Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของหัวใจและโครงสร้าง - Coggle Diagram
ความผิดปกติของหัวใจและโครงสร้าง
องค์ประกอบของระบบไหลเวียน
หัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายหัวใจ
หลอดเลือด ประกอบด้วยหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย
เลือด มีหน้าที่ลำเลียงอาหารไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
วงจรการทำงานของหัวใจ
หมายถึง วงจรการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการทำงานของหัวใจ เช่น การหดตัวและคลายตัวที่เกิดต่อเนื่องกัน การปิด/เปิดของลิ้นหัวใจ การเปลี่ยนแปลงความดันและปริมาตรของเลือดภายในหัวใจ
การประเมินผู้ป่วย
โรคหัวใจและระบบไหลเวียน
1.การซักประวัติ
2 การตรวจร่างกาย
ดู (Inspection)
ฟัง (Auscultation) เพื่อตรวจจังหวะ ความแรง และเสียงผิดปกติ
นอกจากนี้ต้องฟังเสียงปอดเพื่อตรวจความผิดปกติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษ
การตรวจรังสี/อื่น ๆ
อาการและอาการแสดงของความผิดปกติของหัวใจที่พบบ่อย
1.เจ็บหน้าอก (Chest pain)
2.หายใจลำบาก (Dyspnea)
อ่อนล้า (Fatigue)
ใจสั่น (Palpitation)
เป็นลม (Syncope)
บวม (Edema)
ภาวะเขียว (Cyanosis)
อาการอื่น ๆ เช่น Hypoxia, Neck vein engorgement, cough, มึนงง ปวดศีรษะและ อาจมีการมองเห็นผิดปกติ
โรคเกี่ยวกับหัวใจ
ภาวะหัวใจวาย (Heart Failure)
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
หัวใจทำงานหนักเกินไป (Abnormal loading condition)
กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำหน้าที่ผิดไป (Abnormal muscle function)
ความผิดปกติของห้องหัวใจล่างซ้ายจากเหตุต่าง ๆ
โรคร่วมเรื้อรังอื่น ๆ เช่น MI, HT, DM, COPDฯลฯ
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ หรือลิ้นหัวใจถูกทำลาย
โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
หัวใจเต้นผิดปกติ (Arrythmia)
ความผิดปกติของหัวใจ เช่น Cardiomyopathy
โรคเกี่ยวกับปอด
สารพิษต่าง ๆ เช่น สารเสพติด
หยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)
พยาธิสภาพของหัวใจวาย (Pathophysiology)
ชนิดของหัวใจล้มเหลว
. ภาวะหัวใจห้องล่างเวนตริเคิลวายด้านซ้ายและด้านขวา
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและเรื้อรัง
อาการ
ซีด เขียวคล้ำ (Cyanosis) จากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่ดี (Peripheral insufficiency)
บวมจากความดันเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้น (Edema)
ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลง เหนื่อยง่าย (Activity intolerance)
มึนศีรษะ วิงเวียน สับสน
คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องบวมน้ำ ตับโต (Right ventricular heart failure)
การตรวจร่างกาย
1.คลำพบ Heaving และ Thrill
เคาะพบตับโต ในกรณีหัวใจข้างขวาวาย
พบตำแหน่ง PMI เปลี่ยนแปลงไป จากหัวใจที่โตขึ้น
Pulse Irregular
เสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ฟังพบ S3 Gallop และ Murmur
ฟังปอดพบ Crepitation จากภาวะน้ำท่วมปอด
หัวใจห้องล่างซ้ายวาย (Left ventricular failure)
พยาธิสรีรภาพ
อาการเหนื่อยง่ายจากหัวใจห้องล่างซ้ายวายเกิดจากการที่มีแรงต้านทานระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายกับปอดและเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบในปอดทำให้เกิดหายใจลำบาก มีเสียง Crepitation ในปอด
สาเหตุ
มีการคั่งของเลือดในปอด
อาการ
หายใจลำบากตอนกลางคืน (Paroxysmal nocturnal dyspanea/PND) ไอ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ : (Orthopnea) และมักพบหายใจลำบากในตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อย ซีดเขียวคล้ำ ชีพจรเบา
บางครั้งเสมหะเป็นฟองสีชมพู นอนราบไม่ได้ หายใจมีเสียงวี๊ด ฟังปอดพบ Crepitation ฟังหัวใจ พบ S3 Gallop
เลือดดำคั่งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและมีอาการบวมที่แขนขา และท้อง
ระดับของหัวใจวาย (Heart Failure)
การรักษาภาวะหัวใจวาย
NYHA แบ่งเป็น 4 ระดับ Class I, II, III, IV
ACC/AHA แบ่งเป็น 4 ระดับ A, B, C และ D
เพิ่มความสามารถในการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง เพื่อเพิ่มปริมาตรเลือดที่หัวใจบีบออกจากหัวใจแต่ละครั้ง และแก้ไขปัญหาของอวัยวะเป้าหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ไต เพื่อลดการคั่งของเลือด
สรุปหัวใจวาย (Heart failure)
หัตถการเกี่ยวกับหัวใจ
การสวนหัวใจ (Coronary angioplastry
วิธีการทำ
ใส่สายสวนผ่านผิวหนังอาจเป็นบริเวณข้อมือ ขาหนีบ หรือข้อเท้า ผ่านไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจ coronary ที่ตีบ
ทำบอลลูนเพื่อขยายบริเวณที่ตีบ
ใส่ Stent เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบซ้ำ
การพยาบาลก่อนทำการสวนหัวใจ
เจาะเลือด x ray หัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ต้องงดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน ต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม 6 ชั่วโมงก่อนรับการรักษา
การพยาบาลหลังทำ
นอนราบประมาณ8 ชั่วโมง อาจจะนอนหนุนหมอนสองใบหลังจากทำไปแล้วสองชั่วโมง
สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หลังทำผู้ป่วยต้องนอนราบอยู่นิ่งๆ เป็นเวลานานหลายชั่วโมง และต้องกดแรงและนานอย่างน้อย 30 นาทีบริเวณที่ถอดสายสวนไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออก
ควรจะรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ หรือของเหลว หลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
โดยผู้ป่วยอาจกลับบ้านได้ภายในวันที่ตรวจ หรืออาจต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1-2 วัน ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย
ขณะผ่าตัด CABG
เปิดช่องอก sternum และ rib
ใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด เนื่องจากขณะทำ Bypass หัวใจต้องหยุดเต้น
นำเส้นเลือดที่เหมาะสมมาตัดต่อเป็น Bypass
เมื่อเสร็จสิ้นใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจให้ทำงานต่อ
การพยาบาลหลังทำ
ย้ายเข้า ICU
ติดตามการทำงานของหัวใจตลอดเวลา
หลอดเลือดโป่งพอง Aneurysm
Aneurysm เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดแดงหรือดำอ่อนแอ หรือการสะสมของไขมัน ทำให้ผนังหลอดเลือดบริเวณนั้นโป่งตึงรูปร่างคล้ายถุง (sac form) อาจพบใน สมอง ช่องท้อง ช่องอก ที่พบบ่อยคือ AAA ซึ่งอาจแตกได้ในกรณีที่มีความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะช็อคจากการเสียเลือดและมีโอกาสเสียชีวิต 50-90%
การรักษา Aneurysm
การรักษา ถ้าหลอดเลือดแดงใหญ่ไม่โตมากให้เฝ้าระวังอาการ แต่ถ้าก้อนโตมากต้องพิจารณาผ่าตัดซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนในระยะแรก คือ เสียชีวิต จาก เสียเลือด DIC, ARDS, renal failure ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวคือ Graft, aorto-enteric fistula thrombosis และ infection
การพยาบาล
ควบคุมความดันโลหิต
งดบุหรี่
หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่าย
ดูแลก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด หลังผ่าตัดซ่อมแซมเส้นเลือดระมัดระวังไม่ให้หัวใจและเส้นเลือดแดงใหญ่ทำงานหนัก
สังเกตภาวะแทรกซ้อน
โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว
สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
อายุ
การติดเชื้อต่างๆที่ลุกลามถึงการติดเชื้อของลิ้นหัวใจ
โรคหัวใจจากสาเหตุอื่นๆ
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
โรคความดันโลหิตสูงเพราะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
โรคออโตอิมูน
ผลข้างเคียงจากยาลดน้ำหนัก
โรคต่างๆ หรือสิ่งต่างๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหลอดเลือด
โรคของลิ้นหัวใจที่พบบ่อยได้แก่
1.ลิ้นไมตรัลตีบ (Mitral stenosis)
สาเหตุ
ไข้รูมาติกเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อรูมาติกในวัยเด็ก
พยาธิสภาพ
การอักเสบของลิ้นหัวใจทำให้เกิดความแข็ง หนา หดรัด ดึงรั้งของลิ้นหัวใจ ทำให้รูเปิดแคบลง เลือดไหลไม่สะดวกทำให้เกิดเลือดไหลวน ความดันในเอเตรียมซ้ายสูงขึ้น และหลอดเลือดแดงที่ปอดความดันสูงขึ้น ถ้าเป็นรุนแรงมากขึ้นจะทำให้มี Arial fibrillation เกิดลิ่มเลือดในเอเตรียมซ้าย และหัวใจล้มเหลว
อาการ
เหนื่อยล้า หายใจลำบากเวลาออกแรง นอนราบไม่ได้ หอบเหนื่อยกลางคืน ไอเป็นเลือด ตับโต ขาบวมกดบุ๋ม Atria fibrillation เขียว และ murmur
ประเมินสภาพ
ซักประวัติ อาการ อาการแสดง
ตรวจร่างกาย
ตรวจ EKG, Myocardial nuclear perfusion imaging, Echocardiogram, เอกซเรย์ปอด และการสวนหัวใจ
การรักษา
1.การใช้ยา ได้แก่ยาขับปัสสาวะและควบคุมโซเดียม
2.การผ่าตัด ขยายลิ้นหัวใจ (valve repair) ถ้าเป็นมากอาจต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (valve replacement)
การปรับพฤติกรรม ควบคุมอาหาร จำกัดเกลือ งดบุหรี่ สุรา การทำฟัน การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับระยะของโรค
2.ลิ้นไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation/insufficiency)
สาเหตุ
การติดเชื้อ การที่มีการเสื่อมของเนื้อเยื่อ ลิ้นหัวใจฉีกจากโรคบางโรค และการขยายตัวของหัวใจห้องล่าง
อาการ
ในระยะแรกไม่มีอาการ เมื่ออาการรุนแรงขึ้นจะพบหายใจลำบากขณะมีกิจกรรม เมื่อพักอาการจะหายไป ใจสั่น นอนราบไม่ได้ บวมกดบุ๋ม หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง อ่อนเพลียมาก ถ้ามีอาการรั่วเรื้อรังจะเกิดหัวใจห้องขวาวายตามมา
ประเมินสภาพ
จากประวัติ อาการแสดง ตรวจร่างกาย EKG, Myocardial nuclear perfusion imaging, Echocardiogram, เอกซเรย์ปอด และการสวนหัวใจ
ระยะไม่มีอาการ ถ้าเกิดจากไข้รูมาติก ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการกลับเป็นซ้ำ จำกัดกิจกรรม จำกัดเกลือและน้ำ
ระยะที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ให้ยาขับปัสสาวะ digitalis ยาขยายหลอดเลือด ยากลุ่มไนเตรท, ACEI จำกัดเกลือ, แก้ไขภาวะหัวใจล้มเหลว
ระยะรุนแรง มักรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (valve replacement) เมื่อจำเป็น ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical valve) มี 2 แบบ ชนิดเป็นโลหะ (เกิดลิ่มเลือดได้มาก) และธรรมชาติ (เกิดลิ่มเลือดน้อยกว่า)
ลิ้นเอออร์ต้ารั่ว (Aorta regurgitation/insufficiency
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด และความเสื่อมของลิ้นหัวใจจากหินปูนเกาะลิ้นหัวใจเมื่ออายุสูงขึ้น ติดเชื้อลิ้นหัวใจ หรือเป็นไข้รูมาติค ทำให้ลิ้นหัวใจหนา หดรัด มีหินปูนเกาะ
พยาธิสภาพ
อาการจะค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลาหลายปี จนลิ้นหัวใจมีรูตีบเล็กจึงปรากฎอาการ
ลิ้นหัวใจเอออร์ตาตีบ (Aorta valve stenosis)
อาการ)
เจ็บหน้าอกแบบ Angina หายใจลำบาก หมดสติเมื่อออกแรง อ่อนเพลีย ล้า นอนราบไม่ได้ มีเหนื่อยหอบกลางคืน เสียงหัวใจผิดปกติแบบ Harsh Crescendo-decrescendo ในช่วงหัวใจบีบตัว
ประเมินสภาพ
การรักษา/พยาบาล
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การพยาบาลผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การพักผ่อน อย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง ในระยะ 1 เดือนแรกหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อลดการทำงานของหัวใจ
2.การออกกำลังกายตามความสามารถของผู้ป่วย ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย หายใจลำบาก หายใจเร็ว หรืออัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นมากกว่า 20-25 ครั้ง/นาที ให้หยุดทันที ส่วน
ผู้ป่วยสามารถทำงานได้หลังผ่าตัด 6 สัปดาห์
ลดโซเดียมเพื่อป้องกันการคั่งของสารน้ำ เพิ่มปริมาณโปรตีน วิตามิน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
และเยื่อหุ้มหัวใจ
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)
สาเหตุ
ติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย วันโรค เชื้อรา พยาธิ ไข้รูมาติก การติดเชื้อในร่างกาย หรือจากการไม่ติดเชื้อ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะยูรีเมีย
ปฏิกิริยาออโต้อิมมูนของร่างกาย ได้แก่โรค SLE, ไข้รูมาติค และหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย 1-4 สัปดาห์ (Dessler’s syndrome)
การใช้ยา Procainamide, Hydralazine หรือ Phenytoin
การอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจทำให้เกิดไฟบรินและน้ำเกินบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจ ทำให้เยื่อหุ้มหัวใจแข็งและหนา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้หัวใจไม่สามารถยืดขยายตัวไม่เต็มที่
ความจุหัวใจลดลง ความดันรอบหัวใจสูงขึ้น ทำให้เลือดไหลกลับหัวใจลดลง และการสูบฉีดโลหิตลดลง
พยาธิสภาพ
อาการ
ไข้ (Fever)
เจ็บหน้าอก (Chest pain) ร้าวไปแขน ไหล่ และคอ
หนาวสั่น (Chill)
ฟังหัวใจได้ยินเสียง rub หรือ Grating sound
หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
ใจสั่น (Palpitation)
หายใจลำบาก (Dyspnea)
อ่อนล้า (Fatigue)
การประเมินสภาพ
ประวัติความเจ็บป่วย
อาการและอาการแสดงที่สำคัญคือ เจ็บหน้าอก (Precordial pain)
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ น้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ (
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
การตรวจพิเศษอื่น ๆ
การใช้ยา NSAID, cochicin อาจให้ตัวเดียวหรือร่วมกัน สำหรับ Coricosteroid ให้เมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น
การระบาย (Drainage) โดย
การรักษา
การพยาบาล
ประเมินความผิดปกติระบบไหลเวียน โดยประเมินซ้ำเป็นระยะ ๆ
ติดตามการทำงานของหัวใจ
เตรียมและให้การพยาบาลก่อนและหลังการทำหัตถการ
การดูแลระบบไหลเวียนเลือดเพื่อเพิ่ม Cardiac output
ให้น้ำเกลือเพื่อเพิ่มปริมาตรเลือด
ดูแลให้ยากระตุ้นหัวใจ (Positive inotropic agent) ตามแผนการรักษา
ติดตามวัดประเมินความดันโลหิตดำ ชีพจร (ดูภาวะ Paradoxical pulse) Echocardiogram
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
สาเหตุของโรค
เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายจากเชื้อโรคเช่น เชื้อไวรัส ได้แก่ Coxackiea, Coxackie b, Influeneae, Admovirws, CMV, EBV เป็นต้น
ส่วนเชื้อ Bacteria และเชื้อราก็พบได้ ในแง่ของสาเหตุของโรคอื่นๆ ก็พบได้จากโรคเนื้อเยื้อเกี่ยวพัน (Connective tissue disease) เช่นโรคลูปัส และอาจเกิดจากยาบางชนิดก็ได้
อาการ
อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ (Flu-live symptom) มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาเจียน และท้องเสีย และร่วมกับ อ่อนเพลียจนหมดเรี่ยวแรง
เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า - การหายใจลำบาก - หมดสติเสียชีวิตเฉียบพลันได้
ในระยะยาว อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้
การวินิจฉัย
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG -electrocardiogram)
เอกซเรย์ปอด
เอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจ
การตรวจหัวใจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
การตรวจหัวใจด้วยเครื่องแม่เหล็กหัวใจ (Cardiac magnetic resonance imaging)
ตัดตัวอย่างกล้ามเนื้อหัวใจไปตรวจภาวะการอักเสบของหัวใจ (Endomyocardial biopsy)
การช่วยเหลือการทำงานของหัวใจ โดยใช้เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจ แบบพิเศษ (Intraaortic balloon pump หรือ Extracorporeal membrane oxygenation) รวมทั้งการให้ออกชิเจนเพื่อพยุงช่วยเหลือปอดและหัวใจ2. การให้ยาคุ้มกันหรือยาต้านการอับเสบ การให้ยาดังกล่าวในผู้ป่วยที่ผล biopsy ยืนยันค่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอับเสบจริง แล้วพบว่าอาการดีขึ้น
การให้ยารักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง เช่น ยากลุ่มขยายหลอดเลือด (Vasodilator) เช่น ไนโตรกลีเซอรีน หรือ โซเดียมไนโตรปลัสไซด์
การรักษาโดยไม่ใช้ยา ได้แก่ การสังเกตการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียน การควบคุมน้ำ และการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ
การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น
การรักษา/พยาบาล
เยื่อบุหัวใจอักเสบ
(Endocarditis)
สาเหตุ
ที่ทำให้เยื่อหุ้มหัวใจชั้นในอักเสบได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
ที่พบส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักเข้าสู่กระแสเลือดได้ จากทางเข้า
หรือแผลเปิดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ ไข้รูมาติค
ไข้หวัดใหญ่ เยื่อหุ้มหัวใจชั้นในอักเสบ
พยาธิสภาพ
เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่ระบบไหลเวียนไปที่หัวใจและฝังตัวอยู่ในเยื่อบุหัวใจชั้น Endothelium ในบริเวณที่มีการไหลเวียนเลือดช้า เกิดการอักเสบที่เยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
อาการและอาการแสดง
ในรายที่ไม่รุนแรง ไม่มีอาการแสดง อาการทั่วไปจะเริ่มจาก อ่อนเพลีย ไข้ เม็ดเลือดขาวสูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอกหายใจลำบาก ถ้ามีอาการมากขึ้นจะมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย
ประเมินสภาพ
ประวัติความเจ็บป่วย
การตรวจร่างกาย
การตรวจพิเศษอื่น ๆ ได้แก่ Film chest, Echocardiogram และ การสวนหัวใจ การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจเพื่อการวินิจฉัย
การรักษา/การพยาบาล
ให้ยาเพิ่มการบีบรัดตัวของหัวใจ เช่น Digitalis
ให้ยาขับปัสสาวะ
ให้ยาต้านการติดเชื้อจนครบเนื่องจากต้องให้ยาเป็นระยะเวลายาวนาน
ติดตามการทำงานของหัวใจ
ดูแลช่วยเหลือกิจกรรมเนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะ Activity intolerance
ให้ข้อมูลการปฏิบัติตน การออกกำลังกาย การรับประทานยา การมีเพศสัมพันธ์ ฯลฯ
Cardiac Pacemaker/
Artificial Pacemaker
การดูแลผู้ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ (Cardiac Pacemaker/Artificial Pacemaker) เป็นเครื่องมือทางไฟฟ้าที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจตามที่กำหนด เพื่อให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจที่ทำให้มีปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาที (Cardiac output) เพียงพอ
Cardiac Pacemaker/Artificial Pacemaker มี 2 ชนิด คือ เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดชั่วคราว (Temporary pacemaker) และเครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดถาวร (Permanent pacemaker) มีการพยาบาล ดังนี้
ก่อนใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
ขณะใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
หลังใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
การใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
ติดตามภาวะหัวใจวาย และ Pneumothorax
สังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อติดตามการทำงานของเครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ ถ้ามี
สังเกตแผลที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจทุกวัน ถ้าแผลแฉะ บวม แดง ให้ทำแผลใหม่ ปกติจะไม่ทำแผลทุกวัน
การปิดแผลไม่ควรใช้ผ้าก๊อซปิดแผล เพราะสายสื่อมีโอกาสเลื่อนหลุดได้ง่าย แต่ถ้าจำเป็น ต้องขดสายสื่อเป็นวงกลม 1-2 ขด ไว้ใต้ผ้าก๊อซ ใช้พลาสเตอร์ปิดสายสื่อตามยาวให้แน่นอีกครั้ง
ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดชั่วคราวและเอา Pulse Generator ออก แต่ยังคาสายสื่อไว้ที่ตัวผู้ป่วย ให้เอาพลาสติกสวมปลายสายสื่อด้านนอกไว้ เพื่อไม่ให้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องไฟฟ้าที่ชำรุด หรือไม่มีสายดิน หรือไฟฟ้าสถิตไปกระตุ้นได้
เมื่ออาการของผู้ป่วยคงที่แล้ว ออกกำลังกายโดยเคลื่อนไหวข้อต่างๆได้
สำหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดถาวรให้ออกกำลังกายได้ หลังผ่าตัดใส่เครื่องประมาณ 8 สัปดาห์ เพื่อให้เครื่องฝังแน่นอยู่กับที่
ช่วยลดความวิตกกังวลและให้กำลังแก่ผู้ป่วยโดยรับฟังปัญหาของผู้ป่วย
สอนผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่บ้าน
กรณีใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดถาวร ดังนี้
การจับชีพจรด้วยตนเอง
ให้สังเกตอาการที่บ่งบอกว่าเครื่องทำงานผิดปกติ
สามารถใช้เครื่องไฟฟ้าได้ตามปกติ
หากท่านใช้โทรศัพท์มือถือรุ่น Digital ควรถือด้านที่ไม่ได้ใส่เครื่อง หรือถือให้ห่างจากตัวเครื่องประมาณ 6 นิ้ว
5.ให้ระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้าอื่นๆที่มีความถี่สูง
ป้องกันการกระทบกระแทกบริเวณที่ฝังเครื่องไว้ เพราะอาจทำให้แตกได้
7.พกบัตรประจำตัวผู้ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจไว้ตลอดเวลา เมื่อมีปัญหาผู้พบเห็นจะได้นำส่งแพทย์
แจ้งแพทย์ และทันตแพทย์ทราบทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาและทำหัตถการต่างๆ
ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ในขณะใส่เครื่อง เมื่อแผลติดดี สามารถอาบน้ำได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อเครื่อง
สรุปโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจ