Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคัดกรองโรคและปัจจัยเสี่ยง - Coggle Diagram
การคัดกรองโรคและปัจจัยเสี่ยง
ความรู้ทั่วไป
การคัดกรองโรค
การค้นหาโรคโดยผู้ที่ถูกคัดกรองยังไม่มีอาการป่วยปรากฏให้เห็น
วัตถุประสงค์
เพื่อค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นแต่ยังไม่มีอาการหรือผู้ป่วยในระยะแรกของโรคเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงทีซึ่งทำให้ผลการรักษาดีขึ้น
ข้อควรจำ
การคัดกรองไม่สามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคได้เนื่อจากการตรวจคัดกรองมีโอกาสให้ผลบวกลวงและผลลบลวงจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีที่เป็นมาตรฐานสำหรับการวินิจฉัยโรคเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย
การคัดกรองปัจจัยเสี่ยง
การค้นหาปัจจัยเสี่ยงอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเพื่อช่วยคัดแยกผู้ที่อาจป่วยเป็นโรคได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อลดความเสี่ยงส่งเสริมสุขภาพหรือใช้มาตรการป้องกันโรคจำเพาะที่สามารถป้องกันการเกิดโรคในอนาคต
ข้อควรพิจารณา
โรคที่จะทำการตรวจคัดกรองควรที่จะสามารถตรวจพบได้ในระยะก่อนมีอาการ
การรักษาโรคตั้งแต่ตอนที่ยังไม่มีอาการมีประโยชน์เหนือกว่าการรักษาตอนที่มีอาการป่วย เนื่องจากหากตรวจพบโรคแล้วก็ไม่มีวิธีการรักษาที่ดีกว่าก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติม
โรคที่จะทำการตรวจคัดกรองต้องมีระยะก่อนมีอาการป่วย
เป็นระยะเริ่มแรกของการดำเนินโรค เมื่อตรวจพบโรคมักสามารถรักษาง่ายและได้ผลดี
มีระยะเวลายาวพอสมควรจะทำให้มีช่วงสำหรับการตรวจคัดกรองได้มากขึ้น
วิธีการตรวจคัดกรองควรมีคุณสมบัติเหมาะสม
การตรวจคัดกรองยังต้องมีความปลอดภัย
เป็นที่ยอมรับสำหรับผู้มารับการตรวจ
ประสิทธิผลสูงพอสมควร คือ ความสามารถในการพยากรณ์โรคสูง
ราคาเหมาะสม
ธรรมชาติของโรคที่จะคัดกรอง
มักพบประชากรกลุ่มใด
โรคดังกล่าวตรวจพบได้อย่างเร็วที่สุดเมื่อใด
โรคดังกล่าวเกิดจากสาเหตุใด
การรักษาในระยะต่างๆของโรคได้ผลเช่นใด
การคัดกรองควรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
หากตรวจวินิจฉัยซ้ำพบว่าเป็นโรคจริงผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาต่ออย่างเหมาะสม
หากตรวจคัดกรองแล้วได้ผลลบควรมีการตรวจซ้ำเป็นระยะ
หากตรวจคัดกรองได้เป็นผลบวก ต้องมีการตรวจวินิจฉัยซ้ำด้วยวิธีมาตรฐาน
โรคที่จะทำการคัดกรองต้องเป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุข
การก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพ
การสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโรค
ความชุกของโรค
ขั้นตอน
อธิบายข้อดีข้อเสียของการตรวจคัดกรองและผลที่อาจเกิดขึ้น
ขอคำยินยอมจากผู้มารับการตรวจตัดกรอง
คัดเลือกประชากรที่ต้องการตรวจ
ดำเนินการตรวจคัดกรองตามวิธีที่เลือกไว้
แจ้งผลการตรวจและสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม
ประเภทของผลการตรวจคัดกรอง
ผลการตรวจคัดกรองเป็นบวก
ให้คำแนะนำเรื่องผลบวกจริงและผลบวกเทียม
ต้องตรวจยืนยันด้วยวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐาน
ผลตรวจยืนยันเป็นลบ
ผลตรวจยืนยันเป็นบวก
ความถูกต้อง
ความไวต่อการทดสอบ
โอกาสของผู้ป่วยที่ตรวจได้ผลบวกจริงจากการทดสอบ
ความจำเพาะของการทดสอบ
โอกาของบุคคลที่ปราศจากโรคที่ตรวจได้ผลลบจริงจากการทดสอบ
ความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้
ความสามารถของเครื่องมือตรวจคัดกรองในการวัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลายครั้งแล้วได้ผลคล้ายคลึงกัน
ค่าพยากรณ์
ค่าพยากรณ์บวก
โอกาสของบุคคลที่มีผลการทดสอบเป็นบวกจะป่วยเป็นโรค
ค่าพยากรณ์ลบ
โอกาสของบุคคลที่มีผลการทดสอบเป็นลบจะไม่ป่วยเป็นโรค
โอกาสที่ผลการคัดกรองที่ได้จะเป็นจริงค่าพยากรณ์ขึ้นอยู่กับ ความชุกของโรค/ค่าความถูกต้องของเครื่องมือตรวจคัดกรอง
เครื่องมือคัดกรองที่มีความไวสูงแต่ความจำเพาะต่ำ
เป็นโรคร้ายแรง แต่สามารถรักษาให้หายได้
ผลบวกเทียม ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยมากนัก
เครื่องมือคัดกรองที่มีค่าพยากรณ์บวกสูง
จำเป็นสำหรับการคัดกรองโรคที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ป่วยหากไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดอันตรายตามมา
การประยุกต์ใช้การคัดกรองโรคที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี
อาจคลำได้ก้อนเต้านมอื่นๆที่ไม่ใช่มะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
การใช้เทคโนโลยี /mammogram และอัลตร้าซาวด์เต้านม ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจคัดกรองและช่วยให้พบได้เร็วมากขึ้น
อาจไม่สามารถตรวจพบมะเร็งที่มีขนาดเล็กหรือในสตรีที่มีเนื้อนมมาก