Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของ ระบบทางเดินอาหาร, นางสาวกรรณิการ์ ภาระพงษ์ เลขที่ 7 …
ความผิดปกติของ ระบบทางเดินอาหาร
ท้องเสีย
อาการของท้องเสีย
อาการของโรคที่พบได้บ่อย จะมีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
ถึงแม้ท้องเสียมักจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่อาจสร้างความทรมานให้แก่ผู้ป่วยและเป็นเรื้อรังจนก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้
มีอาการปวดอย่างรุนแรงในช่องท้องหรือทวารหนัก
ไข้ขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
เกิดภาวะขาดน้ำหรือมีอาการท้องเสียมากกว่า 2 วัน สำหรับเด็กเล็กหรือทารกหากมีอาการเกิน 1 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์ เนื่องจากเสี่ยงกับการเสียชีวิตจากภาวะขาดน้ำ
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องเสีย
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
สาเหตุของท้องเสีย
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
การติดเชื้อไวรัส
มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น โดยโรต้าไวรัสเป็นสาเหตุของการเกิดอาการท้องเสียในเด็กมากที่สุด ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยและดูดซึมแล็กโทสที่พบในน้ำนมได้
การได้รับเชื้อปรสิต
เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
การติดเชื้อแบคทีเรีย
ชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
โดยปกติลำไส้จะดูดซึมสารอาหารในรูปแบบของเหลวจากสิ่งที่รับประทานเข้าไปในร่างกายจนเหลือแต่กากใยทิ้งไว้ แต่เมื่อเกิดอาการท้องเสียขึ้น ทำให้ลำไส้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สารอาหารเหล่านั้นจึงไม่ถูกดูดซึมและถูกขับออกมาจากร่างกาย
การถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นมูกเลือดนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งออกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป จะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง
อาหาร บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
การตอบสนองต่อยาบางประเภท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
การป้องกันอาการท้องเสีย
เลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เช่น รับประทานของร้อน อาหารที่สะอาด สดใหม่ หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม เป็นต้น
ไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ ควรเก็บเข้าตู้เย็น เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการล้างมือให้สะอาด ขณะเตรียมอาหาร
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งสกปรกอื่น ๆ เพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค
เลือกดื่มน้ำที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
การรักษาอาการท้องเสีย
ผู้ป่วยก็ควรดื่มน้ำมาก ๆ หรือดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป นอกจากนี้ การรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการท้องเสียตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างยา Diosmectite ควบคู่ไปกับการดื่มน้ำและผงเกลือแร่ซึ่งเป็นการรักษาหลักก็อาจช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้
ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง (Diarrhea) เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease: IBD) หรือโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
ท้องผูก
สาเหตุของภาวะท้องผูก
ยาบางชนิด
ยาต้านการซึมเศร้า
ยากันชัก
ยากลุ่ม Op[ates
ยาลดกรดที่มีเกลืออลูมิเนียม
โรคประจำตัว
โรคของลำไส้และทวารหนัก
การเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง
โรคทางระบบประสาท
พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป
ขาดการออกกำลังกาย
นิสัยการกลั้นอุจจาระเป็นประจำ
ภาวะเครียด
อาการและาการแสดง
อุจจาระอัดแน่น (Fecal impaction)
มีไข้ อาเจียน
สับสน
อึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด
กลั้นอุจจาระไม่ได้ เกิดแผลเนื้อตาย
รับประทานอาหารได้น้อยลง
พร่องโภชนาการ
มีภาวะซีด
ลักษณะอุจจาระ
แบบที่ 4 อุจจาระลักษณะคล้ายกล้วยหอม
เป็นทรงยาวพื้นผิวเรียบอ่อนนิ่มเป็นอุจจาระที่ดีอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากบ่งบอกถึงการรับประทานอาหารที่มีสมดุลต่อร่างกาย สุขภาพแข็งแรงและนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
แบบที่ 5 อุจจาระเป็นแตกๆ แต่ยังเป็นชิ้นอยู่
มีลักษณะนิ่ม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรปรับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ควรทานผักผลไม้ โยเกิร์ต ข้าวกล้อง
แบบที่ 3 อุจจาระเป็นก้อนยาวผิวจะมีรอยแยกเล็กน้อย
อุจจาระเป็นทรงยาวพื้นมีรอยแยกนิดหน่อย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ควรดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นสัญญาณว่าคุณยังดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
แบบที่ 6 อุจจาระเริ่มเหลวแต่ยังเป็นแบบกึ่งแข็งกึ่งเหลว
มักจะพบในคนที่ท้องเสีย ควรระวังเรื่องการรับประทานอาหารเพราะอาจมีแบคทีเรียในลำไส้ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และควรพักผ่อนนอนหลับให้มากๆ
แบบที่ 2 อุจจาระเป็นก้อนยาวผิวขรุขระมาก
อุจจาระลักษณะคล้ายข้าวโพด มักจะพบในคนท้องผูกมีการขับถ่าย 2-3 วันครั้ง จึงทำให้มีของเสียค้างอยู่ในลำไส้ค่อนข้างนาน จึงดังนั้นรับประทานผักผลไม้เพื่อเพิ่มกากใยให้มากขึ้น และดื่มน้ำเปล่ามากๆ
แบบที่ 7 อุจจาระเหลวเป็นน้ำ
มักจะพบในคนที่ท้องเสีย ควรดูแลเรื่องการกินอาหารอาจไม่ถูกสุขลักษณะ และมีการติดเชื้อในลำไส้ ควรงดอาหารรสเผ็ด ชา กาแฟ และนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น หากอุจจาระแบบนี้ติดต่อกันนานๆควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ
แบบที่ 1 อุจจาระเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายกระต่าย
มักจะพบในคนท้องผูก เพราะรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป ดื่มน้ำน้อย จึงทำให้ลำไส้ขาดน้ำจึงส่งผลให้อุจจาระแข็งอาจส่งผลให้เป็นโรคท้องผูกอีกด้วย ดังนั้นจึงควรรับประทานผักผลไม้และดื่มน้ำให้มากขึ้น
ภาวะท้องผูก (Constipation) หมายถึง การไม่ถ่ายอุจจาระต่อเนื่อง 3 วันขึ้นไป หรือถ่ายอุจจาระแห้ง แข็ง ต้องออกแรงเบ่ง (American Gastroenterological Association, 2008) โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับการบีบตัวของลำไส้ลดลงในผู้สูงอายุ ทำให้รู้สึกไม่สบาย แน่นอึดอัดบริเวณทวารหนัก แต่ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากภาวะท้องผูก
ปวดท้องเรื้อรัง
ยังไม่มีการพิสูจน์แน่ชัด
Hemorrhoid
CA Colon
Melanesia coli
ลำไส้บวมและโป่งพอง (Acquired megacolon or megarectum)
Stercoral ulceration : บาดแผลของลำไส้ใหญ่ซึ่งเกิดจากการที่มีอุจจาระที่ค่อนข้างแข็งอยู่ภายในลำไส้ใหญ่แล้วไม่สามารถขับถ่ายออกมา ได้ครับ อุจจาระที่แข็งจะทำให้ เกิดความดันในลำไส้ขึ้นมากสุดท้ายจะเกิดการแตกของลำไส้
Sigmoid volvulus: มีการบิดตัวของ sigmoid colon ที่ยาวและขยายใหญ่เนื่องจากการกินอาหารที่มี fiber สูง มี bulky stool หรือ ท้องผูกเรื้อรังลักษณะที่เห็นคือ ลำไส้ใหญ่จะมีการขยายพอง และมี double loop หรือ loop ที่มีลักษณะคล้ายเกือกม้ายื่นจากบริเวณ pelvis ไปยัง upper abdomen
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะท้องผูก
จัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร มีความเป็นส่วนตัวให้เวลาในการขับถ่าย
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระ
แนะนำการบดเคี้ยวอย่างละเอียด
ควรฝึกการขับถ่ายให้เป็นนิสัย
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
กรณีนอนติดเตียง ควรจัดท่านั่งศีรษะสูงในการขับถ่ายอุจจาระ
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ (> 2,000 ml/day)
กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาการขับถ่าย
กรณีที่อุจจาระอัดแน่นให้ทำการล้วง (Evacuation) ด้วยความนุ่มนวล
หากต้องใช้ยาระบายควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
นางสาวกรรณิการ์ ภาระพงษ์ เลขที่ 7 นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่2 รุ่นที่ 26 ห้อง A