Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของหัวใจและโครงสร้าง - Coggle Diagram
ความผิดปกติของหัวใจและโครงสร้าง
ส่วนประกอบของหัวใจ
ลิ้นหัวใจ (Heart valves)
กล้ามเนื้อหัวใจ
หลอดเลือด
ระบบไหลเวียนเลือด
องค์ประกอบของระบบไหลเวียน
หัวใจ
ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายหัวใจทำงานโดยการบีบตัวเป็นจังหวะ
หลอดเลือด
หลอดเลือดแดง
ลักษณะหนา ยืดหยุ่นดี ไม่มีลิ้นกั้น ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังเส้นเลือดฝอย
หลอดเลือดดำ
ลักษณะบางกว่าหลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ มีหน้าที่นำเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจ
หลอดเลือดฝอย
ลักษณะเล็ก ละเอียดมาก ผนังบางมาก มีหน้าที่ นำเลือดแดงจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงร่างกาย และนำเลือดดำจากเซลไปยังหลอดเลือดดำ
เลือด
มีหน้าที่ลำเลียงอาหารไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด
การทำงานของหัวใจ
วงจรการทำงานของหัวใจ
หมายถึง วงจรการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ รวมทั้งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการทำงานของหัวใจ
ความผิดปกติของระบบไหลเวียน
ความผิดปกติจากโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือด
เป็นตั้งแต่กำเนิด
เกิดขึ้นภายหลัง จากปัจจัยต่าง ๆ
ความผิดปกติของการทำหน้าที่
โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมอง
ความผิดปกติของระบบไหลเวียน
ไข้รูมาติด
ความดันโลหิตสูง
หัวใจขาดเลือด
โรคหลอดเลือดแดง
โรคร่วมต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยงต่าง
โรคของหลอดเลือดดำ
เกิดจากความเสื่อม จากการใช้งานมานาน อายุที่เพิ่มขึ้น
การประเมินผู้ป่วย
โรคหัวใจและระบบไหลเวียน
การซักประวัติ
ประวัติเจ็บป่วยในอดีต
แบบแผนการดำเนินชีวิต
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน
ประวัติการได้รับยา
อาการสำคัญ
ประวัติครอบครัว
ข้อมูลส่วนตัว
ประวัติการทำงาน
การตรวจร่างกาย
ดู (Inspection)
สังเกตตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ดูลักษณะการหายใจ อาการเหนื่อยหอบ
ฟัง (Auscultation)
เพื่อตรวจจังหวะ ความแรง และเสียงผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
อ่อนล้า (Fatigue)
ใจสั่น (Palpitation)
หายใจลำบาก (Dyspnea)
เป็นลม (Syncope)
เจ็บหน้าอก (Chest pain)
บวม (Edema)
ภาวะเขียว (Cyanosis)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การทดสอบการแข็งตัวของเลือด
BUN, Cr
การตรวจนับเม็ดเลือด (CBC), ESR
Serum cholesterol
การตรวจพิเศษ
การวัดความดันเลือดแดง
การวัดความดันเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressure)
การวัดจำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจ (cardiac output, EF)
Echocardiogram ตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง
การวัดการไหลเวียน (Circulatory time)
การตรวจรังสี/อื่น ๆ
Angiocardiography
Cardiac radionuclear
Fluoroscope
Chest X-ray
โรคเกี่ยวกับหัวใจ
ภาวะหัวใจวาย (Heart Failure)
สาเหตุ
หัวใจทำงานหนักเกินไป (Abnormal loading condition)
กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำหน้าที่ผิดไป (Abnormal muscle function)
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
ความผิดปกติของห้องหัวใจล่างซ้ายจากเหตุต่าง ๆ
พยาธิสภาพ
การเพิ่มของปริมาตรเลือดที่หัวใจบีบออกจากหัวใจแต่ละครั้ง
หลอดเลือดแดงหดตัว
มีความผิดปกติทำให้เกิดการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
การเพิ่มแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างอ่อนแรง
น้ำและเกลือคั่งในร่างกาย
กล้ามเนื้อหัวใจหนา แข็ง และโตขึ้น โดยเฉพาะห้องล่างซ้าย
ชนิดของหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจห้องล่างเวนตริเคิลวายด้านซ้ายและด้านขวา
ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและเรื้อรัง
อาการ
บวม
เหนื่อยง่าย
ซีด เขียวคล้ำ
มึนศีรษะ วิงเวียน สับสน
หายใจเหนื่อยกลางคืน
ปัสสาวะน้อยลง
คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
หัวใจห้องล่างซ้ายวาย
สาเหตุ
จากภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจโดยเฉพาะลิ้นหัวใจ Aortic หรือ Mitral valve
อาการ
มีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก หายใจลำบากตอนกลางคืน (Paroxysmal nocturnal dyspanea/PND)
หัวใจห้องล่างขวาวาย
สาเหตุ
กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาขาดเลือด หลอดเลือดปอดมีความดันโลหิตสูง หรือหัวใจล่างซ้ายวาย
อาการ
บวมที่ส่วนล่างของร่างกายทั้ง 2 ข้างกดบุ๋ม การบวมทั้งตัวอาจมีได้ในระยะสุดท้ายของหัวใจวาย มีตับ ม้ามโตและปวดแน่นท้องหรือเจ็บแปลบที่ท้องด้านขวาส่วนบน
หัตถการเกี่ยวกับหัวใจ
การสวนหัวใจ (Coronary angioplastry)
วิธีการทำ
ทำบอลลูนเพื่อขยายบริเวณที่ตีบ
ใส่ Stent เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบซ้ำ
ใส่สายสวนผ่านผิวหนังอาจเป็นบริเวณข้อมือ ขาหนีบ หรือข้อเท้า ผ่านไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจ coronary ที่ตีบ
การพยาบาลก่อนทำการสวนหัวใจ
ต้องงดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน ต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม 6 ชั่วโมงก่อนรับการรักษา
สื่อสารกับแพทย์ได้ โรคประจำตัว ยาที่รับประทาน โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด
เจาะเลือด x ray หัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การพยาบาลหลังทำ
สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
ควรจะรับประทานอาหารที่เป็นน้ำ หรือของเหลว
นอนราบประมาณ8 ชั่วโมง
โดยผู้ป่วยอาจกลับบ้านได้ภายในวันที่ตรวจ หรืออาจต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1-2 วัน ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย
Coronary artery bypass graft (CABG)
การรักษาพยาบาลก่อนทำ CABG (3-6 ชั่วโมง)
ให้ยาระงับความรู้สึก GA
ใส่ท่อช่วยหายใจ
ให้ยา sedative ทางปากหรือหลอดเลือดดำ
สวนปัสสาวะค้าง
ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
การพยาบาลหลังทำ CABG
Controlled heart rate และ hemodynamic
ดูแลสาย Chest tube
ติดตามการทำงานของหัวใจตลอดเวลา
ดูแลทางเดินหายใจ และทางเดินปัสสาวะ
ย้ายเข้า ICU
โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจจากสาเหตุอื่นๆ
โรคออโตอิมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
การติดเชื้อต่างๆ
ผลข้างเคียงจากยาลดน้ำหนัก
อายุ
ลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ (Mitral valve stenosis)
สาเหตุ
ไข้รูมาติกเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อรูมาติกในวัยเด็ก
อาการ
เหนื่อยล้า หายใจลำบากเวลาออกแรง นอนราบไม่ได้ หอบเหนื่อยกลางคืน ไอเป็นเลือด ตับโต ขาบวมกดบุ๋ม Atria fibrillation เขียว และ murmur
การรักษา
การผ่าตัด ขยายลิ้นหัวใจ
การปรับพฤติกรรม ควบคุมอาหาร
การใช้ยา
ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral valve regurgitation)
สาเหตุ
มีหลายสาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อ การที่มีการเสื่อมของเนื้อเยื่อ ลิ้นหัวใจฉีกจากโรคบางโรค และการขยายตัวของหัวใจห้องล่าง
อาการ
ในระยะแรกไม่มีอาการ เมื่ออาการรุนแรงขึ้นจะพบหายใจลำบากขณะมีกิจกรรม เมื่อพักอาการจะหายไป
การรักษา
ระยะที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ให้ยาขับปัสสาวะ digitalis ยาขยายหลอดเลือด ยากลุ่มไนเตรท
ระยะรุนแรง มักรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ระยะไม่มีอาการ ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ลิ้นหัวใจเอออร์ตาตีบ (Aorta valve stenosis)
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด และความเสื่อมของลิ้นหัวใจจากหินปูนเกาะลิ้นหัวใจเมื่ออายุสูงขึ้น ติดเชื้อลิ้นหัวใจ
อาการ
เจ็บหน้าอกแบบ Angina หายใจลำบาก หมดสติเมื่อออกแรง อ่อนเพลีย ล้า นอนราบไม่ได้ มีเหนื่อยหอบกลางคืน เสียงหัวใจผิดปกติแบบ Harsh Crescendo-decrescendo
การรักษา
ระยะแรกรักษาตามอาการ โดยให้ยาและปรับพฤติกรรม
ในระยะรุนแรง การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก Anginaและหมดสติ ต้องได้รับการแก้ไขทันที ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะมีอัตราการตายสูงขึ้น
ลิ้นหัวใจเอออร์ตารั่ว (Aorta valve regurgitation)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจและการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากไข้รูมาติค เชื้อแบคทีเรีย หรือ ซิฟิลิส
อาการ
ใจสั่น หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน ล้า มีอาการเจ็บหน้าอก Angina หัวใจเต้นเร็ว มีเสียงฟู่แบบ Decrescendo ช่วงหัวใจคลายตัว
การดูแลรักษา
ระยะแรกและปานกลางรักษาตามอาการร่วมกับปรับพฤติกรรม
ระยะรุนแรง การรักษาที่ได้ผลที่สุดคือการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
และเยื่อหุ้มหัวใจ
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
สาเหตุ
การได้รับบาดเจ็บ
สารพิษ
การใช้ยา Procainamide, Hydralazine หรือ Phenytoin
การได้รับรังสี
ปฏิกิริยาออโต้อิมมูนของร่างกาย
สารเคมี
ติดเชื้อ
อาการ
ไข้ (Fever)
เจ็บหน้าอก (Chest pain) ร้าวไปแขน ไหล่ และคอ
หนาวสั่น (Chill)
ฟังหัวใจได้ยินเสียง rub หรือ Grating sound
หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
ใจสั่น (Palpitation)
หายใจลำบาก (Dyspnea)
อ่อนล้า (Fatigue)
การรักษา
การใช้ยา NSAID, cochicin อาจให้ตัวเดียวหรือร่วมกัน สำหรับ Coricosteroid ให้เมื่อมีข้อบ่งชี้เท่านั้น
การดูแลระบบไหลเวียนเลือดเพื่อเพิ่ม Cardiac output
การระบาย (Drainage)
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
สาเหตุ
เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายจากเชื้อโรคเช่น เชื้อไวรัส ได้แก่ Coxackiea, Coxackie b, Influeneae, Admovirws, CMV, EBV
อาการ
อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ (Flu-live symptom) มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาเจียน และท้องเสีย และร่วมกับ อ่อนเพลียจนหมดเรี่ยวแรง
เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า
ในระยะยาว อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังได้
การรักษา
การช่วยเหลือการทำงานของหัวใจ โดยใช้เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจ แบบพิเศษ
การให้ยาคุ้มกันหรือยาต้านการอับเสบ
การให้ยารักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
การผ่าตัด
เยื่อบุหัวใจอักเสบ
(Endocarditis)
สาเหตุ ที่ทำให้เยื่อหุ้มหัวใจชั้นในอักเสบได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
ที่พบส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักเข้าสู่กระแสเลือดได้จากทางเข้า
หรือแผลเปิดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
อาการ
ในรายที่ไม่รุนแรง ไม่มีอาการแสดง อาการทั่วไปจะเริ่มจาก อ่อนเพลีย ไข้ เม็ดเลือดขาวสูง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ใจสั่น
ในรายที่มีอาการรุนแรงจะตรวจพบความผิดปกติของ T-wave
การรักษา
ให้ยาต้านการติดเชื้อจนครบ
ติดตามการทำงานของหัวใจ
ให้ยาขับปัสสาวะ
ดูแลช่วยเหลือกิจกรรม
ให้ยาเพิ่มการบีบรัดตัวของหัวใจ
ให้ข้อมูลการปฏิบัติตน การออกกำลังกาย การรับประทานยา การมีเพศสัมพันธ์ ฯลฯ