุความเสี่ยง
๑.๓ เทคนิคที่ใช้ระบุความเสี่ยง อย่างเช่น การระดมสมอง
๑.๔ การจำแนกประเภทความเสี่ยงภายในโรงพยาบาล สามารถแบ่งความเสี่ยงออกเป็น ๒ ประเภท
๑.๕ ประเภทของเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยง แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ก. เหตุการณ์ที่พึงระวัง (Sentinel event : SE) เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ โดยเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดหวัง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต
ข. เหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์(Averse event : AE) เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ที่เกิดจากการบาดเจ็บ อันตรายหรือภาวะแทรกซ้อน
ประเภทของความเสี่ยง ๑. ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk)
๒. ความเสี่ยงทางคลินิก(Common Clinical Risk)
๓. ความเสี่ยงทางคลินิกเฉพาะโรค(Specific Clinical Risk)
ความเสี่ยงทั่วไป(Non Clinical Risk) แบ่งความรุนแรงเป็น ๔ ระดับ ระดับ ๐ หมายถึง ยังไม่เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงแต่มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความเสียหายได้
ระดับ ๑ หมายถึง เกิดอุบัติการณ์ขึ้นแล้ว กระทบถึงบุคคลหรือสิ่งของ
ระดับ ๒ หมายถึง เกิดอุบัติการณ์ขึ้นแล้ว กระทบถึงบุคคลหรือสิ่งของซึ่งทำให้ได้รับอันตรายหรือเกิดความเสียหายปานกลาง
ระดับ ๓ หมายถึง เกิดอุบัติการณ์ขึ้นแล้ว
กระทบถึงบุคคลหรือสิ่งของซึ่งทำให้ได้รับอันตรายมากหรือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตหรือทรัพย์สิน
ความเสี่ยงทางคลินิก แบ่งเป็น ๙ ระดับ ดังนี้
ระดับ A : เหตุการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายได้ (ยังไม่เกิด)
ระดับ B : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว แต่ยังไม่ถึงผู้รับบริการ
ระดับ C : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว ถึงผู้รับบริการแล้ว แต่ไม่เป็นอันตรายไม่ได้รับความเสียหายหรือสูญเสีย
ระดับ D : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว
ถึงผู้รับบริการแล้วได้รับความเสียหายแต่ไม่เป็นอันตรายแต่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังให้มั่นใจว่าปลอดภัย
ระดับ E : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว ถึงผู้รับบริการ ได้รับอันตราย
หรือเสียหายชั่วคราว
ระดับ F : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว ถึงผู้รับบริการ
และส่งผลให้ได้รับอันตรายหรือเสียหายชั่วคราว จำเป็นต้องดูแลรักษานานขึ้น นอนโรงพยาบาลนานขึ้น
ระดับ G : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงแล้ว ถึงผู้รับบริการ เป็นผลให้ได้รับอันตราย หรือเสียหายหรือสูญเสียอย่างถาวร
ระดับ H :เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงขึ้นแล้ว ถึงผู้รับบริการ เป็นผลให้ต้องทำการช่วยชีวิต ไม่สามารถจัดการได้โดยทีมเจรจาไกล่เกลี่ย
ระดับ I : เกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงขึ้นแล้ว ถึงผู้รับบริการ และเป็นผลให้เกิดการเสียชีวิต หรือมีการฟ้องร้องทางกฎหมาย
การประเมินความเสี่ยง
การวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบ
ความเสี่ยงต่ำ
ผลกระทบน้อย
-โอกาสเกิดน้อย
ความเสี่ยงปานกลาง
-ผลกระทบน้อย
-โอกาสเกิดมาก
ความเสี่ยงสูง
-ผลกระทบรุนแรงมาก
-โอกาสเกิดมาก
การประเมินความเสี่ยง
ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน คือ
๑) การกําหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน ระดับโอกาส ที่จะเกิด ระดับความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยง ระดับความเสี่ยง (Risk Level)
๒. การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
๓. การวิเคราะห์ความเสี่ยงเมื่อพิจารณาโอกาส/ความถี่ที่จะเกิดเหตุการณ์(Likelihood)
๔. การจัดลําดับความเสี่ยง(Risk profile)
การจัดการความเสี่ยง (Risk Responses)
๑) การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance)
๒) การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction)
๓) การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing)
๔) หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance)
การติดตามและการประเมินผล(Monitoring & Evaluation)
การเชื่อมโยงการใช้ RM, QA , CQI และการวิเคราะห์ก้างปลา(Fish bone)
ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
ประโยชน์
๑. ช่วยให้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาได้อย่างมีเหตุผล เจาะลึกถึงสาเหตุรากเหง้า (root cause)
๒. ใช้ศึกษา ทำความเข้าใจ หรือทำความรู้จักกับกระบวนการอื่น ๆ
๓. ใช้เป็นแนวทางใน การระดมสมอง ซึ่งจะช่วยให้ทุกๆ
คนให้ความสนใจในปัญหาของกลุ่มซึ่งแสดงไว้ที่หัวปลา
วิธีการสร้างแผนผังก้างปลา
๑.กำหนดประโยคปัญหาที่ต้องแก้ไขมาเขียนไว้ที่หัวปลา
๒.เขียนลูกศรชี้ที่หัวปลาแทนกระดูกสันหลังของปลา
๓.เขียนก้างใหญ่ให้ลูกศรวิ่งเข้าสู่กระดูกสันหลัง เพื่อระบุถึงกลุ่มใหญ่ของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
๔.เขียนก้างกลางแยกออกจากก้างใหญ่เพื่อแสดงสาเหตุของก้างใหญ่-เขียนก้างเล็กแยกออกจากก้างกลางเพื่อแสดงสาเหตุของก้างกลาง-เขียนก้างย่อยแยกออกจากก้างเล็กเพื่อแสดงสาเหตุของก้างเล็ก
๕.ระดมสมองหาสาเหตุของปัญหาโดยการตั้งคำถามทำไม ซ้ำกัน ๕-๗ ครั้ง
เทคนิคการกำหนดหัวข้อปัญหาที่หัวปลา
การกำหนดหัวข้อปัญหาควรกำหนดให้ชัดเจนและมีความเป็น
ควรกำหนดหัวข้อปัญหาในเชิงลบ เช่น อัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัด อัตราการเกิดพลัดตกหกล้ม หากเป็นด้านบวกเราจะนำไปเป็นความภาคภูมิใจ
ข้อควรระวังในการใช้แผนภาพก้างปลา
๑. สาเหตุความผันแปรในก้างปลาต้องมาจากการระดมสมอง ภายใต้หลักการ ๓ จริง คือสถานที่เกิดเหตุจริง ด้วยของจริง ภายใต้สภาวะแวดล้อมจริง
๒. แผนภาพก้างปลาหน้างาน ต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจริง
๓. ข้อความที่ระบุในก้างปลาเป็นเพียง สมมุติฐานของสาเหตุ ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง
การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ เมื่อได้สาเหตุของปัญหาแล้ว เลือกสาเหตุที่เชื่อว่าน่าจะสามารถแก้ปัญหาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้มาวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป โดยใช้ Deming cycle (Plan-Do- Check-Act: P-D-C-A)
การวิเคราะห์อุบัติการณ์ทางคลินิก ควรพิจารณาถึงปัจจัย ปัจจัยที่ตัวผู้ป่วย ปัจจัยเกี่ยวกับงาน ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับทีม ปัจจัยแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยเกี่ยวกับองค์กรและการทำงาน