Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ, นางสาวกชกร ธนกรกิจสกุล…
บทที่ 8 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
อัตราการหายใจของเด็กในแต่ละวัย
ต่ำกว่า 2 เดือน ไม่เกิน 60 ครั้ง/นาที
2-12 เดือน ไม่เกิน 50 ครั้ง/นาที
1-5 ปี ไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที
ลักษณะการหายใจ
หายใจมีเสียงดังคล้ายเสียงคราง(stridor)
อัตราการหายใจเร็วกว่าปกติ(tachypnea)
หายใจช้ากว่าปกติ (bradypnea)
หายใจลำบาก (dypnea)
O2 saturation >95-100 %
การหายใจมีปีกจมูกบาน (nasal flaring) : หายใจลำบาก
ขณะหายใจเข้ามีการบานออกของปีกจมูกทั้ง 2 ข้าง เพื่อขยายท่อทางเดินหายใจ
ขณะหายใจเข้ามีการยุบลง (retraction) ของกระดูกหน้าอก (sternal retraction) ช่องระหว่างซี่โครง (costal retraction) และใต้ซี่โครง (subcostal retraction)
เสียงหายใจผิดปกติ แสดงว่าผู้ป่วยรับออกซิเจนไม่เพียงพอ
stridor sound การตีบแคบของบริเวณกล่องเสียงหรือหลอดลม ได้ยินตอนหายใจเข้าและออก พบบ่อยใน acute laryngitis, laryngotracheitis และ laryngotrachebronchitis
crepitation sound ลมผ่านท่อทางเดินหายใจที่มีน้ำหรือเสมหะ พบบ่อย ภาวะปอดอักเสบ (pneumonia)
rhonchi sound มีการไหลวนของอากาศผ่านเข้าไปในส่วนของทางเดินหายใจที่ตีบแคบกว่าปกติ
wheezing หลอดลมเล็กหรือหลอดลมฝอยเกิดการบีบเกร็ง พบบ่อย โรคหอบหืด (bronchial asthma)หรือ bronchial hyperreactivity
กลไกการสร้างเสมหะ ประกอบด้วย 3 กลไก คือ กระบวนการสร้างสารมูก Mucous, การพัดโบกของขนกวัด Cilia และกลไกการไอ Cough Reflex
เมื่อมีการติดเชื้อ
ต่อมสร้างสารคัดหลั่ง mucous gland จะสร้าง mucous มากขึ้น ทำให้มีเสมหะมากขึ้น ทำลาย
เซลล์เยื่อบุหลอดลมและ ciliaจึงน้อยลง ผลคือ เสมหะจึงมีปริมาณมากและเหนียวข้น ทำให้เกิด
การคั่งค้างของเสมหะในหลอดลมมากขึ้น
การไออย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันไม่ให้มีการคั่งค้างของเสมหะในหลอดลม
ทำไมต้องเพิ่มน้ำในผู้ป่วยที่มีเสมหะ
ให้ความชุ่มชื้นต่อทางเดินหายใจ เสมหะเหนียวข้นลดลง
Cilia ทำหน้าที่พัดโบกได้ดีขึ้น ขับเสมหะออกมมาง่ายขึ้น
ให้น้ำเท่าไรจึงจะพอ ประเมินจากสีของปัสสาวะ
ลักษณะของเสมหะ
เสมหะเหนียว : เป็นมูกคล้ายแป้งเปียก เป็นก้อน ยืดและหนืดมาก ไอขับออกยาก ต้องประเมินว่าได้รับสารน้ำเพียงพอหรือไม่
เสมหะไม่เหนียว : เป็นนเมือกเหลว ยืดและหนืดน้อย ไอขับออกง่าย
• Croup กลุ่มอาการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณกล่องเสียงและส่วนใต้ลงมา
สาเหตุเนื่องจากการอักเสบที่ฝาปิดกล่องเสียง (acute epiglottitis) กล่องเสียง (acute laryngitis)
กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และหลอดลมฝอยในปอด (Laryngotracheobronchitis)
อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว inspiratory stridor หายใจเข้ามีเสียงฮืด ไอเสียงก้อง Barking cough ไข้ เจ็บคอ หายใจลำบากอาการน้ำลายไหล(drooling) ไม่ตอบสนองการพ่นยาทั่วไป ส่วนใหญ่จะพ่นยา Adrenaline ต้องใส่ Endotracheal
สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ
virus
bacteria >> H.influenzae ,S.pneumoniae gr.A Streptococus
ปัญหาที่สำคัญ คือ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
Tonsilitis / Pharyngitis
สาเหตุ : ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เช่น Beta Hemolyticstreptococcus gr. A
อาการ :ไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ ตุ่มใสหรือแผลตื้นที่คอหอย เกิดจาก Coxsackie Virus เรียกว่า Herpangina
ให้กินยา Antibiotic ให้ครบ 10 วัน เพื่อป้องกันไข้รูห์มาติคและหัวใจรูห์มาติค หรือ AGN
การผ่าตัดต่อมทอนซิล(tonsillectomy): ติดเชื้อเรื้อรัง (chronic tonsillitis) เป็นๆ หายๆ (recurrent acute tonsillitis) มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เกิดอาการนอนกรน (snoring) หรือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (obstructive sleep apnea) หรือสงสัยว่าเป็น carcinoma of tonsils
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด Tonsillectomy
ควรให้เด็กนอนตะแคง เพื่อระบายเสมหะ น้ำลาย เลือด จนกว่ารู้สึกตัว
สังเกตอาการและการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะระยะแรก ชีพจร 120 ครั้ง/นาทีต่อเนื่อง ซีด กลืนติดต่อกัน บ่งชี้ว่ามีเลือดออก เกิด 6-8 ชั่วโมงแรก
เมื่อเด็กรู้สึกตัวดี ให้นั่ง 1-2 ชั่วโมง อมน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ รับประทานของเหลว ในรายที่ปวดแผลใช้กระเป๋าน้ำแข็งวางวางรอบคอ ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด
หลังผ่าตัด โดยปกติ 2-4 weeks แผลจะหาย
กลับบ้านได้หลังผ่าตัด 24-48 ชม. รับน้ำ อาหารเพียงพอ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะมีแผลที่ผนังคอทั้ง 2 ข้าง อาจเห็นเป็นฝ้าสีขาวช่องคอ หายภายใน 7-14 วัน อาจเจ็บคอ กลืนอาหาร น้ำลายลำบาก
มีไข้ บวม ตึงเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมที่คอ เสียงเปลี่ยนได้ หายภายใน 1 wk.
1-2 วัน เพดานอ่อนหรือผนังในคอจะบวม ควรนอนศีรษะสูง อม ประคบน้ำแข็ง หายใจไม่ออกรุนแรงควรรีบไปรพ. ปรึกษาแพทย์ทันที
หลีกเลี่ยงการแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึก
การประคบ อมน้ำแข็ง ประมาณ 10 นาที เอาออกประมาณ 10 นาที ค่อยประคบ อมใหม่เป็นเวลา 10 นาที สลับกันเรื่อย ๆ
รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเย็น เช่นโจ๊ก ข้าวต้ม ไอศกรีม
ไซนัสอักเสบ(Sinusitis) : การอักเสบของโพรงอากาศข้างจมูก
สาเหตุ : ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา
การติดเชื้อทำให้เกิดการบวมของเยื่อบุโพรงอากาศ เกิดภาวะอุดตันช่องระบายของโพรงอากาศข้าจมูก ทำให้เกิดการคั่งของสารคัดหลั่ง ทำให้ความดันในโพรงอากาสเป็นลบ เมื่อจาม สูด สั่งน้ำมูก เชื้อแบคทีเรียบริเวณ nasopharynx เข้าในโพรงอากาศข้างจมูกได้ง่าย ทำให้ cilia ทำงานผิดปกติ สารคัดหลั่งมาก หนืดมาก
ระยะของโรค
Acute sinusitis ไม่เกิน 12 weeks รุนแรงกว่า
Chronic sinusitis เกิน 12 weeks
อาการ : ไข้สูงกว่า 39 ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว น้ำมูกไหล ไอ ติดแบคทีเรียเป็นนานกว่า 10 วัน รุนแรง น้ำมูกใส ข้นเขียวเป็นหนอง ร่วมไอ ลมหายใจเหม็น ปวดหน้าผาก หัวคิ้วมาก
การวินิจฉัย : X-ray paranasal sinus (อายุเกิน6ปี), CT scan ได้ผลดี และ Transilumination
การดูแลรักษา
Antibiotic ตามแผนการรักษา
ยาแก้ปวด ลดไข้
ยาแก้แพ้ รายที่เป็น Chronic sinusitis สาเหตุจากชักไม่แนะนำผู้ป่วยเฉียบพลัน
ให้ยาSteroid ลดบวม
การล้างจมูก วันละ 2-3 ครั้ง ปวด ใช้ 0.9% NSS
หอบหืด Asthma มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น
พยาธิสภาพ : หลอดลมหดเกร็งตัว(Brochospasm), หลอดลมตีบแคบลง (Stenosis) เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น และสร้างเมือกเหนียวจำนวนมาก (Hypersecretion)
อาการ : หวัด ไอ มีเสมหะ ไอมาก จะมีเสียง Wheezing
การรักษา
ยาขยายหลอดลม ( Relievers ) มีพ่นและกิน
พ่นได้ผลดี คือ Ventolin บางรายอาจได้ Corticosteroids
ได้แก่ Flixotide Evohaler Serotide บ้วนปากป้องกันเชื้อรา
ยาลดบวม อักเสบของหลอดลม(steroid) 3-5 วันได้แก่ Dexa , Hydrocortisone แผนรักษาของแพทย์
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง : บุหรี่ ตัวไรฝุ่น ตุ๊กตามีขน พรม สัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน Baby haler
ความรุนแรงของหอบหืด
ขั้นเล็กน้อย : ไอ/wheeze เล่นได้ปกติ
ขั้นปานกลาง :ไอ+wheeze ตื่นกลางคืนบ่อย เล่นซนไม่ได้
ขั้นรุนแรง กระสับกระส่ายนอนไม่ได้ รีบส่ง รพ.
หลอดลมอักเสบ( Bronchitis) หลอดลมฝอยอักเสบ(Bronchiolitis)
กลไกการเกิด เชื้อไวรัส ทำลายเนื้อเยื่อของหลอดลมฝอย เกิดอักเสบ บวม และมีการคั่งของเสมหะอุดกั้นของหลอดลมฝอย ผลที่ตามมา เกิด Atelectasis
อาการ : ไข้หวัดเล็กน้อย น้ำมูกใส จาม เบื่ออาหาร ไอ หายใจปีกจมูกบาน ดูดนม น้ำน้อยหรือไม่ได้
การรักษา : ตามอาการ ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ (steroid) ยาขยายหลอดลม
การรดูแล : รับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ รับน้ำ การติดเชื้อ
พบบ่อย Respiratory syncytial virus : RSV
ปอดบวม Pneumonia
สาเหตุ : สำลักสิ่งแปลกปลอม ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส
อาการ : ไข้ ไอ หอบ ดูดนม น้ำน้อย ซึม
เกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก : เด็กแรกเกิดอัตราการหายใจ>60ครั้ง/นาที, 2 เดือน- 1ปี >50 ครั้ง/นาที และอายุ1-5 ปี>40 ครั้ง/นาที
การรักษา : รับน้ำอย่างเพียงพอ,ไข้ Clear airway suction, แก้ไขปัญหาพร่องออกซิเจน
การพยาบาล
ปัญหาอุดกั้นทางเดินหายใจ
สอนไอถูกวิธี กระตุ้นดื่มน้ำ
เสมหะอยู่ลึกให้ Postural drainage โดยเคาะปอด และ suction ป้องกัน Atelectasis
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง หรือนอนทับข้างที่มีพยาธิสภาพ
รับออกซิเจนเพียงพอตามแผนการรักษา
การระบายเสมหะ: องค์ประกอบ
การจัดท่าผู้ป่วย(Postural drainage) : ขับออกโดยกระตุ้นให้ไอ suctionออกมา
ส่วนหน้า anterior นอนหงาย
ส่วนหลัง posterior นอนคว่ำ
อยู่ขวาตะแคงซ้าย ซ้ายตตะแคงขวา
ส่วนบนนอนหัวสูง ส่วนล่างนอนหัวต่ำ
การเคาะ (Percussion) : ใช้อุ้งมือนิ้วชิดเรียกว่า cupped hand ผ้ารองก่อนเคาะ แต่ละท่าประมาณ 1 นาที ไอให้หยุดเคาะ ใช้การสั่นสะเทือนแทน เคาะก่อนอาหารหรือท้องว่างหรือหลังอาหาร 2 ชม.
การสั่นสะเทือน (Vibration) : มือวางราบเกร็งกล้ามเนื้อต้นแขน ไหล่ จังหวะหายใจเข้าเต็มที่ และกำลังหายใจออก
ออกซิเจน
นางสาวกชกร ธนกรกิจสกุล 612001003 รุ่น 36/1