Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง, image, image, image, image, image, image, image…
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
ผู้แต่ง
เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทย
จุดหมาย
เพื่อใช้ในการแสดงละครใน
สอดแทรกคำสอน
แทรกความรู้ วัฒนธรรมประเพณีไทย
ความเป็นมา
เป็นวรรณคดีที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา
แต่เดิม แต่งขึ้นเพื่อการเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ
นักปกครอง และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมากชาวชวาถือว่าอิหนาเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์
เรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา
จนกลายเป็นนิทานจึงเต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
ลักษณะคำประพันธ์
กลอนบทละคร
คือ คำกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อแสดงละครรำ
หลักเกณฑ์ในการแต่งโดยทั่วไปก็เหมือนกับการแต่งกลอนสุภาพแต่ละวรรคมีคำได้ตั้งแต่ ๖-๙ คำ การนับกลอนบทละครจะนับเป็นคำกลอนคือ ๒ วรรคเท่ากับ ๑ คำกลอน การจะใช้คำมากน้อยขึ้นอยู่กับทำนองร้อง
ความสุนทรียของงานประพันธ์
บรรยายบุคลิกภาพของตัวละคร
การบรรยายลักษณะของศาลเทพารักษ์
การพรรณนาธรรมชาติ
ตัวละครที่สำคัญ
ท้าวกุเรปัน
กษัตริย์ผู้ครองกรุงกุเรปัน
ท้าวกุเรปันมีโอรสองค์แรกกับลิกู คือ กะหรัดตะปาตี และมีโอรสธิดากับประไหม สุหรีในเวลาต่อมาคือ อิเหนากับวิยะดา ท้าวกุเรปันมีน้องชายร่วมพระบิดามารดาเดียวกันอีก 3 องค์
เป็นกษัตริย์ครองเมืองต่างๆ คือ ท้าวดาหา , ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวกุเรปันนั้นทรงหยิ่งทระนงในศักดิ์ศรีของวงศ์อสัญแดหวา
ท้าวดาหา
เป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงดาหา ท้าวดาหามีโอรสและธิดากับประไหมสุหรี 2 องค์คือ บุษบาหนึ่งหรัดกับสียะตรา
ท้าวดาหาเป็นผู้มีใจยุติธรรม
อิเหนาหรือระเด่นมนตรี
เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระตา แห่งกรุงกุเรปัน
อิเหนาเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์ เจรจาอ่อนหวาน นิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ
บุษบา
เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา
บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น
สังคามาระตา
โอรสของระตูปรักมาหงัน และเป็นน้องของมาหยารัศมี
สังคามาระตาเป็นหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เก่ง และกล้าหาญ ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ และชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ
เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาได้หลายครั้ง
องค์ปะตาระกาหลา หรือบางทีเรียกว่า องค์อสัญแดหวา
เป็นเทวดาบรรพบุรุษของ ราชวงศ์อสัญแดหวา ซึ่งมีอยุ่ด้วยกัน 4 เมือง คือ กรุงกุเรปัน กรุงดาหา กรุงกาหลังและกรุงสิงหัดส่าหรี
องค์ปะตาระกาหลาจะคอยดูแลทุกข์สุขของบุคคลในราชวงศ์อสัญแดหวาอยู่เสมอ
วิหยาสะกำ
เป็นลูกของท้าวกะหมังกุหนิง
เป็นผู้มีความเอาแต่ใจตน และลุ่มหลงในรูปรสภายนอก ดูได้จาก การให้พ่อของตนไปสู่ขอนางบุษบามาแต่งงานกับตน ทั้งที่รู้ว่านางบุษบามีคู่หมั้นแล้ว แต่ก็ยังต้องการแต่งกับนางบุษบาอยู่ เพราะเกิดลุ่มหลงในรูปรสที่ได้เห็น
จินตะหรา
เป็นธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรีชื่อสุหรีจินดาส่าหรี แห่งเมืองหมันหยา
รูปโฉมงดงาม มีนิสัยเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเองแสนงอน ช่างพูดประชดประชัน บางครั้งก็ก้าวร้าวหยาบคาย จนแม้แต่อิเหนาเองยังนึกรำคาญใจ
อิเหนาได้พบนางครั้งแรกก็หลงรัก จนไม่ยอมกลับกรุงกุเรปันและปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาอย่างสิ้นเชิง
ท้าวกะหมังกุหนิง
เป็นกษัตริย์ที่มีความหยิ่ง ในเกียรติและศักดิ์ศรีของตน รักลูกมาก
มีความเด็ดเดี่ยว ไม่ยอมฟังเหตุผลและเปลี่ยนแปลงความคิดง่ายๆ ตั้งใจจะทำศึก
เพื่อชิงนางบุษบาให้แก่วิหยาสะกำโอรส ไม่ยอมเลิกล้มความตั้งใจ
รักลูกยิ่งชีวิต ยอมตายเพื่อลูกได้
ระตูปาหยัง
เป็นอนุชาของท้าวกะหมังกุหนิง
ครองนครปาหยัง
ระตูปาหยังได้ช่วยพระเชษฐาในศึกกะหมังกุหนิง
ระตูประหมัน
เป็นอนุชาของท้าวกะหมังกุหนิง ครองเมืองประหมัน
ระตูประหมันได้ช่วยพระเชรษฐาในศึกกะหมังกุหนิง
มาหยารัศมี
เป็นธิดาของระตูปักมาหงันนางมีน้องชายคือ สังคามาระตา
รูปโฉมของมาหยารัศมีงดงามมากเป็นกุลสตรีที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อยไม่เห่อเหิมทะเยอทะยาน เชื่อฟังและยอมปฏิบัติตามคำสั่งฃองบิดามารดาและสามีแต่โดยดี มีตำแหน่งเป็นมะเดหวีฝ่ายซ้ายของอิเหนา
สะการะวาตี
เป็นธิดาของท้าวปันจะรากันผู้เป็นพระเชษฐาของท้าวปักมาหงัน
นางถูกพระชนกถวายให้อิเหนาโดยการยินยอมของจินตะหราวาตี
ตอนที่อิเหนาจะยกทัพไปช่วยรบป้องกันเมืองดาหานั้นได้ฝากนางและมาหยารัศมีไว้กับจินตะหราวาตี
สุหรานากง
โอรสของท้าวสิงหัดส่าหรีที่เกิดจากประไหมสุหรี
เป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดาและพระมารดาอยู่เสมอ มีความกล้าหาญ และวางตนได้ย่างเหมาะสม
ระตูหมันหยา
โอรสของท้าวมังกัน พระบิดาได้ขอตุหนาหงัน ระเด่นจินดาส่าหรี ธิดาองค์สุดท้ายของระตูหมันหยาซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว
เมื่อแต่งงานกัน พระมารดาของระเด่นจินดาส่าหรีได้อภิเษกให้ครองเมืองหมันหยา
มีธิดาเพียงองค์เดียว คือจินตะหราวาตี ระตูหมันหยามีจิตใจอ่อนแอ ไม่มีความเป็นนักสู้
ท้าวกาหลัง
เป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงกาหลัง
เป็นน้องของท้าวกุเรปันและท้าวดาหามีมเหสี ๕ องค์
มีจิตใจเมตตากรุณากับทุกคน
ประสันตา
เป็นพี่เลี้ยงหนึ่งในสี่ของอิเหนา
มีนิสัยตลก คะนอง ปากกล้า เจ้าอารมณ์ ชอบพูดเย้าแย่เสียดสีผู้อื่นอยู่เสมอ และยัง เจ้าเล่ห์อีกด้วย
คุณค่า
ด้านวรรณศิลป์
บรรยายและการพรรณนามีความละเอียดชัดเจน ทำให้เกิดจินตภาพ
ด้านสังคม
สะท้อนถึงสังคมในสมัยอดีต ที่มีการจับคู่ครองโดยพ่อแม่
ด้านเนื้อหา
มีโครงเรื่องเป็นเป็นการแย่งชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา
ข้อคิดที่ได้รับ
การเอาแต่ใจเป็นสิ่งไม่ดี
การไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา
ควรยั้งคิดในการกระทำ
วิเคราะห์บทประพันธ์ที่สำคัญ
บทละครร า เรื่อง อิเหนา ลักษณะค าประพันธ์เป็นกลอนบทละคร ซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้น
ด้วยค าว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป”
เนื่่่องจาก
ละครใน เป็นละครที่เกิดขึ้นในพระราชฐานจึงเป็นละครที่มีระเบียบแบบแผน สุภาพ ละครในมีความมุ่งหมายส าคัญอยู่ ๓
ประการ คือรักษาศิลปะของการร าอันสวยงาม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเคร่งครัด รักษาความสุภาพทั้งบทร้องและเจรจา